สินค้าเกษตรกรรมเป็นสินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตเพียงพอ มีจำนวนมากหลากหลายชนิด ให้ผลผลิตตามฤดูกาล
สลับกันไปและบางชนิดให้ผลผลิตตลอดปี โดยมีแหล่งผลิตอยู่กระจัดกระจายทั่วภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบันการผลิตสินค้าดังกล่าว นอกจาก
ใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมุ่งผลิตเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดยเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุง
พันธุ์และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ได้ตามมาตรฐานของตลาดส่งออก ทั้งในรูปผลผลิตเกษตรกรรมที่มีการแปรรูปเบื้องต้น และอุตสาหกรรม
การเกษตรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีกรมส่งเสริมการส่งออกให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมส่งเสริม
การส่งออกในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของตลาด เพื่อขยายตลาดส่งออกให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและได้มูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
1.มูลค่าส่งออก ในปี 2539 ตามโครงสร้างสินค้าออกของประเทศไทยทั้งสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร
มีมูลค่าการส่งออกรวมกัน 354,239.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนของสินค้าส่งออกทั้งสิ้นร้อยละ 25.1 และเมื่อเปรียบเทียบกับปี
2538 ที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.84 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและในตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
และสหภาพยุโรปเริ่มชะลอตัวลงประกอบกับในยุคการค้าที่ไร้พรมแดนการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยิ่งทวีคูณมากขึ้น มีผลทำให้การส่งออก
สินค้าดังกล่าวของประเทศไทยต้องชะลอตัวลง
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
2.1 สินค้าเกษตรกรรม เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่มีการแปรรูปเบื้องต้นส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย
ในปี 2539 ส่งออกเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 223,428 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2538 ลดลงร้อยละ 0.6 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก
(มค.-มีค.) ส่งออกเป็นมูลค่า 50,243.7 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2538 ระยะเดียวกัน ลดลงร้อยละ 12.2 โดยส่งออกสินค้า
กสิกรรมมูลค่ามากที่สุดประมาณร้อยละ 67.4 และรองลงไปได้แก่สินค้าประมงและปศุสัตว์ ร้อยละ 32.6
2.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ต้องผ่านขั้นตอนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในปี
2539 ส่งออกเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 130,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 6.3 โดยส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
มูลค่ามากที่สุดประมาณร้อยละ 31 รองลงไปได้แก่ น้ำตาลและกากน้ำตาล ร้อยละ 26 ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ร้อยละ 15.4
ผลิตภัณฑ์ยาง ร้อยละ 14.5 อาหารสัตว์ ร้อยละ 5 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ร้อยละ 2.5 น้ำปลาและสิ่ง
ปรุงรสอาหาร ร้อยละ 1.3 และผลิตภัณฑ์ปอ ร้อยละ 0.3 เป็นต้น
3. ตลาดส่งออก
สินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ ตามลำดับสัดส่วนการส่งออกปี 2539 ได้แก่ ญี่ปุ่น ร้อยละ 22.8
สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 14.9 อาเซียน ร้อยละ 12.7 เอเซียอื่น ๆ CiMBEP 10.7 สหภาพยุโรป ร้อยละ 13.8 และอื่น ๆ
ร้อยละ 25.1 โดยสรุปได้ดังนี้
ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของไทยที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าดังกล่าวได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท
โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 80,128.5 ล้านบาท ปี 2538 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 87,738.5 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และปี 2539 ส่งออกลดลงเหลือ 80,692.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 8
สำหรับสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นมูลค่ามากได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ไก่สดแช่แข็ง ผักผลไม้สด
แช่แข็ง ผักกระป๋องและแปรรูป อาหารสุนัขและแมว น้ำปลาและสิ่งปรุงรสอาหาร เป็นต้น
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดใหญ่ที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรมากเป็นอันดับสอง
ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าส่งออกอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 51,498 ล้านบาท ปี 2538
ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 52,621.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในปี 2539 ส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 52,687.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 สินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้เป็นมูลค่ามาก ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋อง และข้าว เป็นต้น
อาเซียน เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่า 23,606 ล้านบาท ในปี 2538
ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 43,456.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.2 และปี 2539 ส่งออกเพิ่มขึ้น คือ 44,937.2 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 สินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปตลาดแห่งนี้เป็นมูลค่ามาก ได้แก่ ข้าว ผักผลไม้สด น้ำตาลทราย และกากน้ำตาล
อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารสัตว์ เป็นต้น
เอเซียอื่น ๆ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง เป็นตลาดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่รวมทั้งสิ้น 27,232 ล้านบาท ปี 2538 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 32,523.6 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และปี 2539 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 37,878.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 สินค้าที่ประเทศไทยส่งออก
ไปยังตลาดแห่งนี้มีมูลค่ามากได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักผลไม้สดและบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว เป็นต้น
สหภาพยุโรป ได้แก่ตลาดเยอรมนี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เดนมาร์ก เบลเยี่ยม ฟินแลนด์
และสวีเดน เป็นตลาดส่งออกสินค้าหลักของไทยอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่า 45,506.3 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้น
เป็น 47,048.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และปี 2539 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 49,031.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดนี้มีมูลค่ามากได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารสัตว์ อาหารทะเลแช่แข็ง
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำปลาและสิ่งปรุงรสอาหาร
ตลาดอื่น ๆ ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย จีน และอินโดจีน เป็นตลาดที่ประเทศไทยส่งออกเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. สินค้าที่มีแนวโน้มดี
สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกดี ได้แก่ สินค้าประเทศอาหารซึ่งส่วนใหญ่แปรรูปมาจากสินค้าเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีหลากหลายชนิด และถ้าผลิตในประเทศไทยจะมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและนิยมบริโภคมากในตลาดต่างประเทศ ซึ่งในแต่ละ
ปีมูลค่าส่งออกมากกว่าแสนล้านบาทขึ้นไปดังจะได้กล่าวรายละเอียดโดยสรุปต่อไปนี้
5. ภาวะการส่งสินค้าอาหารของไทย ปี 2539
สินค้าอาหารยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกของไทย สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศไทยปี
ละหลายหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอาหารของไทยได้มีการพัฒนา
การผลิต คุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารให้มีรสชาดแปลกใหม่ และหลากหลายชนิดให้เลือกได้ตรงกับรสนิยมและความต้องการ
ของแต่ละตลาดอย่างสม่ำเสมอ สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ได้ในตลาดต่างประเทศประกอบ กับภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่ม
ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศสามารถตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นได้ ส่งผลให้การนำ
เข้าสินค้าอาหารในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
5.1 มูลค่าส่งออก
การส่งออกสินค้าอาหารของไทยที่ผ่านมามีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี ยกเว้นปี 2539 ส่งออกได้มูลค่า 147,337.5 ล้าน
บาท ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 1.7 ปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกได้มูลค่า 31,035.4 ล้านบาท เทียบกับปี
2539 ระยะเดียวกันลดลงร้อยละ 2.3 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและในตลาดส่งออกที่สำคัญอยู่ในภาวะที่ชลอตัว แต่ตลอดปี 2540
คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 148,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 เล็กน้อยคือ ร้อยละ 2.16
5.2 สินค้าอาหารที่ส่งออก
ส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูปในลักษณะกึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูปพร้อมที่จะรับประทานได้ทันทีตามเป้าหมายการส่งเสริมการ
ส่งออกของกรมส่งเสริมการส่งออกปี 2540 ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าสำคัญดังนี้
5.2.1 อาหารทะเลแปรรูป ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลตากแห้ง และอาหาร
ทะเลแปรรูปอื่น ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด โดยเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 70 ต่อปี ของหมวดสินค้าอาหาร ในปี 2539
ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 102,336.7 ล้านบาท ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 6.11 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออก
ได้มูลค่า 21,173 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่ตลอดปีคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ 98,220 ล้านบาท
ลดลงจากปี 2539 ร้อยละ 1.08 โดยส่งออกกุ้งสดแช่แข็งมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาหมึกสดแช่แข็งและเนื้อปลาสดแช่แข็ง
เป็นต้น
5.2.2 ผักผลไม้สดและแปรรูป ได้แก่ ผัก ผลไม้สดและแช่แข็ง ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปอื่น ๆ ในปี 2539
ส่งออกได้มูลค่า 26,436.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 14.4 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกได้มูลค่า
5,141.4 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันลดลงร้อยละ 14 และตลอดปีคาดว่าจะส่งออกได้ 28,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539
ร้อยละ 8 โดยส่งออกสับปะรดกระป๋องมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ผัก ผลไม้สดและแช่แข็ง น้ำสับปะรด ผลไม้อบแห้งและแช่อิ่มและหน่อไม้กระป๋อง
เป็นต้น
5.2.3 เนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง ได้แก่ ไก่สดแช่แข็ง และเป็ดสดแช่แข็ง ในปี 2539 ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 9,386.7
ล้านบาท ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 6.5 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกได้มูลค่า 2,316.6 ล้านบาท
เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และตลอดปี คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 9,370 ล้านบาท ลดลงจากปี 2539
เล็กน้อย คือร้อยละ 1.3 จากมูลค่าส่งออกดังกล่าวประมาณร้อยล 96.8 เป็นมูลค่าส่งออกของไก่สดแช่แข็ง
5.2.4 อาหารอื่น ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี น้ำปลาและสิ่งปรุงรสอาหาร สมุนไพรและเครื่องเทศ
ในปี 2539 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 9,177.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 18 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.)
