จัดอันดับท็อปเท็นทุจริตแห่งปี 2547
ตั้งฉายารัฐบาล ‘เก่งแต่โกง’ สัญลักษณ์คอรัปชั่นแห่งปี 2547 คือ ชู 2 นิ้ว 20
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบทุจริตของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงที่รัฐสภาวันนี้(21 ธ.ค.47 )ว่า คณะทำงานฯ.ได้สรุปสถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นตลอดปี 2547 โดยจัดอันดับท็อปเทนทุจริตแห่งปี 2547 และขนานนามปี 2547 เป็นปีทองของการคอรัปชั่น คัดเลือกสัญลักษณ์คอรัปชั่นแห่งปี2547 คือ ชู 2 นิ้ว 20%
และตั้งฉายารัฐบาลว่าเป็น “รัฐบาลเก่ง ?แต่โกง” เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามการคอรัปชั่นอย่างเด็ดขาดมิหนำซ้ำกลับปกป้องอุ้มพวกพ้องที่พัวพันการทุจริตและยังมีส่วนร่วมในการทุจริตเสียเองด้วยรูปแบบกลโกงแยบยลใหม่ๆอย่างชาญฉลาดทั้งการทุจริตเชิงนโยบาย และการฮั้วประมูล โดยส่วนใหญ่มีนักการเมืองในรัฐบาลตั้งแต่ระดับ S-M-จนถึง L หรือ SML เล็กกลางใหญ่ มีส่วนพัวพันทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง มีการใช้นโยบายของรัฐบาล มติครม. และกระบวนการงบประมาณแบบใหม่เอื้ออาทรประโยชน์ให้พวกพ้องอย่างไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ นับเป็นการ ”แปลงอำนาจรัฐเป็นทุน” อย่างโจ๋งครึ่ม ทำให้วงจรอุบาตก์ของการคอรัปชั่นแพร่ระบาดในทุกระดับ กัดกินประเทศชาติลึกถึง ”กระดูกดำ” และคอรัปชั่นกลายเป็น ”ลมหายใจ” ของสังคมไทยจนถึงขั้นวิกฤติ ถือเป็นปีทองของการคอรัปชั่นทางการเมืองอย่างแท้จริง เฉพาะปี 2547 มีโครงการที่ส่อ พฤติกรรมทุจริตผิดพรบ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุและกฎหมายอาญา 10อันดับแรกได้แก่
1. โครงการประมูลคอมพิวเตอร์ 900 ล้านของกระทรวงสาธารณสุข
เป็นการประมูลระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงินการคลังและข้อมูลโรงพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่อื้อฉาวโดยอดีตปลัดกระทรวงออกมาแฉว่ามีนักการเมืองในกระทรวงมีส่วนพัวพันผลประโยชน์กรณีนี้ขนาดพชู ๒นิ้วบอกจำนวนผลประโยชน์ที่จะได้รับหากล้มประมูลและบริษัทพรรคพวกได้งาน จากนั้นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สธ.ส่อพิรุธด้วยการส่งสัญญานให้มีการล้มประมูล
2. โครงการประมูลโทรศัพท์ 5.6 แสนเลขหมายในเขตนครหลวงและภูมิภาคของ บริษัท ทศท.คอปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ในสังกัดกระทรวงไอซีที.มูลค่า 8,000 ล้านบาท
เป็นการประกวดราคาที่ไม่โปร่งใสตั้งแต่การกำหนดราคากลาง การทดสอบอุปกรณ์และการพิจารณาทางเทคนิครวมทั้งการพิจารณาผลการประกวดราคาโดยมี “นักธุรกิจการเมือง”ที่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจในรัฐบาลอยู่เบื้องหลังการประมูลครั้งนี้
3. โครงการประมูลเช่าระบบคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์สำเร็จรูป 3,192 ล้านบาทของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เป็นอีกโครงการที่ตรวจสอบหลักฐานและพยานมีเหตุเชื่อได้ว่าส่อทุจริตเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเครือญาติของนายกรัฐมนตรีโดยมีการเอื้ออำนวยให้มีการแสวงประโยชน์ในโครงการนี้ตั้งแต่ระดับครม.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเห็นชอบเปลี่ยนโครงการจัดซื้อเป็นการเช่าและมีความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลจนเหลือรารยเดียวที่ผ่านเทคนิคไม่มีการแข่งขันประกวดราคาไม่มีการทำ E-AUCTION และกิจการร่วมค้ารายที่ชนะประมูลมีบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือน้องสาวน้องชายของนายกรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วยและเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท
4. โครงการธสน.ให้พม่ากู้ 4,000 ตามนโยบายของรัฐบาล
เป็นการส่อทุจริตเชิงนโยบายที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนโดยนายกรัฐมนตรีอาศัยมติครม.กำหนดโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศพม่ากู้ซอล์ฟโลนพิเศษ 4,000 ล้านบาทจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยโดยให้กระทรวงการคลังของไทยค้ำประกันเงินกู้ขอิงพม่า ปรากฏว่าบริษัทลูกชายนายกรัฐมนตรีพม่าและบริษัทที่มีลูกชายของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เป็นซัพพลายเออร์ของโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียมบรอดแบนด์ของพม่า ต่อมามีการรัฐประหารเงียบโค่นล้มนายกรัฐมนตรีของพม่าด้วยข้อกล่าวหาคอรัปชั่นรวมถึงโครงการดังกล่าวด้วย
5. โครงการประมูลโซล่าร์โฮม 7,631 ล้านบาทของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โครงการโซล่าร์โฮมหรือไฟฟ้าเอื้ออาทรกำหนดขึ้นเพื่อให้บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ๓แสนหลังทั่วประเทศมีไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใช้โดยมีค่าใช้จ่ายหลังละ 25,000 บาทคิดเป็นวงเงินรวม 7,631 ล้านบาท ปรากฏว่ามีความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลและบริษัทที่ชนะมีนักการเมืองในรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือเป็นการอีกโครงการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องที่ฉาวโฉ่อีกกรณีหนึ่งในปี2547
6. โครงการสัมปทานก่อสร้างและประกอบการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง 30 ปี มูลค่า 270,000 ล้านบาท
เป็นการประมูลสัมปทานโครงการให้เอกชนรายเดียวบริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง 6 ท่าคือ ท่า A3 C1 C2 D1 D 2 และ D3 ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและมีการกลุ่มบริษัทต่างชาติคือบริษัทฮัทชิสันพอร์ตโฮลดิ้งจำกัดแต่เพียงรายเดียวได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2547 โดยผู้เสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงสุดกลับพ่ายแพ้การประมูลและถูกมองว่าเป็นสัญญาที่ประเทศชาติเสียเปรียบต่างชาติทั้งในแง่การลงทุนและผลประโยชน์ตอบแทน ถือเป็นกรณีที่ถูกตั้งข้อสงสัยมากที่สุดโครงการหนึ่งว่ามีคนในรัฐบาลได้ประโยชน์จำนวนมหาศาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตและเป็นโครงการสัมปทานขนาดใหญ่ที่สุดประจำปี 2547 แต่ใช้เวลาสั้นที่สุดคือ 5 เดือนตั้งแต่มีมติบอร์ดของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนถึงคณะรัฐมนตรีมีมติผลการคัดเลือก จนศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหฟาวิทยาลัยสรุปว่าเป็นการฉ้อฉลแบบบูรณาการกรณีหนึ่งและนับเป็นการประมูลที่เร่งรัดรวบรัดเร็วที่สุดส่งท้ายปีเหมือนการประมูลแอร์พอร์ตลิ้งก์ (AIRPORT RAIL LINK)
7. การทุจริตโครงการแทรกแซงราคาลำไยปี 2547
โครงการแทรกแซงราคาลำไยเพื่อแก้ปัญหาราคาลำไยตกต่ำในพื้นที่ ๘ จังหวัดภาคเหนือที่มีผลผลิต 5แสนตันในปี 2547 ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรโดยให้บริษัทเอกชนรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรมาทำการอบแห้งบรรจุกล่องและจำหน่ายปรากฏว่าเกิดการทุจริตซ้ำซากอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2545 อีกครั้งหนึ่งโดยกลุ่มทุจริตเครือข่ายเดิมที่มีนักการเมืองพ่อค้านักธุรกิจในภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนร่วมกันใช้กลโกงเวียนเทียนนำลำไยอบแห้งเก่าค้างปีมาผสมลำไยอบแห้งใหม่และเอาลำไยเกรดต่ำผสมกับลำไยเกรดสูงทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยและรัฐเสียหายเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านและมีข้อสงสัยว่าทำไมนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนเหนือแท้ๆถึงปล่อยปละละเลยให้มีการฉ้อโกงเกษตรกรชาวสวนลำไยโดยไม่ยอมกำจัดขบวนการทุจริตลำไยให้สิ้นซากหรือกลัวหยิกเล็บเจ็บเนื้อไม่กล้าจัดการพวกเดียวกัน
