วันนี้ (19 ตุลาคม 2548) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังว่า ได้มีการหารือเกี่ยวกับการจัดโครงการคลังสัญจร และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดโครงการคลังสัญจรครั้งแรกในปีนี้ที่จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนมิติใหม่ของการบริหารการคลังเป็นแบบ Area Approach ให้สอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการกระจายความเจริญและการพัฒนาทางเศรษฐกิจไปสู่พื้นที่ทุกจังหวัดในภูมิภาค ซึ่งกระทรวงการคลังจะดำเนินนโยบายการคลังสู่ภูมิภาค โดยการจัดโครงการคลังสัญจรในครั้งนี้จะเน้นเรื่องการสนับสนุนการค้าชายแดน และการกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนไทยที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับการจัดโครงการคลังสัญจรในวันแรก จะเป็นการประชุมสัมมนาหน่วยงานในสังกัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 11 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เลย นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างทีมผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (CFO) ให้แข็งแกร่ง สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของผู้ว่า CEO ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในวันที่สอง จะเป็นการพบปะหารือการทำงานกับจังหวัดและภาคเอกชน เพื่อระดมความคิดเห็นและดำเนินการเรื่องการประสานการทำงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในส่วนภูมิภาค
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นควบคู่กับการประชุม ได้แก่
- การสัมมนาด้านภาษี ในวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม เพื่อให้ความรู้ รับฟังความคิดเห็นและตอบปัญหาข้อซักถามเกี่ยวกับภาษี ดำเนินการโดยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
- บูธการให้บริการทางการเงินของธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทยฯ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
- การจัดจำหน่ายสินค้า “ร้านธงฟ้า” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 90/2548 19 ตุลาคม 48--
สำหรับการจัดโครงการคลังสัญจรในวันแรก จะเป็นการประชุมสัมมนาหน่วยงานในสังกัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 11 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เลย นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างทีมผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (CFO) ให้แข็งแกร่ง สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของผู้ว่า CEO ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในวันที่สอง จะเป็นการพบปะหารือการทำงานกับจังหวัดและภาคเอกชน เพื่อระดมความคิดเห็นและดำเนินการเรื่องการประสานการทำงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในส่วนภูมิภาค
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นควบคู่กับการประชุม ได้แก่
- การสัมมนาด้านภาษี ในวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม เพื่อให้ความรู้ รับฟังความคิดเห็นและตอบปัญหาข้อซักถามเกี่ยวกับภาษี ดำเนินการโดยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
- บูธการให้บริการทางการเงินของธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทยฯ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
- การจัดจำหน่ายสินค้า “ร้านธงฟ้า” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 90/2548 19 ตุลาคม 48--