บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
1. บทนำ
1.1 อุตสาหกรรมกลุ่ม Florist Accessories and Articles ที่ศึกษาตามโครงการนี้ ครอบคลุม
สินค้า 5 ประเภท คือ 1. ดอกไม้ประดิษฐ์ 2. ดอกไม้แห้ง 3. ดอกไม้แห้งอบหอม 4.ตะกร้าและกระเช้าที่
ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ 5. แจกันและกระถางเซรามิกสำหรับใส่ดอกไม้
ประดับอุตสาหกรรมนี้ มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอดีตที่เคยเป็นหัตถกรรมในครัวเรือน เพื่อการ
จำหน่ายในท้องถิ่นโดยตลาดยังคงจำกัดอยู่ภายในประเทศ ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตเพื่อ
ส่งออก จึงได้มีการผลิตในรูปโรงงานอุตสาหกรรมทำการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อการจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ
มากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง ตั้งอยู่กระจัดกระจายทุก
ภูมิภาคของประเทศ และมีลักษณะการผลิตที่ต้องใช้ทั้งฝีมือและแรงงานเป็นหลัก
1.2 จากการที่ไทยได้เปรียบด้านฝีมือการผลิตที่ประณีต รูปแบบของสินค้าที่สวยงามและมีคุณภาพทำให้ได้รับ
ความนิยมในตลาดต่างประเทศมากขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจะมีเพียงดอกไม้ประดิษฐ์เท่านั้น
ที่ประสบการแข่งขันสูงขึ้นเป็นผลให้อัตราการขยายตัวลดลง แต่ก็มีมูลค่าการส่งออกสูงมาก เมื่อเทียบกับสินค้า
ชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มนี้
1.3 ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการตลาดและปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการ
ส่งเสริมการส่งออกที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการขยายการส่งออกคือ การพัฒนา
สินค้าให้มีรูปแบบแปลกใหม่ ใช้งานได้ตรงกับวัตถุประสงค์มากขึ้น และต้องกระจายตลาดให้กว้างขวางทั้งตลาดใน
ประเทศและตลาดต่างประเทศ รวมถึงการได้รับข้อมูลการตลาดที่ถูกต้องเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิต การตลาด
และการส่งเสริมการขายได้ตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด
1.4 กรมส่งเสริมการส่งออกได้มอบให้ฝ่ายวิจัย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำการศึกษา
ภาพรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหมวดนี้ ในประเทศไทยเพื่อให้ทราบข้อมูลด้านสถานภาพการผลิตการตลาด
ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดจนศึกษาดูแนวโน้มและแนวทางในการที่จะพัฒนาส่งเสริม
ให้มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต พร้อมทั้งเสนอรายชื่อผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการ
ส่งออกและยินดีจะเข้าร่วมในโครงการ Florist Accessories and Articles ของหน่วยงาน CBI
(Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries) ประเทศเนเธอร์แลนด์
ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน แก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ได้มีโอกาสไปเปิดตลาดสินค้าที่
ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศใกล้เคียงในยุโรป โดยผ่านทางกรมส่งเสริมการส่งออก
2. ดอกไม้ประดิษฐ์
2.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ดอกไม้ประดิษฐ์ในที่นี้จะครอบคลุมทั้งดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้และผัก
ผลไม้ประดิษฐ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ ดอกไม้พลาสติก ดอกไม้ผ้าโพลีเอสเตอร์ ดอกไม้กระดาษ
และดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุประเภทอื่นๆ รวมทั้งต้นไม้และผักผลไม้ประดิษฐ์ ดยผู้ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์มีอยู่เป็น
จำนวนมาก โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลาง มีแหล่งผลิตตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ
สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ ที่มุ่งผลิตเพื่อส่งออกมีแหล่งที่ตั้งโรงงานในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เป็นส่วนใหญ่
ส่วนดอกไม้กระดาษเช่น กระดาษสา ผู้ผลิตกระจัดกระจายอยู่มากในภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ
2.2 สถานภาพด้านการผลิต การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์มีลักษณะเน้นการใช้แรงงาน (Labor-Inten-sive)
โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าและดอกไม้กระดาษ ซึ่งมีทั้งการผลิตในโรงงานและการผลิตในครัวเรือนการผลิตในโรงงาน
