แท็ก
ค่าเงินหยวน
การยืนยันของทางการจีนในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมาว่า สถานภาพเงินหยวนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ซึ่งการตัดสินใจคงอัตราเงินหยวนของจีนมาจากปัจจัยหลัก ๆ ที่สำคัญ คือ 1) ไม่ต้องการซ้ำเติมวิกฤติค่าเงิน 2) ไม่แน่ใจว่าหากลดค่าเงินหยวนแล้วจะส่งออกได้มากขึ้น หรือมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะแต่ละประเทศในเอเซียซึ่งเป็นตลาดใหญ่รองรับสินค้าจากจีนมีความสามารถในการนำเข้าสินค้าและการลงทุนภายนอกประเทศลดลง นอกจากนั้น ต้นทุนสินค้านำเข้าเพื่อผลิตส่งออกของจีนก็จะสูงขึ้นด้วย 3) การคำนึงถึงผลกระทบต่อค่าเงินและเศรษฐกิจฮ่องกงที่เพิ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนในเวลาเดียวกับที่เงินบาทลดค่าเมื่อกลางปี 2540 4) ประเด็นทางการเมืองได้แก่ การครบรอบ 50 ปีในการปกครองจีนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในเดือนตุลาคมและการรับคืนมาเก๊าจากโปรตุเกสในเดือนธันวาคมศกนี้ และการที่จีนตั้งใจจะเข้า WTO ดังนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณสองปีแล้วที่เงินหยวน หรือเหรินหมินปี้ (Renminbi-RMB) ยังอยู่ที่ระดับ 8.25 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อปี 2537 จีนได้ปรับปรุงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากก่อนหน้าที่มี 2 อัตราคืออัตราทางการ และอัตราสวอปที่ตลาดซ่างไห่ให้เหลือเพียงอัตราเดียวเป็น 8.7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวที่เข้าแทรกแซงได้ (Managed Floating Exchange Rate System) ซึ่ง People's Bank of China จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐทุกวัน และยังมีการควบคุมการปริวรรตเงินตราในบัญชีทุนทำให้เงินหยวนไม่ถูกโจมตีจากนักเก็งกำไรได้โดยตรง ดังเช่นที่เงินบาทประสบ ดังนั้น ปัจจัยการลดค่าเงินหยวนจึงขึ้นกับพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคของประเทศจีนและนโยบายการเมือง ในที่นี้จะแบ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนเป็นสองประการ คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ และปัจจัยภายในอันเนื่องมาจากมาตรการปฎิรูปรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินที่จะส่งผลกระทบต่อการว่างงาน
ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก
จีนสะสมสำรองเงินตราต่างประเทศจากการเกินดุลการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทำให้สำรองเงินตราต่างประเทศของจีนมีมูลค่าสูงเป็นอันดับสองรองจากประเทศญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนมิถุนายนศกนี้ จีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศ 147 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถครอบคลุมหนี้ต่างประเทศของจีนได้โดยสิ้นปีที่แล้วจีนมีหนี้ต่างประเทศ 146 พันล้านเหรียญหรือเพียงร้อยละ 15 ของ GDP และมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเพียงร้อยละ 12 ของหนี้ต่างประเทศรวม เทียบเท่า 1 ใน 8 ส่วน ของเงินสำรองระหว่างประเทศ จีนจึงไม่มีแรงกดดันในการชำระหนี้ต่างประเทศคืน และสำรองที่สูงดังกล่าวเป็นปัจจัยเสริมค่าเงินหยวนให้สามารถคงค่าไว้ได้ อย่างไรก็ดี การเกินดุลการค้าเริ่มชะลอลงนับแต่ปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา เนื่องจากการส่งออกเริ่มหดตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วต่อเนื่องถึงกลางปีนี้ ขณะที่การนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดนนับแต่ต้นปีนี้ นอกจากนั้น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Actual Foreign Direct Investment) (ซึ่งจากที่ผ่านมาเป็นการลงทุนจากเอเชียร้อยละ 60 แยกเป็นจากฮ่องกงประมาณร้อยละ 40) เริ่มชะลอในปี 2541 