ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ปลัด ก.คลัง เปิด
เผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.47 เห็นชอบตามที่ ก.คลังเสนอช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด
ภาคใต้ 4 มาตรการ คือ 1) ด้านภาษีอากรและค่าธรรมเนียม โดยกรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ให้แก่ผู้ประสบภัย พร้อมขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้ตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 — ก.พ.48 และ
สามารถหักค่าเสื่อมราคาสำหรับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ รวมถึงยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่บริจาค
เงินให้ผู้ประสบภัย ส่วน ก.มหาดไทย ยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ลดหย่อนการโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% จากเดิม 2% 2) มาตรการช่วยเหลือด้าน
การเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงิน โดย ธปท.จะจัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน
(Soft Loan) ให้กับสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า คาดว่าสถาบันการเงินจะส่งยอดเงินที่ต้อง
การมาให้ ธปท.พิจารณาในช่วงเย็นของวันนี้ (29 ธ.ค.47) นอกจากนี้ เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า
ในวันนี้ สมาคมธนาคารไทยจะเข้าหารือกับ ธปท.เพื่อขอผ่อนปรนกฎเกณฑ์การชำระหนี้ การคิดยอดเงินทางบัญชี
ต่างๆ และยกยอดการคิดดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าที่ประสบความเดือดร้อนเป็นกรณีพิเศษ 3) ครม.เห็นชอบให้ส่วน
ราชการที่มีวงเงินทดรองราชการสามารถใช้ดุลยพินิจของ รมว.คลังที่จะให้เงินในการช่วยเหลือกับผู้ว่าราชการ
จังหวัดได้ทันที และ 4) มาตรการในการช่วยเหลือของภาคเอกชน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสภา
ธุรกิจตลาดทุนไทยหาเงินบริจาคให้กับผู้ประสบภัยเป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 10 ล.บาท (โลกวันนี้, ไทยโพสต์, ผู้
จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. สศช.คาดการณ์ว่าเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
มากนัก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงเหตุการณ์คลื่น
ยักษ์ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ว่า เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมมากนัก และมั่นใจ
ว่าในปี 48 การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะอยู่ที่ 6-6.5% ตามที่ สศช.ได้ประมาณการไว้อย่างแน่
นอน (ผู้จัดการรายวัน)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย.47 ปรับตัวเพิ่มขึ้น รองประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่
ระดับ 106.6 จากระดับ 104.4 เป็นผลจากใกล้ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้ผู้บริโภคจับจ่าย
ใช้สอยเพิ่มขึ้น ทำให้มียอดคำสั่งซื้อมากกว่าเดือนก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก
ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ เหมืองแร่ เคมี เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น เซรามิก เฟอร์นิเจอร์
ยานยนต์ และอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง สำหรับผลกระทบที่จะเกิดต่อความเชื่อมั่นในช่วง 1-2 เดือนข้าง
หน้านั้น ในเรื่องภัยธรรมชาติในภาคใต้อาจจะไม่เห็นชัดเจนนัก เนื่องจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ เป็นการ
เก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งใน 6 จังหวัดภาคใต้มีจำนวนไม่มาก แต่จากการประเมินพบว่าอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และธุรกิจเอสเอ็มอี สำหรับใน
ปี 48 อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 9-10% โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าปัจจัยที่มีผลกระทบ
ด้านบวกต่อกิจการอย่างชัดเจน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยลบได้แก่ ราคาน้ำมัน โดย
ส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐพยุงราคาน้ำมันดีเซลต่อไป (โพสต์ทูเดย์)
4. จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 1.03 ล.คนในเดือน พ.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผล
สำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือน พ.ย.47 ว่า จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ 65.23 ล.คน เป็น
ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 36.43 ล.คน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 35.81 ล.คน ผู้ว่างงาน 5.4 แสนคน และ
ผู้รอฤดูกาล 8 หมื่นคน ทั้งนี้ จำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้นเป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 15.21 ล.คน และนอกภาค
เกษตรกรรม 20.60 ล.คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นประมาณ 1.31 ล.คน โดย
นอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 2.8 แสนคน และภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.03 ล.คน สำหรับภาวะการว่างงานของ
ประชากรคิดเป็น 1.5% โดยภาคเหนือมีอัตราการว่างงานสูงสุด 1.8% ภาคกลางและภาคใต้ 1.6% กรุงเทพฯ
1.5% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.2% ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 5.4
แสนคน พบว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานมากที่สุดประมาณ 1.6 แสนคน รองลงมาคือระดับมัธยม
ศึกษาตอนต้นประมาณ 1.3 แสนคน ระดับประถมศึกษาประมาณ 1.1 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณ
8 หมื่นคน และผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาประมาณ 6 หมื่นคน (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
นิวยอร์ค เมื่อ 28 ธ.ค.47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในเดือน ธ.ค.47 ซึ่งสำรวจโดย The
Conference Board เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 102.3 สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 92.6 ในเดือน พ.
