แท็ก
ไต้หวัน
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 จำนวนประชากร ปัจจุบันไต้หวันมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 21.514 ล้านคน โดยแบ่งเป็นชาย 11.057 ล้านคน
และหญิง 10.457 ล้านคน และมีอัตราการขยายตัวของประชากรในปี 1995 ร้อยละ 8.44 และปี 1996 ร้อยละ 7.85 ในจำนวน
ประชากรทั้งหมด สามารถแบ่งตามอายุได้ดังนี้
อายุ 0 - 14 ปี จำนวน 5.112 ล้านคน หรือ ร้อยละ 23.76
อายุ 15 - 64 ปี จำนวน 14.761 ล้านคน หรือ ร้อยละ 68.61
อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 1.641 ล้านคน หรือ ร้อยละ 7.63
1.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไต้หวันมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีรายได้ต่อหัวของประชากร
ค่อนข้างสูง จึงทำให้ประชากรของไต้หวันมีฐานะทางเศรษฐกิจดี โดยมีตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และรายได้ต่อหัว
ของประชากรในแต่ละปี ดังนี้
ปี Economic G.R. (%) Per Capita GNP (US$)
1992 6.76 10,470
1993 6.32 10,852
1994 6.54 11,597
1995 6.03 12,396
1996 5.71 12,872
1997 (ประมาณการ) 6.28 13,747
(แหล่งข้อมูล : Quarerly National Economic Trends, DGBAS, Exeutive Yuan)
2. ขนาดของตลาด
การผลิต
อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเคยเป็นอุตสาหกรรมทีทำรายได้ให้กับไต้หวันในอันดับต้น ๆ แต่หลังจากปี 1988
ก็เริ่มเกิดภาวะตกต่ำลง หลังจากที่ไต้หวันได้พยายามหามาตรการแก้ไขด้วยการพัฒนาการผลิตและการออกแบบ จนปัจจุบันนี้
ก็เริ่มจะทรงตัว ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไต้หวันมีแนวโน้มลดลงเรื่อยมา ในปัจจุบันนี้การผลิต
เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ยังถือว่า มีความสำคัญก็เพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถัก (Knitted Apparel) และเสื้อ Sweaters เท่านั้น
โดยในปี 1994 มีมูลค่าการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องตกแต่งทั้งสิ้น 2,190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 1995 มีมูลค่า
1,997 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 1994 ร้อยละ 8.82 ในปี 1996 มีมูลค่าการผลิต 2,011 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากปี 1995 เพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 0.69
การนำเข้า
ในขณะที่การผลิตมีแนวโน้มลดลง แต่การนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยมา ตั้งแต่ปี 1995 มีการนำเข้ามูลค่า
766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 1994 ร้อยละ 16.51 ซึ่งเป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ 356.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เสื้อสำเร็จรูปผ้าถัก 219.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเสื้อ Sweaters 82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 1996 มีการนำเข้า
815 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 1995 ร้อยละ 6.28 โดยเป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ 466 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 234 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเสื้อ Sweaters 115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ ฮ่องกง
(สินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผ่านฮ่องกงมายังไต้หวัน) อิตาลี เวียตนาม เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย
สำหรับปี 1997 มกราคม - กรกฎาคม ได้มีการนำเข้าแล้ว 449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การนำเข้าจากไทย ไต้หวันยังคงมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปแต่ละชนิดจากไทยในปริมาณมากพอสมควร แต่ปริมาณ