และหดตัวร้อยละ 10 ในเจ็ดเดือนแรกของปีนี้ เช่นเดียวกับสถานการณ์การส่งออก ทำให้แหล่งที่มาของสำรองเงินตราต่างประเทศเริ่มน้อยลง ทำให้เป็นที่คาดกันว่าจีนต้องลดค่าเงินหยวนเพื่อกระตุ้นการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงปี 2541 ที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างมากกับเงินหลายสกุล มีส่วนทำให้เงินหยวนซึ่งกำหนดอัตราอิงกับดอลลาร์สหรัฐมีค่าแข็งขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้จากปัจจับบวกสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากปี 2537 ส่งผลให้เงินหยวนมีค่าแข็งขึ้นทีละน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ดังจะเห็นจากดัชนีค่าเงินหยวน (Effective Exchange Rate-EER) ช่วงปี 2537 ถึงเมษายน 2542 โดยคำนึงถึงสัดส่วนการค้ากับประเทศคู่ค้าแล้ว เงินหยวนมีค่าแข็งขึ้นร้อยละ 17 และเมื่อปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อระหว่างจีนและคู่ค้าซึ่งจะได้ดัชนีค่าเงินหยวนที่แท้ (Real Effective Exchange Rate-REER) นั้น ปรากฎว่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 33 แต่ดัชนีเงินหยวนช่วงปีนี้ลดลงตามที่ดอลลาร์สหรัฐเริ่มชะลอการแข็งค่ามาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิดวิกฤติ ซึ่งการที่เงินหยวนแข็งขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกของจีนช่วงปี 2540 ซึ่งเศรษฐกิจเอเชียเพิ่มเข้าวิกฤติในครึ่งหลังของปีนั้น เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ถึงร้อยละ 21 แสดงว่ายังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้การส่งออกของจีนชะลอลง
การที่มูลค่าการส่งออกของจีนในปี 2541 เท่าๆ กับการส่งออกในปี 2540 และหดในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี 2542 นั้น ไม่ได้หมายความว่าจีนเสียเปรียบการแข่งขันด้านราคาโดยสิ้นเชิงจากการที่ค่าเงินหยวนแข็งขึ้น แต่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบเรื่องรายได้อันเป็นที่มาของกำลังซื้อจากประเทศคู่ค้าของจีนด้วย เนื่องจากตลาดส่งออกของจีนราวครึ่งหนึ่งเป็นตลาดเอเชีย ซึ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่หดตัวอย่างรุนแรงในปีที่แล้ว โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงที่เศรษฐกิจปีที่แล้วหดตัวถึงร้อยละ 5.1 กำลังซื้อจึงลดลงตามไปด้วย ถึงแม้การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขั้นก็ไม่สามารถชดเชยการส่งออกไปในตลาดเอเชียที่ลดลงได้มากนัก
ผลกระทบจากปัจจัยภายใน
จีนประสบปัญหารัฐวิสาหกิจบริหารงานขาดประสิทธิภาพ และบางแห่งมีฐานะการเงินขาดทุนเรื้อรัง อันเป็นผลพวงจากความพยายามปรับระบบเศรษฐกิจเข้าหาระบบตลาดมากขึ้นตั้งแต่ปี 2521 แต่การปกครองยังเป็นแบบใช้อำนาจสั่งการจากส่วนกลางอยู่ ประกอบกับนโยบายการจ้างบุคคลากรของรัฐวิสาหกิจก็มีการดูแลอย่างเต็มที่ในเรื่องสวัสดิการแม้เกษียณอายุไปแล้วก็ยังได้รับบำนาญทำให้รัฐวิสาหกิจมีภาระค่าใช้จ่ายสูง ผลกระทบดังกล่าวถูกส่งต่อมายังธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่เป็นเจ้าหนี้ของรัฐวิสาหกิจ จากการที่รัฐบาลเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณให้แก่รัฐวิสาหกิจ มาสู่การที่รัฐวิสาหกิจต้องกู้เงินจากธนาคารเอง สัดส่วนหนี้จึงสูง ภาระดอกเบี้ยจ่ายจึงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี 2537 ซึ่งมีเงินเฟ้อกว่าร้อยละ 20 ส่งผลให้รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ทั้งธนาคารพาณิชย์เองก็ถูกชี้นำให้มีการปล่อยกู้รัฐวิสหกิจต่อไปแม้รัฐวิสาหกิจบางแห่งสมควรที่จะถูกปิดกิจการ เนื่องจากต้องรักษาการจ้างงานเอาไว้ไม่ให้เกิดปัญหาสังคม ผนวกกับธนาคารผู้ปล่อยกู้เองก็มิได้ใส่ใจในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการหรือการตามทวงหนี้เท่าใดนัก เนื่องจากทั้งรัฐวิสาหกิจและธนาคารต่างก็มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ NPLs ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ของรัฐคือ Industrial and Commercial Bank of China, Agricultural Bank of China, Bank of China และ PeoPle's Construction Bank of China ซึ่งมีขนาดสินทรัพย์รวมกันร้อยละ 62 ชองสินทรัพย์ในระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทประกันภัย) สูงราว 1 ใน 4 ของยอดสินเชื่อรวม 9.4 ล้านล้านหยวนในปี 2541