ส่งออกได้ 2,404.4 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และตลอดปี คาดว่าจะส่งออกได้ 12,785 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ร้อยละ 18.40 โดยส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ขนมปังกรอบ น้ำปลาและสิ่งปรุงรส เป็นต้น
5.3 การขยายตัวของสินค้าอาหาร รายการที่ประเทศไทยสามารถส่งออกได้มูลค่ามากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกได้แก่
- กุ้งสดแช่แข็ง
ยังคงเป็นสินค้าดาวเด่นที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดในโลกในปี 2539 มีมูลค่าส่งออกลดลงจากปี 2538
ร้อยละ 13.7
- กุ้งกระป๋อง ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดในโลกปี 2539 มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 2538 ร้อยละ 16.7
- ปลาทูน่ากระป๋อง ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดในโลกปี 2539 มีมูลค่าส่งออกลดลงจากปี 2538
ร้อยละ 9.1
- ไก่สดแช่แข็ง ประเทศไทยส่งออกมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลกรองจากฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา
และบราซิล (ปี 2533) ในปี 2539 มีมูลค่าส่งออกลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 6
- สับปะรดกระป๋อง ประเทศไทยส่งออกมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากฟิลิปปินส์ (ปี 2538) ในปี 2539
มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 13.00
- น้ำสับปะรด ประเทศไทยส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ปี 2539 ร้อยละ 27
5.4 ตลาดส่งออก
5.4.1 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สรุปได้ดังนี้
- ตลาดญี่ปุ่น เป็นตลาดที่มีประชากรจำนวนมาก มีการบริโภคอาหารทะเลมากที่สุดในโลก
ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทยใหญ่ที่สุดในปี 2537 ประเทศไทยส่งออกสินค้า
อาหารไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นมูลค่าประมาณ 46,852.1 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.28 เป็นมูลค่า 52,138 ล้านบาท ในปี 2539
การส่งออกได้มีมูลค่าลดลงเหลือ 45,115.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.3 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ชะลอตัวลง ประกอบกับค่า
ของเงินเยนที่แข็งขึ้น ทำให้การส่งออกได้ชะลอตัวลงด้วย อย่างไรก็ตามตลาดญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทย โดยมีสินค้าอาหารที่สำคัญ
ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้มากที่สุดได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็งและเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง เช่น กุ้งสดแช่แข็ง ปลาหมึกสดแช่แข็ง เนื้อปลาบดแช่แข็ง
ไก่สดแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ นอกจากนี้ยังมีสับปะรดแช่แข็ง มังคุดแช่แข็ง พืชผักสดแช่แข็ง และพืชผักดองต่าง ๆ
- ตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่มีการบริโภคอาหารมากที่สุดในโลกแต่สำหรับอาหารทะเล บริโภคมากเป็นอันดับสอง
รองจากญี่ปุ่น และเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอีกแห่งหนึ่งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเกือบทุกปี โดยเฉพาะในปี 2537
ประเทศไทยส่งออก สินค้าอาหารไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่าประมาณ 36,432.5 ล้านบาท ปี 2538 ลดลงร้อยละ 10.0 เป็นมูลค่า
32,756.2 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 32,785.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากสหรัฐฯ
ชะลอการนำเข้าสินค้าอาหารจากตลาดโลกลดลงและหันไปนำเข้าสินค้าอาหารบางรายการจากประเทศคู่แข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง
กุ้งสดแช่แข็งผลิตภัณฑ์ทูน่าไม่บรรจุกระป๋องและสับปะรดกระป๋อง สำหรับสินค้าอาหารที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ และครองตลาดได้มากที่สุดใน
โลกได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งกระป๋อง และน้ำสับประรด ส่วนสินค้าอาหารอื่น ๆ ที่ส่งออกได้มูลค่าสูงได้แก่ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ปูกระป๋อง
หอยลายกระป๋อง ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง ผลไม้อบแห้ง และพืชผักสดแช่แข็ง
- ตลาดสหภาพยุโรป ประกอบด้วยตลาดสำคัญได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมัน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
อิตาลี สเปน สวีเดน และเบลเยี่ยม เป็นตลาด ส่งออกสินค้าอาหารของไทยที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2537 มีมูลค่าส่งออกประมาณ 16,236 ล้านบาท
ปี 2538 เป็นมูลค่า 20,463.3 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 21,142.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
เนื่องจากเศรษฐกิจในตลาดดังกล่าวเริ่มฟื้นต้วดีขึ้นสำหรับสินค้าอาหาร ที่ส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง
ปลาหมึกแช่แข็ง กุ้งสดแช่แข็ง ไก่สดแชแข็ง สมุนไพร สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง และผลไม้อบแห้ง
5.4.2 ตลาดส่งออกที่มีลู่ทางดี
- ตลาดแคนาดา
เป็นตลาดที่ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐอเมริกาหรือตลาดญี่ปุ่น แต่เป็นตลาดที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าอาหาร
ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะในปี 2537 มีมูลค่าส่งออกประมาณ 4,584.3 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 เป็นมูลค่า
4,782.0 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่าลดลงเป็น 4,568.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.5 ทั้งนี้เพราะการแข่งขันในตลาด
ค่อนข้างสูง ในปี 2540 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็งและกุ้งต้มสุกแช่แข็ง ซึ่งกำลังเป็นที่
ต้องการและนิยมบริโภคมากสำหรับผู้บริโภคในตลาดนี้ สำหรับสินค้าอาหารที่ประเทศไทยส่งออกได้มูลค่าสูงและสามารถครองตลาดแคนาดา
มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็ง กุ้งต้มสุกแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง
- ตลาดออสเตรเลีย
เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทยที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในปี 2537
มีมูลค่าส่งออกประมาณ 3,512.9 ล้านบาท ในปี 2538 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เป็นมูลค่า 4,058.0 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้
มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 4,503.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ทั้งนี้เพราะออสเตรเลียเป็นตลาดที่มีแนวโน้มดี เนื่องจากตลาดนี้ได้เปิด
โอกาสให้ประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารเข้าไปขยายตลาดหรือเปิดตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือผู้บริโภคในตลาดแห่งนี้ยังคงให้ความ
ไว้วางใจและนิยมบริโภคสินค้าอาหารที่ผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง ทั้งสำหรับผู้บริโภคและสำหรับสัตว์เลี้ยงซึ่ง
ประเทศไทยครองตลาดได้มากเป็นอันดับหนึ่ง
- ตลาดเอเซียอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย และสาธารณรัฐ
เกาหลีเป็นตลาดสำคัญในแถบเอเซียสำหรับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเกือบทุกประเภท มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงชึ้นทุกปี โดยเฉพาะ
ในปี 2537 ประเทศไทยส่งออก สินค้าดังกล่าวไปยังตลาดเอเซียอื่น ๆ เป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,344.5 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 39.1 เป็นมูลค่า 24,134 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 27,433.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งใกล้กัน การคมนาคมขนส่งมีความสะดวกและได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ผู้บริโภคเป็นชาวเอเซียมีรสชาด
ในการบริโภคใกล้เคียงกับสินค้าอาหารของไทย คุณภาพอาหารและราคาทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ และที่สำคัญแม้ว่าประเทศ
เหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้นำทางด้านการผลิตสินค้าอาหารก็ตามแต่ปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อัตราค่าจ้างสูงและขาดแคลนจำเป็นต้อง
หันมาผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง จึงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่ต้องเร่งรีบฉวยโอกาสขยายตลาดส่งออกดังกล่าว
- ตลาดอื่น ๆ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดยุโรปตะวันออก อินโดจีน-พม่า และอัฟริกาใต้ เป็นตลาดที่ประเทศไทย
ส่งออกสินค้าอาหารประเภทต่าง ๆ อยู่แล้วแต่มีมูลค่าส่งออกเพียงเล็กน้อย หากมีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดนั้น
ๆ อย่างต่อเนื่องคาดว่ามูลค่าส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ
5.5 การแข่งขัน
การส่งออกสินค้าอาหารของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสินค้ากับ
ประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่
- ฟิลิปปินส์ คู่แข่งขันการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด สับปะรดแช่แข็ง ผลไม้อบแห้ง
ผักสดแช่แข็ง ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าไทยทั้งทางด้านวัตถุดิบและค่าแรงถูกกว่า สามารถส่งออกได้ในราคาใกล้เคียงกับของไทยหรือ
อาจถูกว่าไทย
- อินโดนีเซีย คู่แข่งขันการส่งออกสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ผักผลไม้สดแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
โดยเฉพาะกุ้งกระป๋องและปูกระป๋องแต่สินค้ายังมีคุณภาพต่ำ และมีสิ่งเจือปนตกค้างอยู่ในอาหารทะเลกระป๋องเป็นจำนวนมากและเคยเป็น
คู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ปัจจุบันตลาดสหภาพยุโรป ได้หยุดการนำเข้าด้วยเหตุผลดังกล่าว แต่ที่สำคัญเวลานี้
ได้มีนักลงทุนจากไต้หวัน และสาธารณรัฐเกาหลีเข้าไปร่วมลงทุน เลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมากและจะเป็นคู่แข่งขันการส่งออก
กุ้งสดแช่แข็งที่สำคัญ อีกประเทศหนึ่ง
- สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออก สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด หน่อไม้กระป๋อง
พืชผักดองต่าง ๆ และอาหารทะเลกระป๋อง เช่นปูกระป๋อง มีโรงงานผลิตอยู่ทางตอนใต้ของประเทศหลายโรงงานสามารถผลิตสินค้าได้
คุณภาพดีราคาใกล้เคียงกับของไทยและส่วนหนึ่งเป็นการร่วมลงทุนจากไทย นอกจากนี้ยังเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกไก่สดแช่แข็ง
ในตลาดญี่ปุ่น กุ้งสดแช่แข็งในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งมีราคาถูกกว่า แต่คุณภาพยังด้อยกว่าของไทย และในปี 2537-2538 ผลผลิตทั้งไก่และ
กุ้งภายในประเทศ ลดลงจำเป็นต้องนำเข้าจากไทย
- อินเดียและบังคลาเทศ เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง ในตลาดญี่ปุ่นและกุ้งกระป๋อง ในสหรัฐอเมริกา
- มาเลเซีย เป็นคู่แข่งขันในการส่งออกผักผลไม้สดและแช่แข็งในตลาดสหภาพยุโรปและเอเซีย ในตลาดญี่ปุ่น
และสหรัฐอเมริกา
- บราซิลและสหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกไก่สดแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่น
- ฟิจิ มอริเชียส มัลดีฟและโซโลมอน เป็นคู่แข่งขันส่งออก ปลาทูน่ากระป๋อง ในตลาดสหภาพยุโรปได้เปรียบกว่าไทย
เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่ม A.C.P. (Africa, Caribbean and Pacific States) ซึ่งสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
โดยประเทศเหล่านี้ ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปตลาดดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
- เวียดนาม ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำทะเล และค่าแรงต่ำจะกลายเป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกอาหาร
ของไทยอีกประเทศหนึ่ง และขณะนี้ได้มีชาวญี่ปุ่นเข้าไปร่วมลงทุนผลิตอาหารทะเลกระป๋อง เพื่อส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น
- กลุ่มประเทศละตินอเมริกา ได้แก่ อิกัวดอร์ เม็กซิโก เป็นคู่แข่งขันส่งออก กุ้งสดแช่แข็ง ผักผลไม้สดและแปรรูป
บางชนิดคล้ายกับของไทย ในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
5.6 ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก ยังคงเป็นปัญหาเดิม ได้แก่
5.6.1 ในประเทศ
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งค่าแรงสูงขึ้น และวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศมี ราคาแพงโดยเฉพาะอาหารสัตว์ เช่น
กากถั่วเหลืองและปลาป่น ถ้านำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษส่วนวัตถุดิบสัตว์น้ำทะเลบางชนิดขาดแคลน เช่น ปลาทูน่าสด และกุ้งต้มสุก
แกะเปลือกแช่แข็ง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเสียภาษีนำเข้าสูง
- ระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอและราคาแพงตลอดจนค่าขนส่งทางเรือเพิ่มสูงขึ้น
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออก แข่งขันกันเองโดยตัดราคาสินค้าส่งออก และบางราย ไม่รักษาคุณภาพสินค้าให้สม่ำเสมอ เช่น
กุ้งสดแช่แข็งของไทยจะมีกลิ่นโคลนและสารเคมียาปฏิชีวนะตกค้าง
5.6.2 ต่างประเทศ
- กฎระเบียบการนำเข้าและการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าอาหาร ในตลาดญี่ปุ่น (มีกฏหมาย Food
Sanitary Law เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารและสุขอนามัยและกฏหมาย LIABILITY LAW OF JAPAN เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อ
ผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค)สหรัฐอเมริกา แคนาดา (ใช้วิธีดมในการตรวจสอบอาหารกระป๋องและแช่แข็ง ทำให้สินค้าไทยถูกระงับ
การส่งออกจำนวนมาก) และสหภาพยุโรป (มีการตรวจสอบวิเคราะห์โรคพืชและสัตว์หรือ Veterinary and Phytosanitary Controls)
เข้มงวดมาก
- การกีดกันทางการค้า ในตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ดังนี้
ญี่ปุ่น
- ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกไก่สดแช่แข็งถอดกระดูกให้ญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนไก่สดแช่แข็งติดกระดูกไทย
เสียเปรียบสหรัฐอเมริกา เนื่องจากญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าไก่สดแช่แข็งติดกระดูกจากสหรัฐอเมริกาเพียงร้อยละ 10 แต่จากไทยเฉพาะน่องไก่
ติดกระดูกแช่แข็ง ร้อยละ 10 แต่ผลิตภัณฑ์ไก่รายการอื่น ๆ ซึ่งไทยมีศักยภาพส่งออก ร้อยละ 12
- จะใช้วิธีการคำนวณภาษีนำเข้าสินค้าสับปะรดกระป๋องจากการใช้มูลค่า เป็นการใช้น้ำหนักแทน
สหรัฐอเมริกา
- กำหนดโควต้านำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในน้ำเกลือไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตสินค้าดังกล่าวภายใน
ประเทศปีที่ผ่านมาถ้าเกินโควต้าต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 12.5 และถ้าอยู่ในโควต้าเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 6 สำหรับปลาทูน่ากระป๋อง
ในน้ำมันเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 35
- กล่าวหาว่าไทยทุ่มตลาดสินค้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดเข้มข้น และสำนักงาน International Trade
Administration (ITA) ของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศพิจารณาขั้นสุดท้าย ในการจัดเก็บภาษีทุ่มตลาด (Anti-
dumping Duty) สับปะรดกระป๋องจากไทยระหว่างร้อยละ 2.36 ถึงร้อยละ 55.77 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ทำให้ผู้นำเข้าสับปะรดกระป๋อง
จากไทยเริ่มหันไปนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ เช่น อัฟริกาใต้แทนและยังมีการยกเลิกการสั่งซื้อจากประเทศไทยสำหรับเดือนกรกฎาคมและ
สิงหาคม ที่จะถึงนี้ด้วย
สหภาพยุโรป
- จำกัดโควต้านำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมาก คือต้องเสีย
ภาษีในอัตราร้อยละ 24-25 ในขณะประเทศคู่แข่งขัน โคลัมเบีย และ กลุ่มประเทศ A.C.P. (AFRICA CARIBBEAN และ PACIFIC)
ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า
- การกำหนดโควต้านำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยรวม 5,100 ตัน/ปี และกำหนดค่าธรรมเนียมนำเข้าพิเศษ (Levy)
และราคานำเข้ามาตรฐานไก่สดแช่แข็ง สำหรับในกรณีที่มีการเสนอราคาต่ำกว่าราคามาตรฐานจะเรียกเก็บ ADDITIONAL LEVY ส่วนในกรณี
ที่มีการนำเข้ามากเกินไปจะเรียกเก็บ PENALTY LEVY ทำให้มีการกดราคานำเข้า
- อัตราภาษีนำเข้าการส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังตลาดสหภาพยุโรปของไทยต้อง มีโควต้าและเสียภาษีนำเข้าร้อยละ
12-15 ถ้าเกินโควต้าต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 24 ทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งขันในแถบแอฟริกาซึ่งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
