กรุงเทพ--30 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๓๕/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน และคณะกรรมการได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาออกเป็น ๔๕ วัน ซึ่งคณะกรรมการได้ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว มีผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ประเด็นสำคัญที่ได้นำขึ้นพิจารณามี ๑๑ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง การชุมนุมในวันนั้น มีการจัดตั้งหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า การชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบในวันนั้นเป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้แน่นอน การเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ๖ คน เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างเท่านั้น ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในขบวนการของการก่อความไม่สงบ
ประเด็นที่สอง ผู้ชุมนุมพกพาอาวุธมาด้วยหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ แต่คงมีจำนวนไม่มากและไม่กี่คนเท่านั้น เพราะถ้าแกนนำผู้ชุมนุมมีอาวุธมากจริงและใช้อาวุธยิงเจ้าหน้าที่แบบต่อสู้กัน เจ้าหน้าที่คงตายและบาดเจ็บอีกหลายคน
ประเด็นที่สาม มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ก่อนการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นการสกัดกั้นผู้เดินทางไม่ให้เข้าไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ หรือการเจรจา ๕ ถึง ๖ ครั้ง ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ ผู้นำทางศาสนา และบิดามารดาของ ชรบ. ๖ คน ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมีข้อสังเกตว่า หากการสกัดกั้นมิให้ผู้เดินทางเข้าไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบประสบความสำเร็จ ผู้ชุมนุมอาจจะมีจำนวนน้อยกว่านี้
.............................
*คณะกรรมการประกอบด้วย นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน พลเรือตรี นายแพทย์ วิทุร แสงสิงแก้ว นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม นายภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ พลตำรวจเอก ดรุณ โสตถิพันธุ์ นายขวัญชัย วศวงศ์ นายอิสมาแอ อาลี นายจรัญ มะลูลีม และนายอาศิส พิทักษ์คุมพล เป็นกรรมการ โดยมีนายวีระยุค พันธุเพชร เป็นเลขานุการ และนายนิพนธ์ ฮะกีมี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ประเด็นที่สี่ เหตุผลในการสลายและวิธีการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้เชื่อได้ว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป จะทำให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จนมิอาจควบคุมสถานการณ์ได้ และอาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสถานที่ราชการและเจ้าหน้าที่ ประกอบกับภาวะความกดดันอย่างรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ที่ต่อเนื่องมายาวนาน การตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจึงถือได้ว่าเป็นไปตามเหตุผลและความจำเป็นของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาวิธีการสลายการชุมนุมที่ใช้กำลังติดอาวุธและใช้กระสุนจริง โดยเฉพาะใช้กำลังทหารเกณฑ์และทหารพรานซึ่งมีวุฒิภาวะไม่สูงพอเข้าร่วมในการเข้าสลายการชุมนุมนั้น คณะกรรมการเห็นว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติที่ใช้กันตามหลักสากล ดังนั้น เมื่อมีการเสียชีวิตและการบาดเจ็บเกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายเจ้าหน้าที่ จึงควรเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องดำเนินการพิสูจน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า มีการจ่อยิงศีรษะผู้เข้าร่วมชุมนุมนั้น จากการชันสูตรพลิกศพไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธปืนจ่อยิงผู้ร่วมชุมนุมแต่อย่างใด
ประเด็นที่ห้า การควบคุมตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดเหมาะสมและกระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ต้องการควบคุมตัวเฉพาะกลุ่มแกนนำประมาณ ๓๐ ถึง ๔๐ คน เท่านั้น จึงเตรียมใช้รถบรรทุกที่ขนส่งทหารพรานจำนวน ๔ คัน แต่เมื่อมีการควบคุมตัวผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากขึ้น เพราะไม่สามารถจำแนกแกนนำจากผู้ร่วมชุมนุมได้ จำเป็นต้องปรับแผนเอาตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดไว้ก่อนแล้วค่อยคัดกรองออกในภายหลัง เป็นเหตุให้เกิดความบกพร่องในการเตรียมการและการปฏิบัติหลายประการ
ประเด็นที่หก การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพื่อควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหารเป็นการเลือกที่เหมาะสมแล้ว เพราะที่แห่งนี้มีบริเวณกว้างขวาง มีเรือนจำทหารที่จะใช้ควบคุมตัวผู้ชุมนุม และมีโรงพยาบาลทหารที่จะรักษาพยาบาลผู้ถูกควบคุมตัวที่ป่วยและบาดเจ็บได้
ประเด็นที่เจ็ด การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี มีมาตรฐานหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า การเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมค่อนข้างจะเป็นไปด้วยความสับสนและฉุกละหุก จำนวนรถน่าจะเพียงพอที่จะขนส่งผู้ถูกควบคุมซึ่งมีจำนวน ๑,๓๐๐ คนได้ เฉลี่ยคันละ ๕๐ คน แต่เมื่อรถคันแรก ๆ บรรทุกไม่ถึง ๕๐ คน คันหลังต้องบรรทุกมากกว่า ๕๐ คน เพราะเจ้าหน้าที่ต้องพยายามบรรทุกให้หมด อีกทั้งต้องไปรับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสกัดและควบคุมตัวไว้ที่สามแยกตากใบ ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอยู่ในรถบรรทุกคันหลัง ๆ และน่าจะฟังได้ว่ามีการเอาผู้ชุมนุมนอนทับซ้อนกันจริงโดยเฉพาะในรถบรรทุกคันแรกของขบวนแรกจนผู้บังคับบัญชามาเห็น จึงสั่งให้เอาคนลงมาและจัดขึ้นไปใหม่ ซึ่งต่อมาไม่น่าจะมีการสั่งให้เอาคนนอนทับซ้อนกันหลายชั้นเช่นนั้นอีก
อย่างไรก็ตาม จากผลการชันสูตรพลิกศพและการสอบถามแพทย์ผู้รักษาผู้บาดเจ็บและการเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บล้วนสรุปได้ว่า การเสียชีวิตของผู้ถูกควบคุม เนื่องจากอยู่ในภาวะอ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้เต็มที่ ขาดอาหารและน้ำ ประกอบกับได้รับอากาศน้อย และกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจอ่อนแรงลง การกดทับเพราะบรรทุกแน่นเกินไป
คณะกรรมการเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อยที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ และมุ่งแต่เพียงปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปเท่านั้นโดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดการตายเช่นนี้