ดังนั้น การที่จีนกำลังพยายามปรับปรุงระบบต่างๆ ของประเทศให้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการในการ 1) ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (State Own Enterprises-SOEs) 2) ปฏิรูปองค์กรบริหารทางการเมือง และ 3) ปฏิรูประบบการเงิน ให้เสร็จภายในช่วงปี 2541-2543 เพื่อให้ระบบต่างๆ ของจีนเข้าสู่ความเป็นสากลเตรียมพร้อมในการแข่งขันและการเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งในทางปฏิบัติมีการดำนินการแล้ว อาทิ การปิดสถาบันการเงิน GITIC (Guangdong International Trust and Investment Corporation's) เมื่อปีที่แล้ว การปรับปรุงองค์กรและคณะบริหารประเทศ และการเปิดกว้างให้สถาบันการเงินต่างประเทศทำธุรกรรมเงินหยวนได้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนจากตัวเลขการว่างงานเป็นทางการในปีที่แล้วอยู่ในระดับร้อยละ 3.1 (นักวิเคราะห์ประเมินว่าตัวเลขอาจสูงกว่าร้อยละ 10) เพราะต้องมีกิจกรรมรัฐวิสาหกิจที่ต้องรวมกิจการหรือปิดตัวลง ซึ่งถ้าหากจีนไม่สามารถสร้างงานรองรับได้พอเพียง ความจำเป็นที่ต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มการส่งออกก็จะต้องมากขึ้น จีนอาจมีความจำเป็นต้องลดค่าเงินเพื่อเร่งการส่งออกและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้มีการผลิตและการจ้างงานมากขึ้นเป็นลำดับ
ภายใต้การปฏิรูปโครงสร้างต่างๆ และภาระที่ต้องคำนึงถึงสภาพการจ้างงานของประเทศที่มีจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก ทำให้จีนมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสูง เพื่อบรรเทาปัญหาไม่มีงานทำของประชาชน ซึ่งถ้าหากมาตรการดังจะต่อไปนี้ที่จีนดำเนินการไม่บรรลุผลที่จะทำให้เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตในระดับอย่างน้อยร้อยละ 6.7 โอกาสที่จีนจะลดค่าเงินหยวนก็มากขึ้น
1) มาตรการการเงิน การดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย ด้วยการลดดอกเบี้ยลงเป็นลำดับนับตั้งแต่ปี 2539 ประมาณ 440 basis points ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.25 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.85 รัฐบาลพยายามกระตุ้นให้ประชาชนบริโภคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงต่อเนื่อง เห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อติดลบตั้งแต่ปีที่แล้ว
2) มาตรการการคลัง การเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปการ การเพิ่มอัตราลดหย่อนภาษีให้กับผู้ส่งออกโดยเฉพาะในสินค้าสำคัญ เช่น สิ่งทอและเครื่องใช้ไฟฟ้า การลดภาษีวัตถุดิบแก่ธุรกิจที่มีการส่งออก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดราคาสินค้าส่งออกได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ต้องใช้นโยบายลดค่าเงินหยวน รวมทั้งนโยบายที่จะขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการ เพื่อให้มีกำลังซื้อมากขึ้น โดยหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาระดับราคาสินค้าและบริการที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3) มาตรการเชิงคุณภาพ เช่น การสนับสนุนให้บริษัทของคนจีนที่ออกไปลงทุนผลิตสินค้าในต่างประเทศพยายามซื้อวัตถุดิบจากประเทศจีน เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว แรงกดดันที่จีนจะต้องปรับค่าเงินหยวนหรือไม่ มาจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญไม่ใช่แรงกดดันจากการเก็งกำไรค่าเงิน จีนจึงมีเวลาในการพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของการลดค่าเงินที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้น จีนยังมีเวลาในการพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของการลดค่าเงินที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้น จีนยังออกมาตรการลงโทษผู้ทำธุรกรรมปริวรรตเงินตราโดยผิดกฎหมายอันเป็นต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับมูลค่าการเกินดุลการชำระเงิน ดังนั้น จากการประเมินปัจจัยพื้นฐานแล้ว คาดว่าโอกาสที่เงินหยวนจะลดค่ามีไม่มาก และจีนคงจะรอผลจากมาตรการกระตุ้นการส่งออกว่าได้ผลดีหรือไม่กอนที่จีนจะตัดสินใจใช้นโยบายลดค่าเงินหยวนเป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นจริง ผลกระทบต่อตลาดเงินไม่น่าจะรุนแรงเหมือนกับต้นปี 2541 โดยความผันผวนของค่าเงินที่จะอ่อนตัวลงของเงินสกุลอื่นในเอเชียน่าจะจำกัดอยู่ในระยะสั้น ๆ ก่อนที่จะปรับตัวให้มีเสถียรภาพได้เร็ว เนื่องจากประการแรกตลาดการเงินรับรู้ข่าวสารนี้มาเป็นเวลานานแล้ว ผนวกกับเศรษฐกิจและค่าเงินของหลายประเทศดีขึ้นมากกว่าปีก่อน ประการที่สอง เงินหยวนไม่น่าลดค่ามากจนเกินการคาดการณ์ของตลาด สังเกตจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในตลาดมืดที่ซ่างไห่อยู่ในระดับประมาณ 9 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐเทียบเท่าเงินหยวนลดค่าลงประมาณร้อยละ 8
ผลกระทบต่อประเทศไทยหากเงินหยวนลดค่า
ผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยหากเงินหยวนลดค่า แบ่งออกได้เป็นสองกรณี ได้แก่
1) ผลกระทบต่อตลาดการเงิน โดยเงินบาทอาจอ่อนค่าลง โดยเฉพาะในระยะสั้น หากสถานการณ์เรื้อรังและแย่กว่าที่คาด ความจำเป็นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศอาจเป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่กำลังจะเริ่มฟื้นตัว ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดเงินอยู่ในความสงบ ผู้ประกอบการน่าจะทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน สำหรับภาระที่จะต้องมีการชำระเงินตราต่างประเทศ เพื่อลดภาระต้นทุนทางการเงิน หากเกิดกรณีที่ตลาดเงินผันผวนมากกว่าที่คาดไว้
2) ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันสินค้าส่งออกของไทยจะเสียเปรียบมากขึ้น เพราะแม้ว่าเงินหยวนของจีนยังไม่ลดค่าแต่สินค้าของจีนในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างญี่ปุ่น (ซึ่งเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุด) สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ยังมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้จีนมีแผนการส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงขึ้น โดยทางการจีนจะให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจต่อผู้ผลิตสินค้าห้าประเภท คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ยาชีวภาพ ข้อมูลข่าวสาร และวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น นอกเหนือจากมาตรการ เฉพาะหน้าด้วยการประคองค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับอ่อนตัวเล็กน้อยที่ประมาณ 38-39 บาท ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดตึ้นต่อภาคส่งออกปละการเติบดตของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งแล้ว ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลต้องปรับตัวให้แข่งขันกับจีนได้ ทั้งกรณีสินค้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก และสินค้าใช้เทคโนโลยีสูง เพราะในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึนจะผลักดันสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตให้ทะยอยออกสู่ตลาดโลก การปรับตัวเตรียมพร้อมในการแข่งขันจึงต้องเริ่มนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพราะแม้ว่าสุดท้ายแล้วเงินหยวนไม่ลดค่าการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และบริการของไทยออกสู่ต่างประเทศให้มีจุดเด่น เพื่อที่ตลาดรองรับสินค้าจากไทยจะคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นอันดับรอง ย่อมเป็นผลดีแก่ไทยเองทั้งสิ้น