5.7 แนวโน้มการส่งออก
การส่งออกอาหารของไทยในอนาคตโดยรวมแล้วคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกรวมทั้ง
ภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นและความต้องการบริโภคสินค้าอาหาร
เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะปลาหมึกสดแช่แข็ง กุ้งสดแช่แข็ง ปลาสดแช่แข็ง ไก่สดแช่แข็ง ปลากระป๋อง ปูกระป๋อง กุ้งกระป๋อง ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ
น้ำผัก-ผลไม้กระป๋อง ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง ตลาดส่งออกยังเติบโตและขยายได้อีกมากประกอบกับสินค้าดังกล่าว ของไทย มีคุณภาพดีเป็น
ที่ยอมรับและนิยมบริโภคมาก สำหรับผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศนอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ ได้แก่ ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกาใต้
และอินโดจีน-พม่า ซึ่งมีแนวโน้มดีสามารถรองรับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยได้อีกจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออก
จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้า และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายแปลกใหม่ เหนือกว่าประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ อยู่เสมอ
สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้ทันที โดยมีกรมส่งเสริมการส่งออกให้การสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกอย่างจริงจัง
และต่อเนื่อง ในปี 2539 ได้ร่วมกับภาคเอกชนดำเนินการวางแผนและกำหนดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร ทั้งในตลาดหลัก
และตลาดใหม่ เพื่อเร่งรัดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมีตลาดส่งออกรองรับ
อย่างกว้างขวางและพยายามสร้างภาพพจน์ให้ตลาดโลกรู้จักในฐานะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออกในแถบภูม
ภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
5.8 แผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าอาหารปี 2540
กรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดให้สินค้าอาหารเป็นสินค้าเป้าหมายที่จะได้รับการส่งเสริมการส่งออก โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ
ทางด้านการตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2540 มีแผนงานที่จะส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2540
สินค้า/ตลาด สินค้าสำคัญ/มีลู่ทาง กลยุทธ์
1. อาหาร
ทุกตลาด ทุกสินค้า - สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันอาหาร
- รักษาความเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าอาหาร
- ผลักดันการจัดตั้งสายการบินเพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศและศูนย์เก็บ
รักษาอาหารสดเพื่อการส่งออก
- สร้างพจน์ประเทศไทยว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพของโลก
- สนับสนุนให้มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
- ส่งเสริมการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่
สหรัฐอเมริกา อาหารไทย - ประชาสัมพันธ์อาหารไทย
กุ้งสดแช่แข็ง - เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารที่นครชิคาโก้
กุ้งกระป๋อง - ให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในเรื่องมาตรฐานสินค้า สุขอนามัย
อาหารทะเลแปรรูป และสิ่งแวดล้อม
- สร้างภาพลักษณ์อาหารทะเลแช่แข็งจากประเทศไทย
สหภาพยุโรป อาหารทะเลกระป๋อง - จัดการส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าและ
ญี่ปุ่น อาเซียน กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง เลือกสินค้าที่มีชื่อเสียงทางการค้าของไทยจัดแสดง
ผลไม้กระป๋องและ - เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารระดับโลก ที่เมืองโคโลยจน์และกรุง
แปรรูป โตเกียว
อาหารทะเลแปรรูป
เนื้อไก่แช่แข็ง
ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล - เผยแพร่และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
- เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารที่ซาอุดิอาระเบีย
ฮ่องกง จีน ผัก/ผลไม้สด - ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า
ไต้หวัน - ปรับปรุงคุณภาพผลไม้สดเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา--จบ
โดย กรมส่งเสริมการส่งออก
นางกันตา จิตตั้งสมบูรณ์
กองข้อมูลการค้า
มิถุนายน 2540
สลับกันไปและบางชนิดให้ผลผลิตตลอดปี โดยมีแหล่งผลิตอยู่กระจัดกระจายทั่วภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบันการผลิตสินค้าดังกล่าว นอกจาก
ใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมุ่งผลิตเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดยเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุง
พันธุ์และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ได้ตามมาตรฐานของตลาดส่งออก ทั้งในรูปผลผลิตเกษตรกรรมที่มีการแปรรูปเบื้องต้น และอุตสาหกรรม
การเกษตรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีกรมส่งเสริมการส่งออกให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมส่งเสริม
การส่งออกในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของตลาด เพื่อขยายตลาดส่งออกให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและได้มูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
1.มูลค่าส่งออก ในปี 2539 ตามโครงสร้างสินค้าออกของประเทศไทยทั้งสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร
มีมูลค่าการส่งออกรวมกัน 354,239.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนของสินค้าส่งออกทั้งสิ้นร้อยละ 25.1 และเมื่อเปรียบเทียบกับปี
2538 ที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.84 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและในตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
และสหภาพยุโรปเริ่มชะลอตัวลงประกอบกับในยุคการค้าที่ไร้พรมแดนการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยิ่งทวีคูณมากขึ้น มีผลทำให้การส่งออก
สินค้าดังกล่าวของประเทศไทยต้องชะลอตัวลง
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
2.1 สินค้าเกษตรกรรม เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่มีการแปรรูปเบื้องต้นส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย
ในปี 2539 ส่งออกเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 223,428 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2538 ลดลงร้อยละ 0.6 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก
(มค.-มีค.) ส่งออกเป็นมูลค่า 50,243.7 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2538 ระยะเดียวกัน ลดลงร้อยละ 12.2 โดยส่งออกสินค้า
กสิกรรมมูลค่ามากที่สุดประมาณร้อยละ 67.4 และรองลงไปได้แก่สินค้าประมงและปศุสัตว์ ร้อยละ 32.6
2.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ต้องผ่านขั้นตอนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในปี
2539 ส่งออกเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 130,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 6.3 โดยส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
มูลค่ามากที่สุดประมาณร้อยละ 31 รองลงไปได้แก่ น้ำตาลและกากน้ำตาล ร้อยละ 26 ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ร้อยละ 15.4
ผลิตภัณฑ์ยาง ร้อยละ 14.5 อาหารสัตว์ ร้อยละ 5 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ร้อยละ 2.5 น้ำปลาและสิ่ง
ปรุงรสอาหาร ร้อยละ 1.3 และผลิตภัณฑ์ปอ ร้อยละ 0.3 เป็นต้น
3. ตลาดส่งออก
สินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ ตามลำดับสัดส่วนการส่งออกปี 2539 ได้แก่ ญี่ปุ่น ร้อยละ 22.8
สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 14.9 อาเซียน ร้อยละ 12.7 เอเซียอื่น ๆ CiMBEP 10.7 สหภาพยุโรป ร้อยละ 13.8 และอื่น ๆ
ร้อยละ 25.1 โดยสรุปได้ดังนี้
ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของไทยที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าดังกล่าวได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท
โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 80,128.5 ล้านบาท ปี 2538 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 87,738.5 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และปี 2539 ส่งออกลดลงเหลือ 80,692.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 8
สำหรับสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นมูลค่ามากได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ไก่สดแช่แข็ง ผักผลไม้สด
แช่แข็ง ผักกระป๋องและแปรรูป อาหารสุนัขและแมว น้ำปลาและสิ่งปรุงรสอาหาร เป็นต้น
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดใหญ่ที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรมากเป็นอันดับสอง
ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าส่งออกอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 51,498 ล้านบาท ปี 2538
ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 52,621.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในปี 2539 ส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 52,687.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 สินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้เป็นมูลค่ามาก ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋อง และข้าว เป็นต้น
อาเซียน เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่า 23,606 ล้านบาท ในปี 2538
ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 43,456.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.2 และปี 2539 ส่งออกเพิ่มขึ้น คือ 44,937.2 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 สินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปตลาดแห่งนี้เป็นมูลค่ามาก ได้แก่ ข้าว ผักผลไม้สด น้ำตาลทราย และกากน้ำตาล
อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารสัตว์ เป็นต้น
เอเซียอื่น ๆ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง เป็นตลาดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่รวมทั้งสิ้น 27,232 ล้านบาท ปี 2538 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 32,523.6 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และปี 2539 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 37,878.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 สินค้าที่ประเทศไทยส่งออก
ไปยังตลาดแห่งนี้มีมูลค่ามากได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักผลไม้สดและบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว เป็นต้น
สหภาพยุโรป ได้แก่ตลาดเยอรมนี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เดนมาร์ก เบลเยี่ยม ฟินแลนด์
และสวีเดน เป็นตลาดส่งออกสินค้าหลักของไทยอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2537 ส่งออกเป็นมูลค่า 45,506.3 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้น
เป็น 47,048.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และปี 2539 ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 49,031.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดนี้มีมูลค่ามากได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารสัตว์ อาหารทะเลแช่แข็ง
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำปลาและสิ่งปรุงรสอาหาร
ตลาดอื่น ๆ ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย จีน และอินโดจีน เป็นตลาดที่ประเทศไทยส่งออกเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. สินค้าที่มีแนวโน้มดี
สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกดี ได้แก่ สินค้าประเทศอาหารซึ่งส่วนใหญ่แปรรูปมาจากสินค้าเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีหลากหลายชนิด และถ้าผลิตในประเทศไทยจะมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและนิยมบริโภคมากในตลาดต่างประเทศ ซึ่งในแต่ละ
ปีมูลค่าส่งออกมากกว่าแสนล้านบาทขึ้นไปดังจะได้กล่าวรายละเอียดโดยสรุปต่อไปนี้
5. ภาวะการส่งสินค้าอาหารของไทย ปี 2539
สินค้าอาหารยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกของไทย สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศไทยปี
ละหลายหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอาหารของไทยได้มีการพัฒนา
การผลิต คุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารให้มีรสชาดแปลกใหม่ และหลากหลายชนิดให้เลือกได้ตรงกับรสนิยมและความต้องการ
ของแต่ละตลาดอย่างสม่ำเสมอ สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ได้ในตลาดต่างประเทศประกอบ กับภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่ม
ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศสามารถตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นได้ ส่งผลให้การนำ
เข้าสินค้าอาหารในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
5.1 มูลค่าส่งออก
การส่งออกสินค้าอาหารของไทยที่ผ่านมามีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี ยกเว้นปี 2539 ส่งออกได้มูลค่า 147,337.5 ล้าน
บาท ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 1.7 ปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกได้มูลค่า 31,035.4 ล้านบาท เทียบกับปี
2539 ระยะเดียวกันลดลงร้อยละ 2.3 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและในตลาดส่งออกที่สำคัญอยู่ในภาวะที่ชลอตัว แต่ตลอดปี 2540
คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 148,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 เล็กน้อยคือ ร้อยละ 2.16
5.2 สินค้าอาหารที่ส่งออก
ส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูปในลักษณะกึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูปพร้อมที่จะรับประทานได้ทันทีตามเป้าหมายการส่งเสริมการ
ส่งออกของกรมส่งเสริมการส่งออกปี 2540 ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าสำคัญดังนี้
5.2.1 อาหารทะเลแปรรูป ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลตากแห้ง และอาหาร
ทะเลแปรรูปอื่น ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด โดยเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 70 ต่อปี ของหมวดสินค้าอาหาร ในปี 2539
ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 102,336.7 ล้านบาท ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 6.11 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออก
ได้มูลค่า 21,173 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่ตลอดปีคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ 98,220 ล้านบาท
ลดลงจากปี 2539 ร้อยละ 1.08 โดยส่งออกกุ้งสดแช่แข็งมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาหมึกสดแช่แข็งและเนื้อปลาสดแช่แข็ง
เป็นต้น
5.2.2 ผักผลไม้สดและแปรรูป ได้แก่ ผัก ผลไม้สดและแช่แข็ง ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปอื่น ๆ ในปี 2539
ส่งออกได้มูลค่า 26,436.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 14.4 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกได้มูลค่า
5,141.4 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันลดลงร้อยละ 14 และตลอดปีคาดว่าจะส่งออกได้ 28,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539
ร้อยละ 8 โดยส่งออกสับปะรดกระป๋องมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ผัก ผลไม้สดและแช่แข็ง น้ำสับปะรด ผลไม้อบแห้งและแช่อิ่มและหน่อไม้กระป๋อง
เป็นต้น
5.2.3 เนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง ได้แก่ ไก่สดแช่แข็ง และเป็ดสดแช่แข็ง ในปี 2539 ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 9,386.7
ล้านบาท ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 6.5 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกได้มูลค่า 2,316.6 ล้านบาท
เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และตลอดปี คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 9,370 ล้านบาท ลดลงจากปี 2539
เล็กน้อย คือร้อยละ 1.3 จากมูลค่าส่งออกดังกล่าวประมาณร้อยล 96.8 เป็นมูลค่าส่งออกของไก่สดแช่แข็ง
5.2.4 อาหารอื่น ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี น้ำปลาและสิ่งปรุงรสอาหาร สมุนไพรและเครื่องเทศ
ในปี 2539 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 9,177.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 18 และปี 2540 ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.)
