ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธ.พาณิชย์เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบัน
การเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ธ.พาณิชย์ปรับดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นในช่วงนี้น่าจะมาจากการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ย
จะสูงขึ้นในระยะยาว จึงรีบขึ้นดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อเป็นการล็อกต้นทุนระยะยาวของธนาคารไม่ให้สูงขึ้น ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าสภาพคล่องในระบบเริ่มลดลงไปแล้ว และเชื่อว่าดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์จะปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน ส่วน
จะเพิ่มเร็วและมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร ทั้งนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวขึ้นเป็น
ผลดีกับผู้ฝากเงินและทำให้การออมในระบบเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางนโยบายการเงินของ ธปท. ในขณะนี้
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่ได้มีการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวไปบ้างแล้ว และคาดว่าภาวะการแข่งขันด้านเงินฝากระยะสั้นจะรุนแรงมากในช่วง 1-2
ปีนับจากนี้ ซึ่งที่ผ่านมา ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่ได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
นิติบุคคลเท่านั้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ต่างชาติลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ธปท. เปิดเผยรายงานสถิติเศรษฐกิจ
และการเงินว่า มูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ถือโดยนักลงทุนต่างชาติ และฝาก
สินทรัพย์ไว้กับผู้ดูแลทรัพย์สิน มียอดคงค้าง ณ เดือน ธ.ค.47 จำนวน 1,163.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 46
ถึง 145.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.3 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ
อย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนเพิ่มในตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ยอดคงค้างส่วนที่เป็นตราสารทุน
ของนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนร้อยละ 24.5 หรือ 1 ใน 4 ของมูลค่าตามราคาตลาดไทยในปี 47 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้ง
สิ้น 4,521.9 พันล้านบาท ในขณะที่ ยอดคงค้างส่วนที่เป็นตราสารหนี้มีมูลค่า 48.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
20 ของมูลค่าตลาดตราสารหนี้ไทย มีมูลค่ารวม 2,402.3 พันล้านบาท ซึ่งหากจำแนกเงินลงทุนจะพบว่าเป็นเงินลง
ทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 115.3 พันล้านบาท แยกเป็นภาคธนาคาร 46.9 พันล้านบาท เงินลงทุนโดยตรงใน
ธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร 68.4 พันล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 66.4 พันล้านบาท และหุ้นปุริมสิทธิ 2 พันล้าน
บาท อย่างไรก็ดี จำนวนยอดคงค้าง 1,163.6 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตราสารทุนคิดเป็นร้อยละ
95.1 ลงทุนในตราสารหนี้ร้อยละ 4.1 และลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทางการเงินร้อยละ 0.8 โดยประเทศที่ส่ง
เงินเข้ามาลงทุนมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร ร้อยละ 44.5 สิงคโปร์ ร้อยละ 20.6 และ สรอ. ร้อยละ
18.1 โดยเป็นการลงทุนในสถาบันการเงิน ร้อยละ 32.4 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 18.9 และอสังหาริมทรัพย์
ร้อยละ 7.4 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่า ธ.กลาง สรอ. จะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์
เรื่อง “อัตราดอกเบี้ย Fed Funds คงจะขยับขึ้นเป็นร้อยละ 3.50 ในการประชุมวันที่ 9 ส.ค.” ว่า จากตัวเลข
เศรษฐกิจสำคัญของ สรอ. ที่ประกาศออกมาในเดือน ก.ค. ถึงต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ได้สะท้อนภาพเศรษฐกิจ
สรอ. ว่ายังขยายตัว ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าในวันที่ 9 ส.ค.นี้ เฟดคงจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ
0.25 จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.50 รวมทั้งมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องไปที่ระดับร้อยละ
4.00 ในปลายปีนี้เป็นอย่างน้อย ซึ่งหากเฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 จะส่งผลให้ผลต่างดอกเบี้ย
ระหว่าง สรอ. และไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1 ทำให้คาดว่า ธปท. จะพิจารณาปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 7 ก.ย.นี้ เพื่อสกัดกั้นแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเร่งสูงขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ทั่วไปของไทยอาจมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 5.0 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 3.3 ใน
ช่วงครึ่งแรกของปี (มติชน, ผจก.รายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าการกำหนดสัดส่วนให้ ธ.พาณิชย์ลงทุนในกองทุนรวมจะเสร็จทันในเดือนนี้ นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการกำหนดสัดส่วนให้ ธ.
