คำถาม : Trans Fat คือ อะไร และเกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกสินค้าอาหารอย่างไร
คำตอบ : Trans Fat คือ ไขมันแปรรูปชนิดหนึ่งที่ส่วนใหญ่เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวที่มีลักษณะเป็นของเหลว (Liquid Oil) มาเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated) เช่น การแปรสภาพน้ำมันพืชเป็นเนยเทียม (Margarine) เพื่อให้ไขมันนั้นแข็งตัว มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น ไม่เป็นไข มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น และมีรสชาติดีใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์ ขณะที่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วน (Fast Food) นิยมใช้ Trans Fat เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดังนั้น ปัจจุบันจึงมี อาหารกว่า 1,000 ชนิดที่มี Trans Fat เป็นส่วนประกอบ อาทิ มันฝรั่งทอด คุ้กกี้ ขนมขบเคี้ยว และขนมปัง
อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยพบว่า Trans Fat ทำให้ผู้บริโภคมีปริมาณคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein Cholesterol: LDL-C) เพิ่มขึ้นในหลอดเลือด และลดปริมาณคลอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein Cholesterol: HDL-C) ลง ซึ่งส่งผลให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน อันเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคอ้วน
ปัจจุบันหลายประเทศตระหนักถึงอันตรายของ Trans Fat จึงปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรการเกี่ยวกับ Trans Fat เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ตรงตามความต้องการ อาทิ แคนาดากำหนดให้แสดงข้อมูล Trans Fat บนฉลากสินค้าอาหารตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เดนมาร์กห้ามวางจำหน่ายสินค้าอาหารที่มีปริมาณ Trans Fat เกินร้อยละ 2 ของปริมาณไขมันทั้งหมด สหรัฐอเมริกาประกาศให้ผู้ผลิตอาหารและอาหารเสริมต้องระบุปริมาณของ Trans Fat (หน่วยวัดเป็นกรัม) ไว้บนฉลากสินค้า มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 นอกจากนี้ ผู้บริโภคในอิสราเอลและออสเตรเลีย กำลังเร่งผลักดันให้รัฐบาลกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องระบุปริมาณ Trans Fat บนฉลากสินค้า
ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบของ Trans Fat จึงควรเร่งติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกฎระเบียบและมาตรการของประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้สอดคล้องกับกระแสความห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภคในสังคมโลก โดยเฉพาะ ประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้า แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้าด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-
คำตอบ : Trans Fat คือ ไขมันแปรรูปชนิดหนึ่งที่ส่วนใหญ่เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวที่มีลักษณะเป็นของเหลว (Liquid Oil) มาเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated) เช่น การแปรสภาพน้ำมันพืชเป็นเนยเทียม (Margarine) เพื่อให้ไขมันนั้นแข็งตัว มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น ไม่เป็นไข มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น และมีรสชาติดีใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์ ขณะที่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วน (Fast Food) นิยมใช้ Trans Fat เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดังนั้น ปัจจุบันจึงมี อาหารกว่า 1,000 ชนิดที่มี Trans Fat เป็นส่วนประกอบ อาทิ มันฝรั่งทอด คุ้กกี้ ขนมขบเคี้ยว และขนมปัง
อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยพบว่า Trans Fat ทำให้ผู้บริโภคมีปริมาณคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein Cholesterol: LDL-C) เพิ่มขึ้นในหลอดเลือด และลดปริมาณคลอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein Cholesterol: HDL-C) ลง ซึ่งส่งผลให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน อันเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคอ้วน
ปัจจุบันหลายประเทศตระหนักถึงอันตรายของ Trans Fat จึงปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรการเกี่ยวกับ Trans Fat เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ตรงตามความต้องการ อาทิ แคนาดากำหนดให้แสดงข้อมูล Trans Fat บนฉลากสินค้าอาหารตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เดนมาร์กห้ามวางจำหน่ายสินค้าอาหารที่มีปริมาณ Trans Fat เกินร้อยละ 2 ของปริมาณไขมันทั้งหมด สหรัฐอเมริกาประกาศให้ผู้ผลิตอาหารและอาหารเสริมต้องระบุปริมาณของ Trans Fat (หน่วยวัดเป็นกรัม) ไว้บนฉลากสินค้า มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 นอกจากนี้ ผู้บริโภคในอิสราเอลและออสเตรเลีย กำลังเร่งผลักดันให้รัฐบาลกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องระบุปริมาณ Trans Fat บนฉลากสินค้า
ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบของ Trans Fat จึงควรเร่งติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกฎระเบียบและมาตรการของประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้สอดคล้องกับกระแสความห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภคในสังคมโลก โดยเฉพาะ ประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้า แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้าด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-