1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (22-28 ก.พ. 41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,741.61 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 968.14 ตัน สัตว์น้ำจืด 773.47 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.43 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.29 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.47 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 286.75 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.36 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
สินค้าประมงส่งออกไปอียูลดลง สาเหตุจากถูกตัดสิทธิ GSP ร้อยละ 50
สืบเนื่องจากการที่สหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิ GSP สินค้าเกษตรไทยร้อยละ 50 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 ทำให้กลุ่มสินค้าประมงที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วย กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งกระป๋อง ปูกระป๋อง ได้รับผลกระทบดังนี้
(1) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเมื่อถูกตัดสิทธิ GSP ต้องเสียภาษีสูงถึงร้อยละ 9.7 ในขณะที่ประเทศคู่แข่งคือ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน ศรีลังกา และจีน ได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีนำเข้าอียูเพียงร้อยละ 5 ราคากุ้งสดของประเทศเหล่านี้จึงถูกกว่าของไทยและส่งผลให้การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไยไปอียูปี 2540 มีปริมาณ 13,383 ตัน มูลค่า 3,865 ล้านบาท ลดลงจากที่ส่งออกได้ 18,195 ตัน มูลค่า 4,232 ล้านบาท ในปี 2539 ร้อยละ 26.45 และ 8.67 ตามลำดับ
(2) กุ้งปรุงแต่งหรือกุ้งกระป๋อง เมื่อถูกตัดสิทธิ GSP ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.5 ขณะที่ประเทศคู่แข่งคือ อินโดนีเซียได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีนำเข้าอียูเพียงร้อยละ 4.2-5.0 ทำให้การส่งออกของไทยไปอียูปี 2540 มีปริมาณ 9,155 ตัน มูลค่า 2,247.63 เทียบกับปี 2539 ปริมาณลดลงร้อยละ 13.07 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.73
(3) ปูกระป๋อง ไทยต้องเสียภาษีอัตราร้อยละ 7.6 ในขณะที่คู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีน้ำมันเข้าอียูร้อยละ 3.9 ส่งผลให้ปี 2540 ไทยส่งออกไปอียูปริมาณ 2,931 ตัน มูลค่า 569.59 ล้านบาท ปริมาณลดลงจากที่ส่งออกได้ปี 2540 ร้อยละ 8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.75
อย่างไรก็ตาม จากการที่สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากอินเดีย บังคลาเทศ และมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540 เป็นต้นมา ทำให้สหภาพยุโรปต้องหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสที่จะทำให้การส่งออกสินค้าประมงของยุบางรายการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ดังกล่าว เช่น ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็งและปลาอื่นๆ ปรุงแต่งที่บดแล้ว ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกในปีนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกของไทยจะต้องคำนึงถึงก็คือ มาตรฐาน คุณภาพสินค้า และความสะอาดถูกสุขลักษณะ ทั้งนี้เนื่องจากสหภาพยุโรปค่อนข้างเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากเอเซีย โดยเฉพาะสินค้าประมง ซึ่งทำให้ตรวจพบเชื้อโรคและข้อบกพร่องเพิ่มขึ้น และอาจจะใช้เป็นข้ออ้างในการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท ลดลง จาก 35.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจาก 61.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.75 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 424.00บาท ลดลงจาก 430.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 625.00 บาท สูงขึ้นจาก 614.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.71 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.25 บาท สูงขึ้นจาก 21.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท สูงขึ้นจาก 27.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.64 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจาก 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจาก 61.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.48 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.86 บาท ลดลงจาก 23.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.04 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 2-8 มี.ค. 2541--
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (22-28 ก.พ. 41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,741.61 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 968.14 ตัน สัตว์น้ำจืด 773.47 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.43 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.29 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.47 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 286.75 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.36 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
สินค้าประมงส่งออกไปอียูลดลง สาเหตุจากถูกตัดสิทธิ GSP ร้อยละ 50
สืบเนื่องจากการที่สหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิ GSP สินค้าเกษตรไทยร้อยละ 50 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 ทำให้กลุ่มสินค้าประมงที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วย กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งกระป๋อง ปูกระป๋อง ได้รับผลกระทบดังนี้
(1) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเมื่อถูกตัดสิทธิ GSP ต้องเสียภาษีสูงถึงร้อยละ 9.7 ในขณะที่ประเทศคู่แข่งคือ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน ศรีลังกา และจีน ได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีนำเข้าอียูเพียงร้อยละ 5 ราคากุ้งสดของประเทศเหล่านี้จึงถูกกว่าของไทยและส่งผลให้การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไยไปอียูปี 2540 มีปริมาณ 13,383 ตัน มูลค่า 3,865 ล้านบาท ลดลงจากที่ส่งออกได้ 18,195 ตัน มูลค่า 4,232 ล้านบาท ในปี 2539 ร้อยละ 26.45 และ 8.67 ตามลำดับ
(2) กุ้งปรุงแต่งหรือกุ้งกระป๋อง เมื่อถูกตัดสิทธิ GSP ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.5 ขณะที่ประเทศคู่แข่งคือ อินโดนีเซียได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีนำเข้าอียูเพียงร้อยละ 4.2-5.0 ทำให้การส่งออกของไทยไปอียูปี 2540 มีปริมาณ 9,155 ตัน มูลค่า 2,247.63 เทียบกับปี 2539 ปริมาณลดลงร้อยละ 13.07 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.73
(3) ปูกระป๋อง ไทยต้องเสียภาษีอัตราร้อยละ 7.6 ในขณะที่คู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีน้ำมันเข้าอียูร้อยละ 3.9 ส่งผลให้ปี 2540 ไทยส่งออกไปอียูปริมาณ 2,931 ตัน มูลค่า 569.59 ล้านบาท ปริมาณลดลงจากที่ส่งออกได้ปี 2540 ร้อยละ 8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.75
อย่างไรก็ตาม จากการที่สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากอินเดีย บังคลาเทศ และมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540 เป็นต้นมา ทำให้สหภาพยุโรปต้องหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสที่จะทำให้การส่งออกสินค้าประมงของยุบางรายการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ดังกล่าว เช่น ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็งและปลาอื่นๆ ปรุงแต่งที่บดแล้ว ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกในปีนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกของไทยจะต้องคำนึงถึงก็คือ มาตรฐาน คุณภาพสินค้า และความสะอาดถูกสุขลักษณะ ทั้งนี้เนื่องจากสหภาพยุโรปค่อนข้างเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากเอเซีย โดยเฉพาะสินค้าประมง ซึ่งทำให้ตรวจพบเชื้อโรคและข้อบกพร่องเพิ่มขึ้น และอาจจะใช้เป็นข้ออ้างในการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท ลดลง จาก 35.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจาก 61.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.75 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 424.00บาท ลดลงจาก 430.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 625.00 บาท สูงขึ้นจาก 614.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.71 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.25 บาท สูงขึ้นจาก 21.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท สูงขึ้นจาก 27.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.64 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจาก 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจาก 61.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.48 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.86 บาท ลดลงจาก 23.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.04 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 2-8 มี.ค. 2541--