มาตรการด้านภาษีอากรและค่าธรรมเนียม
1. กรมสรรพากร
1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ที่ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนด
1.2 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้
1.3 หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้
1.4 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ
1.5 เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการใน 6 จังหวัดภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ
2 กรมสรรพสามิต ขยายระยะเวลาการยื่นแบบรายการภาษีให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับผู้ประกอบการใน 6 จังหวัดภาคใต้
3 กระทรวงมหาดไทย
3.1 กรณีโรงเรือนได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติประชาชนจะได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
3.2 กรณีที่ดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ประชาชนจะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
3.3 ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 และกรณีจดทะเบียนการจำนองจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 ทั้งนี้ โดยมอบหมายกระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงิน
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดย ธปท. จะกำหนดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนที่เหมาะสมต่อไป
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
2.1 การช่วยเหลือเฉพาะหน้า
(1) กำหนดวงเงินช่วยเหลือเฉพาะหน้าให้ทุกจังหวัดในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจังหวัดละ 500,000 บาท เพื่อช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคและบริโภค โดยการจัดถุงยังชีพมอบให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัย
(2) ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศจะรับเป็นศูนย์กลางรับบริจาคความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
2.2 การช่วยเหลือด้านหนี้สิน
(1) กรณีหนี้สินเดิมที่มีกับ ธ.ก.ส. ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2547
- กรณีเกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยอย่างแรงจนสูญเสียชีวิต และไม่มีลู่ทางชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. จะให้ความช่วยเหลือโดยจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. จะรับภาระเอง
- ธ.ก.ส. จะขยายเวลาการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยลูกค้าที่ประสบภัยจากแผ่นดินไหวไม่เกิน 3 ปี โดยงดคิดดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในรอบปีบัญชี 2547 ถึง 2549 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย
2.3 การช่วยเหลือฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ธ.ก.ส. จะสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ลูกค้านำไปฟื้นฟูการประกอบอาชีพโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 หรือต่ำกว่าหากได้รับการสนับสนุนต้นทุนเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย
3 ธนาคารออมสิน ได้มีโครงการการให้สินเชื่อบำรุงขวัญ (ธรณีพิบัติภัย) ในวงเงิน 10,000 ล้านบาทโดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้สินเชื่อ ดังนี้
3.1 เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในจังหวัด ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล และเป็นผู้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
3.2 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินของผู้กู้ที่ได้รับความเสียหาย และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น โดยให้ยื่นกู้ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548
3.3 จำนวนเงินให้กู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท
3.4 ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี โดยรวมระยะเวลาปลอดชำระหนี้ และเงินต้น 1 ปี นับตั้งแต่เดือนที่จ่ายเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี โดยมีบุคคลค้ำประกัน 1 คน อนึ่งธนาคารออมสินได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของ ธ.ออมสิน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยธรรมชาติ ได้แก่ พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกค้าทุกรายเป็นเวลา 1 ปี และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกค้าธนาคารประชาชน จากร้อยละ 1 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.5 ต่อเดือน
4 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีวิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ ดังนี้
4.1 ลูกค้ารายเดิม ธพว. พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลา 6-12 เดือน โดยพิจารณาจากความสามารถในการประกอบกิจการของลูกค้าแต่ละราย
4.2 ธพว. ได้จัดเตรียมวงเงินสินเชื่อไว้สำหรับฟื้นฟูกิจการของผู้ประสบธรณีวิบัติภัย จำนวน 1,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน MLR — 1 ต่อปี ระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะพิจารณาผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีไป
4.3 เนื่องจากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีวิบัติภัยเป็นลูกค้าที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ธพว. จะพิจารณาเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล
5 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธสน. จะติดตามและพิจารณาการผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อสำหรับลูกค้าของ ธสน. ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่อไป
6 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธอส. ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 เรื่องโครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ ปลูกสร้าง และช่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบภัย เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเดิมของ ธอส. และลูกค้าใหม่ในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยให้วงเงินสินเชื่อใหม่ และกำหนดเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนสำหรับสินเชื่อเดิมและสินเชื่อใหม่
7 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
7.1 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1 ปี สำหรับลูกค้าเก่าที่อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และถึงกำหนดต้องชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุประกัน ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป
7.2 บสย. พร้อมให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกหนี้ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้
7.3 บสย. ตั้งวงเงินค้ำประกันสินเชื่อพิเศษจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน เพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบ โดยจะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษในปีแรกร้อยละ 0.5 ของวงเงินค้ำประกัน โดยกำหนดวงเงินค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท
8 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
8.1 การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
(1) กรณีลูกค้าของธนาคาร รายย่อยพักชำระหนี้ 6 เดือน ถึง 1 ปี ลูกค้ารายใหญ่พักชำระหนี้ 3 ปี พร้อมทั้งให้สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจโดยคิดผลตอบแทนในอัตราผ่อนปรน
(2) สำหรับที่ไม่ใช่เป็นลูกค้าของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อโดยคิดอัตราผลตอบแทนในอัตราผ่อนปรน สำหรับสินเชื่อที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ สินเชื่อเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค สินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น
8.2 การให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ
(1) ร่วมมือกับส่วนราชการในการฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และบริจาคเงินเพื่อช่วยฟื้นฟูแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
(2) เป็นจุดบริการในการรับเงินบริจาค และรับเรื่องราวร้องทุกข์
(3) เป็นจุดบริการให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับความช่วยเหลือของทางราชการ และแจ้งความต้องการช่วยเหลือแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
9 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
9.1 ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้
9.2 บรรเทาภาระให้ลูกค้าด้วยการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
9.3 พิจารณาให้เงินกู้เพิ่มแก่ลูกค้าที่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เสียหาย
9.4 เปิดบัญชีรับบริจาคช่วยผู้ประสบภัยที่ทุกสาขา ทั่วประเทศ นอกจากนี้ สมาคมธนาคารไทยก็ได้ให้ความร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ด้วย
มาตรการเพิ่มความคล่องตัวการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ
ขณะนี้ กระทรวงการคลังได้สั่งจ่ายเงินทดรองราชการไปยังพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาเป็นเงิน 245 ล้านบาท ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2547 อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ และให้วงเงินทดรองราชการของส่วนราชการมีเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที กระทรวงการคลังเห็นควรขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถพิจารณาขยายวงเงินทดรองราชการให้แก่ส่วนราชการตามระเบียบ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ในกรณีที่เกิดเหตุภัยพิบัติอย่างรุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐ และวงเงินทดรองราชการที่มีอยู่ไม่เพียงพอ
2. ให้ส่วนราชการส่วนกลางที่มีวงเงินทดรองราชการสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาโอนเงินดังกล่าวให้แก่ที่ทำการปกครองจังหวัด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปใช้จ่ายตามภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติของส่วนราชการเจ้าของเงินโดยไม่ต้องให้จังหวัดขอรับการสนับสนุนก่อน
3. ให้กระทรวงการคลังนำหลักการตามข้อ 1 และข้อ 2 ไปปรับปรุงแก้ไขระเบียบ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้เป็นไปด้วยความคล่องตัว ทันต่อเหตุการณ์ และตรงกับความต้องการของผู้ประสบภัย กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาการให้ความช่วยเหลือที่นอกเหนือหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดได้ตามความจำเป็นเป็นกรณีพิเศษ โดยเวียนแจ้งให้จังหวัดทราบและถือปฏิบัติต่อไปแล้ว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 110/2547 28 ธันวาคม 2547--
1. กรมสรรพากร
1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ที่ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนด
1.2 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้
1.3 หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้
1.4 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ
1.5 เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการใน 6 จังหวัดภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ
2 กรมสรรพสามิต ขยายระยะเวลาการยื่นแบบรายการภาษีให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับผู้ประกอบการใน 6 จังหวัดภาคใต้
3 กระทรวงมหาดไทย
3.1 กรณีโรงเรือนได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติประชาชนจะได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
3.2 กรณีที่ดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ประชาชนจะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
3.3 ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 และกรณีจดทะเบียนการจำนองจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 ทั้งนี้ โดยมอบหมายกระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงิน
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดย ธปท. จะกำหนดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนที่เหมาะสมต่อไป
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
2.1 การช่วยเหลือเฉพาะหน้า
(1) กำหนดวงเงินช่วยเหลือเฉพาะหน้าให้ทุกจังหวัดในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจังหวัดละ 500,000 บาท เพื่อช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคและบริโภค โดยการจัดถุงยังชีพมอบให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัย
(2) ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศจะรับเป็นศูนย์กลางรับบริจาคความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
2.2 การช่วยเหลือด้านหนี้สิน
(1) กรณีหนี้สินเดิมที่มีกับ ธ.ก.ส. ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2547
- กรณีเกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยอย่างแรงจนสูญเสียชีวิต และไม่มีลู่ทางชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. จะให้ความช่วยเหลือโดยจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. จะรับภาระเอง
- ธ.ก.ส. จะขยายเวลาการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยลูกค้าที่ประสบภัยจากแผ่นดินไหวไม่เกิน 3 ปี โดยงดคิดดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในรอบปีบัญชี 2547 ถึง 2549 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย
2.3 การช่วยเหลือฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ธ.ก.ส. จะสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ลูกค้านำไปฟื้นฟูการประกอบอาชีพโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 หรือต่ำกว่าหากได้รับการสนับสนุนต้นทุนเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย
3 ธนาคารออมสิน ได้มีโครงการการให้สินเชื่อบำรุงขวัญ (ธรณีพิบัติภัย) ในวงเงิน 10,000 ล้านบาทโดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้สินเชื่อ ดังนี้
3.1 เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในจังหวัด ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล และเป็นผู้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
