ปัญหาที่กำลังสร้างความสับสนให้กับประชาชนอีกปัญหาหนึ่งที่น่าสน ใจคือปัญหา เรื่องค่าไฟฟ้า นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายก ในฐานะผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า
"เนื่องจากความสับสนที่ว่าจะขึ้นหรือไม่ขึ้นค่าไฟฟ้านั้นผมเรีย นอย่างตรงไปตรงมาว่ายังไม่มีนโยบายเรื่องการขึ้น ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างใหญ่ที่ใช้กันมาหลายปีแล้วก็ดี หรือสูตรของการปรับค่าเอฟที ที่ประชาชนนั้นเสียค่าไฟฟ้า เข้าใจว่าปัญหามันเกิดจากการให้สัมภาษณ์โดยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าบางท่านก็ด ี แล้วก็ไป โยงกับที่ตอนนี้การไฟฟ้ากำลังกู้เงิน 300 ล้านเหรียญ โดยคนเข้าใจว่าการกู้เงินอันนี้ซึ่งมีธนาคารโลกค้ำประกันนั้นมี เงื่อนไขว่าจะต้องขึ้นค่าไฟฟ้าด้วย กราบเรียนว่ายังไม่มีการปรับสูตรใด ๆ ทั้งสิ้นในการขึ้นค่าไฟฟ้าครับ และธนาคาร โลกเขาเคยมีเงื่อนไขว่าเราจะต้องดูแลการไฟฟ้าทั้ง 3 การไฟฟ้าให้มีสถานภาพการเงินที่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น ระดับหนี้ก็ดี หรือว่าจะเป็นระดับการลงทุนก็ดี เขาจะมีสูตรต่าง ๆ แต่สูตรพวกนี้ที่จะได้มาซึ่งมาตรฐานที่มีความมั่นคง นั้น ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องปรับค่าไฟฟ้าอย่างเดียว เราสามารถทำอย่างอื่นได้เพราะอาจจะทำให้มีสถานภาพมีความ มั่นคงของการไฟฟ้าเช่นเดียวกันนะครับ เพราะฉะนั้นไม่ได้มีการพูดในบันทึกช่วยจำที่ผมลงนามไว้หรือที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบว่าจะต้องมีการปรับค่าไฟฟ้าในการที่เราให้ธนาคารโลกค้ำป ระกันเงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีการวิ่งเต้นที่จะปรับค่าไฟ เพื่อที่จะเพิ่มรายได้เพิ่มกำไรที่จะเอามา จ่ายค่าโบนัสให้กับพนักงาน ผมเรียนอย่างนี้นะครับว่าการที่การไฟฟ้ามีหน้าที่ บริหารงานให้มีประสิทธิภาพนั้นก็เป็น หน้าที่ของเขา เขาก็มีหน้าที่ดูแลว่าฐานะการเงินของเขาอยู่ในภาพที่ดี ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่เราจะต้องการ ให้การไฟฟ้านั้นอยู่ในสภาพทางการเงิน ที่มั่นคง ตรงนี้ก็จะทำให้มีการลงทุนมีการผลิตมีการจำหน่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภ าพต่อไปในอนาคต แต่อาจจะถูกตีความ ไปว่าอยากจะได้รายรับเพิ่มเติมโดยไปขึ้นค่าไฟ เพื่อตัวเองจะได้โบนัส การตัดสินใจเรื่องขึ้นค่าไฟนี้ไม่ใช่เรื่องที่การ ไฟฟ้าจะตัดสินใจเองโดยลำพัง เรามีคณะกรรมการ และเป็นเรื่องที่ต้องเข้าสู่การพิจารณาส่วนรวม ดังนั้นตรงนี้ผมคิดว่า คงไม่ใช่ประเด็นหลักครับ