พาณิชย์ลงทุนในกองทุนรวมว่า ขณะนี้เตรียมข้อกำหนดต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงเขียนร่างเพื่อทำประกาศ
เท่านั้น หากไม่มีปัญหาอะไรภายในสิ้นเดือนนี้ข้อกำหนดคงจะเสร็จทัน ส่วนกรณีที่ บง.ทิสโก้ ได้ยกระดับเป็น
ธนาคารทิสโก้ไปแล้วเมื่อต้นเดือน ก.ค.ว่า คงไม่ต้องเข้าไปดูแลอะไรเป็นพิเศษ เพราะก่อนที่จะยกระดับเป็น ธ.
พาณิชย์ ธ.ทิสโก้ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องส่งรายงานต่าง ๆ ให้ ธปท.
เช่นเดียวกับ ธ.พาณิชย์อื่นตามตารางเวลาปกติ และ ธปท. ก็จะเข้าไปตรวจตามปกติไม่จำเป็นต้องรีบเข้าไป
ก่อน ส่วนกรณีที่ บ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ วางแผนไว้ว่าเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารจะให้บริการสิน
เชื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 90 ว่า ไม่น่าวิตกเรื่องการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าบริษัทในเครือตัวเองมากเกินไป เพราะ
การปล่อยสินเชื่อต้องเป็นตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด อนึ่ง มีรายงานข่าวจาก ธปท.ว่า ธปท. ได้ออกหนังสือ
เวียนไปยัง ธ.พาณิชย์ทำความเข้าใจถึงการปรับปรุงประกาศเกณฑ์การให้สินเชื่อหรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์
เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของ ธ.พาณิชย์ เพื่อกำหนดแนวทางรองรับไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน
งานของสถาบันการเงิน (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 2.0-2.5 ขณะที่คาดว่ายอดขาย
ปลีกครึ่งหลังของปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 9 ส.ค.48 บริษัทวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของจีน
คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือน ส.ค. และ ก.ย.48 จะลดลงต่อเนื่องก่อนที่จะกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น
อีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 48 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.0-2.5 หลังจากที่
ในปี 47 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 39 แต่ก็ผ่อนคลายลงในปีนี้ โดย
เฉพาะเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ The Economic
Daily อ้างถึงตัวเลขของ The State Information Centre ที่รายงานว่ายอดขายปลีกในครึ่งหลังของปี 48
จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ในปี 47 และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.9 ในเดือน มิ.ย.48 อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดขายปลีกยังคงอยู่ใน
ระดับที่สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์ของรัฐบาลส่วนใหญ่ประมาณการไว้ ทั้งนี้ สำนักงานสถิติจีนจะเปิดเผยข้อมูล
ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือน ก.ค.48 ในสัปดาห์นี้ ส่วนตัวเลขยอดการขายปลีกจะรายงานในสัปดาห์ถัดไป
(รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 รายงานจากกัวลา
ลัมเปอร์เมื่อ 8 ส.ค.48 ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ สัปดาห์ล่าสุด
สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ค.48 มีจำนวน 78.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากจำนวน 75.2 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 15 ก.ค.48 โดย 2 ใน 3 ของเงินทุนไหลเข้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ดัง
กล่าวข้างต้นเกิดขึ้นในช่วงเวลา 1 วันหลังการประกาศเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากแบบคงที่ที่ 3.8 ริงกิต
ต่อดอลลาร์ สรอ.เป็นแบบลอยตัวที่จัดการได้ (managed float) ในวันที่ 21 ก.ค.48 หลังจากวันดังกล่าว
ปริมาณเงินทุนไหลเข้าออกก็กลับสู่ภาวะปรกติ โดยเงินทุนไหลเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการค้าระหว่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนของชาวต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ โดยทุนสำรองมีจำนวนเพียงพอ
สำหรับรองรับปริมาณนำเข้าเป็นเวลา 9 เดือนและเป็น 7.6 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (รอยเตอร์)
3.นรม.สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 48 เป็นระหว่าง
ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 8 ส.ค.48 นรม.สิงคโปร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์เนื่อง
ในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการประกาศอิสรภาพของประเทศว่าเขาคาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปีนี้จะขยายตัว
ระหว่างร้อยละ 3.5 ถึง 4.5 เพิ่มขึ้นจากประมาณการก่อนหน้าซึ่งคาดไว้ที่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 4.5 ต่อปี
หลังจากเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี อันเป็นผลจากเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 12.3 ต่อปีใน
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้หลังจากหดตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าสินค้าเทคโนโลยีซึ่งเป็นสินค้าส่ง
ออกสำคัญของสิงคโปร์จะฟื้นตัวในครึ่งหลังของปีนี้จากความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนถึงเทศกาล
คริสต์มาสและปีใหม่และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รัฐบาลมีกำหนดจะประกาศตัวเลขอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับไตรมาสที่ 2 ปีนี้ในวันที่ 10 ส.ค.48 นี้ เวลา 8.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
4.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือนก.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับ 95.2 รายงานจากโซล
เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 48 รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยว่า consumer expectation index ซึ่งชี้วัดความเชื่อมั่นผู้
บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือนก.ค. ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 95.2 ดัชนีดังกล่าวเมื่อเดือนมี.
