สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.28 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.68 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 53.26 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 51 บาท) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.40 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องแนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 จนถึงปัจจุบันที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้เอกซเรย์ไข้หวัดนกรอบ 2 พบเชื้อไข้หวัดนก 37 จุด ได้ทำลายสัตว์ปีกและสัตว์ปีกตายเองทั้งสิ้น 303,624 ตัว สามารถ ควบคุมไม่ให้เชื้อกระจายไปยังบริเวณอื่นได้ ในเดือนตุลาคมกรมปศุสัตว์จะทำการควบคุมระบบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามจุดตรวจสอบทุกเส้นการทางการขนส่ง ภายหลังผู้ประกอบการแจ้งเพื่อขอรับใบอนุญาตการขนส่งไก่ จะป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเชื่อมทุกจุดเข้าด้วยกันแบบออนไลน์ จะทำให้การควบคุมมีความเข้มงวดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนกสภาพยุโรป (EU) พบว่าพอใจในการดำเนินการของไทย หลังจากการตรวจสอบห้องปฏิบัติการในระบบการควบคุมไข้หวัดนกของไทย และเห็นด้วยกับการจัดตั้งขอบเขตการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ปีก หรือคอมพาสเมนท์ นอกจากนี้ FAO ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 100 ล้านบาท ให้ไทยดำเนินการจัดตั้งและปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้มีความ ทันสมัย ตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนกในอาเซียน และเห็นควรให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบเชื้อไข้หวัดนกในภูมิภาคนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.52 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.21 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 254 บาท เพิ่มขึ้นจาก ร้อยฟองละ 251 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อย ฟองละ 248 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 291 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 241 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 268 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 240 บาท
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 308 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 257 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 302 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 289 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.34 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 45.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.58 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางกิโลกรัมละ 42.27 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.75 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.39 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 26 ก.ย.—2 ต.ค.2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.28 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.68 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 53.26 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 51 บาท) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.40 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องแนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 จนถึงปัจจุบันที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้เอกซเรย์ไข้หวัดนกรอบ 2 พบเชื้อไข้หวัดนก 37 จุด ได้ทำลายสัตว์ปีกและสัตว์ปีกตายเองทั้งสิ้น 303,624 ตัว สามารถ ควบคุมไม่ให้เชื้อกระจายไปยังบริเวณอื่นได้ ในเดือนตุลาคมกรมปศุสัตว์จะทำการควบคุมระบบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามจุดตรวจสอบทุกเส้นการทางการขนส่ง ภายหลังผู้ประกอบการแจ้งเพื่อขอรับใบอนุญาตการขนส่งไก่ จะป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเชื่อมทุกจุดเข้าด้วยกันแบบออนไลน์ จะทำให้การควบคุมมีความเข้มงวดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนกสภาพยุโรป (EU) พบว่าพอใจในการดำเนินการของไทย หลังจากการตรวจสอบห้องปฏิบัติการในระบบการควบคุมไข้หวัดนกของไทย และเห็นด้วยกับการจัดตั้งขอบเขตการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ปีก หรือคอมพาสเมนท์ นอกจากนี้ FAO ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 100 ล้านบาท ให้ไทยดำเนินการจัดตั้งและปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้มีความ ทันสมัย ตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนกในอาเซียน และเห็นควรให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบเชื้อไข้หวัดนกในภูมิภาคนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.52 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.21 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 254 บาท เพิ่มขึ้นจาก ร้อยฟองละ 251 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อย ฟองละ 248 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 291 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 241 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 268 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 240 บาท
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 308 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 257 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 302 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 289 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.34 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 45.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.58 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางกิโลกรัมละ 42.27 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.75 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.39 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 26 ก.ย.—2 ต.ค.2548--
-พห-