วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรค ประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับ กรรมาธิการฯ ขอเสนอให้รัฐบาลทบทวนการนำบริษัท กฟผ. จำกัด เข้าตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากความไม่พร้อมของกฎกติกาและกลไกต่าง ๆ ในกิจการไฟฟ้าของประเทศ และเสนอบัญญัติ ๑๐ ประการ ก่อนขายหุ้น กฟผ. ดังนี้คือ
๑. เร่งออกกฎหมายกำกับกิจการไฟฟ้า และจัดตั้งองค์กรอิสระกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า
ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
๒. ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าทั้งระบบ แยกแยะทรัพย์สินและกิจการที่ผูกขาดออกจาก
กิจการที่สามารถให้มีการแข่งขันกันได้ ส่วนระบบผลิตและกิจการค้าปลีกควรเปิดให้แข่งขันอย่างเสรี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดการลงทุนของภาครัฐ
๓. ขจัดเงื่อนไขที่ทำให้ กฟผ. ผูกขาด รวมทั้งยกเลิกเงื่อนไขที่ให้ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าร้อยละ
๕๐ ของความต้องการไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใหม่ ควรปล่อยให้ผู้ที่ผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าเป็นผู้ผลิต
๔. แตก กฟผ. ออกเป็นหลายบริษัท เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันในระบบผลิตไฟฟ้ามากขึ้น
๕. กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการถือหุ้นไขว้ในธุรกิจๆไฟฟ้า อันจะนำมาสู่การกำหนด
นโยบายที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และป้องกันการร่วมมือกันของกิจการค้าปลีกไฟฟ้าในการกำหนดราคาที่
ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
๖. ยกเลิกเกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน เพื่อทำให้กิจการไฟฟ้าที่กระจายหุ้น
ให้เอกชนและประชาชนไปแล้ว ต้องพัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง โดยรัฐไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง
๗. ยกเลิกเงื่อนไขที่ทำให้ กฟผ. ต้องรับซื้อก๊าซจาก ปตท. แต่เพียงรายเดียว เพื่อยกเลิก
การผูกขาดของ ปตท. ที่มีต่อ กฟผ.
๘. สร้างหลักประกันความมั่นคงในระบบไฟฟ้า โดยกำหนดให้บริษัทเอกชนที่ผลิตไฟฟ้า
ทุกแห่งตั้งสำรองไฟฟ้าด้วย
๙. อนุญาตให้รัฐมีอำนาจเข้าแทรกแซงกิจการไฟฟ้า ในกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งให้สิทธิรัฐในการซื้อคืนกิจการพลังงานจากเอกชนในราคาที่
เป็นธรรม
๑๐. จัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อดึงกำไรของกิจการไฟฟ้ามาลงทุนขยายโครงข่าย
กิจการไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทห่างไกล
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า อยากเห็นรัฐบาลชะลอการนำ กฟผ. เข้าตลาดหุ้น โดย
พิจารณาเงื่อนไขอย่างรอบคอบ
-----------------------------------------
๑. เร่งออกกฎหมายกำกับกิจการไฟฟ้า และจัดตั้งองค์กรอิสระกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า
ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
๒. ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าทั้งระบบ แยกแยะทรัพย์สินและกิจการที่ผูกขาดออกจาก
กิจการที่สามารถให้มีการแข่งขันกันได้ ส่วนระบบผลิตและกิจการค้าปลีกควรเปิดให้แข่งขันอย่างเสรี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดการลงทุนของภาครัฐ
๓. ขจัดเงื่อนไขที่ทำให้ กฟผ. ผูกขาด รวมทั้งยกเลิกเงื่อนไขที่ให้ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าร้อยละ
๕๐ ของความต้องการไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใหม่ ควรปล่อยให้ผู้ที่ผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าเป็นผู้ผลิต
๔. แตก กฟผ. ออกเป็นหลายบริษัท เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันในระบบผลิตไฟฟ้ามากขึ้น
๕. กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการถือหุ้นไขว้ในธุรกิจๆไฟฟ้า อันจะนำมาสู่การกำหนด
นโยบายที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และป้องกันการร่วมมือกันของกิจการค้าปลีกไฟฟ้าในการกำหนดราคาที่
ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
๖. ยกเลิกเกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน เพื่อทำให้กิจการไฟฟ้าที่กระจายหุ้น
ให้เอกชนและประชาชนไปแล้ว ต้องพัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง โดยรัฐไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง
๗. ยกเลิกเงื่อนไขที่ทำให้ กฟผ. ต้องรับซื้อก๊าซจาก ปตท. แต่เพียงรายเดียว เพื่อยกเลิก
การผูกขาดของ ปตท. ที่มีต่อ กฟผ.
๘. สร้างหลักประกันความมั่นคงในระบบไฟฟ้า โดยกำหนดให้บริษัทเอกชนที่ผลิตไฟฟ้า
ทุกแห่งตั้งสำรองไฟฟ้าด้วย
๙. อนุญาตให้รัฐมีอำนาจเข้าแทรกแซงกิจการไฟฟ้า ในกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งให้สิทธิรัฐในการซื้อคืนกิจการพลังงานจากเอกชนในราคาที่
เป็นธรรม
๑๐. จัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อดึงกำไรของกิจการไฟฟ้ามาลงทุนขยายโครงข่าย
กิจการไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทห่างไกล
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า อยากเห็นรัฐบาลชะลอการนำ กฟผ. เข้าตลาดหุ้น โดย
พิจารณาเงื่อนไขอย่างรอบคอบ
-----------------------------------------