หลังจากที่สหรัฐอเมริกาตรวจพบแมลง Asian Longhorned Beetle ที่ติดมากับบรรจุภัณฑ์ไม้ (Wood Packaging Material : WPM) นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต่อมามีการแพร่กระจายและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อภาคเกษตรกรรมและระบบนิเวศน์ของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ หน่วยงาน Animal Plant Health Inspection Service (APHIS) ของสหรัฐฯ จึงได้นำมาตรฐานสุขอนามัยพืชสำหรับบรรจุภัณฑ์ไม้ (International Standard for Phytosanitary Measure No.15 : ISPM#15) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากการประชุมของประเทศสมาชิกอนุสัญญาป้องกัน โรคพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention : IPPC) มาบังคับใช้ พร้อมทั้งออกระเบียบ ควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้นำเข้าฉบับใหม่ เพื่อใช้ควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาใช้บรรจุสินค้า หรือประกอบการขนส่งสินค้า (อาทิ ไม้รอง/กั้นสินค้าที่บรรจุในลัง) ระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2548 มีสาระสำคัญ ดังนี้
* บรรจุภัณฑ์ไม้ที่จะนำเข้าไปยังสหรัฐฯ ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) จนถึงแก่นไม้ที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที และการรมควันด้วยสารเมธิลโบรมายด์ (Methyl Bromide Fumigation) ตามสัดส่วนที่ทางการสหรัฐฯ กำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานควบคุมโรคพืช(National Plant Protection Organization : NPPO) ของประเทศผู้ส่งออกบรรจุภัณฑ์ไม้ดังกล่าว สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
* บรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วต้องประทับตราที่กำหนด คือ IPPC และรหัส ISO ของประเทศที่บรรจุภัณฑ์ไม้นั้นได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ตามด้วยหมายเลขซึ่งออกโดย NPPO พร้อมทั้งระบุอักษรย่อเพื่อแสดงถึงวิธีการฆ่าเชื้อ ได้แก่ HT (Heat Treatment) หรือ MB (Methyl Bromide Fumigation) โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองการจัดการบรรจุภัณฑ์ไม้ (Treatment Certificates) ยกเว้น บรรจุภัณฑ์ไม้บางชนิดที่ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบและประทับตรา ได้แก่
- บรรจุภัณฑ์ไม้ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงาน (Manufactured Wood Packaging Materials) อาทิ ไม้อัด, particle board, oriented strand board และถังไวน์/วิสกี้ เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ไม้ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดทำจากไม้ที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร (0.24 นิ้ว) ซึ่งเป็นระดับความหนาที่ไม่มากพอที่แมลงจะเข้าไปอาศัยอยู่ได้
- บรรจุภัณฑ์ไม้ที่ทำจากไม้ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากแคนาดา (Canadian Origin Wood) เนื่องจากประกาศใช้โดย Food and Agriculture Organization of the United Nations เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของแมลงที่ติดมากับบรรจุภัณฑ์ไม้ซึ่งทำจากไม้ดิบที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแมลงที่พบส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นแมลงท้องถิ่นของแคนาดา และแคนาดาได้ออกระเบียบควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้นำเข้าที่สอดคล้องกับข้อกำหนดตาม ISPM#15 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้พร้อมสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ระเบียบดังกล่าวยังไม่เริ่มมีผลบังคับใช้ ทางการสหรัฐฯ กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ไม่มีเปลือกไม้ (bark) หรือ
- มีเอกสารประกอบการยืนยันว่าบรรจุภัณฑ์ไม้ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วด้วยวิธีการรมควันด้วยสารเมธิลโบรมายด์หรือการเผาให้แห้งในเตาเผา หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่เทียบเท่ากัน หรืออบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 71.1 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 75 นาที หรือ
- ผ่านข้อกำหนดตาม ISPM#15 และได้รับการประทับตรารับรอง ทั้งนี้ ภายหลังระเบียบฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ (วันที่ 16 กันยายน 2548) หากประเทศต่าง ๆ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด บรรจุภัณฑ์ไม้นั้นจะถูกส่งกลับทันที โดยจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการทำลายหรือผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อในสหรัฐฯ