ผมเรียนว่าตอนนี้สืบเนื่องจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าเดิมได้ใช้มานาน แล้ว และก็ในขณะนี้ก็มีสูตรปรับค่าไฟฟ้าที่ เราเรียกว่าปรับค่าไฟอัตโนมัติ ที่เป็นเอฟที สามารถควบคุมเรื่องต่าง ๆ ได้ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ ตรงนี้ มันมีการดำเนินการยาวนานพอสมควรแล้ว ผมคิดว่าสูตรนี้มีความไม่เหมาะสม ผมคิดว่าโครงการอาจจะมีเปลี่ยนแปลง ไปจากที่ควรจะเป็นในอดีต จึงได้สั่งการให้มีการศึกษาโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่คำว่าศึกษาในประเด็นแรก ไม่ใช่ปรับ นะครับศึกษานี้อาจจะมีการเปลี่ยนขึ้นหรือเปลี่ยนลง หรืออยู่เหมือนเดิมหรือมีการปรับปรุงบางอย่างรวมทั้งสูตรด้วย ให้ทางสปช. คือสำนักงานนโยบายพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ใช้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือทั้ง 3 การไฟฟ้า แล้วก็จะมี คณะกรรมาการกำกับการศึกษานี้โดยจะมีนักวิชาการอิสระ แล้วก็ผู้แทนผู้บริโภคกับการศึกษานี้ด้วยครับ แล้วก็การศึกษา นี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 6 เดือนถึงจะแล้วเสร็จ ดังนั้นยังไม่มีการพิจารณาการตัดสินใจว่าจะขึ้นหรือจะลดหรือจะ ทำอะไรทั้งสิ้น ยังใช้โครงสร้างปัจจุบันอยู่ขณะนี้ครับ
ส่วนในเรื่องสูตรเอฟที ผมขออธิบายว่า คือสูตรค่าไฟฟ้าผันแปร จะมี 4 ตัวแปรหลักคือ อันที่ 1 คือราคาเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายในการซื้อเชื้อเพลิงมาจากต่างประเทศ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าของเราส่วนหนึ่งต้องใช้น้ำมันมาจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเราใช้น้ำ หรือ ลิกไนต์ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นต้น หรือแก๊สธรรมชาติในประเทศ อันที่ 2 ก็คือเรื่องภาษีมูลค่า เพิ่มในอดีตเราเสีย 7% ตอนนี้เราเปลี่ยนเป็น 10% ภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อันที่ 3 ก็คือโครงการ จัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ตรงนี้ก็เป็นตัวผันแปรเช่นเดียวกัน อันที่ 4 ก็คือเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจาก อัตราแลกเปลี่ยนเดิมประมาณ 25-26 บาท/1เหรียญ ขณะนี้ก็ประมาณ 40 บาท/เหรียญ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เค้าจะใช้ ตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงทุก 3 เดือนครั้ง เอามาคำนวณว่าค่าไฟฟ้าแปรตัวนี้ควรจะเป็นเท่าไหร่แล้วก็เอาตัวนี้มาปรับกั บค่า ไฟฟ้าของประชาชน ในอดีต 1-2 ปีก่อนตัวแปรตัวนี้มีประมาณสัก 10 สตางค์ ก็ไม่ค่อยมีความรู้สึกเท่าไร แต่ในระยะ ตอนหลังนี้อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนไปมาก เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนไปอะไรต่าง ๆ พวกนี้วันนี้ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับค่า ไฟฟ้าผันแปรตัวนี้ประมาณ 50 สตางค์/1 หน่วย หรือว่าเป็นการเพิ่มค่าไฟฟ้ามาก ตรงนี้เองผมคิดว่าส่วนตัวแล้วผมอยาก