ย.47 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 94.6 อันเป็นผลจากความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อสภาพเศรษฐกิจใน
ปัจจุบันและความคาดหวังว่าสภาพเศรษฐกิจในปีหน้าจะดีขึ้น ผลสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว
ต่อเนื่องไปจนถึงกลางปีหน้า และสะท้อนภาพว่าตลาดแรงงานอาจจะดีกว่าที่รับรู้กันทั่วไป โดยมีจำนวนคนที่มองว่า
งานหาง่ายขึ้นและรายได้ของตนในปีหน้าจะดีขึ้นเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในเดือน พ.ย.47 (รอยเตอร์)
2. Bank of China คาดว่าในไตรมาสแรกปีหน้าจะมีผู้ลงทุนรายใหญ่เข้าถือหุ้น รายงานจาก
ปักกิ่งเมื่อวันที่ 28 ธ.ค 47 Bank of China ซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคาดหวังว่าในไตรมาส
แรกปี 48 จะเลือกผู้ลงทุนเชิงกลยุทธ อย่างไรก็ตามยังคงอยู่ในขั้นตอนการเจรจาต่อรอง ก่อนหน้านั้น Bank of
China ปฎิเสธว่าได้ตกลงที่จะขายหุ้นร้อยละ 10 ให้ Deutsche Bank และมีแผนการที่จะขายหุ้นเกือบร้อยละ
25 ให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ 3 รายในปีนี้ เดิม Bank of China หวังว่าจะมีการลงนามกับนักลงทุนรายใหญ่
นักวิเคราะห์เชื่อว่าการล่าช้าออกไปเช่นนี้อาจจะเป็นสัญญานว่านักลงทุนที่มีศักยภาพอาจจะกังวลต่อราคาหรือความ
เสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้หลังจากได้รับการอัดฉีดเงินลงทุนจำนวน 22.5 พันล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อปีที่แล้ว Bank of
China ได้ปรับวิธีดำเนินงานและตัดหนี้เสียนับพัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในการเตรียมนำกิจการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ในปีหน้า ทั้งนี้ Bank of China ได้พิจารณาจากขนาด ระยะเวลา และตลาดหลักทรัพย์ที่จะเข้าไป
จดทะเบียน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะระดมเงินได้สูงถึง 4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 สูงกว่าที่คาดไว้
รายงานจากโซล เมื่อ 29 ธ.ค.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือน พ.ย.47
จาก เดือนก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จาก
ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ ทำให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปี
ก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ โดยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ของสินค้าคงคลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเมื่อดูแนวโน้มการส่งออกที่
ชะลอตัวลงจากความต้องการที่อ่อนตัวลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนซึ่งเป็นตลาด
สำคัญของเกาหลีใต้และจากการใช้จ่ายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซามากว่า 2 ปีโดยจากตัวเลขของ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ โดยยอดค้าส่งและค้า
ปลีกลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน พ.ย.47 จากเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือน ต.ค.47 ทำให้
คาดกันว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะลดลงอย่างมากในเดือน ม.ค.และ ก.พ. ปีหน้า ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่า
เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ไม่ถึงร้อยละ 5.0 ตามที่รัฐบาลคาดไว้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต
ร้อยละ 4.0 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปีนี้จะขยายตัวหลังจากที่หดตัวในไตรมาสก่อน
รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 ธ.ค 47 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์คาดว่าในไตรมาสสุดท้ายปีนี้
เศรษฐกิจสิงคโปร์จะฟื้นตัวหลังจากที่ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจหดตัว เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าประเภท high-
tech และผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการส่งออกมีเป็นจำนวนมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีอุปสงค์ของผู้บริโภคในสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าก่อนวันคริสต์มาสและภาคการส่งออกยาและเวชภัณฑ์ช่วยให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวอย่างต่อ
เนื่องพ้นจากภาวะเศรษฐกิจหดตัว คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 จะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปี
ก่อนร้อยละ 3.9 หลังจากที่หดตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้รัฐบาลสิงคโปร์มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขคาด
การณ์ GDP อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ม.ค. 48 นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซีย(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29/12/2490 28 ธ.ค 47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.024 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8259/39.1197 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1000-2.1875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.39/10.03 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,200/8,300 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.1 34.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ปลัด ก.คลัง เปิด
เผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.47 เห็นชอบตามที่ ก.คลังเสนอช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด
ภาคใต้ 4 มาตรการ คือ 1) ด้านภาษีอากรและค่าธรรมเนียม โดยกรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ให้แก่ผู้ประสบภัย พร้อมขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้ตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 — ก.พ.48 และ
สามารถหักค่าเสื่อมราคาสำหรับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ รวมถึงยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่บริจาค
เงินให้ผู้ประสบภัย ส่วน ก.มหาดไทย ยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ลดหย่อนการโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% จากเดิม 2% 2) มาตรการช่วยเหลือด้าน
การเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงิน โดย ธปท.จะจัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน
(Soft Loan) ให้กับสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า คาดว่าสถาบันการเงินจะส่งยอดเงินที่ต้อง
การมาให้ ธปท.พิจารณาในช่วงเย็นของวันนี้ (29 ธ.ค.47) นอกจากนี้ เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า
ในวันนี้ สมาคมธนาคารไทยจะเข้าหารือกับ ธปท.เพื่อขอผ่อนปรนกฎเกณฑ์การชำระหนี้ การคิดยอดเงินทางบัญชี
ต่างๆ และยกยอดการคิดดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าที่ประสบความเดือดร้อนเป็นกรณีพิเศษ 3) ครม.เห็นชอบให้ส่วน
ราชการที่มีวงเงินทดรองราชการสามารถใช้ดุลยพินิจของ รมว.คลังที่จะให้เงินในการช่วยเหลือกับผู้ว่าราชการ
จังหวัดได้ทันที และ 4) มาตรการในการช่วยเหลือของภาคเอกชน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสภา
ธุรกิจตลาดทุนไทยหาเงินบริจาคให้กับผู้ประสบภัยเป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 10 ล.บาท (โลกวันนี้, ไทยโพสต์, ผู้
จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. สศช.คาดการณ์ว่าเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
มากนัก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงเหตุการณ์คลื่น
ยักษ์ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ว่า เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมมากนัก และมั่นใจ
ว่าในปี 48 การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะอยู่ที่ 6-6.5% ตามที่ สศช.ได้ประมาณการไว้อย่างแน่
นอน (ผู้จัดการรายวัน)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย.47 ปรับตัวเพิ่มขึ้น รองประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่
ระดับ 106.6 จากระดับ 104.4 เป็นผลจากใกล้ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้ผู้บริโภคจับจ่าย
ใช้สอยเพิ่มขึ้น ทำให้มียอดคำสั่งซื้อมากกว่าเดือนก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก
ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ เหมืองแร่ เคมี เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น เซรามิก เฟอร์นิเจอร์
ยานยนต์ และอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง สำหรับผลกระทบที่จะเกิดต่อความเชื่อมั่นในช่วง 1-2 เดือนข้าง
หน้านั้น ในเรื่องภัยธรรมชาติในภาคใต้อาจจะไม่เห็นชัดเจนนัก เนื่องจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ เป็นการ
เก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งใน 6 จังหวัดภาคใต้มีจำนวนไม่มาก แต่จากการประเมินพบว่าอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และธุรกิจเอสเอ็มอี สำหรับใน
ปี 48 อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 9-10% โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าปัจจัยที่มีผลกระทบ
ด้านบวกต่อกิจการอย่างชัดเจน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยลบได้แก่ ราคาน้ำมัน โดย
ส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐพยุงราคาน้ำมันดีเซลต่อไป (โพสต์ทูเดย์)
4. จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 1.03 ล.คนในเดือน พ.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผล
สำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือน พ.ย.47 ว่า จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ 65.23 ล.คน เป็น
ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 36.43 ล.คน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 35.81 ล.คน ผู้ว่างงาน 5.4 แสนคน และ
ผู้รอฤดูกาล 8 หมื่นคน ทั้งนี้ จำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้นเป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 15.21 ล.คน และนอกภาค
เกษตรกรรม 20.60 ล.คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นประมาณ 1.31 ล.คน โดย
นอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 2.8 แสนคน และภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.03 ล.คน สำหรับภาวะการว่างงานของ
ประชากรคิดเป็น 1.5% โดยภาคเหนือมีอัตราการว่างงานสูงสุด 1.8% ภาคกลางและภาคใต้ 1.6% กรุงเทพฯ
1.5% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.2% ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 5.4
แสนคน พบว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานมากที่สุดประมาณ 1.6 แสนคน รองลงมาคือระดับมัธยม
ศึกษาตอนต้นประมาณ 1.3 แสนคน ระดับประถมศึกษาประมาณ 1.1 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณ
8 หมื่นคน และผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาประมาณ 6 หมื่นคน (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
นิวยอร์ค เมื่อ 28 ธ.ค.47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในเดือน ธ.ค.47 ซึ่งสำรวจโดย The
Conference Board เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 102.3 สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 92.6 ในเดือน พ.