จะใช้เครื่องจักรในการผลิตชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งการบรรจุหีบห่อ ส่วนการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ จะใช้
แรงงานในท้องถิ่นซึ่งเป็นแรงงานจ้างเหมารับไปประกอบช่อดอกและใบนอกโรงงาน โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าโพลี
เอสเตอร์จะนิยมจ้างเหมาแรงงานในลักษณะนี้ ส่วนการผลิตดอกไม้กระดาษและดอกไม้ประเภทอื่น ๆ จะใช้
แรงงานฝีมือในการผลิตแทบทุกขั้นตอน จึงไม่นิยมที่จะจ้างเหมาแรงงานภายนอก สำหรับสภาพการผลิตในปัจจุบัน
ไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนรายใหม่ไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นผลมาจากค่าแรงงานที่สูงกว่า
ประเทศคู่แข่งขันมาก ผู้ผลิตที่ผลิตกันอยู่ในปัจจุบันล้วนแต่เป็นผู้ประกอบการรายเดิม สำหรับรายเล็กๆ ต่างก็ทยอย
กันเลิกกิจการ ส่วนรายใหญ่ก็เริ่มมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศที่มีค่าแรงงาน
ถูกกว่ามากขึ้น
2.3 ตลาดภายในประเทศ ขนาดตลาดยังคงค่อนข้างจำกัด โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณ
การผลิตทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากรสนิยมของคนไทยที่นิยมดอกไม้สดมากกว่า และดอกไม้สดก็มีให้เลือกใช้มากมาย
ตลอดทั้งปีส่วนการนำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ในปัจจุบันปริมาณ และมูลค่ายังมีน้อยและไม่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต
โดยในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 มูลค่านำเข้ามีเพียงปีละประมาณ 11-12 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า
จากไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ดอกไม้ประดิษฐ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่นิยมผลิตในประเทศ เช่น ดอกไม้ที่
ทำจากเซรามิค และประเภทที่มีราคาถูกกว่าโดยเฉพาะสินค้าที่มาจากจีนแดง แม้ว่าจะต้องเสียภาษีนำเข้าก็ตาม
2.4 ตลาดส่งออก ในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 การส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยประสบภาวะตกต่ำ
จากการที่ตลาดต่างประเทศเริ่มถึงจุดอิ่มตัว การแข่งขันในต่างประเทศมีมาก และมีการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด
อย่างหนักจากจีน ซึ่งได้เปรียบไทยในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ
5.8 ต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องการใช้สูงถึงปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศในแถบเอเซีย สหรัฐอเมริกานำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ทุกประเภทจากไทย
คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ65 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ทั้งหมดของไทย สำหรับตลาดส่งออกอื่นๆ
ที่มีความสำคัญและผู้ผลิตส่วนใหญ่พยายามที่
จะเข้าไปเปิดตลาดมากขึ้น ได้แก่ ยุโรป เอเซีย และตะวันออกกลาง
2.5 แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย ในระยะสั้นภาวะการส่งออกน่าจะ
กระเตื้องขึ้นบ้างจากการที่จีนผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ผู้ผลิตไทยจึงได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
ประกอบกับผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มุ่งขยายตลาดไปทางแถบยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น
สำหรับในระยะยาวจากปัญหาค่าแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ จีน อย่างมาก
เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตดอกไม้ประดิษฐ์ ในประเทศไทยคงจะไม่เฟื่องฟูดังเช่นในอดีต
ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันได้จะต้องเลิกกิจการไปยังคงเหลือแต่ผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้นซึ่งเงื่อนไข
สำคัญเพื่อความอยู่รอดของกิจการคือ จะต้องย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดที่มีค่าแรงถูกลง หรือย้ายไปยัง
ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
2.6 สภาพปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมนี้ที่สำคัญในด้านการผลิตคือ คุณภาพวัตถุดิบในประเทศ
ไม่สม่ำเสมอทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง ปัญหาค่าจ้างแรงงานและค่า
ขนส่งที่สูงขึ้นเป็นลำดับส่วนปัญหาด้านการตลาด คือ การแข่งขันด้านราคาที่ไทยเสียเปรียบจีน และการพึ่งพา
ตลาดหลักเพียงตลาดเดียวคือสหรัฐอเมริกา ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น