3.2 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินของผู้กู้ที่ได้รับความเสียหาย และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น โดยให้ยื่นกู้ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548
3.3 จำนวนเงินให้กู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท
3.4 ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี โดยรวมระยะเวลาปลอดชำระหนี้ และเงินต้น 1 ปี นับตั้งแต่เดือนที่จ่ายเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี โดยมีบุคคลค้ำประกัน 1 คน อนึ่งธนาคารออมสินได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของ ธ.ออมสิน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยธรรมชาติ ได้แก่ พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกค้าทุกรายเป็นเวลา 1 ปี และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกค้าธนาคารประชาชน จากร้อยละ 1 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.5 ต่อเดือน
4 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีวิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ ดังนี้
4.1 ลูกค้ารายเดิม ธพว. พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลา 6-12 เดือน โดยพิจารณาจากความสามารถในการประกอบกิจการของลูกค้าแต่ละราย
4.2 ธพว. ได้จัดเตรียมวงเงินสินเชื่อไว้สำหรับฟื้นฟูกิจการของผู้ประสบธรณีวิบัติภัย จำนวน 1,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน MLR — 1 ต่อปี ระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะพิจารณาผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีไป
4.3 เนื่องจากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีวิบัติภัยเป็นลูกค้าที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ธพว. จะพิจารณาเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล
5 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธสน. จะติดตามและพิจารณาการผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อสำหรับลูกค้าของ ธสน. ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่อไป
6 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธอส. ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 เรื่องโครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ ปลูกสร้าง และช่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบภัย เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเดิมของ ธอส. และลูกค้าใหม่ในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยให้วงเงินสินเชื่อใหม่ และกำหนดเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนสำหรับสินเชื่อเดิมและสินเชื่อใหม่
7 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
7.1 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1 ปี สำหรับลูกค้าเก่าที่อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และถึงกำหนดต้องชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุประกัน ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป
7.2 บสย. พร้อมให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกหนี้ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้
7.3 บสย. ตั้งวงเงินค้ำประกันสินเชื่อพิเศษจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน เพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบ โดยจะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษในปีแรกร้อยละ 0.5 ของวงเงินค้ำประกัน โดยกำหนดวงเงินค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท
8 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
8.1 การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
(1) กรณีลูกค้าของธนาคาร รายย่อยพักชำระหนี้ 6 เดือน ถึง 1 ปี ลูกค้ารายใหญ่พักชำระหนี้ 3 ปี พร้อมทั้งให้สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจโดยคิดผลตอบแทนในอัตราผ่อนปรน
(2) สำหรับที่ไม่ใช่เป็นลูกค้าของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อโดยคิดอัตราผลตอบแทนในอัตราผ่อนปรน สำหรับสินเชื่อที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ สินเชื่อเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค สินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น
8.2 การให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ
(1) ร่วมมือกับส่วนราชการในการฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และบริจาคเงินเพื่อช่วยฟื้นฟูแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
(2) เป็นจุดบริการในการรับเงินบริจาค และรับเรื่องราวร้องทุกข์
(3) เป็นจุดบริการให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับความช่วยเหลือของทางราชการ และแจ้งความต้องการช่วยเหลือแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
9 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
9.1 ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้
9.2 บรรเทาภาระให้ลูกค้าด้วยการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
9.3 พิจารณาให้เงินกู้เพิ่มแก่ลูกค้าที่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เสียหาย
9.4 เปิดบัญชีรับบริจาคช่วยผู้ประสบภัยที่ทุกสาขา ทั่วประเทศ นอกจากนี้ สมาคมธนาคารไทยก็ได้ให้ความร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ด้วย
มาตรการเพิ่มความคล่องตัวการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ
ขณะนี้ กระทรวงการคลังได้สั่งจ่ายเงินทดรองราชการไปยังพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาเป็นเงิน 245 ล้านบาท ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2547 อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ และให้วงเงินทดรองราชการของส่วนราชการมีเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที กระทรวงการคลังเห็นควรขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถพิจารณาขยายวงเงินทดรองราชการให้แก่ส่วนราชการตามระเบียบ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ในกรณีที่เกิดเหตุภัยพิบัติอย่างรุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐ และวงเงินทดรองราชการที่มีอยู่ไม่เพียงพอ
2. ให้ส่วนราชการส่วนกลางที่มีวงเงินทดรองราชการสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาโอนเงินดังกล่าวให้แก่ที่ทำการปกครองจังหวัด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปใช้จ่ายตามภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติของส่วนราชการเจ้าของเงินโดยไม่ต้องให้จังหวัดขอรับการสนับสนุนก่อน
3. ให้กระทรวงการคลังนำหลักการตามข้อ 1 และข้อ 2 ไปปรับปรุงแก้ไขระเบียบ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้เป็นไปด้วยความคล่องตัว ทันต่อเหตุการณ์ และตรงกับความต้องการของผู้ประสบภัย กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาการให้ความช่วยเหลือที่นอกเหนือหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดได้ตามความจำเป็นเป็นกรณีพิเศษ โดยเวียนแจ้งให้จังหวัดทราบและถือปฏิบัติต่อไปแล้ว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 110/2547 28 ธันวาคม 2547--