สรุปภาวะการค้าระหว่างไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- ต.ค. 2547

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 28, 2004 15:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก ในช่วงม.ค.-ต.ค.47 มีมูลค่าการ
นำเข้า รวม 1,208,135.590 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.97
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2547 (ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 17.58 มูลค่า 212,393.891 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.06
- จีน ร้อยละ 13.21 มูลค่า 159,570.354 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.57
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.71 มูลค่า 129,332.639 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.51
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.84 มูลค่า 106,743.338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.36
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 16 สัดส่วนร้อยละ 1.18 มูลค่า 14,286.975
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.29
3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา รายงานของ Economist
Intelligence Unit หรือ EIU ซึ่งเป็นสำนักงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ชื่อดังของอังกฤษ
เผยว่าเศรษฐกิจโลก ปีหน้าไม่ค่อยสดใสนัก โดยภาพรวม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะ
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.1 ในปีนี้ ไปอยู่ที่ร้อยละ 3.2 แต่เมื่อมองเป็นรายประเทศเศรษฐกิจจีน
ยังคงนำโด่ง ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงร้อยละ 3.1 เป็นเพราะผล
กระทบจากราคา น้ำมันแพงและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้
(ม.ค.-ต.ค 2547) ร้อยละ 15.95 มีมูลค่า 12,828.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.89
5. การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2545 2546 2546 2547 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2545 2546 2547
(ม.ค.- ต.ค.) (ม.ค.- ต.ค.) (ม.ค.- ต.ค.)
มูลค่าการค้า 19,656.45 20,688.79 16,732.98 18,851.09 -3.45 5.25 12.66
สินค้าออก 13,509.42 13,596.19 11,269.84 12,828.09 2.35 0.64 13.83
สินค้าเข้า 6,147.03 7,092.60 5,463.14 6,023.00 -14.14 15.38 10.25
ดุลการค้า 7,362.39 6,503.59 5,806.69 6,805.09 21.89 -11.66 17.19
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-ต.ค. 2547) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกัน
ร้อยละ 77.41 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
เกินกว่าร้อยละ ร้อยละ 100 มี 1 รายการ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 80
มี 2 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 15 มี 2 รายการ
7. สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเปลี่ยนแปลง %เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 2546 ร้อยละ 2547
ม.ค.-ต.ค.46 ม.ค.-ต.ค.47 ม.ค.-ต.ค. . ม.ค.-ต.ค.
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ
(1) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน 9 116.99 314.05 197.06 168.44 1.56 2.45
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 80 มี 2 รายการ
(1) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 10 155.37 287.01 131.64 84.72 1.53 2.24
(2) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 15 139.35 263.18 123.83 88.85 1.18 2.05
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าร้อยละ 15 มี 2 รายการ
(1) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 11 390.54 280.60 -109.94 -28.15 3.31 2.19
(2) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 22 175.95 146.31 -29.64 -16.84 1.54 1.14
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (HS.8803) Parts of Balloons,
Pirigibles, Gliders, Airplanes, Other Aircraft, Spacecraft And Spacecraft
Launch
-ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 7 ของโลก รองจาก สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา
-สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 37 มูลค่า 1.404 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน
ร้อยละ 0.04 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.65 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 3,867.899
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.26 นำเข้าจาก แคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นหลัก
(ม.ค.-ต.ค. 2547)
เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (HS.8529) Part For Television, Radio
And Radar Apparatus
-ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 16 ของโลก รองจาก จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สหรัฐฯ
-สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 119.183 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน
ร้อยละ 2.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.71 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 5,113.499
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.86 นำเข้าจาก เม็กซิโก จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เป็นหลัก
(ม.ค.-ต.ค. 2547)
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ (HS. 7214) Bar, Rod, H Rolld, I/ Nas
-ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 39 ของโลก รองจาก ตุรกี ยูเครน อิตาลี จีน
-สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 22 มูลค่า 4.664 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน
ร้อยละ 0.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19,379 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,017.447