2.7 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและ เป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตเพื่อ
การส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ในอนาคตที่สำคัญได้แก่ ด้านการผลิตจากปัญหาค่าแรงงานนั้นคงจะแก้ไขได้ยาก
แต่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือในเขตส่งเสริม
การลงทุนเขต 3ซึ่งจะได้รับยกเว้น อากรขาเข้าและภาษีการค้า สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิต
เพื่อการส่งออกเป็นเวลา 5 ปี และค่าจ้างแรงงานจะถูกกว่าเขตอื่น สำหรับเรื่องวัตถุดิบนั้นควรมีการส่งเสริม
ให้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีขึ้นเองภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งวัตถุดิบต่างประเทศ และหันมาใช้วัตถุดิบประเภท
ที่มีอยู่มากภายในประเทศมากขึ้น เช่น กระดาษสา นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพของวัตถุดิบให้มีคุณภาพ
เหนือกว่าคู่แข่ง ด้านการตลาด ผู้ส่งออกควรขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มดีได้แก่ สหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมัน สวีเดนเพื่อเตรียมป้องกันผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ นอกจากนั้น
ก็ควรผลิตสินค้าและพัฒนารูปแบบให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน ด้านกฎระเบียบและ
นโยบายของรัฐ ควรปรับปรุงต้นทุนที่เกิดจากภาครัฐบาล อันได้แก่ การนำเข้าวัตถุดิบโดยรัฐบาลควรเข้ามา
ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เช่น ปรับอัตราโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้ต่ำลง และปรับปรุงระบบการคืนภาษี
วัตถุดิบตามมาตรา 19 ให้สามารถคืนภาษีได้ในเวลารวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งควรเก็บค่าบริการในการ
เทียบเรือให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
3. ดอกไม้แห้ง
3.1 สถานภาพด้านการผลิต และแหล่งผลิตอุตสาหกรรมดอกไม้แห้งเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน
เป็นหลัก (Labor-Intensive) ใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันมีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ไม่มากนักมีทั้งผู้ผลิต
รายเล็กที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบง่าย ๆ และผู้ผลิตขนาดกลางซึ่งใช้เทคโนโลยีซับซ้อนขึ้น เพื่อควบคุมคุณภาพ
สินค้าให้ได้มาตรฐาน ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะไม่ทำการผลิตเองทุกขั้นตอน แต่จะใช้ระบบการรับช่วงการผลิต
โดยกระจายงานไปให้ชาวบ้านตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับจ้างทำในขั้นตอนง่าย ๆ เช่น ย้อมสีดอกไม้,ประดิษฐ์
ดอกไม้แห้งขึ้นใหม่จากส่วนต่างๆ ของดอกไม้แห้ง เป็นต้น แหล่งผลิตจึงตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปตามแหล่ง
วัตถุดิบคือในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง(ตอนบน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.2 การตลาด ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มนิยมดอกไม้แห้งกันมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ทดแทนดอกไม้สดที่มีอายุการใช้
งานสั้น หรือทดแทนดอกไม้ประดิษฐ์ที่ดูไม่มีชีวิตชีวาและมีราคาแพงประกอบกับการรณรงค์ให้อนุรักษ์ธรรมชาติโดย
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแนวโน้มว่าดอกไม้แห้งจะได้รับความนิยมจาก
ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ดอกไม้แห้งที่จำหน่ายในตลาดนอกจากจะมีลักษณะเป็นกิ่งก้านที่สามารถนำมาเข้าช่อจัดใส่แจกัน
แล้วยังมีการนำดอกไม้แห้งไปประดิษฐ์ เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตะกร้าดอกไม้แห้ง,
กรอบรูป, กิ๊บติดผม, ช่อกลมแขวนโชว์ เป็นต้น โดยวางจำหน่ายทั่วไปทั้งตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้า
ปลีกอื่น ๆ
3.3 ตลาดส่งออก เริ่มมีการส่งออกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแต่ยังมีปริมาณและมูลค่าน้อยอยู่ สินค้าที่ส่งออก
ก็ยังไม่หลากหลาย มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากผู้ผลิตรายเล็กมี ปริมาณการผลิตน้อย
จึงผลิตเพื่อขายในประเทศเท่านั้น ดอกไม้แห้งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ที่ ประดิษฐ์จากดอกไม้
แห้งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสะดวกในการบรรจุเพื่อส่งออกและสินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำหน่ายได้ราคามากกว่า