ประเด็นที่แปด การใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จนกระทั่งนำผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุก ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า ระยะเวลาการเดินทางจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารซึ่งห่างประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร มีการหยุดระหว่างทางและขบวนรถเป็นขบวนที่ยาว ประกอบกับเป็นเวลากลางคืน มีฝนตกหนัก มีการวางสิ่งกีดขวาง และมีข่าวว่าจะมีการ ชิงตัวผู้ถูกควบคุมตัว ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าที่ควร ระยะเวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง จึงเหมาะสมตามวิสัยและพฤติการณ์ในสถานการณ์ดังกล่าว
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงที่เรือนจำจังหวัดทหารบกนั้น เนื่องจากสภาพถนนหน้าเรือนจำจังหวัดทหารบกแคบ รถบรรทุกไม่สามารถเข้าไปพร้อม ๆ กัน หรือสวนกันได้ ทำให้การลำเลียงคนลงเป็นไปอย่างล่าช้า ระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงคนลงจากรถบรรทุกจึงเหมาะสมตามเหตุการณ์และสภาพของสถานที่
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเห็นว่า เมื่อมีการพบผู้เสียชีวิตในรถบรรทุกแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลการลำเลียงมิได้สั่งให้ดำเนินการใดกับรถบรรทุกที่จอดรออยู่ หรือแจ้งให้ผู้ควบคุมรถบรรทุกคันอื่น ๆ ทราบ เพื่อดำเนินการใด ๆ การละเลยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และเป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบ
ประเด็นที่เก้า การดูแลผู้ถูกควบคุม ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า ผู้ถูกควบคุมและผู้เจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างดี มีประสิทธิภาพและเหมาะสมแล้ว
ประเด็นที่สิบ มีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ หรือไม่
ปรากฏว่ามีผู้สูญหายจำนวน ๗ คน จึงเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานพื้นที่ ต้องเร่งสืบหาข้อเท็จจริงเป็นการเร่งด่วน และประสานไปยังทายาทของผู้สูญหาย พร้อมทั้งจัดการเยียวยา บำรุงขวัญในเบื้องต้น
ประเด็นที่สิบเอ็ด ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และผู้รับผิดชอบที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
(๑) ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุม และการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุม ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร
คณะกรรมการเห็นว่า ผบ.พล. ร.๕ ซึ่งรับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่ทำให้มี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งรับผิดชอบในการควบคุมตัว การลำเลียงและการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธ ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
(๒) ผู้รับผิดชอบที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร
คณะกรรมการเห็นว่า รองแม่ทัพภาคที่ ๔ (คนที่สอง) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานการข่าวและสายงานยุทธการ ได้รับคำสั่งให้จัดเตรียมทั้งน้ำ อาหาร และพื้นที่ เพื่อรองรับผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ดังนั้น เมื่อการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุกที่เรือนจำจังหวัดทหารบกปัตตานี และพบว่ามีผู้ถูกควบคุมเสียชีวิตในรถบรรทุกที่เคลื่อนย้ายมา แต่กลับมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น จึงเห็นว่า ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
(๓) ผู้รับผิดชอบในสถานการณ์โดยรวม
คณะกรรมการเห็นว่า แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดตามประกาศกฎอัยการศึก แม้จะได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามสายงานรับผิดชอบก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการติดตาม ควบคุม และสอดส่องดูแลว่าภารกิจที่ได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติว่าประสบความสำเร็จหรือมีปัญหาความยุ่งยากประการใด จึงเห็นว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา
(๔) บทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คณะกรรมการเห็นว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เริ่มก่อเหตุการณ์ คือกลุ่มแกนนำบางคนที่ต้องการให้สถานการณ์ยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นฝ่ายเข้าไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยแต่ละคนได้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อบกพร่องไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ จึงต้องนำเหตุการณ์นี้มาศึกษาเสนอแนะเพื่อไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอีก
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
๑. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการข่าว
รัฐบาลควรดำเนินการด้านการข่าวในเชิงรุก ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการข่าวกรองในพื้นที่ โดยเน้นข่าวกรองบุคคลและข่าวกรองเทคนิค รวมทั้งมีการประสานข่าวกรองแบบบูรณาการในประชาคมข่าวกรองของไทยและกับหน่วยข่าวกรองของมิตรประเทศ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณด้านการข่าวให้มากขึ้น โดยให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้รับผิดชอบ
๒. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม
(๑) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตในกรณีมีการชุมนุมประท้วงเช่นนี้อีก ให้ใช้ชุดปราบจลาจลของตำรวจที่ได้รับการฝึกอบรม และมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นหลัก สำหรับชุดปราบจลาจลของฝ่ายทหารจะใช้เป็นกองหนุนในกรณีที่กำลังตำรวจมีไม่พอเท่านั้น และห้ามติดอาวุธ
(๒) การเข้าสลายการชุมนุมควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หากพิจารณาเห็นว่าถ้าไม่กระทำจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงตามมา
(๓) การจัดการกับปัญหาการชุมนุมประท้วง ให้เป็นไปตามแผนเผชิญเหตุและตามขั้นตอนและมีการวางแผนอย่างรอบคอบ
๓. ข้อเสนอแนะในการควบคุมตัว และการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุม
(๑) ในการควบคุมตัวผู้ชุมนุม ควรควบคุมเฉพาะแกนนำในการชุมนุม หรือผู้ที่ต้องสงสัยเท่านั้น
(๒) ในการควบคุมตัวผู้ชุมนุมไม่ควรใช้วิธีการรุนแรง โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นอยู่ไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่มนุษย์พึงได้รับ