ส่งออกได้ 2,404.4 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และตลอดปี คาดว่าจะส่งออกได้ 12,785 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ร้อยละ 18.40 โดยส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ขนมปังกรอบ น้ำปลาและสิ่งปรุงรส เป็นต้น
5.3 การขยายตัวของสินค้าอาหาร รายการที่ประเทศไทยสามารถส่งออกได้มูลค่ามากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกได้แก่
- กุ้งสดแช่แข็ง
ยังคงเป็นสินค้าดาวเด่นที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดในโลกในปี 2539 มีมูลค่าส่งออกลดลงจากปี 2538
ร้อยละ 13.7
- กุ้งกระป๋อง ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดในโลกปี 2539 มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 2538 ร้อยละ 16.7
- ปลาทูน่ากระป๋อง ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดในโลกปี 2539 มีมูลค่าส่งออกลดลงจากปี 2538
ร้อยละ 9.1
- ไก่สดแช่แข็ง ประเทศไทยส่งออกมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลกรองจากฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา
และบราซิล (ปี 2533) ในปี 2539 มีมูลค่าส่งออกลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 6
- สับปะรดกระป๋อง ประเทศไทยส่งออกมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากฟิลิปปินส์ (ปี 2538) ในปี 2539
มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2538 ร้อยละ 13.00
- น้ำสับปะรด ประเทศไทยส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ปี 2539 ร้อยละ 27
5.4 ตลาดส่งออก
5.4.1 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สรุปได้ดังนี้
- ตลาดญี่ปุ่น เป็นตลาดที่มีประชากรจำนวนมาก มีการบริโภคอาหารทะเลมากที่สุดในโลก
ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทยใหญ่ที่สุดในปี 2537 ประเทศไทยส่งออกสินค้า
อาหารไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นมูลค่าประมาณ 46,852.1 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.28 เป็นมูลค่า 52,138 ล้านบาท ในปี 2539
การส่งออกได้มีมูลค่าลดลงเหลือ 45,115.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.3 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ชะลอตัวลง ประกอบกับค่า
ของเงินเยนที่แข็งขึ้น ทำให้การส่งออกได้ชะลอตัวลงด้วย อย่างไรก็ตามตลาดญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทย โดยมีสินค้าอาหารที่สำคัญ
ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้มากที่สุดได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็งและเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง เช่น กุ้งสดแช่แข็ง ปลาหมึกสดแช่แข็ง เนื้อปลาบดแช่แข็ง
ไก่สดแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ นอกจากนี้ยังมีสับปะรดแช่แข็ง มังคุดแช่แข็ง พืชผักสดแช่แข็ง และพืชผักดองต่าง ๆ
- ตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่มีการบริโภคอาหารมากที่สุดในโลกแต่สำหรับอาหารทะเล บริโภคมากเป็นอันดับสอง
รองจากญี่ปุ่น และเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอีกแห่งหนึ่งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเกือบทุกปี โดยเฉพาะในปี 2537
ประเทศไทยส่งออก สินค้าอาหารไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่าประมาณ 36,432.5 ล้านบาท ปี 2538 ลดลงร้อยละ 10.0 เป็นมูลค่า
32,756.2 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 32,785.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากสหรัฐฯ
ชะลอการนำเข้าสินค้าอาหารจากตลาดโลกลดลงและหันไปนำเข้าสินค้าอาหารบางรายการจากประเทศคู่แข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง
กุ้งสดแช่แข็งผลิตภัณฑ์ทูน่าไม่บรรจุกระป๋องและสับปะรดกระป๋อง สำหรับสินค้าอาหารที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ และครองตลาดได้มากที่สุดใน
โลกได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งกระป๋อง และน้ำสับประรด ส่วนสินค้าอาหารอื่น ๆ ที่ส่งออกได้มูลค่าสูงได้แก่ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ปูกระป๋อง
หอยลายกระป๋อง ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง ผลไม้อบแห้ง และพืชผักสดแช่แข็ง
- ตลาดสหภาพยุโรป ประกอบด้วยตลาดสำคัญได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมัน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
อิตาลี สเปน สวีเดน และเบลเยี่ยม เป็นตลาด ส่งออกสินค้าอาหารของไทยที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2537 มีมูลค่าส่งออกประมาณ 16,236 ล้านบาท
ปี 2538 เป็นมูลค่า 20,463.3 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 21,142.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
เนื่องจากเศรษฐกิจในตลาดดังกล่าวเริ่มฟื้นต้วดีขึ้นสำหรับสินค้าอาหาร ที่ส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง
ปลาหมึกแช่แข็ง กุ้งสดแช่แข็ง ไก่สดแชแข็ง สมุนไพร สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง และผลไม้อบแห้ง
5.4.2 ตลาดส่งออกที่มีลู่ทางดี
- ตลาดแคนาดา
เป็นตลาดที่ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐอเมริกาหรือตลาดญี่ปุ่น แต่เป็นตลาดที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าอาหาร
ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะในปี 2537 มีมูลค่าส่งออกประมาณ 4,584.3 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 เป็นมูลค่า
4,782.0 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่าลดลงเป็น 4,568.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.5 ทั้งนี้เพราะการแข่งขันในตลาด
ค่อนข้างสูง ในปี 2540 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็งและกุ้งต้มสุกแช่แข็ง ซึ่งกำลังเป็นที่
ต้องการและนิยมบริโภคมากสำหรับผู้บริโภคในตลาดนี้ สำหรับสินค้าอาหารที่ประเทศไทยส่งออกได้มูลค่าสูงและสามารถครองตลาดแคนาดา
มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็ง กุ้งต้มสุกแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง
- ตลาดออสเตรเลีย
เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทยที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในปี 2537
มีมูลค่าส่งออกประมาณ 3,512.9 ล้านบาท ในปี 2538 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เป็นมูลค่า 4,058.0 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้
มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 4,503.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ทั้งนี้เพราะออสเตรเลียเป็นตลาดที่มีแนวโน้มดี เนื่องจากตลาดนี้ได้เปิด
โอกาสให้ประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารเข้าไปขยายตลาดหรือเปิดตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือผู้บริโภคในตลาดแห่งนี้ยังคงให้ความ
ไว้วางใจและนิยมบริโภคสินค้าอาหารที่ผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง ทั้งสำหรับผู้บริโภคและสำหรับสัตว์เลี้ยงซึ่ง