จะให้มีการทบทวนอย่างยิ่งเพราะว่าสมมุติฐานเดิมที่ใช้ตัวเลขสูตรผันแปรนั้ นมันเปลี่ยนไปมากนี้ตอนยังใช้กันอยู่นี้ ผมก็ได้สั่งการไปว่าเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้การไฟฟ้าสูญเสียนั้นมีห นี้เพิ่มเติม กับการที่มีหนี้ในอดีตตรงนี้น่าจะ มาทบทวนดูว่าควรจะเอามาใส่ตรง เอฟที หรือค่าไฟฟ้าผันแปรหรือเปล่าหรือควรที่จะพยายามไปบริหาร านทางการ ไฟฟ้าเอง เช่น ประการที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดค่าใช้จ่ายของเขาลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารการจัดการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติแล้วให้ลดค่าบริหารลงไปประมาณร้อยละ 5 ประการที่ 2 ดูว่าทรัพย์สินของการไฟฟ้าเองมีอะไร บ้างที่สามารถแปรออกมาเพื่อจะหารายรับเข้าสู่การไฟฟ้าแทนที่จะเป็นการหารา ยรับจากการขึ้นค่าไฟฟ้าจากประชาชน เป็นต้น แล้วก็ระยะยาวต่อไปเราพูดถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของการไฟฟ้าด้วยทั้ง 3 การไฟฟ้า ดังนั้นของพวกนี้เป็น เหตุและผลที่จะต้องมีการทบทวนสิ่งนี้อย่างแน่นอนครับ
ปัจจุบันนี้แนวทางที่เราให้ทางการไฟฟ้าไปศึกษาว่าทำอย่างไรที่จ ะลดภาระให้ประชาชน คือ ประการที่ 1 การ บริหารงานทั้ง 3 การไฟฟ้านั้นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพลดค่าใช้จ่าย มีแต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นดังนั้นมติครม.ก็คือว่าต้อง ลดค่าบริหารงานลงให้ได้ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งก็กำลังติดตามอยู่ขณะนี้ ประการที่ 2 เรื่องแผนลงทุนต่าง ๆ ของทั้ง 3 การไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต ระบบสายส่ง ระบบจำหน่ายต่าง ๆ ควรที่จะดูว่ามีอะไรบ้างที่จะไม่จำเป็นจะลงทุน ขณะนี้ หรือมีบทบาทที่จะให้เอกชนลงทุนได้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้การผลิตไฟฟ้าก็มีโครงการที่เขาเรียกว่า ไอพีพี ที่ สามารถให้เอกชนมาร่วมลงทุน แล้วก็ควรจะเน้นให้เอกชนสนับสนุนเอกชน ลงทุนให้ได้มากกว่าเป็นการลงทุนโดย การไฟฟ้า ตรงนี้ก็จะลดต้นทุนของเราได้บ้างนะครับ ประการที่ 3 ก็เป็นเรื่องที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า ทำอย่างไรถึงจะนำไปสู่การแปรรูปต่อไปครับ
ผมเรียนให้ทราบว่าวันที่ 16 ตุลาคมนี้ผมได้สั่งให้สำนักงานนโยบายแห่งชาติจัดประชาพิจารณ์เรื่องโครงสร ้างค่า ไฟฟ้า เรื่องสูตรปรับค่าไฟฟ้าปัจจุบันที่เราใช้แล้วก็จะมีการศึกษาโครงสร้างใหม่ ที่ไหนอย่างไร โดยเชิญประชาชน นักวิชาการส่วนราชการ 3 การไฟฟ้ามาพร้อมกันหมดประมาณสัก 200-300 คนเพื่อที่จะให้มีการพิจารณาว่า
ขณะนี้ สูตรต่าง ๆค่าไฟฟ้าที่เขาเขียนนั้นเป็นธรรมหรือไม่ควรจะปรับปรุงอย่างไรต่อไป วันที่ 16 ตุลาคมนี้นะครับ และทาง สปช.เขาก็จะประกาศสถานที่ท่านที่สนใจคนไหนจะมาฟัง หรือแสดงความคิดเห็นกรุณามาเลยครับ เพราะว่าตรงนี้จะ มีตัวแทนผู้บริโภคมาร่วมประชุมด้วยครับ."--จบ--