8. การทุจริตโครงการรับจำนำข้าวปี 2547
การแทรกแซงราคาข้าวโดยวิธีรับจำนำข้าวของกระทรวงพาณิชย์ฤดูการผลิต ปี 2546/2547 เกิดการทุจริตอีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีการสต็อกลมและเวียนเทียนข้าวเก่าในโครงการรับจำนำข้าวปี 2544/2545 ปี 2545/2546 ข้าวนาปรังปี 2546 ในโกดังที่อคส.และอตก.ฝากเก็บข้าวสารมาผสมกับข้าวใหม่ในโครงการรับจำนำข้าวปี 2546/2547 โดยมีขบวนการทุจริตที่โยงใยถึงโรงสี บริษัทผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว(เซอร์เวเยอร์)และบริษัทผู้ส่งออกซึ่งหนึ่งในบริษัทที่ถูกจับได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับรัฐมนตรีคนสำคัญของรัฐบาลและได้รับการสนับสนุนจนถีบตัวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศภายในเวลา 3 ปี นับเป็นการคอรัปชั่นอัปยศที่หากินกับความยากจนของชาวนาแบบจำเจซ้ำซากที่รัฐบาลประสบความล้มเหลวในการปราบปรามขบวนการทุจริตข้าว ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นยังประเมินค่าไม่ได้
9. การประมูลกล้ายาง 90 ล้านต้นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ไม่โปร่งใสส่อทุจริตเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประมูลกล้ายาง 90 ล้านต้นวงเงินงบประมาณ 1,440 ล้านบาท ตามนดยบายขยายการปลูกยางพารา 1 ล้านต้น ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความไม่ปกติตั้งแต่การรวบรัดประมูลกล้ายางรวดเดียว 90 ล้านต้น และขั้นตอนการประมูล เพราะมีบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเกษตรที่ไม่เคยเพาะกล้ายาง แม้แต่ต้นเดียวชนะการประมูลและ 3 บริษัทที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติรอบสุดท้ายมีความสัมพันธ์เป็นบริษัทในเครือเดียวกันเพราะกรรมการบริษัทถือหุ้นไขว้กัน ผลการส่งออกมอบกล้ายางงวดแรกเดือนพฤษภาคม 2547 ส่งได้เพียง 3 แสนต้น จากจำนวน 1.8 ล้านต้นทำให้ เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการเดือดร้อนอย่างหนัก แต่นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตร กินอิ่มนอนหลับสบายไปเรียบร้อย เป็นกรรีที่ชาวสวนยางถูกโกงซึ่งๆหน้าหน้าจากคนในรัฐบาล ‘เก่งแต่โกง’
10. การทุจริตโครงการจัดซื้อเสื้อเกราะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การจัดซื้อเสื้อเกราะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอื้อฉาวมาตลอดอายุของรัฐบาลชุดนี้และโครงการจัดซื้อปี 2547 ล่าสุดซึ่งแม้จะมีวงเงินไม่มากคือจัดซื้อจำนวน 3,824 ตัว งบประมาณ 63 ล้านบาท แต่พฤติกรรมของขบวนการทุจริตถือว่าอุกอาจร้ายแรงที่สุดในรอบปีโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับนายพล และนายพันขุมขุ่กลุ่มบริษัทที่เสนอราคาต่สุดให้ถอนตัวเมื่อไม่สำเร็จก็ให้ล้มการประมูลและดำเนินการกลั่นแกล้งทุกรูปแบบ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นใต้จมูกนายกฯที่เคยเป้นตำรวจเก่าและได้รับข้อมูลความฉ้อฉลทุกอย่างแต่กลับนิ่งเฉย และเตรียมจัดซื้อด้วยวิธีกรณีพอเศษอีกครั้งหนึ่งแทนการประมูล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ตั้งฉายารัฐบาล ‘เก่งแต่โกง’ สัญลักษณ์คอรัปชั่นแห่งปี 2547 คือ ชู 2 นิ้ว 20
