กรุงเทพ--27 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2547 นายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังจากการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย และสหภาพยุโรปกับสิงคโปร์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยราชการต่างๆ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปคือนาย Fokion Fotiadis อธิบดีกรมเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศ สหภาพยุโรป พร้อมด้วยผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นครั้งแรกที่สองฝ่ายได้จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย ซึ่งครอบคลุมทุก ๆ ด้านและจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทุกๆ มิติ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เสนอให้ฝ่าย EU พิจารณาระหว่างการเยือน EU เมื่อปี 2545 และเป็นการแสดงให้เห็นว่า สหภาพยุโรปได้เห็นความสำคัญของไทยในฐานะที่เป็นพลังขับเคลื่อนในภูมิภาค และสามารถร่วมมือกับสหภาพยุโรปที่จะส่งเสริมให้กรอบความร่วมมือในภูมิภาคเข้มแข็งยิ่งขึ้น การเจรจาครั้งนี้เป็นการเจรจาในกรอบความร่วมมือกว้าง ๆ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันในอนาคต ไม่มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น และไม่มีการพาดพิงถึงประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม โดยที่การเจรจาครั้งนี้ยังเป็นการเจรจาในรอบแรก จึงยังคงต้องมีการเจรจาหารือกันต่อไป ซึ่งจะเริ่มการเจรจารอบต่อไปประมาณต้นปี 2548 และคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในปี 2548 ทั้งนี้ หากการเจรจาสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ก็จะถือว่าเป็นความตกลงฉบับแรกของสหภาพยุโรปที่จะใช้เป็นมาตรฐานในการเจรจาจัดทำความตกลงกับประเทศอื่นต่อไป
การเจรจาในรูปแบบของหุ้นส่วน (Partnership) ถือเป็นรูปแบบใหม่ที่ที่อยู่ภายใต้กรอบนโยบาย New Partnership: the Country in Southeast Asia แม้ว่าก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปได้ทำความตกลงทวิภาคีกับจีน และญี่ปุ่น รวมทั้งลาว กัมพูชา และเวียดนาม แต่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบดังกล่าวที่จัดทำกับไทย
2. ประเด็นหนึ่งของการเจรจาครั้งนี้ไทยได้หารือเรื่องความร่วมมือในภาคประชาชน ซึ่งเราเห็นว่าเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์และความร่วมมือระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องประชาชนต่อประชาชน เยาวชน การศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งต่างฝ่ายต่างส่งเสริมภาพลักษณ์ และได้สร้างความเข้าใจของประชาชนในสหภาพยุโรปต่อประเทศไทยให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น สำหรับด้านการศึกษานั้น สหภาพยุโรปได้จัดสรรทุนการศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่งจะประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกทราบ ในส่วนของประเทศไทยนั้น สหภาพยุโรปได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทยไปศึกษาในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ในระดับปริญญาโทในทุกสาขาวิชาประมาณ 100 ทุน ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 2-3 ล้านยูโร นอกจากนี้ ไทยยังได้ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย (Research Institute) ให้มีการติดต่อระหว่างกันมากขึ้น และยังได้มีการหารือกันในเรื่องการสร้างเครือข่ายโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister School) ซึ่งฝ่ายสหภาพยุโรป ได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาด้วย
3. ในเรื่องเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ไทย (GSP) นั้น หัวหน้าคณะผู้แทนไทยฯ กล่าวว่าในหลักการ สหภาพยุโรปได้พิจารณาให้ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในบัญชีของประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ แต่ว่ายังมีขั้นตอนการพิจารณาของสหภาพยุโรปอีกมาก จึงยังไม่สามารถสรุปในชั้นนี้ได้ว่าไทยได้รับ GSP เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวและยังคงติดตามสถานะของเรื่องอย่างใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2547 นายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังจากการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย และสหภาพยุโรปกับสิงคโปร์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยราชการต่างๆ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปคือนาย Fokion Fotiadis อธิบดีกรมเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศ สหภาพยุโรป พร้อมด้วยผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นครั้งแรกที่สองฝ่ายได้จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย ซึ่งครอบคลุมทุก ๆ ด้านและจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทุกๆ มิติ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เสนอให้ฝ่าย EU พิจารณาระหว่างการเยือน EU เมื่อปี 2545 และเป็นการแสดงให้เห็นว่า สหภาพยุโรปได้เห็นความสำคัญของไทยในฐานะที่เป็นพลังขับเคลื่อนในภูมิภาค และสามารถร่วมมือกับสหภาพยุโรปที่จะส่งเสริมให้กรอบความร่วมมือในภูมิภาคเข้มแข็งยิ่งขึ้น การเจรจาครั้งนี้เป็นการเจรจาในกรอบความร่วมมือกว้าง ๆ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันในอนาคต ไม่มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น และไม่มีการพาดพิงถึงประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม โดยที่การเจรจาครั้งนี้ยังเป็นการเจรจาในรอบแรก จึงยังคงต้องมีการเจรจาหารือกันต่อไป ซึ่งจะเริ่มการเจรจารอบต่อไปประมาณต้นปี 2548 และคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในปี 2548 ทั้งนี้ หากการเจรจาสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ก็จะถือว่าเป็นความตกลงฉบับแรกของสหภาพยุโรปที่จะใช้เป็นมาตรฐานในการเจรจาจัดทำความตกลงกับประเทศอื่นต่อไป
การเจรจาในรูปแบบของหุ้นส่วน (Partnership) ถือเป็นรูปแบบใหม่ที่ที่อยู่ภายใต้กรอบนโยบาย New Partnership: the Country in Southeast Asia แม้ว่าก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปได้ทำความตกลงทวิภาคีกับจีน และญี่ปุ่น รวมทั้งลาว กัมพูชา และเวียดนาม แต่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบดังกล่าวที่จัดทำกับไทย
2. ประเด็นหนึ่งของการเจรจาครั้งนี้ไทยได้หารือเรื่องความร่วมมือในภาคประชาชน ซึ่งเราเห็นว่าเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์และความร่วมมือระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องประชาชนต่อประชาชน เยาวชน การศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งต่างฝ่ายต่างส่งเสริมภาพลักษณ์ และได้สร้างความเข้าใจของประชาชนในสหภาพยุโรปต่อประเทศไทยให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น สำหรับด้านการศึกษานั้น สหภาพยุโรปได้จัดสรรทุนการศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่งจะประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกทราบ ในส่วนของประเทศไทยนั้น สหภาพยุโรปได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทยไปศึกษาในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ในระดับปริญญาโทในทุกสาขาวิชาประมาณ 100 ทุน ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 2-3 ล้านยูโร นอกจากนี้ ไทยยังได้ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย (Research Institute) ให้มีการติดต่อระหว่างกันมากขึ้น และยังได้มีการหารือกันในเรื่องการสร้างเครือข่ายโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister School) ซึ่งฝ่ายสหภาพยุโรป ได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาด้วย
3. ในเรื่องเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ไทย (GSP) นั้น หัวหน้าคณะผู้แทนไทยฯ กล่าวว่าในหลักการ สหภาพยุโรปได้พิจารณาให้ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในบัญชีของประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ แต่ว่ายังมีขั้นตอนการพิจารณาของสหภาพยุโรปอีกมาก จึงยังไม่สามารถสรุปในชั้นนี้ได้ว่าไทยได้รับ GSP เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวและยังคงติดตามสถานะของเรื่องอย่างใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-