"เนื่องจากความสับสนที่ว่าจะขึ้นหรือไม่ขึ้นค่าไฟฟ้านั้นผมเรีย นอย่างตรงไปตรงมาว่ายังไม่มีนโยบายเรื่องการขึ้น ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างใหญ่ที่ใช้กันมาหลายปีแล้วก็ดี หรือสูตรของการปรับค่าเอฟที ที่ประชาชนนั้นเสียค่าไฟฟ้า เข้าใจว่าปัญหามันเกิดจากการให้สัมภาษณ์โดยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าบางท่านก็ด ี แล้วก็ไป โยงกับที่ตอนนี้การไฟฟ้ากำลังกู้เงิน 300 ล้านเหรียญ โดยคนเข้าใจว่าการกู้เงินอันนี้ซึ่งมีธนาคารโลกค้ำประกันนั้นมี เงื่อนไขว่าจะต้องขึ้นค่าไฟฟ้าด้วย กราบเรียนว่ายังไม่มีการปรับสูตรใด ๆ ทั้งสิ้นในการขึ้นค่าไฟฟ้าครับ และธนาคาร โลกเขาเคยมีเงื่อนไขว่าเราจะต้องดูแลการไฟฟ้าทั้ง 3 การไฟฟ้าให้มีสถานภาพการเงินที่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น ระดับหนี้ก็ดี หรือว่าจะเป็นระดับการลงทุนก็ดี เขาจะมีสูตรต่าง ๆ แต่สูตรพวกนี้ที่จะได้มาซึ่งมาตรฐานที่มีความมั่นคง นั้น ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องปรับค่าไฟฟ้าอย่างเดียว เราสามารถทำอย่างอื่นได้เพราะอาจจะทำให้มีสถานภาพมีความ มั่นคงของการไฟฟ้าเช่นเดียวกันนะครับ เพราะฉะนั้นไม่ได้มีการพูดในบันทึกช่วยจำที่ผมลงนามไว้หรือที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบว่าจะต้องมีการปรับค่าไฟฟ้าในการที่เราให้ธนาคารโลกค้ำป ระกันเงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีการวิ่งเต้นที่จะปรับค่าไฟ เพื่อที่จะเพิ่มรายได้เพิ่มกำไรที่จะเอามา จ่ายค่าโบนัสให้กับพนักงาน ผมเรียนอย่างนี้นะครับว่าการที่การไฟฟ้ามีหน้าที่ บริหารงานให้มีประสิทธิภาพนั้นก็เป็น หน้าที่ของเขา เขาก็มีหน้าที่ดูแลว่าฐานะการเงินของเขาอยู่ในภาพที่ดี ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่เราจะต้องการ ให้การไฟฟ้านั้นอยู่ในสภาพทางการเงิน ที่มั่นคง ตรงนี้ก็จะทำให้มีการลงทุนมีการผลิตมีการจำหน่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภ าพต่อไปในอนาคต แต่อาจจะถูกตีความ ไปว่าอยากจะได้รายรับเพิ่มเติมโดยไปขึ้นค่าไฟ เพื่อตัวเองจะได้โบนัส การตัดสินใจเรื่องขึ้นค่าไฟนี้ไม่ใช่เรื่องที่การ ไฟฟ้าจะตัดสินใจเองโดยลำพัง เรามีคณะกรรมการ และเป็นเรื่องที่ต้องเข้าสู่การพิจารณาส่วนรวม ดังนั้นตรงนี้ผมคิดว่า คงไม่ใช่ประเด็นหลักครับ
