คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างพิกัด อัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 19 ประเภทย่อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับสินค้า ดังต่อไปนี้ น้ำผลไม้เข้มข้น หินอ่อนหิน หินแกรนิต โพลิอะไมด์ ในลักษณะขั้นปฐม ผ้าไหม และแผ่นเหล็ก TMBP
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในวันนี้ กระทรวงการคลังได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมและสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวข้องทั้ง 19 ประเภทย่อย เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศสามารถแข่งขันได้ สรุปได้ ดังนี้
1. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นจำพวกส้ม เกรปฟรุ๊ต องุ่น และแอปเปิ้ล ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่ม จากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 10 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. ปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าหินอ่อน หินแกรนิต เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบโรงงานแปรรูปหินในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ดังนี้
(1) ปรับลดอัตราอากรขาเข้าหินก้อนดิบ จากร้อยละ 8.75 ลงเหลือร้อยละ 1
(2) ปรับลดอัตราอากรขาเข้าหินก้อนเหลี่ยมกึ่งสำเร็จรูป เฉพาะที่มีขนาดด้านกว้าง ยาว และสูงไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ซึ่งจัดเป็นวัตถุดิบ จากร้อยละ 5 และ 20 ลงเหลือร้อยละ 1
(3) กำหนดอัตราอากรขาเข้าหินแผ่นกึ่งสำเร็จรูป ชนิดที่มีผิวหน้าไม่ขัดมันไว้ที่อัตราร้อยละ 12.5
3. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าโพลิอะไมด์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยไนล่อน จากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างอากรขาเข้าที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
4. คงอัตราอากรขาเข้าผ้าไหมไว้ที่ร้อยละ 17.5 เท่ากับอัตราอากรขาเข้าปี 2547 เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไหมไทยมีระยะเวลาในการปรับตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผ้าไหมที่นำเข้าจากประเทศจีนและอินเดีย
5. ขยายเวลาการลดอัตราอากรขาเข้าแผ่นเหล็ก TMBP ไว้ที่อัตราร้อยละ 1 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เนื่องจากแผ่นเหล็ก TMBP บางคุณลักษณะปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ
การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าทั้ง 19 ประเภทย่อยดังกล่าว จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคาดว่า จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 173 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 111/2547 28 ธันวาคม 2547--
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในวันนี้ กระทรวงการคลังได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมและสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวข้องทั้ง 19 ประเภทย่อย เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศสามารถแข่งขันได้ สรุปได้ ดังนี้
1. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นจำพวกส้ม เกรปฟรุ๊ต องุ่น และแอปเปิ้ล ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่ม จากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 10 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. ปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าหินอ่อน หินแกรนิต เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบโรงงานแปรรูปหินในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ดังนี้
(1) ปรับลดอัตราอากรขาเข้าหินก้อนดิบ จากร้อยละ 8.75 ลงเหลือร้อยละ 1
(2) ปรับลดอัตราอากรขาเข้าหินก้อนเหลี่ยมกึ่งสำเร็จรูป เฉพาะที่มีขนาดด้านกว้าง ยาว และสูงไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ซึ่งจัดเป็นวัตถุดิบ จากร้อยละ 5 และ 20 ลงเหลือร้อยละ 1
(3) กำหนดอัตราอากรขาเข้าหินแผ่นกึ่งสำเร็จรูป ชนิดที่มีผิวหน้าไม่ขัดมันไว้ที่อัตราร้อยละ 12.5
3. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าโพลิอะไมด์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยไนล่อน จากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างอากรขาเข้าที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
4. คงอัตราอากรขาเข้าผ้าไหมไว้ที่ร้อยละ 17.5 เท่ากับอัตราอากรขาเข้าปี 2547 เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไหมไทยมีระยะเวลาในการปรับตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผ้าไหมที่นำเข้าจากประเทศจีนและอินเดีย
5. ขยายเวลาการลดอัตราอากรขาเข้าแผ่นเหล็ก TMBP ไว้ที่อัตราร้อยละ 1 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เนื่องจากแผ่นเหล็ก TMBP บางคุณลักษณะปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ
การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าทั้ง 19 ประเภทย่อยดังกล่าว จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคาดว่า จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 173 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 111/2547 28 ธันวาคม 2547--