การนำเข้าดังกล่าวเริ่มลดลง โดยไต้หวันเริ่มมีการนำเข้าจากเวียตนาม อินโดนีเซีย และจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ
ประเทศดังกล่าวได้เปรียบในด้านต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่า โดยสินค้าที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่จะเป็นการนำเข้าผ่านทางฮ่องกง
แต่อย่างไรก็ตามสินค้าที่ไต้หวันมีการนำเข้าทั้งจากเวียตนาม อินโดนีเซีย จีน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไต้หวันเองไปตั้งโรงงาน
ผลิตสินค้าในประเทศเหล่านั้น และส่งสินค้ากลับเข้าไปในไต้หวัน
สำหรับการนำเข้าสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากยุโรปคือ อิตาลี และฝรั่งเศส รวมทั้งการนำเข้าจากญี่ปุ่น
จะเป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปประเภท Brand name ที่มีชื่อเสียงและราคาสูง
การส่งออก
การส่งออกของไต้หวันมีมูลค่าลดลงเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1988 ซึ่งไต้หวันเคยส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าประมาณ
4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 1995 ส่งออกได้เพียง 2,348.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 1994 ร้อยละ 7.52
ซึ่งเป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถัก 993 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ 951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และเสื้อ Sweaters 403 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 1996 ส่งออกมีมูลค่า 2,286.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 1995
ร้อยละ 2.63 โดยเป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถัก 980.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อสำเร็จรูปผ้าทอ 930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และเสื้อ Sweaters 375.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมัน แคนาดา อังกฤษ และฮ่องกง
ในปี 1997 มกราคม - กรกฎาคม มีการส่งออกแล้วคิดเป็นมูลค่า 1,373.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูป
จากตัวเลขการผลิต การนำเข้าและส่งออก ดังกล่าว จะเห็นว่ามูลค่าตลาดสำหรับสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวัน
ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 1995 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.5 และปี 1996 เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.78 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ปี มูลค่าตลาด เพิ่ม/ลด มูลค่าผลิต เพิ่ม/ลด การนำเข้า เพิ่ม/ลด การส่งออก เพิ่ม/ลด
1994 308,824 2,190,244 658,191 2,539,611
1995 415,365 34.50% 1,997,030 -8.82% 766,881 16.51% 2,348,546 -7.52%
1996 539,045 29.78% 2,010,804 0.69% 815,075 6.28% 2,286,834 -2.63%
1997
(1-7) 153,730 1,078,302 449,169 1,373,741
ที่มา : Thailand Trade and Economic Office, Taipei,
มูลค่าการผลิต : Department of statistics, Ministry of Economic Affairs.
การนำเข้า ส่งออก : Taiwan Textile Federation
หมายเหตุ : การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ปี 1994 US$ 1 = NT$ 26.24, ปี 1995
US$ 1 = NT$ 27.27, ปี 1996 US$ 1 = NT$ 27.49, ปี 1997
US$ = NT$ 27.79
3. รสนิยมผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผู้บริโภคในไต้หวันสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ
1. ผู้รายได้สูงหรือมีฐานะดี กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการซื้อสูง โดยจะนิยมซื้อเสื้อผ้าประเภท Brandname
ที่มีการนำเข้ามาจาก อิตาลี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ซึ่งจะมีจำหน่ายทั้งในห้างสรรพสินค้าและตามร้าน Chain Stores ที่เป็น