(๓) ในการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมไปยังสถานที่ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกจะต้องมีลักษณะเพื่อภารกิจนี้ และต้องจัดให้มีจำนวนมากเพียงพอที่จะบรรทุกผู้ถูกควบคุมในจำนวนที่เหมาะสม และต้องมีเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรควบคุมขบวนนับตั้งแต่คนขึ้นจนกระทั่งถึงคนลง โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ
(๔) หากต้องเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมในระยะทางที่ไกลพอสมควร เจ้าหน้าที่ควรจัดให้ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนได้นั่งไป โดยจะต้องมีความพร้อมในการดูแลในเบื้องต้น
(๕) ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะหลายคัน การเดินทางควรใช้รูปขบวนปิด โดยควรมีผู้อำนวยการเดินทางเพื่อตรวจความพร้อมก่อนเคลื่อนขบวน และดูแลความเรียบร้อยระหว่างเดินทางจนส่งมอบผู้ถูกควบคุมเข้าสู่จุดหมายโดยเรียบร้อย
(๖) เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมควรจัดทำบัญชีรายชื่อและรายละเอียดจำนวนผู้ถูกควบคุม มีการลงนามการส่งและรับมอบระหว่างเจ้าหน้าที่
(๗) กรณีที่มีการยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกควบคุม ควรจัดทำบัญชี มีการลงนามรับทราบทั้งฝ่ายเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าหน้าที่ผู้ยึดหรืออายัดเป็นหลักฐาน และมีการลงนามส่งและรับมอบทุกขั้นตอน
(๘) ในกรณีที่เป็นเหตุฉุกเฉิน และไม่อาจเตรียมการได้ ให้ผู้รับผิดชอบใช้วิจารณญาณให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้ถูกควบคุมเป็นสำคัญ
๔. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเยียวยากรณีผู้เสียชีวิต
รัฐบาลควรให้การช่วยเหลือชดเชยค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต โดยอิงหลักกฎหมายอิสลามที่ว่า ถ้ามีผู้เสียชีวิตโดยประมาทหรือเพราะความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ และจับผู้กระทำไม่ได้ รัฐต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชย ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น รัฐบาลควรจัดให้มีคณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยขึ้นเป็นการเฉพาะ และต้องหาทางป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดซ้ำซ้อนอีก โดยการจ่ายเงินชดเชยหรือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตต้องกระทำในลักษณะที่ไม่ให้มีการ ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ในภายหลัง หรือทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าเป็นการเอาใจผู้ก่อความไม่สงบ
๕. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเยียวยากรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เจ็บป่วย
รัฐจะต้องดูแลและรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เจ็บป่วยจากเหตุการณ์จนกว่าร่างกายจะกลับคืนสู่ปกติซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรองรับสิทธินี้ไว้ และควรจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ครอบครัวตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยจะพิจารณา นอกจากนี้ ในช่วงที่ผู้บาดเจ็บยังต้องพักรักษาตัวและไม่สามารถทำงานได้ รัฐต้องสนับสนุนและให้การชดเชยด้านรายได้ไปก่อน เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ในระหว่างที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ
๖. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเยียวยาผู้ถูกควบคุม และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
(๑) ในการเยียวยาในกรณีมีผู้สูญหาย รัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลผู้สูญหายในพื้นที่ พร้อมหลักฐานต่างๆ เพื่อพิสูจน์ทราบในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนโดยเร็ว โดยอาจขอให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัดช่วยประสานข้อมูลในเรื่องนี้ และในกรณีที่มีข้อมูลชัดเจนว่ามีผู้สูญหาย ทางการจะต้องทำการตรวจสอบ และติดตามเรื่องนี้ให้ปรากฏผลโดยเร็วที่สุด
(๒) ในการเยียวยากรณีทรัพย์สินสูญหาย รัฐบาลควรสั่งการให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบตรวจสอบ ส่งคืน และชดเชยทรัพย์สินของผู้ร่วมชุมนุมที่ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจยึดไว้และสูญหายไป ซึ่งยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินที่ต้องตรวจยึดเป็นของกลางในคดีก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมทั้งต้องทำความเข้าใจด้วยว่าเป็นการปฏิบัติให้เกิดความถูกต้องและชอบธรรมตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างประชาชนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่
(๓) ในการเยียวยากรณีผู้ถูกดำเนินคดี รัฐบาลควรดูแลให้การดำเนินคดีกับ ผู้ถูกควบคุมที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอยู่ ให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม ตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม
๗. ข้อเสนอแนะด้านแนวทางการบริหารงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งระบบและแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) การจัดตั้งองค์กรบริหารราชการ ควรจัดตั้งให้มีลักษณะพลเรือนมากขึ้น โดยให้องค์กรประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
(๒) ควรปรับแผนการบริหารราชการในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว และดำเนินการคัดเลือกข้าราชการที่ดีที่สุด ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และหลักศาสนาอิสลาม เข้าไปปฏิบัติงาน
(๓) การแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน โดยต้องสร้างความเข้าใจ และความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน จึงควรใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร และน้อมนำแนวพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ว่า “เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา”
(๔) ควรนำองค์กรเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน ในระดับตำบล และหมู่บ้านทุกองค์กร มาสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และพัฒนาองค์กรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ โดยร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเข้าไปช่วยจัดทำโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ในหมู่บ้านของพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๕) ปลุกจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในความเป็น “รัฐชาติ” ที่ประชาชนจะเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