ย.47 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 94.6 อันเป็นผลจากความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อสภาพเศรษฐกิจใน
ปัจจุบันและความคาดหวังว่าสภาพเศรษฐกิจในปีหน้าจะดีขึ้น ผลสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว
ต่อเนื่องไปจนถึงกลางปีหน้า และสะท้อนภาพว่าตลาดแรงงานอาจจะดีกว่าที่รับรู้กันทั่วไป โดยมีจำนวนคนที่มองว่า
งานหาง่ายขึ้นและรายได้ของตนในปีหน้าจะดีขึ้นเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนในเดือน พ.ย.47 (รอยเตอร์)
2. Bank of China คาดว่าในไตรมาสแรกปีหน้าจะมีผู้ลงทุนรายใหญ่เข้าถือหุ้น รายงานจาก
ปักกิ่งเมื่อวันที่ 28 ธ.ค 47 Bank of China ซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคาดหวังว่าในไตรมาส
แรกปี 48 จะเลือกผู้ลงทุนเชิงกลยุทธ อย่างไรก็ตามยังคงอยู่ในขั้นตอนการเจรจาต่อรอง ก่อนหน้านั้น Bank of
China ปฎิเสธว่าได้ตกลงที่จะขายหุ้นร้อยละ 10 ให้ Deutsche Bank และมีแผนการที่จะขายหุ้นเกือบร้อยละ
25 ให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ 3 รายในปีนี้ เดิม Bank of China หวังว่าจะมีการลงนามกับนักลงทุนรายใหญ่
นักวิเคราะห์เชื่อว่าการล่าช้าออกไปเช่นนี้อาจจะเป็นสัญญานว่านักลงทุนที่มีศักยภาพอาจจะกังวลต่อราคาหรือความ
เสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้หลังจากได้รับการอัดฉีดเงินลงทุนจำนวน 22.5 พันล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อปีที่แล้ว Bank of
China ได้ปรับวิธีดำเนินงานและตัดหนี้เสียนับพัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในการเตรียมนำกิจการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ในปีหน้า ทั้งนี้ Bank of China ได้พิจารณาจากขนาด ระยะเวลา และตลาดหลักทรัพย์ที่จะเข้าไป
จดทะเบียน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะระดมเงินได้สูงถึง 4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 สูงกว่าที่คาดไว้
รายงานจากโซล เมื่อ 29 ธ.ค.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือน พ.ย.47
จาก เดือนก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จาก
ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ ทำให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปี
ก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ โดยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ของสินค้าคงคลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเมื่อดูแนวโน้มการส่งออกที่
ชะลอตัวลงจากความต้องการที่อ่อนตัวลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนซึ่งเป็นตลาด
สำคัญของเกาหลีใต้และจากการใช้จ่ายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซามากว่า 2 ปีโดยจากตัวเลขของ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ โดยยอดค้าส่งและค้า
ปลีกลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน พ.ย.47 จากเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือน ต.ค.47 ทำให้
คาดกันว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะลดลงอย่างมากในเดือน ม.ค.และ ก.พ. ปีหน้า ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่า
เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ไม่ถึงร้อยละ 5.0 ตามที่รัฐบาลคาดไว้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต
ร้อยละ 4.0 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปีนี้จะขยายตัวหลังจากที่หดตัวในไตรมาสก่อน
รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 ธ.ค 47 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์คาดว่าในไตรมาสสุดท้ายปีนี้
เศรษฐกิจสิงคโปร์จะฟื้นตัวหลังจากที่ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจหดตัว เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าประเภท high-
tech และผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการส่งออกมีเป็นจำนวนมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีอุปสงค์ของผู้บริโภคในสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าก่อนวันคริสต์มาสและภาคการส่งออกยาและเวชภัณฑ์ช่วยให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวอย่างต่อ
เนื่องพ้นจากภาวะเศรษฐกิจหดตัว คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 จะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปี
ก่อนร้อยละ 3.9 หลังจากที่หดตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้รัฐบาลสิงคโปร์มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขคาด
การณ์ GDP อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ม.ค. 48 นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซีย(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29/12/2490 28 ธ.ค 47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.024 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8259/39.1197 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1000-2.1875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.39/10.03 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,200/8,300 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.1 34.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--