ตัวแทนจำหน่ายสินค้ายี่ห้อดังกล่าวซึ่งมีอยู่ทั่วไปในไต้หวัน
2. ผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ จะนิยมซื้อเสื้อผ้าที่มีราคาปานกลางค่อนข้างถูก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า
ที่นำเข้ามาจากจีนผ่านฮ่องกง โดยไต้หวันเองเข้าไปตั้งโรงงานผลิตในจีน และส่งผ่านฮ่องกงเข้ามายังไต้หวัน ซึ่งจีนมี
ข้อได้เปรียบในเรื่องค่าแรงที่ถูก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนค่อนข้างมาก นอกจากนั้นก็เป็น
สินค้าที่มาจากประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย เวียตนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งก็จะมีลักษณะเดียวกันคือ ส่วนใหญ่ไต้หวัน
จะเข้าไปตั้งโรงงานผลิตในประเทศเหล่านั้น และส่งออกมายังไต้หวันหรือส่งไปประเทศอื่น ซึ่งเดิมไต้หวันได้เข้าไป
ตั้งโรงงานลักษณะนี้ในไทย แต่ปัจจุบันเนื่องจากค่าแรงในประเทศไทยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โรงงานบางแห่งได้
เริ่มย้ายฐานการผลิตไปหาประเทศที่ค่าแรงงานราคาถูกกว่าไทย เช่น เวียตนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นปัจจัยตัวหนึ่ง
ที่ทำให้การส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมายังไต้หวันลดลง
4. ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวัน คือการจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าและ Chain-stores
ซึ่งห้างสรรพสินค้า และ Chain-stores ส่วนใหญ่จะนำเข้าโดยตรงจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกในต่างประเทศ และ Chain-stores
บางแห่งก็เป็นตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตในต่างประเทศโดยตรง สำหรับร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กหรือแผงลอยต่าง ๆ
จะซื้อต่อจากร้านค้าส่ง ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะในไทเปมีย่านค้าส่งเสื้อผ้า ซึ่งกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ย่านว่านฮวา
ปาเต๋อ และหลัง สถานีรถไฟ เป็นต้น
ต้นทุนการจัดจำหน่ายสินค้าในแต่ละขั้นตอน ถ้าเป็นการจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้า ทางห้างฯ จะมีการหักเปอร์เซนต์
จากผู้นำเข้า ประมาณ 20-25% และคิดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาอีก 1-15% ของยอดขายในแต่ละเดือน แต่ถ้าผู้นำเข้าจำหน่าย
ให้กับผู้ค้าส่งจะบวกกำไร (mark up) ประมาณ 40% ผู้ค้าส่งจำหน่ายให้ผู้ค้าปลีกจะบวกกำไร (mark up) ประมาณ 30-40%
5. ระดับคุณภาพและราคา
สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวันแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ
1. สินค้าประเภท Brandname มีชื่อเสียงราคาแพง ซึ่งเป็นสินค้าที่นำเข้าจากอิตาลี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ส่วนใหญ่
จะวางขายตามเคาน์เตอร์เฉพาะของห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ หรือร้านค้าที่เป็น Chain-stores ของสินค้า Brandname นั้น ๆ
โดยเฉพาะส่วนระดับราคาจะเริ่มประมาณ 5,000 เหรียญจีนขึ้นไป จนถึง 100,000 เหรียญจีน ทั้งนี้แล้วแต่ประเภท
และชนิดของสินค้า
2. สินค้าราคาถูกและปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตในไต้หวันเองและนำเข้าจาก ฮ่องกง จีน เกาหลี ไทย
เวียตนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมักจะวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ร้าน Chain-stores (เช่น Hangten, Giordano,
Unicom Huorse, Net และที่เป็น Chain-stores ของไต้หวันเอง เช่น Spoonful เป็นต้น) ร้านค้าทั่วไปและตาม
ตลาดกลางคืน สำหรับราคาขายปลีกสำหรับสินค้าแต่ละอย่างส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือเสื้อเชิ๊ตประมาณ
250 - 1,000 เหรียญจีน T-shirt มีราคาตั้งแต่ 100 - 800 หรือ 1,000 เหรียญจีน กระโปรงหรือกางเกงประมาณ
500 - 1,000 เหรียญจีน เสื้อแจ็คเก็ต ประมาณ 700 - 3,000 เหรียญจีน