ประเทศไทยครองตลาดได้มากเป็นอันดับหนึ่ง
- ตลาดเอเซียอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย และสาธารณรัฐ
เกาหลีเป็นตลาดสำคัญในแถบเอเซียสำหรับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเกือบทุกประเภท มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงชึ้นทุกปี โดยเฉพาะ
ในปี 2537 ประเทศไทยส่งออก สินค้าดังกล่าวไปยังตลาดเอเซียอื่น ๆ เป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,344.5 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 39.1 เป็นมูลค่า 24,134 ล้านบาท ในปี 2539 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 27,433.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งใกล้กัน การคมนาคมขนส่งมีความสะดวกและได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ผู้บริโภคเป็นชาวเอเซียมีรสชาด
ในการบริโภคใกล้เคียงกับสินค้าอาหารของไทย คุณภาพอาหารและราคาทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ และที่สำคัญแม้ว่าประเทศ
เหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้นำทางด้านการผลิตสินค้าอาหารก็ตามแต่ปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อัตราค่าจ้างสูงและขาดแคลนจำเป็นต้อง
หันมาผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง จึงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่ต้องเร่งรีบฉวยโอกาสขยายตลาดส่งออกดังกล่าว
- ตลาดอื่น ๆ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดยุโรปตะวันออก อินโดจีน-พม่า และอัฟริกาใต้ เป็นตลาดที่ประเทศไทย
ส่งออกสินค้าอาหารประเภทต่าง ๆ อยู่แล้วแต่มีมูลค่าส่งออกเพียงเล็กน้อย หากมีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดนั้น
ๆ อย่างต่อเนื่องคาดว่ามูลค่าส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ
5.5 การแข่งขัน
การส่งออกสินค้าอาหารของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสินค้ากับ
ประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่
- ฟิลิปปินส์ คู่แข่งขันการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด สับปะรดแช่แข็ง ผลไม้อบแห้ง
ผักสดแช่แข็ง ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าไทยทั้งทางด้านวัตถุดิบและค่าแรงถูกกว่า สามารถส่งออกได้ในราคาใกล้เคียงกับของไทยหรือ
อาจถูกว่าไทย
- อินโดนีเซีย คู่แข่งขันการส่งออกสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ผักผลไม้สดแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
โดยเฉพาะกุ้งกระป๋องและปูกระป๋องแต่สินค้ายังมีคุณภาพต่ำ และมีสิ่งเจือปนตกค้างอยู่ในอาหารทะเลกระป๋องเป็นจำนวนมากและเคยเป็น
คู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ปัจจุบันตลาดสหภาพยุโรป ได้หยุดการนำเข้าด้วยเหตุผลดังกล่าว แต่ที่สำคัญเวลานี้
ได้มีนักลงทุนจากไต้หวัน และสาธารณรัฐเกาหลีเข้าไปร่วมลงทุน เลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมากและจะเป็นคู่แข่งขันการส่งออก
กุ้งสดแช่แข็งที่สำคัญ อีกประเทศหนึ่ง
- สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออก สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด หน่อไม้กระป๋อง
พืชผักดองต่าง ๆ และอาหารทะเลกระป๋อง เช่นปูกระป๋อง มีโรงงานผลิตอยู่ทางตอนใต้ของประเทศหลายโรงงานสามารถผลิตสินค้าได้
คุณภาพดีราคาใกล้เคียงกับของไทยและส่วนหนึ่งเป็นการร่วมลงทุนจากไทย นอกจากนี้ยังเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกไก่สดแช่แข็ง
ในตลาดญี่ปุ่น กุ้งสดแช่แข็งในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งมีราคาถูกกว่า แต่คุณภาพยังด้อยกว่าของไทย และในปี 2537-2538 ผลผลิตทั้งไก่และ
กุ้งภายในประเทศ ลดลงจำเป็นต้องนำเข้าจากไทย
- อินเดียและบังคลาเทศ เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง ในตลาดญี่ปุ่นและกุ้งกระป๋อง ในสหรัฐอเมริกา
- มาเลเซีย เป็นคู่แข่งขันในการส่งออกผักผลไม้สดและแช่แข็งในตลาดสหภาพยุโรปและเอเซีย ในตลาดญี่ปุ่น
และสหรัฐอเมริกา
- บราซิลและสหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกไก่สดแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่น
- ฟิจิ มอริเชียส มัลดีฟและโซโลมอน เป็นคู่แข่งขันส่งออก ปลาทูน่ากระป๋อง ในตลาดสหภาพยุโรปได้เปรียบกว่าไทย
เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่ม A.C.P. (Africa, Caribbean and Pacific States) ซึ่งสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
โดยประเทศเหล่านี้ ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปตลาดดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
- เวียดนาม ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำทะเล และค่าแรงต่ำจะกลายเป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกอาหาร
ของไทยอีกประเทศหนึ่ง และขณะนี้ได้มีชาวญี่ปุ่นเข้าไปร่วมลงทุนผลิตอาหารทะเลกระป๋อง เพื่อส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น
- กลุ่มประเทศละตินอเมริกา ได้แก่ อิกัวดอร์ เม็กซิโก เป็นคู่แข่งขันส่งออก กุ้งสดแช่แข็ง ผักผลไม้สดและแปรรูป
บางชนิดคล้ายกับของไทย ในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
5.6 ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก ยังคงเป็นปัญหาเดิม ได้แก่
5.6.1 ในประเทศ
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งค่าแรงสูงขึ้น และวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศมี ราคาแพงโดยเฉพาะอาหารสัตว์ เช่น
กากถั่วเหลืองและปลาป่น ถ้านำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษส่วนวัตถุดิบสัตว์น้ำทะเลบางชนิดขาดแคลน เช่น ปลาทูน่าสด และกุ้งต้มสุก
แกะเปลือกแช่แข็ง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเสียภาษีนำเข้าสูง
- ระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอและราคาแพงตลอดจนค่าขนส่งทางเรือเพิ่มสูงขึ้น
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออก แข่งขันกันเองโดยตัดราคาสินค้าส่งออก และบางราย ไม่รักษาคุณภาพสินค้าให้สม่ำเสมอ เช่น
กุ้งสดแช่แข็งของไทยจะมีกลิ่นโคลนและสารเคมียาปฏิชีวนะตกค้าง
5.6.2 ต่างประเทศ
- กฎระเบียบการนำเข้าและการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าอาหาร ในตลาดญี่ปุ่น (มีกฏหมาย Food
Sanitary Law เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารและสุขอนามัยและกฏหมาย LIABILITY LAW OF JAPAN เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อ
ผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค)สหรัฐอเมริกา แคนาดา (ใช้วิธีดมในการตรวจสอบอาหารกระป๋องและแช่แข็ง ทำให้สินค้าไทยถูกระงับ
การส่งออกจำนวนมาก) และสหภาพยุโรป (มีการตรวจสอบวิเคราะห์โรคพืชและสัตว์หรือ Veterinary and Phytosanitary Controls)
เข้มงวดมาก
- การกีดกันทางการค้า ในตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ดังนี้
ญี่ปุ่น
- ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกไก่สดแช่แข็งถอดกระดูกให้ญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนไก่สดแช่แข็งติดกระดูกไทย
