ปัจจุบันอิตาลีเป็นประเทศที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU) เนื่องจากตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปทำให้สภาพอากาศค่อนข้างร้อน ทั้งนี้ อิตาลีต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นมูลค่าและสัดส่วนค่อนข้างสูง ในช่วงปี 2543-2546 อิตาลีนำเข้าเครื่องปรับอากาศคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยราว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 66 ของมูลค่าตลาดเครื่องปรับอากาศรวมทั้งประเทศ
จากขนาดของตลาดเครื่องปรับอากาศในอิตาลีที่ค่อนข้างใหญ่และยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ยังติดตั้งเครื่องปรับอากาศไม่มากนัก ขณะที่มีโครงการก่อสร้างใหม่ๆ เกิดมากขึ้น รวมทั้งสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุกปีทำให้ตลาดเครื่องปรับอากาศมีแนวโน้มสดใส จึงเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยที่จะเร่งขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องปรับอากาศไทยในอิตาลี
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปอิตาลีมีดังนี้
- กลุ่มผู้ใช้เครื่องปรับอากาศ กลุ่มผู้ใช้หลัก คือ กลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และอาคารสำนักงาน นิยมใช้เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดพลังงาน รองลงมา คือ กลุ่มครัวเรือน ส่วนใหญ่นิยมใช้แบบติดผนังมากกว่าแบบตั้งพื้นและนิยมเลือกซื้อโดยดูจากรูปลักษณ์ที่สวยงามเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพที่อยู่อาศัย
- คู่แข่งและส่วนแบ่งทางการตลาด จีนเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดเครื่องปรับอากาศในอิตาลี เนื่องจากความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตจากค่าจ้างแรงงานราคาถูก ทำให้สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 26 (ข้อมูล ณ ปี 2546) รองลงมา คือ เบลเยียม (ร้อยละ 15) ขณะที่ไทยเป็นอันดับ 3 (ร้อยละ 13)
- ระเบียบการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีนำเข้า โดยทั่วไปอิตาลีเรียกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบในอัตราร้อยละ 2.2-2.7 และเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากอิตาลีจึงได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
- มาตรฐานสินค้า การนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบของ EU อาทิ กฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment: WEEE) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบในการทำลายซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว รวมทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2547 ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ (Registration, Evaluation and Authorization of Chemical: REACH) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนเคมีภัณฑ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและสินค้า ตลอดจนต้องปิดฉลากสินค้าเพื่อระบุถึงส่วนประกอบที่เป็นเคมีภัณฑ์ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2548 และกฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้สารอันตรายบางชนิดในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Restriction on Hazardous Substances: RoHS) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตต้องจัดหาวัสดุใหม่เพื่อทดแทนวัสดุเดิมที่เป็นอันตรายที่เคยใช้ในการผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ EU กำหนดให้ยกเลิกการใช้สารอันตราย 6 ชนิด คือ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท โครเมียม-6 โพรลิโบรมิเนตไบฟีนิล (PBB) และโพรลิโบรมิเนตไดฟีนิล อีเทอร์ (PBDE) เพื่อลดผลกระทบของสารเคมีอันตรายที่มีต่อสุขอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549
แม้ว่าปัจจุบันเครื่องปรับอากาศของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในอิตาลี ซึ่งเป็นผลจากการเร่งปรับปรุงสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่ EU กำหนด และเร่งพัฒนาการออกแบบให้เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้ใช้หลัก ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ไทยสามารถส่งออกเครื่องปรับอากาศไปอิตาลีเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 79 คิดเป็นร้อยละ 14 ของมูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศทั้งหมดของไทย ทำให้อิตาลียังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2547--
-พห-
จากขนาดของตลาดเครื่องปรับอากาศในอิตาลีที่ค่อนข้างใหญ่และยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ยังติดตั้งเครื่องปรับอากาศไม่มากนัก ขณะที่มีโครงการก่อสร้างใหม่ๆ เกิดมากขึ้น รวมทั้งสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุกปีทำให้ตลาดเครื่องปรับอากาศมีแนวโน้มสดใส จึงเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยที่จะเร่งขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องปรับอากาศไทยในอิตาลี
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปอิตาลีมีดังนี้
- กลุ่มผู้ใช้เครื่องปรับอากาศ กลุ่มผู้ใช้หลัก คือ กลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และอาคารสำนักงาน นิยมใช้เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดพลังงาน รองลงมา คือ กลุ่มครัวเรือน ส่วนใหญ่นิยมใช้แบบติดผนังมากกว่าแบบตั้งพื้นและนิยมเลือกซื้อโดยดูจากรูปลักษณ์ที่สวยงามเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพที่อยู่อาศัย
- คู่แข่งและส่วนแบ่งทางการตลาด จีนเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดเครื่องปรับอากาศในอิตาลี เนื่องจากความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตจากค่าจ้างแรงงานราคาถูก ทำให้สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 26 (ข้อมูล ณ ปี 2546) รองลงมา คือ เบลเยียม (ร้อยละ 15) ขณะที่ไทยเป็นอันดับ 3 (ร้อยละ 13)
- ระเบียบการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีนำเข้า โดยทั่วไปอิตาลีเรียกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบในอัตราร้อยละ 2.2-2.7 และเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากอิตาลีจึงได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
- มาตรฐานสินค้า การนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบของ EU อาทิ กฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment: WEEE) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบในการทำลายซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว รวมทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2547 ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ (Registration, Evaluation and Authorization of Chemical: REACH) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนเคมีภัณฑ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและสินค้า ตลอดจนต้องปิดฉลากสินค้าเพื่อระบุถึงส่วนประกอบที่เป็นเคมีภัณฑ์ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2548 และกฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้สารอันตรายบางชนิดในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Restriction on Hazardous Substances: RoHS) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตต้องจัดหาวัสดุใหม่เพื่อทดแทนวัสดุเดิมที่เป็นอันตรายที่เคยใช้ในการผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ EU กำหนดให้ยกเลิกการใช้สารอันตราย 6 ชนิด คือ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท โครเมียม-6 โพรลิโบรมิเนตไบฟีนิล (PBB) และโพรลิโบรมิเนตไดฟีนิล อีเทอร์ (PBDE) เพื่อลดผลกระทบของสารเคมีอันตรายที่มีต่อสุขอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549
แม้ว่าปัจจุบันเครื่องปรับอากาศของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในอิตาลี ซึ่งเป็นผลจากการเร่งปรับปรุงสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่ EU กำหนด และเร่งพัฒนาการออกแบบให้เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้ใช้หลัก ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ไทยสามารถส่งออกเครื่องปรับอากาศไปอิตาลีเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 79 คิดเป็นร้อยละ 14 ของมูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศทั้งหมดของไทย ทำให้อิตาลียังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2547--
-พห-