นายเกริกไกร จีระแพทย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หัวหน้าคณะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีไทย - สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก กับหัวหน้าคณะเจรจาฝ่าย EFTA ประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักเลขาธิการ EFTA และสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ณ โรงแรมโฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นในชั้นต้น เกี่ยวกับแผนงาน และแนวทางการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีไทย — EFTA
ในการหารือครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นในเรื่องระบบและนโยบายเศรษฐกิจของไทยและประเทศสมาชิก EFTA ทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งรวมถึงการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีที่ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งจะส่งเสริมและส่งผลดีต่อการเจรจาการค้าภายใต้กรอบ WTO โดยมี ประเด็นการเจรจา คือ การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี เพื่อให้การเปิดเสรีครอบคลุมสินค้าทุกรายการโดยไม่มีข้อยกเว้น โดยให้ความยืดหยุ่นกับการเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวได้ ทั้งนี้ การเจรจาเขตการค้าเสรีควรนำไปสู่การยกเลิกอุปสรรคทางการค้าทั้งมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี รวมถึงเพิ่มความร่วมมือและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาเทคโนโลยีด้านอาหาร ยา ประกันภัย การบริหารการประกันภัย การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งฝ่าย EFTA ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ และให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับประเด็นเหล่านี้ ได้แก่
- การเปิดเสรีเต็มรูปแบบสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม (ลดอัตราภาษีเหลือศูนย์)
- การอำนวยความสะดวกทางการค้า
- การเปิดเสรีภาคบริการ : เน้นตามความตกลง GATS ของ WTO โดยให้ครอบคลุมทุกรูปแบบของการให้บริการ
- การเปิดเสรีและให้ความคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี (free movement of capital) ทั้งนี้ EFTA ตั้งเป้าหมายให้การเจรจาเรื่องการลงทุนเป็นกรอบกว้าง (broad approach) มิได้มุ่งเน้นเพียงสาขาใดสาขาหนึ่ง
- ทรัพย์สินทางปัญญา : เน้นการไม่เลือกปฏิบัติ การให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับ
- การดำเนินกฎระเบียบเรื่องการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์จากการเปิดเสรี
- การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
- สำหรับเรื่องสินค้าเกษตร โดย EFTA ได้ขอแยกการเจรจาการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ขอให้เป็นการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยกับแต่ละประเทศสมาชิก EFTA เนื่องจากสมาชิก EFTA ไม่มีนโยบายร่วมกันในเรื่องสินค้าเกษตร อีกทั้งมีรายการสินค้าอ่อนไหวต่างกัน ซึ่ง EFTA เห็นว่าการแยกเจรจาจะเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศสมาชิกสามารถเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กับไทยได้มากขึ้น
ทั้งนี้สองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะจัดตั้งกลุ่มเจรจา (negotiating groups) สำหรับแต่ละหัวข้อหลักของการเจรจา อาทิ การเปิดตลาดสินค้า (รวมถึงการลดภาษี พิธีการ/ความร่วมมือด้านศุลกากร แหล่งกำเนิดสินค้า มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม การเปิดตลาดสินค้าเกษตร และมาตรการสุขอนามัย รวมถึงอาจแยกการเจรจาเรื่องสินค้าประมงหากมีความจำเป็น) บริการและการลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และบทบัญญัติด้านกฎหมาย เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายจะแจ้งรายชื่อหัวหน้ากลุ่มเจรจาในแต่ละหัวข้อให้ทราบภายในสิ้นเดือนมกราคม 2548 เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้เริ่มดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นระหว่างกันต่อไป
ฝ่ายไทยจะมีอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็น Focal point สำหรับการประสานงาน ขณะที่ฝ่าย EFTA จะมีสำนักเลขาธิการ EFTA ณ นครเจนีวา เป็น Focal point
สำหรับการเจรจาในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดระยะเวลาการเจรจาให้สามารถสรุปผลเจรจาร่วมกันได้ภายในปี 2548 ซึ่งฝ่าย EFTA ได้เสนอให้จัดการเจรจาอีกในช่วงวันที่ 25 เมษายน 2548 หรือในช่วงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 และครั้งที่ 2 ในช่วงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548
---------------------------------------------------------------------------------
****ข้อมูลพื้นฐาน****
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ประกอบด้วยประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์ มีประชากรรวมกันประมาณ 12.2 ล้านคน แต่เป็นประชากรที่มีกำลังซื้อสูง รายได้ประชาชาติต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 34, 867 เหรียญสหรัฐ/ปี
ปัจจุบันการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มเอฟตายังมีค่อนข้างน้อย ประมาณปีละ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือร้อยละ 1 ของการค้าของไทยกับโลก คู่ค้าสำคัญในกลุ่มคือสวิตเซอร์แลนด์ สินค้าที่ไทยค้าขายกับเอฟตาส่วนใหญ่สนับสนุนซึ่งกันและกัน แม้แต่สินค้าเกษตรก็ไม่ใช่คู่แข่งกัน ดังนั้น การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันไม่น่าจะมีกระทบต่อเกษตรกร แต่ไทยน่าจะได้ประโยชน์ในแง่การลงทุน ที่จะทำให้นักธุรกิจในประเทศเหล่านี้มาลงทุนในไทยมากขึ้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-
ในการหารือครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นในเรื่องระบบและนโยบายเศรษฐกิจของไทยและประเทศสมาชิก EFTA ทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งรวมถึงการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีที่ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งจะส่งเสริมและส่งผลดีต่อการเจรจาการค้าภายใต้กรอบ WTO โดยมี ประเด็นการเจรจา คือ การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี เพื่อให้การเปิดเสรีครอบคลุมสินค้าทุกรายการโดยไม่มีข้อยกเว้น โดยให้ความยืดหยุ่นกับการเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวได้ ทั้งนี้ การเจรจาเขตการค้าเสรีควรนำไปสู่การยกเลิกอุปสรรคทางการค้าทั้งมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี รวมถึงเพิ่มความร่วมมือและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาเทคโนโลยีด้านอาหาร ยา ประกันภัย การบริหารการประกันภัย การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งฝ่าย EFTA ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ และให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับประเด็นเหล่านี้ ได้แก่
- การเปิดเสรีเต็มรูปแบบสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม (ลดอัตราภาษีเหลือศูนย์)
- การอำนวยความสะดวกทางการค้า
- การเปิดเสรีภาคบริการ : เน้นตามความตกลง GATS ของ WTO โดยให้ครอบคลุมทุกรูปแบบของการให้บริการ
- การเปิดเสรีและให้ความคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี (free movement of capital) ทั้งนี้ EFTA ตั้งเป้าหมายให้การเจรจาเรื่องการลงทุนเป็นกรอบกว้าง (broad approach) มิได้มุ่งเน้นเพียงสาขาใดสาขาหนึ่ง
- ทรัพย์สินทางปัญญา : เน้นการไม่เลือกปฏิบัติ การให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับ
- การดำเนินกฎระเบียบเรื่องการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์จากการเปิดเสรี
- การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
- สำหรับเรื่องสินค้าเกษตร โดย EFTA ได้ขอแยกการเจรจาการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ขอให้เป็นการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยกับแต่ละประเทศสมาชิก EFTA เนื่องจากสมาชิก EFTA ไม่มีนโยบายร่วมกันในเรื่องสินค้าเกษตร อีกทั้งมีรายการสินค้าอ่อนไหวต่างกัน ซึ่ง EFTA เห็นว่าการแยกเจรจาจะเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศสมาชิกสามารถเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กับไทยได้มากขึ้น
ทั้งนี้สองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะจัดตั้งกลุ่มเจรจา (negotiating groups) สำหรับแต่ละหัวข้อหลักของการเจรจา อาทิ การเปิดตลาดสินค้า (รวมถึงการลดภาษี พิธีการ/ความร่วมมือด้านศุลกากร แหล่งกำเนิดสินค้า มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม การเปิดตลาดสินค้าเกษตร และมาตรการสุขอนามัย รวมถึงอาจแยกการเจรจาเรื่องสินค้าประมงหากมีความจำเป็น) บริการและการลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และบทบัญญัติด้านกฎหมาย เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายจะแจ้งรายชื่อหัวหน้ากลุ่มเจรจาในแต่ละหัวข้อให้ทราบภายในสิ้นเดือนมกราคม 2548 เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้เริ่มดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นระหว่างกันต่อไป
ฝ่ายไทยจะมีอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็น Focal point สำหรับการประสานงาน ขณะที่ฝ่าย EFTA จะมีสำนักเลขาธิการ EFTA ณ นครเจนีวา เป็น Focal point
สำหรับการเจรจาในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดระยะเวลาการเจรจาให้สามารถสรุปผลเจรจาร่วมกันได้ภายในปี 2548 ซึ่งฝ่าย EFTA ได้เสนอให้จัดการเจรจาอีกในช่วงวันที่ 25 เมษายน 2548 หรือในช่วงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 และครั้งที่ 2 ในช่วงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548
---------------------------------------------------------------------------------
****ข้อมูลพื้นฐาน****
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ประกอบด้วยประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์ มีประชากรรวมกันประมาณ 12.2 ล้านคน แต่เป็นประชากรที่มีกำลังซื้อสูง รายได้ประชาชาติต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 34, 867 เหรียญสหรัฐ/ปี
ปัจจุบันการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มเอฟตายังมีค่อนข้างน้อย ประมาณปีละ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือร้อยละ 1 ของการค้าของไทยกับโลก คู่ค้าสำคัญในกลุ่มคือสวิตเซอร์แลนด์ สินค้าที่ไทยค้าขายกับเอฟตาส่วนใหญ่สนับสนุนซึ่งกันและกัน แม้แต่สินค้าเกษตรก็ไม่ใช่คู่แข่งกัน ดังนั้น การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันไม่น่าจะมีกระทบต่อเกษตรกร แต่ไทยน่าจะได้ประโยชน์ในแง่การลงทุน ที่จะทำให้นักธุรกิจในประเทศเหล่านี้มาลงทุนในไทยมากขึ้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-