เสียเปรียบสหรัฐอเมริกา เนื่องจากญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าไก่สดแช่แข็งติดกระดูกจากสหรัฐอเมริกาเพียงร้อยละ 10 แต่จากไทยเฉพาะน่องไก่
ติดกระดูกแช่แข็ง ร้อยละ 10 แต่ผลิตภัณฑ์ไก่รายการอื่น ๆ ซึ่งไทยมีศักยภาพส่งออก ร้อยละ 12
- จะใช้วิธีการคำนวณภาษีนำเข้าสินค้าสับปะรดกระป๋องจากการใช้มูลค่า เป็นการใช้น้ำหนักแทน
สหรัฐอเมริกา
- กำหนดโควต้านำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในน้ำเกลือไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตสินค้าดังกล่าวภายใน
ประเทศปีที่ผ่านมาถ้าเกินโควต้าต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 12.5 และถ้าอยู่ในโควต้าเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 6 สำหรับปลาทูน่ากระป๋อง
ในน้ำมันเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 35
- กล่าวหาว่าไทยทุ่มตลาดสินค้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดเข้มข้น และสำนักงาน International Trade
Administration (ITA) ของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศพิจารณาขั้นสุดท้าย ในการจัดเก็บภาษีทุ่มตลาด (Anti-
dumping Duty) สับปะรดกระป๋องจากไทยระหว่างร้อยละ 2.36 ถึงร้อยละ 55.77 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ทำให้ผู้นำเข้าสับปะรดกระป๋อง
จากไทยเริ่มหันไปนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ เช่น อัฟริกาใต้แทนและยังมีการยกเลิกการสั่งซื้อจากประเทศไทยสำหรับเดือนกรกฎาคมและ
สิงหาคม ที่จะถึงนี้ด้วย
สหภาพยุโรป
- จำกัดโควต้านำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมาก คือต้องเสีย
ภาษีในอัตราร้อยละ 24-25 ในขณะประเทศคู่แข่งขัน โคลัมเบีย และ กลุ่มประเทศ A.C.P. (AFRICA CARIBBEAN และ PACIFIC)
ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า
- การกำหนดโควต้านำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยรวม 5,100 ตัน/ปี และกำหนดค่าธรรมเนียมนำเข้าพิเศษ (Levy)
และราคานำเข้ามาตรฐานไก่สดแช่แข็ง สำหรับในกรณีที่มีการเสนอราคาต่ำกว่าราคามาตรฐานจะเรียกเก็บ ADDITIONAL LEVY ส่วนในกรณี
ที่มีการนำเข้ามากเกินไปจะเรียกเก็บ PENALTY LEVY ทำให้มีการกดราคานำเข้า
- อัตราภาษีนำเข้าการส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังตลาดสหภาพยุโรปของไทยต้อง มีโควต้าและเสียภาษีนำเข้าร้อยละ
12-15 ถ้าเกินโควต้าต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 24 ทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งขันในแถบแอฟริกาซึ่งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
5.7 แนวโน้มการส่งออก
การส่งออกอาหารของไทยในอนาคตโดยรวมแล้วคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกรวมทั้ง
ภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นและความต้องการบริโภคสินค้าอาหาร
เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะปลาหมึกสดแช่แข็ง กุ้งสดแช่แข็ง ปลาสดแช่แข็ง ไก่สดแช่แข็ง ปลากระป๋อง ปูกระป๋อง กุ้งกระป๋อง ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ
น้ำผัก-ผลไม้กระป๋อง ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง ตลาดส่งออกยังเติบโตและขยายได้อีกมากประกอบกับสินค้าดังกล่าว ของไทย มีคุณภาพดีเป็น
ที่ยอมรับและนิยมบริโภคมาก สำหรับผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศนอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ ได้แก่ ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกาใต้
และอินโดจีน-พม่า ซึ่งมีแนวโน้มดีสามารถรองรับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยได้อีกจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออก
จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้า และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายแปลกใหม่ เหนือกว่าประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ อยู่เสมอ
สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้ทันที โดยมีกรมส่งเสริมการส่งออกให้การสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกอย่างจริงจัง
และต่อเนื่อง ในปี 2539 ได้ร่วมกับภาคเอกชนดำเนินการวางแผนและกำหนดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร ทั้งในตลาดหลัก
และตลาดใหม่ เพื่อเร่งรัดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมีตลาดส่งออกรองรับ
อย่างกว้างขวางและพยายามสร้างภาพพจน์ให้ตลาดโลกรู้จักในฐานะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออกในแถบภูม
ภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
5.8 แผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าอาหารปี 2540
กรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดให้สินค้าอาหารเป็นสินค้าเป้าหมายที่จะได้รับการส่งเสริมการส่งออก โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ
ทางด้านการตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2540 มีแผนงานที่จะส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2540
สินค้า/ตลาด สินค้าสำคัญ/มีลู่ทาง กลยุทธ์
1. อาหาร
ทุกตลาด ทุกสินค้า - สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันอาหาร
- รักษาความเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าอาหาร
- ผลักดันการจัดตั้งสายการบินเพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศและศูนย์เก็บ
รักษาอาหารสดเพื่อการส่งออก
- สร้างพจน์ประเทศไทยว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพของโลก
- สนับสนุนให้มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
- ส่งเสริมการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่
สหรัฐอเมริกา อาหารไทย - ประชาสัมพันธ์อาหารไทย
กุ้งสดแช่แข็ง - เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารที่นครชิคาโก้
กุ้งกระป๋อง - ให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในเรื่องมาตรฐานสินค้า สุขอนามัย
อาหารทะเลแปรรูป และสิ่งแวดล้อม
- สร้างภาพลักษณ์อาหารทะเลแช่แข็งจากประเทศไทย
สหภาพยุโรป อาหารทะเลกระป๋อง - จัดการส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าและ
ญี่ปุ่น อาเซียน กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง เลือกสินค้าที่มีชื่อเสียงทางการค้าของไทยจัดแสดง
ผลไม้กระป๋องและ - เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารระดับโลก ที่เมืองโคโลยจน์และกรุง
แปรรูป โตเกียว
อาหารทะเลแปรรูป
เนื้อไก่แช่แข็ง
ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล - เผยแพร่และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
- เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารที่ซาอุดิอาระเบีย
ฮ่องกง จีน ผัก/ผลไม้สด - ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า
ไต้หวัน - ปรับปรุงคุณภาพผลไม้สดเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา--จบ
โดย กรมส่งเสริมการส่งออก
นางกันตา จิตตั้งสมบูรณ์
กองข้อมูลการค้า
มิถุนายน 2540