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 20/31 ตุลาคม 2542--
เมื่อปี 2537 จีนได้ปรับปรุงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากก่อนหน้าที่มี 2 อัตราคืออัตราทางการ และอัตราสวอปที่ตลาดซ่างไห่ให้เหลือเพียงอัตราเดียวเป็น 8.7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวที่เข้าแทรกแซงได้ (Managed Floating Exchange Rate System) ซึ่ง People's Bank of China จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐทุกวัน และยังมีการควบคุมการปริวรรตเงินตราในบัญชีทุนทำให้เงินหยวนไม่ถูกโจมตีจากนักเก็งกำไรได้โดยตรง ดังเช่นที่เงินบาทประสบ ดังนั้น ปัจจัยการลดค่าเงินหยวนจึงขึ้นกับพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคของประเทศจีนและนโยบายการเมือง ในที่นี้จะแบ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนเป็นสองประการ คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ และปัจจัยภายในอันเนื่องมาจากมาตรการปฎิรูปรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินที่จะส่งผลกระทบต่อการว่างงาน
ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก
จีนสะสมสำรองเงินตราต่างประเทศจากการเกินดุลการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทำให้สำรองเงินตราต่างประเทศของจีนมีมูลค่าสูงเป็นอันดับสองรองจากประเทศญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนมิถุนายนศกนี้ จีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศ 147 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถครอบคลุมหนี้ต่างประเทศของจีนได้โดยสิ้นปีที่แล้วจีนมีหนี้ต่างประเทศ 146 พันล้านเหรียญหรือเพียงร้อยละ 15 ของ GDP และมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเพียงร้อยละ 12 ของหนี้ต่างประเทศรวม เทียบเท่า 1 ใน 8 ส่วน ของเงินสำรองระหว่างประเทศ จีนจึงไม่มีแรงกดดันในการชำระหนี้ต่างประเทศคืน และสำรองที่สูงดังกล่าวเป็นปัจจัยเสริมค่าเงินหยวนให้สามารถคงค่าไว้ได้ อย่างไรก็ดี การเกินดุลการค้าเริ่มชะลอลงนับแต่ปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา เนื่องจากการส่งออกเริ่มหดตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วต่อเนื่องถึงกลางปีนี้ ขณะที่การนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดนนับแต่ต้นปีนี้ นอกจากนั้น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Actual Foreign Direct Investment) (ซึ่งจากที่ผ่านมาเป็นการลงทุนจากเอเชียร้อยละ 60 แยกเป็นจากฮ่องกงประมาณร้อยละ 40) เริ่มชะลอในปี 2541 และหดตัวร้อยละ 10 ในเจ็ดเดือนแรกของปีนี้ เช่นเดียวกับสถานการณ์การส่งออก ทำให้แหล่งที่มาของสำรองเงินตราต่างประเทศเริ่มน้อยลง ทำให้เป็นที่คาดกันว่าจีนต้องลดค่าเงินหยวนเพื่อกระตุ้นการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงปี 2541 ที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างมากกับเงินหลายสกุล มีส่วนทำให้เงินหยวนซึ่งกำหนดอัตราอิงกับดอลลาร์สหรัฐมีค่าแข็งขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้จากปัจจับบวกสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากปี 2537 