6. การส่งเสริมการจำหน่าย
การส่งเสริมการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวันนั้น ส่วนใหญ่จะมีการจัดโปรโมชั่นด้วยการลดราคาในช่วงเปลี่ยนฤดู
หรือโอกาสพิเศษ เช่น วันแม่ วันฉลองครอบรอบปีของห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่ง และจะมีการลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ตอนปลายฤดู
โดยจะมีการลดราคาประมาณร้อยละ 30-50 ของราคาขาย และเมื่อหมดฤดูจะลดมากถึงร้อยละ 70-80 ซึ่งเทศกาลลดราคา
ครั้งใหญ่จะมี 2 ครั้งในแต่ละปี คือช่วงเปลี่ยนจากแฟชั่นฤดูร้อนเป็น ฤดูหนาว ประมาณเดือน กันยายน - ตุลาคม และช่วงเปลี่ยนจาก
แฟชั่นฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน ประมาณเดือน มีนาคม - เมษายน
7. กฎระเบียบในการนำเข้าและอัตราภาษีศุลกากร
ไต้หวันกำหนดรหัสสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตามระบบ HS. Code ให้อยู่ในหมวด 61 และ 62 ซึ่งไต้หวันไม่มีการกำหนด
มาตรการหรือข้อจำกัดในการนำเข้าแต่อย่างใด ทั้งนี้อัตราภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนใหญ่อยู่ใน
อัตราประมาณร้อยละ 12.5 เว้นแต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากเส้นใยไหมหรือผ้าไหมจะเก็บในอัตรา ร้อยละ 20
สำหรับเรื่องการชำระเงินค่าสินค้า จะเป็นไปตามประเพณีปฎิบัติทางการค้าทั่วไป
8. ข้อเสนอแนะ
เดิมประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมายังไต้หวันอยู่ในอันดับต้น ๆ แต่ปัจจุบันประเทศไทย
กำลังประสบปัญหาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้น้อยลง เพราะต้นทุนการผลิตเริ่มเสียเปรียบประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า ทำให้
โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเข้ามาลงทุนเพื่อตัดเย็บเสื้อผ้าในประเทศไทยมีจำนวนน้อยลง และโรงงานบางแห่งได้เริ่มย้าย
ไปลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำกว่าไทย เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย
9. ข้อคิดเห็น
1. สินค้าจากประเทศไทยที่จะส่งเข้ามาจำหน่ายในตลาดไต้หวันควรเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมูลค่าสูงขึ้น โดยใช้
วัตถุดิบที่มีคุณภาพและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น เพื่อเข้ามาขยายส่วนแบ่งตลาดของสินค้าที่มีคุณภาพสูง อย่างเช่น สินค้าที่มีชื่อ
เสียงของอิตาลี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
2. นอกจากนี้ก็จะต้องพยายามสร้าง Brandname สินค้าของไทยขึ้นมาโดยในชั้นต้นอาจจะซื้อใบอนุญาตในการผลิต
จากบริษัทที่มี Brandname เป็นที่นิยมในตลาด ในขณะเดียวกันก็พัฒนาเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้เครื่องหมายการค้าของไทยเองไปพร้อมกัน
เนื่องจากไทยยังคงได้เปรียบเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากยุโรปในด้านต้นทุน และค่าขนส่งไปยังไต้หวัน และพยายามสร้างภาพพจน์ของสินค้า
จากไทยว่าไม่ใช่สินค้าคุณภาพต่ำ ที่มีราคาถูก เช่น สินค้าจากจีน และฮ่องกง ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคในไต้หวันส่วนหนึ่งยังมี
ความเข้าใจว่าสินค้าจากไทยมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
3. จะต้องพัฒนาและผลิตบุคคลากรที่เป็นนักออกแบบซึ่งมีคุณภาพ และพัฒนาแนวความคิดในการออกแบบ จากที่เคย
ออกแบบเพียงแค่การตัดเย็บ ก็จะต้องเริ่มพิจารณาออกแบบตั้งแต่ลวดลายของเนื้อผ้า โดยรัฐบาลอาจจะต้องช่วยให้การสนับสนุน
ให้นักออกแบบมีโอกาสออกไปศึกษาหรือฝึกงานในต่างประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว
4. ควรจะมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยให้ดูดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะช่วยยกระดับ
ของสินค้าและเป็นการช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22 / 31 ธันวาคม 2540--
