สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ความต้องการบริโภคยังคงลดลงเพราะสัปดาห์นี้อยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าราคาจะลดลงอีกจนกว่าจะพ้นเทศกาลในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตามความต้องการเลี้ยงก็ยังคงมีอยู่ เพราะผลผลิตมีปริมาณไม่มาก ซึ่งลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในขณะนี้จะให้ผลผลิตในช่วงฤดูร้อนของปีหน้าซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาจะแพงขึ้น ทำให้ราคาลูกสุกรในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.48 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 950 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 900 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลง เพราะผลกระทบจากเทศกาลกินเจ ในขณะที่ผลผลิตมีปริมาณมากเพราะสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้การผลิตในขณะนี้เน้นที่ตลาดส่งออกเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับราคาของตลาดในประเทศไม่ให้ลดต่ำลงมากเกินไป แนวโน้มของราคาไก่เนื้อในปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี คาดว่าจะทรงตัวไปจนถึงปรับลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.97 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 12.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.80 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ภาวะการซื้อขายค่อนข้างซบเซา ราคาลดลงในทุกพื้นที่เพราะความต้องการบริโภคที่ลดลงในเทศกาลกินเจ แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงพอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีราคาอยู่ที่ฟองละ 1.60 บาท ทำให้ความต้องการเลี้ยงยังมีมากและราคาลูกไก่ไข่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะปริมาณมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะอ่อนตัวลงอีกจนกว่าจะผ่านพ้นเทศกาลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 186 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 188 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 202 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 203 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 176 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 181 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 198.75 บาท ลดลงจากฟองละ 209 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.90
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 233 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสปัดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 236 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 242 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 27.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 15.30 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 19-25 ต.ค. 2541--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ความต้องการบริโภคยังคงลดลงเพราะสัปดาห์นี้อยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าราคาจะลดลงอีกจนกว่าจะพ้นเทศกาลในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตามความต้องการเลี้ยงก็ยังคงมีอยู่ เพราะผลผลิตมีปริมาณไม่มาก ซึ่งลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในขณะนี้จะให้ผลผลิตในช่วงฤดูร้อนของปีหน้าซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาจะแพงขึ้น ทำให้ราคาลูกสุกรในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.48 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 950 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 900 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลง เพราะผลกระทบจากเทศกาลกินเจ ในขณะที่ผลผลิตมีปริมาณมากเพราะสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้การผลิตในขณะนี้เน้นที่ตลาดส่งออกเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับราคาของตลาดในประเทศไม่ให้ลดต่ำลงมากเกินไป แนวโน้มของราคาไก่เนื้อในปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี คาดว่าจะทรงตัวไปจนถึงปรับลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.97 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 12.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.80 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ภาวะการซื้อขายค่อนข้างซบเซา ราคาลดลงในทุกพื้นที่เพราะความต้องการบริโภคที่ลดลงในเทศกาลกินเจ แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงพอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีราคาอยู่ที่ฟองละ 1.60 บาท ทำให้ความต้องการเลี้ยงยังมีมากและราคาลูกไก่ไข่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะปริมาณมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะอ่อนตัวลงอีกจนกว่าจะผ่านพ้นเทศกาลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 186 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 188 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 202 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 203 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 176 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 181 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 198.75 บาท ลดลงจากฟองละ 209 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.90
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 233 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสปัดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 236 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 242 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 27.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 15.30 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 19-25 ต.ค. 2541--