๘. ข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์และปฏิบัติการจิตวิทยา
(๑) ให้มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์จังหวัดชายแดนในภาคใต้ และนโยบายการศาสนูปถัมภ์ของรัฐต่อศาสนาอิสลามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีแก่ประชาชน สื่อมวลชน และต่างประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจกับสื่อมวลชนต่างประเทศให้นำเสนอข่าวทั้งสองด้าน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด
(๒) เร่งรัดให้เพิ่มรายการภาคภาษามลายูท้องถิ่นทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ โดยขยายช่วงเวลาการออกอากาศให้มากขึ้น โดยต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนผู้ชมในพื้นที่ด้วย โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ
(๓) ใช้การแพทย์และการสาธารณสุขเป็นมาตรการเชิงรุก โดยจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่เข้าไปตรวจสุขภาพประชาชนในท้องถิ่น หากบุคลากรมีไม่พอ ต้องจัดบุคลากรจากที่อื่นหมุนเวียนมาช่วยด้วย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบ
(๔) เร่งรัด ปรับปรุง พัฒนา จัดการศึกษาด้านศาสนาที่ถูกต้อง เพราะเยาวชนที่ถูกชักชวนไม่มีความรู้ทางศาสนาอย่างแท้จริง จึงถูกชักนำและหลงเชื่อได้ง่าย รวมทั้งจัดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นควบคู่ไปกับศึกษาด้านศาสนา โดยให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบ
(๕) ให้เร่งจัดสร้างงานในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนได้มีงานทำ เพื่อป้องกันการถูกชักนำไปในทางที่ผิด โดยให้ก ระทรวงแรงงานเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
๙. ข้อเสนอแนะด้านระบบและแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) ควรใช้กฎหมายในการบริหารรัฐให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น กรณีตัวอย่างอำเภอตากใบ แม้จะอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกก็น่าจะนำกฎหมายฝ่ายพลเรือนมาใช้ได้ เช่น การนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๔๙๕ มาใช้บังคับ โดยฝ่ายพลเรือน (รัฐบาล) สามารถใช้อำนาจฝ่ายพลเรือนเข้าดำเนินการได้ ดังเช่นกรณีการจลาจลที่พลับพลาไชยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับนี้เข้าดำเนินการได้ผลดี ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดี โดยไม่จำต้องใช้กำลังทหารเพราะอาจเกิดปัญหาทางการเมืองทั้งภายในและต่างประเทศได้
(๒) ควรดำเนินการกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการก่อความไม่สงบอย่างเด็ดขาดโดยใช้มาตรการเป็นการเฉพาะ เนื่องจากการก่อความไม่สงบในลักษณะนี้ ไม่ใช่อาชญากรรมธรรมดา แต่ได้พัฒนาเป็นปัญหาความมั่นคงแล้ว ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายจึงจำต้องใช้วิธีการเป็นการเฉพาะแตกต่างกับอาชญากรรมธรรมดากล่าวคือ
๒.๑) ดำเนินคดีกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังทุกข้อหาความผิด โดยพยายามให้มีการรวบรวมพยานหลักฐานให้รอบคอบรัดกุมด้วยการมอบหมายให้ผู้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการสืบสวนสอบสวนรับผิดชอบเป็นการเฉพาะ
๒.๒) ลงโทษทางสังคมโดยการเปิดเผยข้อมูลการก่อความไม่สงบให้สังคมรับรู้ เพื่อให้ผู้อยู่เบื้องหลังเกิดความเกรงกลัวที่จะต้องสูญเสียฐานะทางสังคม เพราะในบางครั้งผู้อยู่เบื้องหลังอาจจะไม่เกรงกลัวโทษทางกฎหมายเท่ากับโทษทางสังคม
๒.๓) จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการติดตามความเคลื่อนไหวของผู้อยู่เบื้องหลังการก่อความไม่สงบในลักษณะของการสอดส่อง ติดตาม ควบคุมกำกับดูแลพฤติการณ์อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ภายในกรอบของกฎหมาย
๑๐. การเข้าร่วมการประชุมองค์กรศาสนาอิสลามระดับนานาชาติ
ควรจัดให้มีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานรัฐ และองค์กรศาสนาอิสลาม มีโอกาสเข้าร่วมประชุมหรือร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมองค์กรศาสนาอิสลามระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เพื่อจะได้มีโอกาสชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาและข้อเท็จจริงของประเทศไทย ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่กลุ่มประเทศอิสลามโดยทั่วไป
คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิต
ในเหตุการณ์ อำเภอตากใบฯ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๓๕/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน และคณะกรรมการได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาออกเป็น ๔๕ วัน ซึ่งคณะกรรมการได้ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว มีผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ประเด็นสำคัญที่ได้นำขึ้นพิจารณามี ๑๑ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง การชุมนุมในวันนั้น มีการจัดตั้งหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า การชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบในวันนั้นเป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้แน่นอน การเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ๖ คน เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างเท่านั้น ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในขบวนการของการก่อความไม่สงบ
ประเด็นที่สอง ผู้ชุมนุมพกพาอาวุธมาด้วยหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ แต่คงมีจำนวนไม่มากและไม่กี่คนเท่านั้น เพราะถ้าแกนนำผู้ชุมนุมมีอาวุธมากจริงและใช้อาวุธยิงเจ้าหน้าที่แบบต่อสู้กัน เจ้าหน้าที่คงตายและบาดเจ็บอีกหลายคน
ประเด็นที่สาม มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ก่อนการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นการสกัดกั้นผู้เดินทางไม่ให้เข้าไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ หรือการเจรจา ๕ ถึง ๖ ครั้ง ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ ผู้นำทางศาสนา และบิดามารดาของ ชรบ. ๖ คน ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมีข้อสังเกตว่า หากการสกัดกั้นมิให้ผู้เดินทางเข้าไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบประสบความสำเร็จ ผู้ชุมนุมอาจจะมีจำนวนน้อยกว่านี้
.............................