ส่งผลให้เงินหยวนมีค่าแข็งขึ้นทีละน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ดังจะเห็นจากดัชนีค่าเงินหยวน (Effective Exchange Rate-EER) ช่วงปี 2537 ถึงเมษายน 2542 โดยคำนึงถึงสัดส่วนการค้ากับประเทศคู่ค้าแล้ว เงินหยวนมีค่าแข็งขึ้นร้อยละ 17 และเมื่อปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อระหว่างจีนและคู่ค้าซึ่งจะได้ดัชนีค่าเงินหยวนที่แท้ (Real Effective Exchange Rate-REER) นั้น ปรากฎว่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 33 แต่ดัชนีเงินหยวนช่วงปีนี้ลดลงตามที่ดอลลาร์สหรัฐเริ่มชะลอการแข็งค่ามาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิดวิกฤติ ซึ่งการที่เงินหยวนแข็งขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกของจีนช่วงปี 2540 ซึ่งเศรษฐกิจเอเชียเพิ่มเข้าวิกฤติในครึ่งหลังของปีนั้น เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ถึงร้อยละ 21 แสดงว่ายังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้การส่งออกของจีนชะลอลง
การที่มูลค่าการส่งออกของจีนในปี 2541 เท่าๆ กับการส่งออกในปี 2540 และหดในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี 2542 นั้น ไม่ได้หมายความว่าจีนเสียเปรียบการแข่งขันด้านราคาโดยสิ้นเชิงจากการที่ค่าเงินหยวนแข็งขึ้น แต่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบเรื่องรายได้อันเป็นที่มาของกำลังซื้อจากประเทศคู่ค้าของจีนด้วย เนื่องจากตลาดส่งออกของจีนราวครึ่งหนึ่งเป็นตลาดเอเชีย ซึ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่หดตัวอย่างรุนแรงในปีที่แล้ว โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงที่เศรษฐกิจปีที่แล้วหดตัวถึงร้อยละ 5.1 กำลังซื้อจึงลดลงตามไปด้วย ถึงแม้การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขั้นก็ไม่สามารถชดเชยการส่งออกไปในตลาดเอเชียที่ลดลงได้มากนัก
ผลกระทบจากปัจจัยภายใน
จีนประสบปัญหารัฐวิสาหกิจบริหารงานขาดประสิทธิภาพ และบางแห่งมีฐานะการเงินขาดทุนเรื้อรัง อันเป็นผลพวงจากความพยายามปรับระบบเศรษฐกิจเข้าหาระบบตลาดมากขึ้นตั้งแต่ปี 2521 แต่การปกครองยังเป็นแบบใช้อำนาจสั่งการจากส่วนกลางอยู่ ประกอบกับนโยบายการจ้างบุคคลากรของรัฐวิสาหกิจก็มีการดูแลอย่างเต็มที่ในเรื่องสวัสดิการแม้เกษียณอายุไปแล้วก็ยังได้รับบำนาญทำให้รัฐวิสาหกิจมีภาระค่าใช้จ่ายสูง ผลกระทบดังกล่าวถูกส่งต่อมายังธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่เป็นเจ้าหนี้ของรัฐวิสาหกิจ จากการที่รัฐบาลเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณให้แก่รัฐวิสาหกิจ มาสู่การที่รัฐวิสาหกิจต้องกู้เงินจากธนาคารเอง สัดส่วนหนี้จึงสูง ภาระดอกเบี้ยจ่ายจึงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี 2537 ซึ่งมีเงินเฟ้อกว่าร้อยละ 20 ส่งผลให้รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ทั้งธนาคารพาณิชย์เองก็ถูกชี้นำให้มีการปล่อยกู้รัฐวิสหกิจต่อไปแม้รัฐวิสาหกิจบางแห่งสมควรที่จะถูกปิดกิจการ เนื่องจากต้องรักษาการจ้างงานเอาไว้ไม่ให้เกิดปัญหาสังคม ผนวกกับธนาคารผู้ปล่อยกู้เองก็มิได้ใส่ใจในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการหรือการตามทวงหนี้เท่าใดนัก เนื่องจากทั้งรัฐวิสาหกิจและธนาคารต่างก็มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ NPLs ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ของรัฐคือ Industrial and Commercial Bank of China, Agricultural Bank of China, Bank of China และ PeoPle's Construction Bank of China ซึ่งมีขนาดสินทรัพย์รวมกันร้อยละ 62 ชองสินทรัพย์ในระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทประกันภัย) สูงราว 1 ใน 4 ของยอดสินเชื่อรวม 9.4 ล้านล้านหยวนในปี 2541