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 145.36 นำเข้าจาก ตุรกี แคนาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น เป็นหลัก
(ม.ค-ต.ค. 2547)
กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (HS. 0306.13) SHRIMPS AND PRAWNS, INCLUDING
IN SHELL, COOKED BY STEAMING OR BY BOILING IN WATER, FROZEN
-ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 1 ของโลกรองลงมาคือ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย แคนาดา
-สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 311.913 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน
ร้อยละ 14.19 ลดลงร้อยละ 29.96 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 2,198.654
ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.69 นำเข้าจาก ไทย อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นหลัก
(ม.ค.-ต.ค. 2547)
หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (HS. 8504) ELECTRICAL TRANSFORMERS,
STATIC CONVERTERS OR INDUCTORS
-ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 13 ของโลก รองจาก จีน ฮ่องกง เยอรมนี สหรัฐฯ ญี่ปุ่น
-สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 167.258 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน
ร้อยละ 2.75 ลดลงร้อยละ 7.84 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 6,092.716
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.54 นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก แคนาดา ญี่ปุ่น เป็นหลัก
(ม.ค.-ต.ค. 2547)
8. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
หลังจากที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ
สมัยที่ 2 ติดต่อกันจากเสียงส่วนใหญ่ของคนอเมริกัน โดยจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการใน
วันที่ 20 มกราคม 2548 โดยประธานาธิบดีจอร์จ บุช ยังคงยืนยันนโยบายสนับสนุนการเปิดเสรี
การค้า โดยเฉพาะการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) กับประเทศ
คู่ค้าต่างๆ เนื่องจากเห็นว่าการเจรจาการค้าในเวที WTO ยังคงล่าช้าและไม่คล่องตัว โดยสหรัฐฯ
ได้เจรจาการค้าเสรีแบบ ทวิภาคีกับหลายประเทศและบรรลุข้อตกลง FTA เรียบร้อยแล้วกับบาง
ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ชิลี มอร็อคโค บาร์เรน จอร์แดน อิสราเอล ปานามา
เป็นต้น และอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับ ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย
สำหรับการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศไทย ประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะทำให้การ
เจรจายืดเยื้อคือ “ทรัพย์สินทางปัญญา” เนื่องจากงานลิขสิทธิและสิทธิบัตรโดยเฉพาะสิทธิบัตรยา
สามารถสร้างรายได้ให้แก่สหรัฐฯ มหาศาล
ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) และเป็นสมาชิกข้อตกลง
การค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) ซึ่งในการประชุม WTO ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์
(พ.ย. 2544) ประเทศสมาชิกได้มีข้อตกลงให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาการเข้าถึงยา
รักษาโรคร้ายแรงยาก สามารถนำมาตรการบังคับใช้สิทธิ์ (compulsory licensing หรือ CL)
มาใช้ได้ โดยรัฐบาลสามารถอนุญาตให้บุคคลที่ 3 ที่ไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิทำการผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์
ที่ได้สิทธิบัตรยามาโดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิด ภายใต้เงื่อนไขว่าคนที่ใช้ผลประโยชน์จะต้องจ่าย
ค่าตอบแทนให้กับผู้ทรงสิทธิ สหรัฐฯ ในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรยาไม่พอใจในข้อตกลงดังกล่าว จึง
พยายามทำความตกลงกับประเทศต่างๆ ในระดับทวิภาคีเพื่อให้ยอมรับข้อตกลงการคุ้มครองสิทธิใน
ทรัพย์สินทางปัญญาของคนชาติสหรัฐฯ ในระดับที่สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำของข้อตกลงว่าด้วยสิทธิทาง
ปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือที่เรียกว่า ทริปส์ผนวก (trade-related aspects of
intellectual property rights หรือ TRIPs Plus) นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังมีนโยบายห้าม
คู่เจรจา FTA ใช้สิทธิ international exhausion ซึ่งหมายถึงหากประเทศคู่เจรจากับสหรัฐฯ
ที่ผลิตยาภายใต้ CL แล้วจะขายยาได้เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ไม่สามารถส่งออกนอกประเทศ
ได้ เช่นประเทศอินเดียที่เป็นหนึ่งในคู่เจรจา FTA และได้รับสิทธิบัตรในการผลิตยาจากสหรัฐฯ แต่
อินเดียก็ไม่สามารถผลิตยาดังกล่าวส่งออกได้ ทำให้ไทยไม่สามารถนำเข้ายาจากอินเดียหรือประเทศ
อื่นที่ผลิตยาภายใต้ CL ของสหรัฐฯ ได้ จะส่งผลให้ไทยไม่สามารถพึ่งพายาที่ผลิตนอกสหรัฐฯ ซึ่งมี
ราคาถูกได้ จะเกิดผลกระทบกับคนไทยทั้งประเทศได้เพราะต้องนำเข้ายาที่มีราคาสูงจากสหรัฐฯ
ดังนั้นในการเจรจาไทยจะต้องแสดงจุดยืนเรื่องสิทธิการเข้าถึงยาของประชาชนเป็น
เรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังควรเสนอให้สหรัฐฯ รวมมือกับไทยในการปราบปรามปัญหาโจรสลัดชีวภาพ
(biopirate) และควรให้สหรัฐฯ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ไทย
ควรเรียกร้องให้สหรัฐฯ คุ้มครองชื่อ native animals และ plant
นอกจากนี้สหรัฐฯ ได้พยายามสร้างกฎหมายต่างๆ เพื่อควบคุมการเข้าถึงเทคโนโลยี
ดิจิทัล โดยไม่คำนึงถึงการใช้เพื่อการศึกษาหรือการใช้ส่วนตัว ซึ่งในการเจรจาไทยควรเสนอให้มี
ข้อยกเว้นสำหรับการใช้ ส่วนตัว เพื่อการศึกษา วิจัย และการใช้ในห้องสมุด
ประเด็นวิเคราะห์
การเจรจาการค้าเสรีเอฟทีเอกับสหรัฐฯ เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผู้ส่งออก ผู้ประกอบการต่างๆ
จะต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะต้องเตรียมพร้อมและ
รอบคอบในการเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ให้ได้รับความเป็นธรรมจาก
มาตรการที่มิใช่ภาษี (Non Tarriff Barier)
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