สาธารณรัฐมอริเชียส (Republic of Mauritius) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา และห่างจากประเทศมาดากัสการ์ประมาณ 800 กิโลเมตร มอริเชียสมีทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมในการเป็นประตูเชื่อมโยงทางการค้าและการลงทุนที่สำคัญระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ทำให้มอริเชียสเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากหลายประเทศทั่วโลก ในปี 2546 นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในมอริเชียสเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จาก 32.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545 เป็น 68.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศที่เข้าไปลงทุนในมอริเชียสมากที่สุด คือ แอฟริกาใต้ (สัดส่วนสูงถึง 51.2% ของเงินลงทุนทั้งหมด) รองลงมา คือ เรอูนียง (ดินแดนของฝรั่งเศส) สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ส่วนธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาตินิยมเข้าไปลงทุน ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจในเขตส่งเสริมการส่งออก (อาทิ สิ่งทอ และอัญมณี) ฯลฯ
นอกจากนี้ มอริเชียสยังมีศักยภาพโดดเด่นเหมาะต่อการเข้าไปลงทุนอีกหลายประการ อาทิ
* มีระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มั่นคง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจมอริเชียสเติบโตดีโดยขยายตัวเฉลี่ยราว 5.7% ต่อปี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลมอริเชียสประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ จากที่เคยพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก เปลี่ยนเป็นพึ่งพารายได้จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคบริการแทน เช่น ธุรกิจการเงินการธนาคาร (ปัจจุบันมอริเชียสเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของทวีปแอฟริกา)และธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ นอกจากนี้ มอริเชียสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและมีความมั่นคงทางการเมืองค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในแอฟริกา โดยในช่วงที่ผ่านมาไม่เคยมีเหตุปฏิวัติหรือรัฐประหารใด ๆ เกิดขึ้น
* มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เนื่องจากรัฐบาลมอริเชียสให้ความสำคัญกับการ
เร่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ให้ทันสมัยและเพียงพอที่จะรองรับการค้าและ
การลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ ท่าเรือพอร์ตหลุยส์ (อยู่ในเมืองพอร์ตหลุยส์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง) ซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญที่สุดของมอริเชียส และตั้งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติ Sir Seewoosagur Ramgoolam ของมอริเชียสเพียง 50 กิโลเมตร
* มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ประเภทธุรกิจที่รัฐบาลมอริเชียสให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร การผลิต ธุรกิจท่องเที่ยว การประมง การศึกษา การก่อสร้าง เป็นต้น ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่นักลงทุนในหลายด้าน อาทิ หากเข้าไปจัดตั้งธุรกิจในเขตเมืองท่าปลอดภาษี (Freeport or Free Trade Zone) เช่น บริเวณท่าเรือพอร์ตหลุยส์ และที่สนามบินนานาชาติ ฯลฯนักลงทุนจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราปกติที่ 25% เหลือ 15% ตลอดจนได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่นำเข้า รวมทั้งอนุญาตให้โอนผลกำไร เงินปันผล และเงินทุนกลับประเทศได้อย่างเสรี ฯลฯ
* เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกต่อที่สำคัญ ปัจจุบันมอริเชียสเป็นสมาชิกของกลุ่มการค้าในทวีป
แอฟริกาหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (SADC) ตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออก
และแอฟริกาตอนใต้ (COMESA) เป็นต้น ทำให้มอริเชียสได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าหลายด้านจากกลุ่มการค้า
เหล่านี้ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 350 ล้านคน ส่งผลให้นักลงทุนนิยมเข้ามาลงทุนในมอริเชียสเพื่อ
ขยายการส่งออกต่อไปยังตลาดเหล่านี้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มีบริษัทที่จัดตั้งในเขตเมืองท่าปลอดภาษีของมอริเชียส จำนวน 350 บริษัท สำหรับสินค้าที่ส่งออกต่อส่วนใหญ่ ได้แก่ สิ่งทอ (35%) อาหารทะเล(15%) เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า (11%) ฯลฯ โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ มาดากัสการ์ ฝรั่งเศส เรอูนียง คอโมโรสสเปน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ และเคนยา เป็นต้น
ธุรกิจที่น่าลงทุนในมอริเชียส