ดังนั้น การที่จีนกำลังพยายามปรับปรุงระบบต่างๆ ของประเทศให้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดมาตรการในการ 1) ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (State Own Enterprises-SOEs) 2) ปฏิรูปองค์กรบริหารทางการเมือง และ 3) ปฏิรูประบบการเงิน ให้เสร็จภายในช่วงปี 2541-2543 เพื่อให้ระบบต่างๆ ของจีนเข้าสู่ความเป็นสากลเตรียมพร้อมในการแข่งขันและการเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งในทางปฏิบัติมีการดำนินการแล้ว อาทิ การปิดสถาบันการเงิน GITIC (Guangdong International Trust and Investment Corporation's) เมื่อปีที่แล้ว การปรับปรุงองค์กรและคณะบริหารประเทศ และการเปิดกว้างให้สถาบันการเงินต่างประเทศทำธุรกรรมเงินหยวนได้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนจากตัวเลขการว่างงานเป็นทางการในปีที่แล้วอยู่ในระดับร้อยละ 3.1 (นักวิเคราะห์ประเมินว่าตัวเลขอาจสูงกว่าร้อยละ 10) เพราะต้องมีกิจกรรมรัฐวิสาหกิจที่ต้องรวมกิจการหรือปิดตัวลง ซึ่งถ้าหากจีนไม่สามารถสร้างงานรองรับได้พอเพียง ความจำเป็นที่ต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มการส่งออกก็จะต้องมากขึ้น จีนอาจมีความจำเป็นต้องลดค่าเงินเพื่อเร่งการส่งออกและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้มีการผลิตและการจ้างงานมากขึ้นเป็นลำดับ
ภายใต้การปฏิรูปโครงสร้างต่างๆ และภาระที่ต้องคำนึงถึงสภาพการจ้างงานของประเทศที่มีจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก ทำให้จีนมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสูง เพื่อบรรเทาปัญหาไม่มีงานทำของประชาชน ซึ่งถ้าหากมาตรการดังจะต่อไปนี้ที่จีนดำเนินการไม่บรรลุผลที่จะทำให้เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตในระดับอย่างน้อยร้อยละ 6.7 โอกาสที่จีนจะลดค่าเงินหยวนก็มากขึ้น
1) มาตรการการเงิน การดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย ด้วยการลดดอกเบี้ยลงเป็นลำดับนับตั้งแต่ปี 2539 ประมาณ 440 basis points ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.25 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.85 รัฐบาลพยายามกระตุ้นให้ประชาชนบริโภคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงต่อเนื่อง เห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อติดลบตั้งแต่ปีที่แล้ว
2) มาตรการการคลัง การเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปการ การเพิ่มอัตราลดหย่อนภาษีให้กับผู้ส่งออกโดยเฉพาะในสินค้าสำคัญ เช่น สิ่งทอและเครื่องใช้ไฟฟ้า การลดภาษีวัตถุดิบแก่ธุรกิจที่มีการส่งออก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดราคาสินค้าส่งออกได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ต้องใช้นโยบายลดค่าเงินหยวน รวมทั้งนโยบายที่จะขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการ เพื่อให้มีกำลังซื้อมากขึ้น โดยหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาระดับราคาสินค้าและบริการที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3) มาตรการเชิงคุณภาพ เช่น การสนับสนุนให้บริษัทของคนจีนที่ออกไปลงทุนผลิตสินค้าในต่างประเทศพยายามซื้อวัตถุดิบจากประเทศจีน เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว แรงกดดันที่จีนจะต้องปรับค่าเงินหยวนหรือไม่ มาจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญไม่ใช่แรงกดดันจากการเก็งกำไรค่าเงิน จีนจึงมีเวลาในการพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของการลดค่าเงินที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้น จีนยังมีเวลาในการพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของการลดค่าเงินที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้น จีนยังออกมาตรการลงโทษผู้ทำธุรกรรมปริวรรตเงินตราโดยผิดกฎหมายอันเป็นต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับมูลค่าการเกินดุลการชำระเงิน