*คณะกรรมการประกอบด้วย นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน พลเรือตรี นายแพทย์ วิทุร แสงสิงแก้ว นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม นายภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ พลตำรวจเอก ดรุณ โสตถิพันธุ์ นายขวัญชัย วศวงศ์ นายอิสมาแอ อาลี นายจรัญ มะลูลีม และนายอาศิส พิทักษ์คุมพล เป็นกรรมการ โดยมีนายวีระยุค พันธุเพชร เป็นเลขานุการ และนายนิพนธ์ ฮะกีมี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ประเด็นที่สี่ เหตุผลในการสลายและวิธีการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้เชื่อได้ว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป จะทำให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จนมิอาจควบคุมสถานการณ์ได้ และอาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสถานที่ราชการและเจ้าหน้าที่ ประกอบกับภาวะความกดดันอย่างรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ที่ต่อเนื่องมายาวนาน การตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจึงถือได้ว่าเป็นไปตามเหตุผลและความจำเป็นของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาวิธีการสลายการชุมนุมที่ใช้กำลังติดอาวุธและใช้กระสุนจริง โดยเฉพาะใช้กำลังทหารเกณฑ์และทหารพรานซึ่งมีวุฒิภาวะไม่สูงพอเข้าร่วมในการเข้าสลายการชุมนุมนั้น คณะกรรมการเห็นว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติที่ใช้กันตามหลักสากล ดังนั้น เมื่อมีการเสียชีวิตและการบาดเจ็บเกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายเจ้าหน้าที่ จึงควรเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องดำเนินการพิสูจน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า มีการจ่อยิงศีรษะผู้เข้าร่วมชุมนุมนั้น จากการชันสูตรพลิกศพไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธปืนจ่อยิงผู้ร่วมชุมนุมแต่อย่างใด
ประเด็นที่ห้า การควบคุมตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดเหมาะสมและกระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ต้องการควบคุมตัวเฉพาะกลุ่มแกนนำประมาณ ๓๐ ถึง ๔๐ คน เท่านั้น จึงเตรียมใช้รถบรรทุกที่ขนส่งทหารพรานจำนวน ๔ คัน แต่เมื่อมีการควบคุมตัวผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากขึ้น เพราะไม่สามารถจำแนกแกนนำจากผู้ร่วมชุมนุมได้ จำเป็นต้องปรับแผนเอาตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดไว้ก่อนแล้วค่อยคัดกรองออกในภายหลัง เป็นเหตุให้เกิดความบกพร่องในการเตรียมการและการปฏิบัติหลายประการ
ประเด็นที่หก การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพื่อควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหารเป็นการเลือกที่เหมาะสมแล้ว เพราะที่แห่งนี้มีบริเวณกว้างขวาง มีเรือนจำทหารที่จะใช้ควบคุมตัวผู้ชุมนุม และมีโรงพยาบาลทหารที่จะรักษาพยาบาลผู้ถูกควบคุมตัวที่ป่วยและบาดเจ็บได้
ประเด็นที่เจ็ด การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี มีมาตรฐานหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า การเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมค่อนข้างจะเป็นไปด้วยความสับสนและฉุกละหุก จำนวนรถน่าจะเพียงพอที่จะขนส่งผู้ถูกควบคุมซึ่งมีจำนวน ๑,๓๐๐ คนได้ เฉลี่ยคันละ ๕๐ คน แต่เมื่อรถคันแรก ๆ บรรทุกไม่ถึง ๕๐ คน คันหลังต้องบรรทุกมากกว่า ๕๐ คน เพราะเจ้าหน้าที่ต้องพยายามบรรทุกให้หมด อีกทั้งต้องไปรับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสกัดและควบคุมตัวไว้ที่สามแยกตากใบ ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอยู่ในรถบรรทุกคันหลัง ๆ และน่าจะฟังได้ว่ามีการเอาผู้ชุมนุมนอนทับซ้อนกันจริงโดยเฉพาะในรถบรรทุกคันแรกของขบวนแรกจนผู้บังคับบัญชามาเห็น จึงสั่งให้เอาคนลงมาและจัดขึ้นไปใหม่ ซึ่งต่อมาไม่น่าจะมีการสั่งให้เอาคนนอนทับซ้อนกันหลายชั้นเช่นนั้นอีก
อย่างไรก็ตาม จากผลการชันสูตรพลิกศพและการสอบถามแพทย์ผู้รักษาผู้บาดเจ็บและการเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บล้วนสรุปได้ว่า การเสียชีวิตของผู้ถูกควบคุม เนื่องจากอยู่ในภาวะอ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้เต็มที่ ขาดอาหารและน้ำ ประกอบกับได้รับอากาศน้อย และกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจอ่อนแรงลง การกดทับเพราะบรรทุกแน่นเกินไป
คณะกรรมการเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อยที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ และมุ่งแต่เพียงปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปเท่านั้นโดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดการตายเช่นนี้
ประเด็นที่แปด การใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จนกระทั่งนำผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุก ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า ระยะเวลาการเดินทางจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารซึ่งห่างประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร มีการหยุดระหว่างทางและขบวนรถเป็นขบวนที่ยาว ประกอบกับเป็นเวลากลางคืน มีฝนตกหนัก มีการวางสิ่งกีดขวาง และมีข่าวว่าจะมีการ ชิงตัวผู้ถูกควบคุมตัว ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าที่ควร ระยะเวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง จึงเหมาะสมตามวิสัยและพฤติการณ์ในสถานการณ์ดังกล่าว