ค.เคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง แต่หลังจากนั้นได้ลดต่ำลงโดยลำดับและอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ซึ่งเป็น
ระดับเส้นแบ่งระหว่างความคาดหวังด้านบวกและความคาดหวังด้านลบตั้งแต่เดือนพ.ค. โดยระดับที่ต่ำกว่า 100
หมายถึงผู้บริโภคคาดว่าเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพจะเลวลงในระยะ 6 เดือนข้างหน้า แต่หากดัชนีความ
เชื่อมั่นสูงกว่า 100 หมายถึงเศรษฐกิจจะดีขึ้น ทั้งนี้ consumer expectation index ในเดือนก.ค. ยังคงอยู่
ในระดับใกล้เคียงกับเดือนมิ.ย. แสดงว่าผู้บริโภคมิได้คาดว่าเศรษฐกิจจะเลวลงไปกว่านี้อีก แม้ว่าราคาน้ำมันที่ทำ
สถิติสูงสุดจะเพิ่มแรงกดดันแต่อุปสงค์ในประเทศยังคงมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามนัก
เศรษฐศาสตร์ยังมีความเห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังไม่รวดเร็วพอ อนึ่งธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 3.8 ลดลงจากร้อยละ 4.6 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ส.ค. 48 8 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.214 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0389/41.3226 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.80681 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.32/ 11.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,450/8,550 8,500/8,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.71 54.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.59** 25.74*/22.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเลด 40 สตางค์เมื่อ 30 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธ.พาณิชย์เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบัน
การเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ธ.พาณิชย์ปรับดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นในช่วงนี้น่าจะมาจากการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ย
จะสูงขึ้นในระยะยาว จึงรีบขึ้นดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อเป็นการล็อกต้นทุนระยะยาวของธนาคารไม่ให้สูงขึ้น ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าสภาพคล่องในระบบเริ่มลดลงไปแล้ว และเชื่อว่าดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์จะปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน ส่วน
จะเพิ่มเร็วและมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร ทั้งนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวขึ้นเป็น
ผลดีกับผู้ฝากเงินและทำให้การออมในระบบเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางนโยบายการเงินของ ธปท. ในขณะนี้
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่ได้มีการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวไปบ้างแล้ว และคาดว่าภาวะการแข่งขันด้านเงินฝากระยะสั้นจะรุนแรงมากในช่วง 1-2
ปีนับจากนี้ ซึ่งที่ผ่านมา ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่ได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
นิติบุคคลเท่านั้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ต่างชาติลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ธปท. เปิดเผยรายงานสถิติเศรษฐกิจ
และการเงินว่า มูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ถือโดยนักลงทุนต่างชาติ และฝาก
สินทรัพย์ไว้กับผู้ดูแลทรัพย์สิน มียอดคงค้าง ณ เดือน ธ.ค.47 จำนวน 1,163.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 46
ถึง 145.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.3 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ
อย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนเพิ่มในตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ยอดคงค้างส่วนที่เป็นตราสารทุน
ของนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนร้อยละ 24.5 หรือ 1 ใน 4 ของมูลค่าตามราคาตลาดไทยในปี 47 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้ง
สิ้น 4,521.9 พันล้านบาท ในขณะที่ ยอดคงค้างส่วนที่เป็นตราสารหนี้มีมูลค่า 48.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
20 ของมูลค่าตลาดตราสารหนี้ไทย มีมูลค่ารวม 2,402.3 พันล้านบาท ซึ่งหากจำแนกเงินลงทุนจะพบว่าเป็นเงินลง
ทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 115.3 พันล้านบาท แยกเป็นภาคธนาคาร 46.9 พันล้านบาท เงินลงทุนโดยตรงใน
ธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร 68.4 พันล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 66.4 พันล้านบาท และหุ้นปุริมสิทธิ 2 พันล้าน
บาท อย่างไรก็ดี จำนวนยอดคงค้าง 1,163.6 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตราสารทุนคิดเป็นร้อยละ