ดังนั้น จากการประเมินปัจจัยพื้นฐานแล้ว คาดว่าโอกาสที่เงินหยวนจะลดค่ามีไม่มาก และจีนคงจะรอผลจากมาตรการกระตุ้นการส่งออกว่าได้ผลดีหรือไม่กอนที่จีนจะตัดสินใจใช้นโยบายลดค่าเงินหยวนเป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นจริง ผลกระทบต่อตลาดเงินไม่น่าจะรุนแรงเหมือนกับต้นปี 2541 โดยความผันผวนของค่าเงินที่จะอ่อนตัวลงของเงินสกุลอื่นในเอเชียน่าจะจำกัดอยู่ในระยะสั้น ๆ ก่อนที่จะปรับตัวให้มีเสถียรภาพได้เร็ว เนื่องจากประการแรกตลาดการเงินรับรู้ข่าวสารนี้มาเป็นเวลานานแล้ว ผนวกกับเศรษฐกิจและค่าเงินของหลายประเทศดีขึ้นมากกว่าปีก่อน ประการที่สอง เงินหยวนไม่น่าลดค่ามากจนเกินการคาดการณ์ของตลาด สังเกตจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในตลาดมืดที่ซ่างไห่อยู่ในระดับประมาณ 9 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐเทียบเท่าเงินหยวนลดค่าลงประมาณร้อยละ 8
ผลกระทบต่อประเทศไทยหากเงินหยวนลดค่า
ผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยหากเงินหยวนลดค่า แบ่งออกได้เป็นสองกรณี ได้แก่
1) ผลกระทบต่อตลาดการเงิน โดยเงินบาทอาจอ่อนค่าลง โดยเฉพาะในระยะสั้น หากสถานการณ์เรื้อรังและแย่กว่าที่คาด ความจำเป็นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศอาจเป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่กำลังจะเริ่มฟื้นตัว ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดเงินอยู่ในความสงบ ผู้ประกอบการน่าจะทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน สำหรับภาระที่จะต้องมีการชำระเงินตราต่างประเทศ เพื่อลดภาระต้นทุนทางการเงิน หากเกิดกรณีที่ตลาดเงินผันผวนมากกว่าที่คาดไว้
2) ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันสินค้าส่งออกของไทยจะเสียเปรียบมากขึ้น เพราะแม้ว่าเงินหยวนของจีนยังไม่ลดค่าแต่สินค้าของจีนในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างญี่ปุ่น (ซึ่งเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุด) สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ยังมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้จีนมีแผนการส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงขึ้น โดยทางการจีนจะให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจต่อผู้ผลิตสินค้าห้าประเภท คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ยาชีวภาพ ข้อมูลข่าวสาร และวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น นอกเหนือจากมาตรการ เฉพาะหน้าด้วยการประคองค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับอ่อนตัวเล็กน้อยที่ประมาณ 38-39 บาท ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดตึ้นต่อภาคส่งออกปละการเติบดตของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งแล้ว ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลต้องปรับตัวให้แข่งขันกับจีนได้ ทั้งกรณีสินค้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก และสินค้าใช้เทคโนโลยีสูง เพราะในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึนจะผลักดันสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตให้ทะยอยออกสู่ตลาดโลก การปรับตัวเตรียมพร้อมในการแข่งขันจึงต้องเริ่มนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพราะแม้ว่าสุดท้ายแล้วเงินหยวนไม่ลดค่าการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และบริการของไทยออกสู่ต่างประเทศให้มีจุดเด่น เพื่อที่ตลาดรองรับสินค้าจากไทยจะคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นอันดับรอง ย่อมเป็นผลดีแก่ไทยเองทั้งสิ้น
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 20/31 ตุลาคม 2542--