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบทุจริตของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงที่รัฐสภาวันนี้(21 ธ.ค.47 )ว่า คณะทำงานฯ.ได้สรุปสถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นตลอดปี 2547 โดยจัดอันดับท็อปเทนทุจริตแห่งปี 2547 และขนานนามปี 2547 เป็นปีทองของการคอรัปชั่น คัดเลือกสัญลักษณ์คอรัปชั่นแห่งปี2547 คือ ชู 2 นิ้ว 20%
และตั้งฉายารัฐบาลว่าเป็น “รัฐบาลเก่ง ?แต่โกง” เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามการคอรัปชั่นอย่างเด็ดขาดมิหนำซ้ำกลับปกป้องอุ้มพวกพ้องที่พัวพันการทุจริตและยังมีส่วนร่วมในการทุจริตเสียเองด้วยรูปแบบกลโกงแยบยลใหม่ๆอย่างชาญฉลาดทั้งการทุจริตเชิงนโยบาย และการฮั้วประมูล โดยส่วนใหญ่มีนักการเมืองในรัฐบาลตั้งแต่ระดับ S-M-จนถึง L หรือ SML เล็กกลางใหญ่ มีส่วนพัวพันทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง มีการใช้นโยบายของรัฐบาล มติครม. และกระบวนการงบประมาณแบบใหม่เอื้ออาทรประโยชน์ให้พวกพ้องอย่างไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ นับเป็นการ ”แปลงอำนาจรัฐเป็นทุน” อย่างโจ๋งครึ่ม ทำให้วงจรอุบาตก์ของการคอรัปชั่นแพร่ระบาดในทุกระดับ กัดกินประเทศชาติลึกถึง ”กระดูกดำ” และคอรัปชั่นกลายเป็น ”ลมหายใจ” ของสังคมไทยจนถึงขั้นวิกฤติ ถือเป็นปีทองของการคอรัปชั่นทางการเมืองอย่างแท้จริง เฉพาะปี 2547 มีโครงการที่ส่อ พฤติกรรมทุจริตผิดพรบ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุและกฎหมายอาญา 10อันดับแรกได้แก่
1. โครงการประมูลคอมพิวเตอร์ 900 ล้านของกระทรวงสาธารณสุข
เป็นการประมูลระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงินการคลังและข้อมูลโรงพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่อื้อฉาวโดยอดีตปลัดกระทรวงออกมาแฉว่ามีนักการเมืองในกระทรวงมีส่วนพัวพันผลประโยชน์กรณีนี้ขนาดพชู ๒นิ้วบอกจำนวนผลประโยชน์ที่จะได้รับหากล้มประมูลและบริษัทพรรคพวกได้งาน จากนั้นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สธ.ส่อพิรุธด้วยการส่งสัญญานให้มีการล้มประมูล
2. โครงการประมูลโทรศัพท์ 5.6 แสนเลขหมายในเขตนครหลวงและภูมิภาคของ บริษัท ทศท.คอปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ในสังกัดกระทรวงไอซีที.มูลค่า 8,000 ล้านบาท
เป็นการประกวดราคาที่ไม่โปร่งใสตั้งแต่การกำหนดราคากลาง การทดสอบอุปกรณ์และการพิจารณาทางเทคนิครวมทั้งการพิจารณาผลการประกวดราคาโดยมี “นักธุรกิจการเมือง”ที่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจในรัฐบาลอยู่เบื้องหลังการประมูลครั้งนี้
3. โครงการประมูลเช่าระบบคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์สำเร็จรูป 3,192 ล้านบาทของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เป็นอีกโครงการที่ตรวจสอบหลักฐานและพยานมีเหตุเชื่อได้ว่าส่อทุจริตเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเครือญาติของนายกรัฐมนตรีโดยมีการเอื้ออำนวยให้มีการแสวงประโยชน์ในโครงการนี้ตั้งแต่ระดับครม.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเห็นชอบเปลี่ยนโครงการจัดซื้อเป็นการเช่าและมีความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลจนเหลือรารยเดียวที่ผ่านเทคนิคไม่มีการแข่งขันประกวดราคาไม่มีการทำ E-AUCTION และกิจการร่วมค้ารายที่ชนะประมูลมีบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือน้องสาวน้องชายของนายกรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วยและเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท
4. โครงการธสน.ให้พม่ากู้ 4,000 ตามนโยบายของรัฐบาล
เป็นการส่อทุจริตเชิงนโยบายที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนโดยนายกรัฐมนตรีอาศัยมติครม.กำหนดโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศพม่ากู้ซอล์ฟโลนพิเศษ 4,000 ล้านบาทจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยโดยให้กระทรวงการคลังของไทยค้ำประกันเงินกู้ขอิงพม่า ปรากฏว่าบริษัทลูกชายนายกรัฐมนตรีพม่าและบริษัทที่มีลูกชายของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เป็นซัพพลายเออร์ของโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียมบรอดแบนด์ของพม่า ต่อมามีการรัฐประหารเงียบโค่นล้มนายกรัฐมนตรีของพม่าด้วยข้อกล่าวหาคอรัปชั่นรวมถึงโครงการดังกล่าวด้วย
5. โครงการประมูลโซล่าร์โฮม 7,631 ล้านบาทของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โครงการโซล่าร์โฮมหรือไฟฟ้าเอื้ออาทรกำหนดขึ้นเพื่อให้บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ๓แสนหลังทั่วประเทศมีไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใช้โดยมีค่าใช้จ่ายหลังละ 25,000 บาทคิดเป็นวงเงินรวม 7,631 ล้านบาท ปรากฏว่ามีความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลและบริษัทที่ชนะมีนักการเมืองในรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือเป็นการอีกโครงการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องที่ฉาวโฉ่อีกกรณีหนึ่งในปี2547
6. โครงการสัมปทานก่อสร้างและประกอบการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง 30 ปี มูลค่า 270,000 ล้านบาท
เป็นการประมูลสัมปทานโครงการให้เอกชนรายเดียวบริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง 6 ท่าคือ ท่า A3 C1 C2 D1 D 2 และ D3 ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและมีการกลุ่มบริษัทต่างชาติคือบริษัทฮัทชิสันพอร์ตโฮลดิ้งจำกัดแต่เพียงรายเดียวได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2547 โดยผู้เสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงสุดกลับพ่ายแพ้การประมูลและถูกมองว่าเป็นสัญญาที่ประเทศชาติเสียเปรียบต่างชาติทั้งในแง่การลงทุนและผลประโยชน์ตอบแทน ถือเป็นกรณีที่ถูกตั้งข้อสงสัยมากที่สุดโครงการหนึ่งว่ามีคนในรัฐบาลได้ประโยชน์จำนวนมหาศาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตและเป็นโครงการสัมปทานขนาดใหญ่ที่สุดประจำปี 2547 แต่ใช้เวลาสั้นที่สุดคือ 5 เดือนตั้งแต่มีมติบอร์ดของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนถึงคณะรัฐมนตรีมีมติผลการคัดเลือก จนศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหฟาวิทยาลัยสรุปว่าเป็นการฉ้อฉลแบบบูรณาการกรณีหนึ่งและนับเป็นการประมูลที่เร่งรัดรวบรัดเร็วที่สุดส่งท้ายปีเหมือนการประมูลแอร์พอร์ตลิ้งก์ (AIRPORT RAIL LINK)
7. การทุจริตโครงการแทรกแซงราคาลำไยปี 2547
โครงการแทรกแซงราคาลำไยเพื่อแก้ปัญหาราคาลำไยตกต่ำในพื้นที่ ๘ จังหวัดภาคเหนือที่มีผลผลิต 5แสนตันในปี 2547 ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรโดยให้บริษัทเอกชนรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรมาทำการอบแห้งบรรจุกล่องและจำหน่ายปรากฏว่าเกิดการทุจริตซ้ำซากอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2545 อีกครั้งหนึ่งโดยกลุ่มทุจริตเครือข่ายเดิมที่มีนักการเมืองพ่อค้านักธุรกิจในภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนร่วมกันใช้กลโกงเวียนเทียนนำลำไยอบแห้งเก่าค้างปีมาผสมลำไยอบแห้งใหม่และเอาลำไยเกรดต่ำผสมกับลำไยเกรดสูงทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยและรัฐเสียหายเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านและมีข้อสงสัยว่าทำไมนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนเหนือแท้ๆถึงปล่อยปละละเลยให้มีการฉ้อโกงเกษตรกรชาวสวนลำไยโดยไม่ยอมกำจัดขบวนการทุจริตลำไยให้สิ้นซากหรือกลัวหยิกเล็บเจ็บเนื้อไม่กล้าจัดการพวกเดียวกัน
