แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 - 12 ธ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,304.14 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 656.58 ตัน สัตว์น้ำจืด 647.56 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.84 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 102.24 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 79.09 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.69 ตัน
การตลาด
สหรัฐประกาศผลการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งขั้นสุดท้าย
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมงเปิดเผยถึงผลประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)ขั้นสุดท้ายของสินค้ากุ้งที่สหรัฐฯนำเข้าจาก 6 ประเทศว่า โดยภาพรวมอัตราส่วนเหลื่อมภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งขั้นสุดท้ายที่สหรัฐฯเรียกเก็บจาก 6 ประเทศ คือ บราซิลร้อยละ 10.40 จากเดิมร้อยละ 36.91 เอกวาดอร์ ร้อยละ 3.26 จากเดิมร้อยละ 7.30 อินเดียร้อยละ 9.45 จากเดิมร้อยละ 14.20 จีนร้อยละ 112.81 จากเดิมร้อยละ 112.81 เวียดนามร้อยละ 4.38 จากเดิมร้อยละ 93.13 และไทยร้อยละ 6.03 จากเดิมร้อยละ 6.39 จะเห็นได้ว่าไทยมีอัตราส่วนเหลื่อมที่ถูกเรียกเก็บภาษีลดลงและน้อยกว่าจีน อินเดีย และบราซิล แม้ว่าจะสูงกว่าเอกวาดอร์และเวียดนาม แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เนื่องจากเอกวาดอร์ไม่ใช่ประเทศคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับไทย เพราะเอกวาดอร์ยังมีปัญหาเรื่องระบบการเพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงแบบไม่หนาแน่น และยังมีปัญหาโรคกุ้ง ทำให้ผลผลิตกุ้งของเอกวาดอร์ไม่มากนัก
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบอัตราส่วนเหลื่อมภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐฯที่ประกาศในครั้งนี้ คาดว่าสัดส่วนของสินค้ากุ้งที่สหรัฐฯนำเข้าจากประเทศต่างๆจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสูงจะถูกลดสัดส่วนทางการตลาดลง ขณะที่ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจะได้รับโอกาสคืนมากหากเทียบกับจีน อินเดีย และบราซิล เนื่องจากสินค้ากุ้งของไทยมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจากผลประกาศอัตราตอบโต้การทุ่มตลาด(AD) ขั้นสุดท้ายของสินค้ากุ้งของสหรัฐฯในครั้งนี้จะนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ(ITC) ประมาณวันที่ 31 มกราคม 2548 ซึ่งหากไม่พบความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯก็จะยุติการไต่สวน แต่หากยืนยันว่าทำให้เกิดความเสียหายก็จะเสนอให้เรียกเก็บเงินหรือพันธบัตรในการนำเข้ากุ้งต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 24 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.08 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.78 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 50 ประจำวันที่ 20-26 ธันวาคม 2547--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 - 12 ธ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,304.14 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 656.58 ตัน สัตว์น้ำจืด 647.56 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.84 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 102.24 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 79.09 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.69 ตัน
การตลาด
สหรัฐประกาศผลการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งขั้นสุดท้าย
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมงเปิดเผยถึงผลประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)ขั้นสุดท้ายของสินค้ากุ้งที่สหรัฐฯนำเข้าจาก 6 ประเทศว่า โดยภาพรวมอัตราส่วนเหลื่อมภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งขั้นสุดท้ายที่สหรัฐฯเรียกเก็บจาก 6 ประเทศ คือ บราซิลร้อยละ 10.40 จากเดิมร้อยละ 36.91 เอกวาดอร์ ร้อยละ 3.26 จากเดิมร้อยละ 7.30 อินเดียร้อยละ 9.45 จากเดิมร้อยละ 14.20 จีนร้อยละ 112.81 จากเดิมร้อยละ 112.81 เวียดนามร้อยละ 4.38 จากเดิมร้อยละ 93.13 และไทยร้อยละ 6.03 จากเดิมร้อยละ 6.39 จะเห็นได้ว่าไทยมีอัตราส่วนเหลื่อมที่ถูกเรียกเก็บภาษีลดลงและน้อยกว่าจีน อินเดีย และบราซิล แม้ว่าจะสูงกว่าเอกวาดอร์และเวียดนาม แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เนื่องจากเอกวาดอร์ไม่ใช่ประเทศคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับไทย เพราะเอกวาดอร์ยังมีปัญหาเรื่องระบบการเพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงแบบไม่หนาแน่น และยังมีปัญหาโรคกุ้ง ทำให้ผลผลิตกุ้งของเอกวาดอร์ไม่มากนัก
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบอัตราส่วนเหลื่อมภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐฯที่ประกาศในครั้งนี้ คาดว่าสัดส่วนของสินค้ากุ้งที่สหรัฐฯนำเข้าจากประเทศต่างๆจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสูงจะถูกลดสัดส่วนทางการตลาดลง ขณะที่ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจะได้รับโอกาสคืนมากหากเทียบกับจีน อินเดีย และบราซิล เนื่องจากสินค้ากุ้งของไทยมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจากผลประกาศอัตราตอบโต้การทุ่มตลาด(AD) ขั้นสุดท้ายของสินค้ากุ้งของสหรัฐฯในครั้งนี้จะนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ(ITC) ประมาณวันที่ 31 มกราคม 2548 ซึ่งหากไม่พบความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯก็จะยุติการไต่สวน แต่หากยืนยันว่าทำให้เกิดความเสียหายก็จะเสนอให้เรียกเก็บเงินหรือพันธบัตรในการนำเข้ากุ้งต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 24 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.08 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.78 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 50 ประจำวันที่ 20-26 ธันวาคม 2547--
-พห-