แม้ว่าระเบียบใหม่นี้จะช่วยลดต้นทุนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ลงก็ตาม แต่เป็นที่แน่นอนว่าประเทศผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ส่งออกไปสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงไทยจะต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5-1.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบรรจุภัณฑ์หนึ่งชิ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญกับระเบียบใหม่ฉบับนี้อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aphis.usda.gov
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-
* บรรจุภัณฑ์ไม้ที่จะนำเข้าไปยังสหรัฐฯ ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) จนถึงแก่นไม้ที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที และการรมควันด้วยสารเมธิลโบรมายด์ (Methyl Bromide Fumigation) ตามสัดส่วนที่ทางการสหรัฐฯ กำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานควบคุมโรคพืช(National Plant Protection Organization : NPPO) ของประเทศผู้ส่งออกบรรจุภัณฑ์ไม้ดังกล่าว สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
* บรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วต้องประทับตราที่กำหนด คือ IPPC และรหัส ISO ของประเทศที่บรรจุภัณฑ์ไม้นั้นได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ตามด้วยหมายเลขซึ่งออกโดย NPPO พร้อมทั้งระบุอักษรย่อเพื่อแสดงถึงวิธีการฆ่าเชื้อ ได้แก่ HT (Heat Treatment) หรือ MB (Methyl Bromide Fumigation) โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองการจัดการบรรจุภัณฑ์ไม้ (Treatment Certificates) ยกเว้น บรรจุภัณฑ์ไม้บางชนิดที่ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบและประทับตรา ได้แก่
- บรรจุภัณฑ์ไม้ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงาน (Manufactured Wood Packaging Materials) อาทิ ไม้อัด, particle board, oriented strand board และถังไวน์/วิสกี้ เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ไม้ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดทำจากไม้ที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร (0.24 นิ้ว) ซึ่งเป็นระดับความหนาที่ไม่มากพอที่แมลงจะเข้าไปอาศัยอยู่ได้
- บรรจุภัณฑ์ไม้ที่ทำจากไม้ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากแคนาดา (Canadian Origin Wood) เนื่องจากประกาศใช้โดย Food and Agriculture Organization of the United Nations เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของแมลงที่ติดมากับบรรจุภัณฑ์ไม้ซึ่งทำจากไม้ดิบที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแมลงที่พบส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นแมลงท้องถิ่นของแคนาดา และแคนาดาได้ออกระเบียบควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้นำเข้าที่สอดคล้องกับข้อกำหนดตาม ISPM#15 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้พร้อมสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ระเบียบดังกล่าวยังไม่เริ่มมีผลบังคับใช้ ทางการสหรัฐฯ กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ไม่มีเปลือกไม้ (bark) หรือ
- มีเอกสารประกอบการยืนยันว่าบรรจุภัณฑ์ไม้ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วด้วยวิธีการรมควันด้วยสารเมธิลโบรมายด์หรือการเผาให้แห้งในเตาเผา หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่เทียบเท่ากัน หรืออบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 71.1 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 75 นาที หรือ
- ผ่านข้อกำหนดตาม ISPM#15 และได้รับการประทับตรารับรอง ทั้งนี้ ภายหลังระเบียบฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ (วันที่ 16 กันยายน 2548) หากประเทศต่าง ๆ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด บรรจุภัณฑ์ไม้นั้นจะถูกส่งกลับทันที โดยจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการทำลายหรือผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อในสหรัฐฯ
แม้ว่าระเบียบใหม่นี้จะช่วยลดต้นทุนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ลงก็ตาม แต่เป็นที่แน่นอนว่าประเทศผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ส่งออกไปสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงไทยจะต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5-1.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบรรจุภัณฑ์หนึ่งชิ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญกับระเบียบใหม่ฉบับนี้อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aphis.usda.gov
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-