1. สถานการณ์การผลิต
กรมประมงปิดอ่าว 3 เดือน ช่วงฤดูปลาวางไข่
กรมประมงสั่งปิดอ่าวไทย บริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เพื่อเปิดโอกาสให้ปลาทู ปลากะตัก และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงฤดูวางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ทั้งนี้ ระยะเวลา ปิดอ่าวมีกำหนด 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ - 16 พฤษภาคม ของทุกปี โดยกรมประมงห้ามจับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวด้วยเครื่องมือทำการประมงที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้แก่ อวนลากเดี่ยว อวนลากคู่ และอวนล้อมจับ เพราะการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงนี้ จะไปทำลายพันธุ์สัตว์น้ำให้สูญพันธุ์เร็วขึ้น
สำหรับชาวประมงที่เคยจับสัตว์น้ำในบริเวณ 3 จังหวัดดังกล่าว ให้เคลื่อนย้ายไปจับสัตว์น้ำในจังหวัดอื่น หรือหางานรองรับในช่วงเวลานี้แทน และกรมประมงได้ขอความร่วมมือชาวประมง ให้งดเว้นการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือที่ทางการกำหนดไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สัตว์น้ำในอ่าวไทยได้วางไข่แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (20-27 ม.ค.41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,063.57 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,353.41 ตัน สัตว์น้ำจืด 710.06 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.07 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.07 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.09 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 452.58 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.51 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ราคาปลาป่นในประเทศแนวโน้มสูงขึ้นอีก
สัปดาห์นี้ราคาปลาป่นแนวโน้มสูงขึ้นอีก กล่าวคือ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% จากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน เป็นกิโลกรัมละ 26.50 บาท เพราะความต้องการใช้ปลาป่นในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลล่าร์สหรัฐ ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ปลาป่นนำเข้ามีต้นทุนสูงมาก โรงงานอาหารสัตว์จึงหันมาใช้ปลาป่นในประเทศมากขึ้น
สำหรับภาวะการผลิตปลาป่นของชิลี ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตปลาป่นที่สำคัญของโลก สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปี 1997 ผลผลิตปลาป่นของเปรูลดลง 20.1 เปอร์เซ็นต์ คือผลิตได้ 1.538 ล้านตัน ลดลงจากที่ผลิตได้ 1.925 ล้านตันในปีก่อน อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 8.3% คือปี 1997 ส่งออกได้ 884.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากที่ส่งออกได้ 816.19 ล้านเหรียญสหรัฐในปีก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.62 บาท เพิ่มขึ้นจาก 66.67 ของสัปดาห์ก่อน 1.05 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 446.00บาท ลดลงจาก 448.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 516.25 บาท เพิ่มขึ้นจาก 470.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 46.25 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.11 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.25 บาท ลดลงจาก 32.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.42 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.12 บาท ลดลงจาก 63.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.21 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.58 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท เพิ่มขึ้นจาก 25.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 9-15 ก.พ. 2541--
กรมประมงปิดอ่าว 3 เดือน ช่วงฤดูปลาวางไข่
กรมประมงสั่งปิดอ่าวไทย บริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เพื่อเปิดโอกาสให้ปลาทู ปลากะตัก และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงฤดูวางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ทั้งนี้ ระยะเวลา ปิดอ่าวมีกำหนด 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ - 16 พฤษภาคม ของทุกปี โดยกรมประมงห้ามจับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวด้วยเครื่องมือทำการประมงที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้แก่ อวนลากเดี่ยว อวนลากคู่ และอวนล้อมจับ เพราะการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงนี้ จะไปทำลายพันธุ์สัตว์น้ำให้สูญพันธุ์เร็วขึ้น
สำหรับชาวประมงที่เคยจับสัตว์น้ำในบริเวณ 3 จังหวัดดังกล่าว ให้เคลื่อนย้ายไปจับสัตว์น้ำในจังหวัดอื่น หรือหางานรองรับในช่วงเวลานี้แทน และกรมประมงได้ขอความร่วมมือชาวประมง ให้งดเว้นการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือที่ทางการกำหนดไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สัตว์น้ำในอ่าวไทยได้วางไข่แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (20-27 ม.ค.41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,063.57 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,353.41 ตัน สัตว์น้ำจืด 710.06 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.07 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.07 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.09 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 452.58 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.51 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ราคาปลาป่นในประเทศแนวโน้มสูงขึ้นอีก
สัปดาห์นี้ราคาปลาป่นแนวโน้มสูงขึ้นอีก กล่าวคือ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% จากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน เป็นกิโลกรัมละ 26.50 บาท เพราะความต้องการใช้ปลาป่นในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลล่าร์สหรัฐ ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ปลาป่นนำเข้ามีต้นทุนสูงมาก โรงงานอาหารสัตว์จึงหันมาใช้ปลาป่นในประเทศมากขึ้น
สำหรับภาวะการผลิตปลาป่นของชิลี ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตปลาป่นที่สำคัญของโลก สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปี 1997 ผลผลิตปลาป่นของเปรูลดลง 20.1 เปอร์เซ็นต์ คือผลิตได้ 1.538 ล้านตัน ลดลงจากที่ผลิตได้ 1.925 ล้านตันในปีก่อน อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 8.3% คือปี 1997 ส่งออกได้ 884.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากที่ส่งออกได้ 816.19 ล้านเหรียญสหรัฐในปีก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.62 บาท เพิ่มขึ้นจาก 66.67 ของสัปดาห์ก่อน 1.05 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 446.00บาท ลดลงจาก 448.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 516.25 บาท เพิ่มขึ้นจาก 470.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 46.25 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.11 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.25 บาท ลดลงจาก 32.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.42 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.12 บาท ลดลงจาก 63.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.21 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.58 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท เพิ่มขึ้นจาก 25.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 9-15 ก.พ. 2541--