1.1 จำนวนประชากร ปัจจุบันไต้หวันมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 21.514 ล้านคน โดยแบ่งเป็นชาย 11.057 ล้านคน
และหญิง 10.457 ล้านคน และมีอัตราการขยายตัวของประชากรในปี 1995 ร้อยละ 8.44 และปี 1996 ร้อยละ 7.85 ในจำนวน
ประชากรทั้งหมด สามารถแบ่งตามอายุได้ดังนี้
อายุ 0 - 14 ปี จำนวน 5.112 ล้านคน หรือ ร้อยละ 23.76
อายุ 15 - 64 ปี จำนวน 14.761 ล้านคน หรือ ร้อยละ 68.61
อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 1.641 ล้านคน หรือ ร้อยละ 7.63
1.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไต้หวันมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีรายได้ต่อหัวของประชากร
ค่อนข้างสูง จึงทำให้ประชากรของไต้หวันมีฐานะทางเศรษฐกิจดี โดยมีตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และรายได้ต่อหัว
ของประชากรในแต่ละปี ดังนี้
ปี Economic G.R. (%) Per Capita GNP (US$)
1992 6.76 10,470
1993 6.32 10,852
1994 6.54 11,597
1995 6.03 12,396
1996 5.71 12,872
1997 (ประมาณการ) 6.28 13,747
(แหล่งข้อมูล : Quarerly National Economic Trends, DGBAS, Exeutive Yuan)
2. ขนาดของตลาด
การผลิต
อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเคยเป็นอุตสาหกรรมทีทำรายได้ให้กับไต้หวันในอันดับต้น ๆ แต่หลังจากปี 1988
ก็เริ่มเกิดภาวะตกต่ำลง หลังจากที่ไต้หวันได้พยายามหามาตรการแก้ไขด้วยการพัฒนาการผลิตและการออกแบบ จนปัจจุบันนี้
ก็เริ่มจะทรงตัว ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไต้หวันมีแนวโน้มลดลงเรื่อยมา ในปัจจุบันนี้การผลิต
เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ยังถือว่า มีความสำคัญก็เพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถัก (Knitted Apparel) และเสื้อ Sweaters เท่านั้น
โดยในปี 1994 มีมูลค่าการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องตกแต่งทั้งสิ้น 2,190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 1995 มีมูลค่า
1,997 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 1994 ร้อยละ 8.82 ในปี 1996 มีมูลค่าการผลิต 2,011 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากปี 1995 เพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 0.69
การนำเข้า
ในขณะที่การผลิตมีแนวโน้มลดลง แต่การนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยมา ตั้งแต่ปี 1995 มีการนำเข้ามูลค่า
766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 1994 ร้อยละ 16.51 ซึ่งเป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ 356.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เสื้อสำเร็จรูปผ้าถัก 219.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเสื้อ Sweaters 82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 1996 มีการนำเข้า
815 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 1995 ร้อยละ 6.28 โดยเป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ 466 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 234 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเสื้อ Sweaters 115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ ฮ่องกง
(สินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผ่านฮ่องกงมายังไต้หวัน) อิตาลี เวียตนาม เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย
สำหรับปี 1997 มกราคม - กรกฎาคม ได้มีการนำเข้าแล้ว 449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การนำเข้าจากไทย ไต้หวันยังคงมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปแต่ละชนิดจากไทยในปริมาณมากพอสมควร แต่ปริมาณ