ผมเรียนว่าตอนนี้สืบเนื่องจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าเดิมได้ใช้มานาน แล้ว และก็ในขณะนี้ก็มีสูตรปรับค่าไฟฟ้าที่ เราเรียกว่าปรับค่าไฟอัตโนมัติ ที่เป็นเอฟที สามารถควบคุมเรื่องต่าง ๆ ได้ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ ตรงนี้ มันมีการดำเนินการยาวนานพอสมควรแล้ว ผมคิดว่าสูตรนี้มีความไม่เหมาะสม ผมคิดว่าโครงการอาจจะมีเปลี่ยนแปลง ไปจากที่ควรจะเป็นในอดีต จึงได้สั่งการให้มีการศึกษาโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่คำว่าศึกษาในประเด็นแรก ไม่ใช่ปรับ นะครับศึกษานี้อาจจะมีการเปลี่ยนขึ้นหรือเปลี่ยนลง หรืออยู่เหมือนเดิมหรือมีการปรับปรุงบางอย่างรวมทั้งสูตรด้วย ให้ทางสปช. คือสำนักงานนโยบายพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ใช้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือทั้ง 3 การไฟฟ้า แล้วก็จะมี คณะกรรมาการกำกับการศึกษานี้โดยจะมีนักวิชาการอิสระ แล้วก็ผู้แทนผู้บริโภคกับการศึกษานี้ด้วยครับ แล้วก็การศึกษา นี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 6 เดือนถึงจะแล้วเสร็จ ดังนั้นยังไม่มีการพิจารณาการตัดสินใจว่าจะขึ้นหรือจะลดหรือจะ ทำอะไรทั้งสิ้น ยังใช้โครงสร้างปัจจุบันอยู่ขณะนี้ครับ
ส่วนในเรื่องสูตรเอฟที ผมขออธิบายว่า คือสูตรค่าไฟฟ้าผันแปร จะมี 4 ตัวแปรหลักคือ อันที่ 1 คือราคาเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายในการซื้อเชื้อเพลิงมาจากต่างประเทศ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าของเราส่วนหนึ่งต้องใช้น้ำมันมาจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเราใช้น้ำ หรือ ลิกไนต์ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นต้น หรือแก๊สธรรมชาติในประเทศ อันที่ 2 ก็คือเรื่องภาษีมูลค่า เพิ่มในอดีตเราเสีย 7% ตอนนี้เราเปลี่ยนเป็น 10% ภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อันที่ 3 ก็คือโครงการ จัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ตรงนี้ก็เป็นตัวผันแปรเช่นเดียวกัน อันที่ 4 ก็คือเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจาก อัตราแลกเปลี่ยนเดิมประมาณ 25-26 บาท/1เหรียญ ขณะนี้ก็ประมาณ 40 บาท/เหรียญ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เค้าจะใช้ ตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงทุก 3 เดือนครั้ง เอามาคำนวณว่าค่าไฟฟ้าแปรตัวนี้ควรจะเป็นเท่าไหร่แล้วก็เอาตัวนี้มาปรับกั บค่า ไฟฟ้าของประชาชน ในอดีต 1-2 ปีก่อนตัวแปรตัวนี้มีประมาณสัก 10 สตางค์ ก็ไม่ค่อยมีความรู้สึกเท่าไร แต่ในระยะ ตอนหลังนี้อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนไปมาก เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนไปอะไรต่าง ๆ พวกนี้วันนี้ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับค่า ไฟฟ้าผันแปรตัวนี้ประมาณ 50 สตางค์/1 หน่วย หรือว่าเป็นการเพิ่มค่าไฟฟ้ามาก ตรงนี้เองผมคิดว่าส่วนตัวแล้วผมอยาก จะให้มีการทบทวนอย่างยิ่งเพราะว่าสมมุติฐานเดิมที่ใช้ตัวเลขสูตรผันแปรนั้ นมันเปลี่ยนไปมากนี้ตอนยังใช้กันอยู่นี้ ผมก็ได้สั่งการไปว่าเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้การไฟฟ้าสูญเสียนั้นมีห นี้เพิ่มเติม กับการที่มีหนี้ในอดีตตรงนี้น่าจะ มาทบทวนดูว่าควรจะเอามาใส่ตรง เอฟที หรือค่าไฟฟ้าผันแปรหรือเปล่าหรือควรที่จะพยายามไปบริหาร านทางการ ไฟฟ้าเอง เช่น ประการที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดค่าใช้จ่ายของเขาลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารการจัดการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติแล้วให้ลดค่าบริหารลงไปประมาณร้อยละ 5 ประการที่ 2 ดูว่าทรัพย์สินของการไฟฟ้าเองมีอะไร บ้างที่สามารถแปรออกมาเพื่อจะหารายรับเข้าสู่การไฟฟ้าแทนที่จะเป็นการหารา ยรับจากการขึ้นค่าไฟฟ้าจากประชาชน เป็นต้น แล้วก็ระยะยาวต่อไปเราพูดถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของการไฟฟ้าด้วยทั้ง 3 การไฟฟ้า ดังนั้นของพวกนี้เป็น เหตุและผลที่จะต้องมีการทบทวนสิ่งนี้อย่างแน่นอนครับ
ปัจจุบันนี้แนวทางที่เราให้ทางการไฟฟ้าไปศึกษาว่าทำอย่างไรที่จ ะลดภาระให้ประชาชน คือ ประการที่ 1 การ บริหารงานทั้ง 3 การไฟฟ้านั้นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพลดค่าใช้จ่าย มีแต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นดังนั้นมติครม.ก็คือว่าต้อง ลดค่าบริหารงานลงให้ได้ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งก็กำลังติดตามอยู่ขณะนี้ ประการที่ 2 เรื่องแผนลงทุนต่าง ๆ ของทั้ง 3 การไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต ระบบสายส่ง ระบบจำหน่ายต่าง ๆ ควรที่จะดูว่ามีอะไรบ้างที่จะไม่จำเป็นจะลงทุน ขณะนี้ หรือมีบทบาทที่จะให้เอกชนลงทุนได้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้การผลิตไฟฟ้าก็มีโครงการที่เขาเรียกว่า ไอพีพี ที่ สามารถให้เอกชนมาร่วมลงทุน แล้วก็ควรจะเน้นให้เอกชนสนับสนุนเอกชน ลงทุนให้ได้มากกว่าเป็นการลงทุนโดย การไฟฟ้า ตรงนี้ก็จะลดต้นทุนของเราได้บ้างนะครับ ประการที่ 3 ก็เป็นเรื่องที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า ทำอย่างไรถึงจะนำไปสู่การแปรรูปต่อไปครับ
ผมเรียนให้ทราบว่าวันที่ 16 ตุลาคมนี้ผมได้สั่งให้สำนักงานนโยบายแห่งชาติจัดประชาพิจารณ์เรื่องโครงสร ้างค่า ไฟฟ้า เรื่องสูตรปรับค่าไฟฟ้าปัจจุบันที่เราใช้แล้วก็จะมีการศึกษาโครงสร้างใหม่ ที่ไหนอย่างไร โดยเชิญประชาชน นักวิชาการส่วนราชการ 3 การไฟฟ้ามาพร้อมกันหมดประมาณสัก 200-300 คนเพื่อที่จะให้มีการพิจารณาว่า
ขณะนี้ สูตรต่าง ๆค่าไฟฟ้าที่เขาเขียนนั้นเป็นธรรมหรือไม่ควรจะปรับปรุงอย่างไรต่อไป วันที่ 16 ตุลาคมนี้นะครับ และทาง สปช.เขาก็จะประกาศสถานที่ท่านที่สนใจคนไหนจะมาฟัง หรือแสดงความคิดเห็นกรุณามาเลยครับ เพราะว่าตรงนี้จะ มีตัวแทนผู้บริโภคมาร่วมประชุมด้วยครับ."--จบ--