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงที่เรือนจำจังหวัดทหารบกนั้น เนื่องจากสภาพถนนหน้าเรือนจำจังหวัดทหารบกแคบ รถบรรทุกไม่สามารถเข้าไปพร้อม ๆ กัน หรือสวนกันได้ ทำให้การลำเลียงคนลงเป็นไปอย่างล่าช้า ระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงคนลงจากรถบรรทุกจึงเหมาะสมตามเหตุการณ์และสภาพของสถานที่
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเห็นว่า เมื่อมีการพบผู้เสียชีวิตในรถบรรทุกแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลการลำเลียงมิได้สั่งให้ดำเนินการใดกับรถบรรทุกที่จอดรออยู่ หรือแจ้งให้ผู้ควบคุมรถบรรทุกคันอื่น ๆ ทราบ เพื่อดำเนินการใด ๆ การละเลยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และเป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบ
ประเด็นที่เก้า การดูแลผู้ถูกควบคุม ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการเห็นว่า ผู้ถูกควบคุมและผู้เจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างดี มีประสิทธิภาพและเหมาะสมแล้ว
ประเด็นที่สิบ มีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ หรือไม่
ปรากฏว่ามีผู้สูญหายจำนวน ๗ คน จึงเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานพื้นที่ ต้องเร่งสืบหาข้อเท็จจริงเป็นการเร่งด่วน และประสานไปยังทายาทของผู้สูญหาย พร้อมทั้งจัดการเยียวยา บำรุงขวัญในเบื้องต้น
ประเด็นที่สิบเอ็ด ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และผู้รับผิดชอบที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
(๑) ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุม และการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุม ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร
คณะกรรมการเห็นว่า ผบ.พล. ร.๕ ซึ่งรับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่ทำให้มี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งรับผิดชอบในการควบคุมตัว การลำเลียงและการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธ ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
(๒) ผู้รับผิดชอบที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร
คณะกรรมการเห็นว่า รองแม่ทัพภาคที่ ๔ (คนที่สอง) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานการข่าวและสายงานยุทธการ ได้รับคำสั่งให้จัดเตรียมทั้งน้ำ อาหาร และพื้นที่ เพื่อรองรับผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ดังนั้น เมื่อการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุกที่เรือนจำจังหวัดทหารบกปัตตานี และพบว่ามีผู้ถูกควบคุมเสียชีวิตในรถบรรทุกที่เคลื่อนย้ายมา แต่กลับมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น จึงเห็นว่า ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
(๓) ผู้รับผิดชอบในสถานการณ์โดยรวม
คณะกรรมการเห็นว่า แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดตามประกาศกฎอัยการศึก แม้จะได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามสายงานรับผิดชอบก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการติดตาม ควบคุม และสอดส่องดูแลว่าภารกิจที่ได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติว่าประสบความสำเร็จหรือมีปัญหาความยุ่งยากประการใด จึงเห็นว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา
(๔) บทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คณะกรรมการเห็นว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เริ่มก่อเหตุการณ์ คือกลุ่มแกนนำบางคนที่ต้องการให้สถานการณ์ยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นฝ่ายเข้าไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยแต่ละคนได้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อบกพร่องไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ จึงต้องนำเหตุการณ์นี้มาศึกษาเสนอแนะเพื่อไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอีก
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
๑. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการข่าว
รัฐบาลควรดำเนินการด้านการข่าวในเชิงรุก ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการข่าวกรองในพื้นที่ โดยเน้นข่าวกรองบุคคลและข่าวกรองเทคนิค รวมทั้งมีการประสานข่าวกรองแบบบูรณาการในประชาคมข่าวกรองของไทยและกับหน่วยข่าวกรองของมิตรประเทศ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณด้านการข่าวให้มากขึ้น โดยให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้รับผิดชอบ
๒. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม
(๑) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตในกรณีมีการชุมนุมประท้วงเช่นนี้อีก ให้ใช้ชุดปราบจลาจลของตำรวจที่ได้รับการฝึกอบรม และมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นหลัก สำหรับชุดปราบจลาจลของฝ่ายทหารจะใช้เป็นกองหนุนในกรณีที่กำลังตำรวจมีไม่พอเท่านั้น และห้ามติดอาวุธ
(๒) การเข้าสลายการชุมนุมควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หากพิจารณาเห็นว่าถ้าไม่กระทำจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงตามมา
(๓) การจัดการกับปัญหาการชุมนุมประท้วง ให้เป็นไปตามแผนเผชิญเหตุและตามขั้นตอนและมีการวางแผนอย่างรอบคอบ
๓. ข้อเสนอแนะในการควบคุมตัว และการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุม
(๑) ในการควบคุมตัวผู้ชุมนุม ควรควบคุมเฉพาะแกนนำในการชุมนุม หรือผู้ที่ต้องสงสัยเท่านั้น
(๒) ในการควบคุมตัวผู้ชุมนุมไม่ควรใช้วิธีการรุนแรง โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นอยู่ไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่มนุษย์พึงได้รับ