95.1 ลงทุนในตราสารหนี้ร้อยละ 4.1 และลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทางการเงินร้อยละ 0.8 โดยประเทศที่ส่ง
เงินเข้ามาลงทุนมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร ร้อยละ 44.5 สิงคโปร์ ร้อยละ 20.6 และ สรอ. ร้อยละ
18.1 โดยเป็นการลงทุนในสถาบันการเงิน ร้อยละ 32.4 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 18.9 และอสังหาริมทรัพย์
ร้อยละ 7.4 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่า ธ.กลาง สรอ. จะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์
เรื่อง “อัตราดอกเบี้ย Fed Funds คงจะขยับขึ้นเป็นร้อยละ 3.50 ในการประชุมวันที่ 9 ส.ค.” ว่า จากตัวเลข
เศรษฐกิจสำคัญของ สรอ. ที่ประกาศออกมาในเดือน ก.ค. ถึงต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ได้สะท้อนภาพเศรษฐกิจ
สรอ. ว่ายังขยายตัว ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าในวันที่ 9 ส.ค.นี้ เฟดคงจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ
0.25 จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.50 รวมทั้งมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องไปที่ระดับร้อยละ
4.00 ในปลายปีนี้เป็นอย่างน้อย ซึ่งหากเฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 จะส่งผลให้ผลต่างดอกเบี้ย
ระหว่าง สรอ. และไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1 ทำให้คาดว่า ธปท. จะพิจารณาปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 7 ก.ย.นี้ เพื่อสกัดกั้นแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเร่งสูงขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ทั่วไปของไทยอาจมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 5.0 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 3.3 ใน
ช่วงครึ่งแรกของปี (มติชน, ผจก.รายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าการกำหนดสัดส่วนให้ ธ.พาณิชย์ลงทุนในกองทุนรวมจะเสร็จทันในเดือนนี้ นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการกำหนดสัดส่วนให้ ธ.
พาณิชย์ลงทุนในกองทุนรวมว่า ขณะนี้เตรียมข้อกำหนดต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงเขียนร่างเพื่อทำประกาศ
เท่านั้น หากไม่มีปัญหาอะไรภายในสิ้นเดือนนี้ข้อกำหนดคงจะเสร็จทัน ส่วนกรณีที่ บง.ทิสโก้ ได้ยกระดับเป็น
ธนาคารทิสโก้ไปแล้วเมื่อต้นเดือน ก.ค.ว่า คงไม่ต้องเข้าไปดูแลอะไรเป็นพิเศษ เพราะก่อนที่จะยกระดับเป็น ธ.
พาณิชย์ ธ.ทิสโก้ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องส่งรายงานต่าง ๆ ให้ ธปท.
เช่นเดียวกับ ธ.พาณิชย์อื่นตามตารางเวลาปกติ และ ธปท. ก็จะเข้าไปตรวจตามปกติไม่จำเป็นต้องรีบเข้าไป
ก่อน ส่วนกรณีที่ บ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ วางแผนไว้ว่าเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารจะให้บริการสิน
เชื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 90 ว่า ไม่น่าวิตกเรื่องการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าบริษัทในเครือตัวเองมากเกินไป เพราะ
การปล่อยสินเชื่อต้องเป็นตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด อนึ่ง มีรายงานข่าวจาก ธปท.ว่า ธปท. ได้ออกหนังสือ
เวียนไปยัง ธ.พาณิชย์ทำความเข้าใจถึงการปรับปรุงประกาศเกณฑ์การให้สินเชื่อหรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์
เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของ ธ.พาณิชย์ เพื่อกำหนดแนวทางรองรับไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน
งานของสถาบันการเงิน (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 2.0-2.5 ขณะที่คาดว่ายอดขาย
ปลีกครึ่งหลังของปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 9 ส.ค.48 บริษัทวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของจีน
คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือน ส.ค. และ ก.ย.48 จะลดลงต่อเนื่องก่อนที่จะกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น
อีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 48 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.0-2.5 หลังจากที่
ในปี 47 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 39 แต่ก็ผ่อนคลายลงในปีนี้ โดย
เฉพาะเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ The Economic
Daily อ้างถึงตัวเลขของ The State Information Centre ที่รายงานว่ายอดขายปลีกในครึ่งหลังของปี 48
จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ในปี 47 และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.9 ในเดือน มิ.ย.48 อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดขายปลีกยังคงอยู่ใน
ระดับที่สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์ของรัฐบาลส่วนใหญ่ประมาณการไว้ ทั้งนี้ สำนักงานสถิติจีนจะเปิดเผยข้อมูล
ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือน ก.ค.48 ในสัปดาห์นี้ ส่วนตัวเลขยอดการขายปลีกจะรายงานในสัปดาห์ถัดไป
(รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 รายงานจากกัวลา
ลัมเปอร์เมื่อ 8 ส.ค.48 ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของมาเลเซีย ณ สัปดาห์ล่าสุด
สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ค.48 มีจำนวน 78.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากจำนวน 75.2 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 15 ก.ค.48 โดย 2 ใน 3 ของเงินทุนไหลเข้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ดัง
กล่าวข้างต้นเกิดขึ้นในช่วงเวลา 1 วันหลังการประกาศเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากแบบคงที่ที่ 3.8 ริงกิต
ต่อดอลลาร์ สรอ.เป็นแบบลอยตัวที่จัดการได้ (managed float) ในวันที่ 21 ก.ค.48 หลังจากวันดังกล่าว
ปริมาณเงินทุนไหลเข้าออกก็กลับสู่ภาวะปรกติ โดยเงินทุนไหลเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการค้าระหว่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนของชาวต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ โดยทุนสำรองมีจำนวนเพียงพอ
สำหรับรองรับปริมาณนำเข้าเป็นเวลา 9 เดือนและเป็น 7.6 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (รอยเตอร์)
3.นรม.สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 48 เป็นระหว่าง
ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 8 ส.ค.48 นรม.สิงคโปร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์เนื่อง
ในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการประกาศอิสรภาพของประเทศว่าเขาคาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปีนี้จะขยายตัว
ระหว่างร้อยละ 3.5 ถึง 4.5 เพิ่มขึ้นจากประมาณการก่อนหน้าซึ่งคาดไว้ที่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 4.5 ต่อปี
หลังจากเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี อันเป็นผลจากเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 12.3 ต่อปีใน
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้หลังจากหดตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าสินค้าเทคโนโลยีซึ่งเป็นสินค้าส่ง
ออกสำคัญของสิงคโปร์จะฟื้นตัวในครึ่งหลังของปีนี้จากความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนถึงเทศกาล
คริสต์มาสและปีใหม่และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รัฐบาลมีกำหนดจะประกาศตัวเลขอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับไตรมาสที่ 2 ปีนี้ในวันที่ 10 ส.ค.48 นี้ เวลา 8.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
4.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือนก.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับ 95.2 รายงานจากโซล
เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 48 รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยว่า consumer expectation index ซึ่งชี้วัดความเชื่อมั่นผู้
บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือนก.ค. ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 95.2 ดัชนีดังกล่าวเมื่อเดือนมี.
ค.เคยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง แต่หลังจากนั้นได้ลดต่ำลงโดยลำดับและอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ซึ่งเป็น
ระดับเส้นแบ่งระหว่างความคาดหวังด้านบวกและความคาดหวังด้านลบตั้งแต่เดือนพ.ค. โดยระดับที่ต่ำกว่า 100
หมายถึงผู้บริโภคคาดว่าเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพจะเลวลงในระยะ 6 เดือนข้างหน้า แต่หากดัชนีความ
เชื่อมั่นสูงกว่า 100 หมายถึงเศรษฐกิจจะดีขึ้น ทั้งนี้ consumer expectation index ในเดือนก.ค. ยังคงอยู่
ในระดับใกล้เคียงกับเดือนมิ.ย. แสดงว่าผู้บริโภคมิได้คาดว่าเศรษฐกิจจะเลวลงไปกว่านี้อีก แม้ว่าราคาน้ำมันที่ทำ
สถิติสูงสุดจะเพิ่มแรงกดดันแต่อุปสงค์ในประเทศยังคงมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามนัก
เศรษฐศาสตร์ยังมีความเห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังไม่รวดเร็วพอ อนึ่งธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 3.8 ลดลงจากร้อยละ 4.6 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ส.ค. 48 8 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.214 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0389/41.3226 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.80681 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.32/ 11.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,450/8,550 8,500/8,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.71 54.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.59** 25.74*/22.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเลด 40 สตางค์เมื่อ 30 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--