การนำเข้าดังกล่าวเริ่มลดลง โดยไต้หวันเริ่มมีการนำเข้าจากเวียตนาม อินโดนีเซีย และจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ
ประเทศดังกล่าวได้เปรียบในด้านต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่า โดยสินค้าที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่จะเป็นการนำเข้าผ่านทางฮ่องกง
แต่อย่างไรก็ตามสินค้าที่ไต้หวันมีการนำเข้าทั้งจากเวียตนาม อินโดนีเซีย จีน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไต้หวันเองไปตั้งโรงงาน
ผลิตสินค้าในประเทศเหล่านั้น และส่งสินค้ากลับเข้าไปในไต้หวัน
สำหรับการนำเข้าสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากยุโรปคือ อิตาลี และฝรั่งเศส รวมทั้งการนำเข้าจากญี่ปุ่น
จะเป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปประเภท Brand name ที่มีชื่อเสียงและราคาสูง
การส่งออก
การส่งออกของไต้หวันมีมูลค่าลดลงเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1988 ซึ่งไต้หวันเคยส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าประมาณ
4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 1995 ส่งออกได้เพียง 2,348.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 1994 ร้อยละ 7.52
ซึ่งเป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถัก 993 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ 951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และเสื้อ Sweaters 403 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 1996 ส่งออกมีมูลค่า 2,286.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 1995
ร้อยละ 2.63 โดยเป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถัก 980.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อสำเร็จรูปผ้าทอ 930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และเสื้อ Sweaters 375.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมัน แคนาดา อังกฤษ และฮ่องกง
ในปี 1997 มกราคม - กรกฎาคม มีการส่งออกแล้วคิดเป็นมูลค่า 1,373.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูป
จากตัวเลขการผลิต การนำเข้าและส่งออก ดังกล่าว จะเห็นว่ามูลค่าตลาดสำหรับสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวัน
ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 1995 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.5 และปี 1996 เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.78 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ปี มูลค่าตลาด เพิ่ม/ลด มูลค่าผลิต เพิ่ม/ลด การนำเข้า เพิ่ม/ลด การส่งออก เพิ่ม/ลด
1994 308,824 2,190,244 658,191 2,539,611
1995 415,365 34.50% 1,997,030 -8.82% 766,881 16.51% 2,348,546 -7.52%
1996 539,045 29.78% 2,010,804 0.69% 815,075 6.28% 2,286,834 -2.63%
1997
(1-7) 153,730 1,078,302 449,169 1,373,741
ที่มา : Thailand Trade and Economic Office, Taipei,
มูลค่าการผลิต : Department of statistics, Ministry of Economic Affairs.
การนำเข้า ส่งออก : Taiwan Textile Federation
หมายเหตุ : การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ปี 1994 US$ 1 = NT$ 26.24, ปี 1995
US$ 1 = NT$ 27.27, ปี 1996 US$ 1 = NT$ 27.49, ปี 1997
US$ = NT$ 27.79
3. รสนิยมผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผู้บริโภคในไต้หวันสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ
1. ผู้รายได้สูงหรือมีฐานะดี กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการซื้อสูง โดยจะนิยมซื้อเสื้อผ้าประเภท Brandname
ที่มีการนำเข้ามาจาก อิตาลี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ซึ่งจะมีจำหน่ายทั้งในห้างสรรพสินค้าและตามร้าน Chain Stores ที่เป็น
ตัวแทนจำหน่ายสินค้ายี่ห้อดังกล่าวซึ่งมีอยู่ทั่วไปในไต้หวัน
2. ผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ จะนิยมซื้อเสื้อผ้าที่มีราคาปานกลางค่อนข้างถูก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า
ที่นำเข้ามาจากจีนผ่านฮ่องกง โดยไต้หวันเองเข้าไปตั้งโรงงานผลิตในจีน และส่งผ่านฮ่องกงเข้ามายังไต้หวัน ซึ่งจีนมี
ข้อได้เปรียบในเรื่องค่าแรงที่ถูก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนค่อนข้างมาก นอกจากนั้นก็เป็น
สินค้าที่มาจากประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย เวียตนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งก็จะมีลักษณะเดียวกันคือ ส่วนใหญ่ไต้หวัน
จะเข้าไปตั้งโรงงานผลิตในประเทศเหล่านั้น และส่งออกมายังไต้หวันหรือส่งไปประเทศอื่น ซึ่งเดิมไต้หวันได้เข้าไป
ตั้งโรงงานลักษณะนี้ในไทย แต่ปัจจุบันเนื่องจากค่าแรงในประเทศไทยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โรงงานบางแห่งได้
เริ่มย้ายฐานการผลิตไปหาประเทศที่ค่าแรงงานราคาถูกกว่าไทย เช่น เวียตนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นปัจจัยตัวหนึ่ง
ที่ทำให้การส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมายังไต้หวันลดลง
4. ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวัน คือการจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าและ Chain-stores
ซึ่งห้างสรรพสินค้า และ Chain-stores ส่วนใหญ่จะนำเข้าโดยตรงจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกในต่างประเทศ และ Chain-stores
บางแห่งก็เป็นตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตในต่างประเทศโดยตรง สำหรับร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กหรือแผงลอยต่าง ๆ
จะซื้อต่อจากร้านค้าส่ง ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะในไทเปมีย่านค้าส่งเสื้อผ้า ซึ่งกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ย่านว่านฮวา
ปาเต๋อ และหลัง สถานีรถไฟ เป็นต้น
ต้นทุนการจัดจำหน่ายสินค้าในแต่ละขั้นตอน ถ้าเป็นการจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้า ทางห้างฯ จะมีการหักเปอร์เซนต์
จากผู้นำเข้า ประมาณ 20-25% และคิดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาอีก 1-15% ของยอดขายในแต่ละเดือน แต่ถ้าผู้นำเข้าจำหน่าย
ให้กับผู้ค้าส่งจะบวกกำไร (mark up) ประมาณ 40% ผู้ค้าส่งจำหน่ายให้ผู้ค้าปลีกจะบวกกำไร (mark up) ประมาณ 30-40%
5. ระดับคุณภาพและราคา
สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวันแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ
1. สินค้าประเภท Brandname มีชื่อเสียงราคาแพง ซึ่งเป็นสินค้าที่นำเข้าจากอิตาลี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ส่วนใหญ่
จะวางขายตามเคาน์เตอร์เฉพาะของห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ หรือร้านค้าที่เป็น Chain-stores ของสินค้า Brandname นั้น ๆ
โดยเฉพาะส่วนระดับราคาจะเริ่มประมาณ 5,000 เหรียญจีนขึ้นไป จนถึง 100,000 เหรียญจีน ทั้งนี้แล้วแต่ประเภท
และชนิดของสินค้า
2. สินค้าราคาถูกและปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตในไต้หวันเองและนำเข้าจาก ฮ่องกง จีน เกาหลี ไทย
เวียตนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมักจะวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ร้าน Chain-stores (เช่น Hangten, Giordano,
Unicom Huorse, Net และที่เป็น Chain-stores ของไต้หวันเอง เช่น Spoonful เป็นต้น) ร้านค้าทั่วไปและตาม
ตลาดกลางคืน สำหรับราคาขายปลีกสำหรับสินค้าแต่ละอย่างส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือเสื้อเชิ๊ตประมาณ
250 - 1,000 เหรียญจีน T-shirt มีราคาตั้งแต่ 100 - 800 หรือ 1,000 เหรียญจีน กระโปรงหรือกางเกงประมาณ
500 - 1,000 เหรียญจีน เสื้อแจ็คเก็ต ประมาณ 700 - 3,000 เหรียญจีน