8. การทุจริตโครงการรับจำนำข้าวปี 2547
การแทรกแซงราคาข้าวโดยวิธีรับจำนำข้าวของกระทรวงพาณิชย์ฤดูการผลิต ปี 2546/2547 เกิดการทุจริตอีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีการสต็อกลมและเวียนเทียนข้าวเก่าในโครงการรับจำนำข้าวปี 2544/2545 ปี 2545/2546 ข้าวนาปรังปี 2546 ในโกดังที่อคส.และอตก.ฝากเก็บข้าวสารมาผสมกับข้าวใหม่ในโครงการรับจำนำข้าวปี 2546/2547 โดยมีขบวนการทุจริตที่โยงใยถึงโรงสี บริษัทผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว(เซอร์เวเยอร์)และบริษัทผู้ส่งออกซึ่งหนึ่งในบริษัทที่ถูกจับได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับรัฐมนตรีคนสำคัญของรัฐบาลและได้รับการสนับสนุนจนถีบตัวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศภายในเวลา 3 ปี นับเป็นการคอรัปชั่นอัปยศที่หากินกับความยากจนของชาวนาแบบจำเจซ้ำซากที่รัฐบาลประสบความล้มเหลวในการปราบปรามขบวนการทุจริตข้าว ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นยังประเมินค่าไม่ได้
9. การประมูลกล้ายาง 90 ล้านต้นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ไม่โปร่งใสส่อทุจริตเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประมูลกล้ายาง 90 ล้านต้นวงเงินงบประมาณ 1,440 ล้านบาท ตามนดยบายขยายการปลูกยางพารา 1 ล้านต้น ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความไม่ปกติตั้งแต่การรวบรัดประมูลกล้ายางรวดเดียว 90 ล้านต้น และขั้นตอนการประมูล เพราะมีบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเกษตรที่ไม่เคยเพาะกล้ายาง แม้แต่ต้นเดียวชนะการประมูลและ 3 บริษัทที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติรอบสุดท้ายมีความสัมพันธ์เป็นบริษัทในเครือเดียวกันเพราะกรรมการบริษัทถือหุ้นไขว้กัน ผลการส่งออกมอบกล้ายางงวดแรกเดือนพฤษภาคม 2547 ส่งได้เพียง 3 แสนต้น จากจำนวน 1.8 ล้านต้นทำให้ เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการเดือดร้อนอย่างหนัก แต่นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตร กินอิ่มนอนหลับสบายไปเรียบร้อย เป็นกรรีที่ชาวสวนยางถูกโกงซึ่งๆหน้าหน้าจากคนในรัฐบาล ‘เก่งแต่โกง’
10. การทุจริตโครงการจัดซื้อเสื้อเกราะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การจัดซื้อเสื้อเกราะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอื้อฉาวมาตลอดอายุของรัฐบาลชุดนี้และโครงการจัดซื้อปี 2547 ล่าสุดซึ่งแม้จะมีวงเงินไม่มากคือจัดซื้อจำนวน 3,824 ตัว งบประมาณ 63 ล้านบาท แต่พฤติกรรมของขบวนการทุจริตถือว่าอุกอาจร้ายแรงที่สุดในรอบปีโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับนายพล และนายพันขุมขุ่กลุ่มบริษัทที่เสนอราคาต่สุดให้ถอนตัวเมื่อไม่สำเร็จก็ให้ล้มการประมูลและดำเนินการกลั่นแกล้งทุกรูปแบบ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นใต้จมูกนายกฯที่เคยเป้นตำรวจเก่าและได้รับข้อมูลความฉ้อฉลทุกอย่างแต่กลับนิ่งเฉย และเตรียมจัดซื้อด้วยวิธีกรณีพอเศษอีกครั้งหนึ่งแทนการประมูล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-