(๓) ในการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมไปยังสถานที่ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกจะต้องมีลักษณะเพื่อภารกิจนี้ และต้องจัดให้มีจำนวนมากเพียงพอที่จะบรรทุกผู้ถูกควบคุมในจำนวนที่เหมาะสม และต้องมีเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรควบคุมขบวนนับตั้งแต่คนขึ้นจนกระทั่งถึงคนลง โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ
(๔) หากต้องเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมในระยะทางที่ไกลพอสมควร เจ้าหน้าที่ควรจัดให้ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนได้นั่งไป โดยจะต้องมีความพร้อมในการดูแลในเบื้องต้น
(๕) ในกรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะหลายคัน การเดินทางควรใช้รูปขบวนปิด โดยควรมีผู้อำนวยการเดินทางเพื่อตรวจความพร้อมก่อนเคลื่อนขบวน และดูแลความเรียบร้อยระหว่างเดินทางจนส่งมอบผู้ถูกควบคุมเข้าสู่จุดหมายโดยเรียบร้อย
(๖) เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมควรจัดทำบัญชีรายชื่อและรายละเอียดจำนวนผู้ถูกควบคุม มีการลงนามการส่งและรับมอบระหว่างเจ้าหน้าที่
(๗) กรณีที่มีการยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกควบคุม ควรจัดทำบัญชี มีการลงนามรับทราบทั้งฝ่ายเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าหน้าที่ผู้ยึดหรืออายัดเป็นหลักฐาน และมีการลงนามส่งและรับมอบทุกขั้นตอน
(๘) ในกรณีที่เป็นเหตุฉุกเฉิน และไม่อาจเตรียมการได้ ให้ผู้รับผิดชอบใช้วิจารณญาณให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้ถูกควบคุมเป็นสำคัญ
๔. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเยียวยากรณีผู้เสียชีวิต
รัฐบาลควรให้การช่วยเหลือชดเชยค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต โดยอิงหลักกฎหมายอิสลามที่ว่า ถ้ามีผู้เสียชีวิตโดยประมาทหรือเพราะความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ และจับผู้กระทำไม่ได้ รัฐต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชย ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น รัฐบาลควรจัดให้มีคณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยขึ้นเป็นการเฉพาะ และต้องหาทางป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดซ้ำซ้อนอีก โดยการจ่ายเงินชดเชยหรือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตต้องกระทำในลักษณะที่ไม่ให้มีการ ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ในภายหลัง หรือทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าเป็นการเอาใจผู้ก่อความไม่สงบ
๕. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเยียวยากรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เจ็บป่วย
รัฐจะต้องดูแลและรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เจ็บป่วยจากเหตุการณ์จนกว่าร่างกายจะกลับคืนสู่ปกติซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรองรับสิทธินี้ไว้ และควรจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ครอบครัวตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยจะพิจารณา นอกจากนี้ ในช่วงที่ผู้บาดเจ็บยังต้องพักรักษาตัวและไม่สามารถทำงานได้ รัฐต้องสนับสนุนและให้การชดเชยด้านรายได้ไปก่อน เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ในระหว่างที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ
๖. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเยียวยาผู้ถูกควบคุม และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
(๑) ในการเยียวยาในกรณีมีผู้สูญหาย รัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลผู้สูญหายในพื้นที่ พร้อมหลักฐานต่างๆ เพื่อพิสูจน์ทราบในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนโดยเร็ว โดยอาจขอให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัดช่วยประสานข้อมูลในเรื่องนี้ และในกรณีที่มีข้อมูลชัดเจนว่ามีผู้สูญหาย ทางการจะต้องทำการตรวจสอบ และติดตามเรื่องนี้ให้ปรากฏผลโดยเร็วที่สุด
(๒) ในการเยียวยากรณีทรัพย์สินสูญหาย รัฐบาลควรสั่งการให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบตรวจสอบ ส่งคืน และชดเชยทรัพย์สินของผู้ร่วมชุมนุมที่ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจยึดไว้และสูญหายไป ซึ่งยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินที่ต้องตรวจยึดเป็นของกลางในคดีก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมทั้งต้องทำความเข้าใจด้วยว่าเป็นการปฏิบัติให้เกิดความถูกต้องและชอบธรรมตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างประชาชนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่
(๓) ในการเยียวยากรณีผู้ถูกดำเนินคดี รัฐบาลควรดูแลให้การดำเนินคดีกับ ผู้ถูกควบคุมที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอยู่ ให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม ตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม
๗. ข้อเสนอแนะด้านแนวทางการบริหารงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งระบบและแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) การจัดตั้งองค์กรบริหารราชการ ควรจัดตั้งให้มีลักษณะพลเรือนมากขึ้น โดยให้องค์กรประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
(๒) ควรปรับแผนการบริหารราชการในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว และดำเนินการคัดเลือกข้าราชการที่ดีที่สุด ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และหลักศาสนาอิสลาม เข้าไปปฏิบัติงาน