6. การส่งเสริมการจำหน่าย
การส่งเสริมการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไต้หวันนั้น ส่วนใหญ่จะมีการจัดโปรโมชั่นด้วยการลดราคาในช่วงเปลี่ยนฤดู
หรือโอกาสพิเศษ เช่น วันแม่ วันฉลองครอบรอบปีของห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่ง และจะมีการลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ตอนปลายฤดู
โดยจะมีการลดราคาประมาณร้อยละ 30-50 ของราคาขาย และเมื่อหมดฤดูจะลดมากถึงร้อยละ 70-80 ซึ่งเทศกาลลดราคา
ครั้งใหญ่จะมี 2 ครั้งในแต่ละปี คือช่วงเปลี่ยนจากแฟชั่นฤดูร้อนเป็น ฤดูหนาว ประมาณเดือน กันยายน - ตุลาคม และช่วงเปลี่ยนจาก
แฟชั่นฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน ประมาณเดือน มีนาคม - เมษายน
7. กฎระเบียบในการนำเข้าและอัตราภาษีศุลกากร
ไต้หวันกำหนดรหัสสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตามระบบ HS. Code ให้อยู่ในหมวด 61 และ 62 ซึ่งไต้หวันไม่มีการกำหนด
มาตรการหรือข้อจำกัดในการนำเข้าแต่อย่างใด ทั้งนี้อัตราภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนใหญ่อยู่ใน
อัตราประมาณร้อยละ 12.5 เว้นแต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากเส้นใยไหมหรือผ้าไหมจะเก็บในอัตรา ร้อยละ 20
สำหรับเรื่องการชำระเงินค่าสินค้า จะเป็นไปตามประเพณีปฎิบัติทางการค้าทั่วไป
8. ข้อเสนอแนะ
เดิมประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมายังไต้หวันอยู่ในอันดับต้น ๆ แต่ปัจจุบันประเทศไทย
กำลังประสบปัญหาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้น้อยลง เพราะต้นทุนการผลิตเริ่มเสียเปรียบประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า ทำให้
โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเข้ามาลงทุนเพื่อตัดเย็บเสื้อผ้าในประเทศไทยมีจำนวนน้อยลง และโรงงานบางแห่งได้เริ่มย้าย
ไปลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำกว่าไทย เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย
9. ข้อคิดเห็น
1. สินค้าจากประเทศไทยที่จะส่งเข้ามาจำหน่ายในตลาดไต้หวันควรเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมูลค่าสูงขึ้น โดยใช้
วัตถุดิบที่มีคุณภาพและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น เพื่อเข้ามาขยายส่วนแบ่งตลาดของสินค้าที่มีคุณภาพสูง อย่างเช่น สินค้าที่มีชื่อ
เสียงของอิตาลี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
2. นอกจากนี้ก็จะต้องพยายามสร้าง Brandname สินค้าของไทยขึ้นมาโดยในชั้นต้นอาจจะซื้อใบอนุญาตในการผลิต
จากบริษัทที่มี Brandname เป็นที่นิยมในตลาด ในขณะเดียวกันก็พัฒนาเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้เครื่องหมายการค้าของไทยเองไปพร้อมกัน
เนื่องจากไทยยังคงได้เปรียบเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากยุโรปในด้านต้นทุน และค่าขนส่งไปยังไต้หวัน และพยายามสร้างภาพพจน์ของสินค้า
จากไทยว่าไม่ใช่สินค้าคุณภาพต่ำ ที่มีราคาถูก เช่น สินค้าจากจีน และฮ่องกง ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคในไต้หวันส่วนหนึ่งยังมี
ความเข้าใจว่าสินค้าจากไทยมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
3. จะต้องพัฒนาและผลิตบุคคลากรที่เป็นนักออกแบบซึ่งมีคุณภาพ และพัฒนาแนวความคิดในการออกแบบ จากที่เคย
ออกแบบเพียงแค่การตัดเย็บ ก็จะต้องเริ่มพิจารณาออกแบบตั้งแต่ลวดลายของเนื้อผ้า โดยรัฐบาลอาจจะต้องช่วยให้การสนับสนุน
ให้นักออกแบบมีโอกาสออกไปศึกษาหรือฝึกงานในต่างประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว
4. ควรจะมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยให้ดูดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะช่วยยกระดับ
ของสินค้าและเป็นการช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22 / 31 ธันวาคม 2540--