* อุตสาหกรรมอาหารทะเล เนื่องจากมอริเชียสอุดมไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกอบกับรัฐบาล
มีแผนจะพัฒนามอริเชียสให้เป็น Seafood Hub ในอนาคต
* ธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ จะทำให้นักท่องเที่ยวซึ่งเคยไปเที่ยวศรีลังกา
และมัลดีฟส์ เปลี่ยนมาเที่ยวที่มอริเชียสแทน ประกอบกับรัฐบาลมอริเชียสมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจ
โรงแรมหรือบริการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้เพียงพอสำหรับการรองรับนักท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2548--
-พห-
นอกจากนี้ มอริเชียสยังมีศักยภาพโดดเด่นเหมาะต่อการเข้าไปลงทุนอีกหลายประการ อาทิ
* มีระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มั่นคง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจมอริเชียสเติบโตดีโดยขยายตัวเฉลี่ยราว 5.7% ต่อปี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลมอริเชียสประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ จากที่เคยพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก เปลี่ยนเป็นพึ่งพารายได้จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคบริการแทน เช่น ธุรกิจการเงินการธนาคาร (ปัจจุบันมอริเชียสเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของทวีปแอฟริกา)และธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ นอกจากนี้ มอริเชียสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและมีความมั่นคงทางการเมืองค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในแอฟริกา โดยในช่วงที่ผ่านมาไม่เคยมีเหตุปฏิวัติหรือรัฐประหารใด ๆ เกิดขึ้น
* มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เนื่องจากรัฐบาลมอริเชียสให้ความสำคัญกับการ
เร่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ให้ทันสมัยและเพียงพอที่จะรองรับการค้าและ
การลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ ท่าเรือพอร์ตหลุยส์ (อยู่ในเมืองพอร์ตหลุยส์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง) ซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญที่สุดของมอริเชียส และตั้งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติ Sir Seewoosagur Ramgoolam ของมอริเชียสเพียง 50 กิโลเมตร
* มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ประเภทธุรกิจที่รัฐบาลมอริเชียสให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร การผลิต ธุรกิจท่องเที่ยว การประมง การศึกษา การก่อสร้าง เป็นต้น ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่นักลงทุนในหลายด้าน อาทิ หากเข้าไปจัดตั้งธุรกิจในเขตเมืองท่าปลอดภาษี (Freeport or Free Trade Zone) เช่น บริเวณท่าเรือพอร์ตหลุยส์ และที่สนามบินนานาชาติ ฯลฯนักลงทุนจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราปกติที่ 25% เหลือ 15% ตลอดจนได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่นำเข้า รวมทั้งอนุญาตให้โอนผลกำไร เงินปันผล และเงินทุนกลับประเทศได้อย่างเสรี ฯลฯ
* เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกต่อที่สำคัญ ปัจจุบันมอริเชียสเป็นสมาชิกของกลุ่มการค้าในทวีป
แอฟริกาหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (SADC) ตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออก
และแอฟริกาตอนใต้ (COMESA) เป็นต้น ทำให้มอริเชียสได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าหลายด้านจากกลุ่มการค้า
เหล่านี้ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 350 ล้านคน ส่งผลให้นักลงทุนนิยมเข้ามาลงทุนในมอริเชียสเพื่อ
ขยายการส่งออกต่อไปยังตลาดเหล่านี้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มีบริษัทที่จัดตั้งในเขตเมืองท่าปลอดภาษีของมอริเชียส จำนวน 350 บริษัท สำหรับสินค้าที่ส่งออกต่อส่วนใหญ่ ได้แก่ สิ่งทอ (35%) อาหารทะเล(15%) เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า (11%) ฯลฯ โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ มาดากัสการ์ ฝรั่งเศส เรอูนียง คอโมโรสสเปน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ และเคนยา เป็นต้น
ธุรกิจที่น่าลงทุนในมอริเชียส
* อุตสาหกรรมอาหารทะเล เนื่องจากมอริเชียสอุดมไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกอบกับรัฐบาล
มีแผนจะพัฒนามอริเชียสให้เป็น Seafood Hub ในอนาคต
* ธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ จะทำให้นักท่องเที่ยวซึ่งเคยไปเที่ยวศรีลังกา
และมัลดีฟส์ เปลี่ยนมาเที่ยวที่มอริเชียสแทน ประกอบกับรัฐบาลมอริเชียสมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจ
โรงแรมหรือบริการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้เพียงพอสำหรับการรองรับนักท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2548--
-พห-