(๓) การแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน โดยต้องสร้างความเข้าใจ และความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน จึงควรใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร และน้อมนำแนวพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ว่า “เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา”
(๔) ควรนำองค์กรเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน ในระดับตำบล และหมู่บ้านทุกองค์กร มาสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และพัฒนาองค์กรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ โดยร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเข้าไปช่วยจัดทำโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ในหมู่บ้านของพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๕) ปลุกจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในความเป็น “รัฐชาติ” ที่ประชาชนจะเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
๘. ข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์และปฏิบัติการจิตวิทยา
(๑) ให้มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์จังหวัดชายแดนในภาคใต้ และนโยบายการศาสนูปถัมภ์ของรัฐต่อศาสนาอิสลามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีแก่ประชาชน สื่อมวลชน และต่างประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจกับสื่อมวลชนต่างประเทศให้นำเสนอข่าวทั้งสองด้าน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด
(๒) เร่งรัดให้เพิ่มรายการภาคภาษามลายูท้องถิ่นทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ โดยขยายช่วงเวลาการออกอากาศให้มากขึ้น โดยต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนผู้ชมในพื้นที่ด้วย โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ
(๓) ใช้การแพทย์และการสาธารณสุขเป็นมาตรการเชิงรุก โดยจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่เข้าไปตรวจสุขภาพประชาชนในท้องถิ่น หากบุคลากรมีไม่พอ ต้องจัดบุคลากรจากที่อื่นหมุนเวียนมาช่วยด้วย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบ
(๔) เร่งรัด ปรับปรุง พัฒนา จัดการศึกษาด้านศาสนาที่ถูกต้อง เพราะเยาวชนที่ถูกชักชวนไม่มีความรู้ทางศาสนาอย่างแท้จริง จึงถูกชักนำและหลงเชื่อได้ง่าย รวมทั้งจัดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นควบคู่ไปกับศึกษาด้านศาสนา โดยให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบ
(๕) ให้เร่งจัดสร้างงานในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนได้มีงานทำ เพื่อป้องกันการถูกชักนำไปในทางที่ผิด โดยให้ก ระทรวงแรงงานเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
๙. ข้อเสนอแนะด้านระบบและแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) ควรใช้กฎหมายในการบริหารรัฐให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น กรณีตัวอย่างอำเภอตากใบ แม้จะอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกก็น่าจะนำกฎหมายฝ่ายพลเรือนมาใช้ได้ เช่น การนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๔๙๕ มาใช้บังคับ โดยฝ่ายพลเรือน (รัฐบาล) สามารถใช้อำนาจฝ่ายพลเรือนเข้าดำเนินการได้ ดังเช่นกรณีการจลาจลที่พลับพลาไชยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับนี้เข้าดำเนินการได้ผลดี ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดี โดยไม่จำต้องใช้กำลังทหารเพราะอาจเกิดปัญหาทางการเมืองทั้งภายในและต่างประเทศได้
(๒) ควรดำเนินการกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการก่อความไม่สงบอย่างเด็ดขาดโดยใช้มาตรการเป็นการเฉพาะ เนื่องจากการก่อความไม่สงบในลักษณะนี้ ไม่ใช่อาชญากรรมธรรมดา แต่ได้พัฒนาเป็นปัญหาความมั่นคงแล้ว ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายจึงจำต้องใช้วิธีการเป็นการเฉพาะแตกต่างกับอาชญากรรมธรรมดากล่าวคือ
๒.๑) ดำเนินคดีกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังทุกข้อหาความผิด โดยพยายามให้มีการรวบรวมพยานหลักฐานให้รอบคอบรัดกุมด้วยการมอบหมายให้ผู้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการสืบสวนสอบสวนรับผิดชอบเป็นการเฉพาะ
๒.๒) ลงโทษทางสังคมโดยการเปิดเผยข้อมูลการก่อความไม่สงบให้สังคมรับรู้ เพื่อให้ผู้อยู่เบื้องหลังเกิดความเกรงกลัวที่จะต้องสูญเสียฐานะทางสังคม เพราะในบางครั้งผู้อยู่เบื้องหลังอาจจะไม่เกรงกลัวโทษทางกฎหมายเท่ากับโทษทางสังคม
๒.๓) จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการติดตามความเคลื่อนไหวของผู้อยู่เบื้องหลังการก่อความไม่สงบในลักษณะของการสอดส่อง ติดตาม ควบคุมกำกับดูแลพฤติการณ์อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ภายในกรอบของกฎหมาย
๑๐. การเข้าร่วมการประชุมองค์กรศาสนาอิสลามระดับนานาชาติ
ควรจัดให้มีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานรัฐ และองค์กรศาสนาอิสลาม มีโอกาสเข้าร่วมประชุมหรือร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมองค์กรศาสนาอิสลามระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เพื่อจะได้มีโอกาสชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาและข้อเท็จจริงของประเทศไทย ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่กลุ่มประเทศอิสลามโดยทั่วไป
คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิต
ในเหตุการณ์ อำเภอตากใบฯ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-