การส่งออกเป็นดอกไม้แห้งแบบก้านยาว ส่วนการส่งออกดอกไม้แห้งแบบมีก้านสำหรับจัดเข้าช่อมีปริมาณไม่มากนัก
เนื่องจากสินค้าจะชำรุดเสียหายได้ง่ายในขั้นตอนการขนส่ง จึงต้องมีการบรรจุหีบห่ออย่างดีทำให้มีต้นทุนสูง
ประกอบกับประเภทของดอกไม้แห้งที่นำมาจัดเป็นช่อได้มีไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
อื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีดอกไม้หลายชนิดและมีความคงทนแข็งแรงกว่าตลาดส่งออก
ดอกไม้แห้งที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นเป็นต้น ประเทศคู่แข่ง
ในการส่งออกดอกไม้แห้งที่สำคัญคือ จีนและไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกเป็นดอก และเป็นแบบก้านยาวแทบจะ
ไม่ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากดอกไม้แห้งเท่าใดนัก
3.4 แนวโน้มภาวะตลาดของดอกไม้แห้งในประเทศและต่างประเทศ มีแนวโน้มค่อนข้างแจ่มใสสามารถ
เพิ่มมูลค่าและขยายตลาดต่อไปได้อีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมหันมาสนใจการตกแต่ง
สถานที่ต่างๆ ด้วยดอกไม้แห้งและผลิตภัณฑ์จากดอกไม้แห้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งของขวัญของชำร่วยที่ทำจาก
ดอกไม้แห้งก็ได้รับความนิยมอย่างมาก กอปรกับการรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ส่งผลดีต่อตลาดดอกไม้แห้งที่จะสามารถเติบโตได้มากในอนาคต
3.5 ปัญหาและอุปสรรค อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งมีปัญหาและอุปสรรคสำคัญคือ ปัญหาทางด้านการผลิต
ที่สำคัญคือปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่หาได้จากธรรมชาติทำให้เกิดความไม่แน่นอนใน
การผลิต ปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐานได้แก่ มีความชื้น เชื้อรา แมลง และในเรื่องความไม่คงทน
แตกหักได้ง่ายของดอกไม้แห้ง ซึ่งแตกต่างจากดอกไม้ของต่างประเทศ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์ที่ดอกไม้มี
ความแข็งแรงคงทน และมีสีสันสดใส นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงานสูง ส่วนปัญหาทางด้านการ
ตลาดที่สำคัญคือ ตลาดยังแคบอยู่เนื่องจากชนิดของดอกไม้แห้งมีอยู่ไม่มากนักทำให้ไม่ตรงกับความต้องการ
ของตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศผู้ผลิตบางรายขาดความรู้และข้อมูลในด้านการตลาด ทำให้ไม่
สามารถขยายตลาดได้ และปัญหาด้านการขนส่งที่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงป้องกันการเสียหาย
ของสินค้า ทำให้ค่าบรรจุภัณฑ์และค่าขนส่งสูงขึ้น
3.6 แนวทางแก้ไขปัญหา ดังกล่าวข้างต้นคือ ผู้ผลิตควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่
สามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้า ได้มีการศึกษาพัฒนาดอกไม้พันธุ์ใหม่ ๆ ให้สามารถผลิตเป็น
ดอกไม้แห้ง เพื่อให้มีดอกไม้แห้งหลากหลายชนิดได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วนหน่วยงานของรัฐก็
ควรให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลการตลาด มีการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และข่าวสารให้แก่ผู้ผลิตและ
ผู้ส่งออกรวมทั้งการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักทั่วไปในต่างประเทศ
4. ดอกไม้แห้งอบหอม
4.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิตดอกไม้แห้งอบหอมที่ผลิตได้ภายในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2
ประเภทคือ ดอกไม้แห้งอบหอมบรรจุภาชนะและประเภทวัตถุดิบสำหรับการส่งออก ดอกไม้แห้งอบหอมมี
กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากนักและใช้เงินลงทุนต่ำ หากแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญ และ
ความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่งปรับปรุงกลิ่น และสีของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงมีผู้ผลิตรายย่อยกระจายอยู่ทั่วไป
ในภาคกลางและภาคเหนือ ผู้ผลิตรายใหญ่ ส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่จะมีโรงงานอยู่ในแหล่งวัตถุดิบ
เพื่อรวบรวมวัตถุดิบจากชาวบ้าน หรือสวนดอกไม้แล้วผ่านกระบวนการทำให้แห้งก่อนส่งมากรุงเทพฯ
4.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่สามารถผลิตดอกไม้แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้งไป
พร้อมกันเพื่อขยายตลาดให้กว้างมากที่สุด แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลาระหว่างการผลิตดอกไม้
แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้ง เนื่องจากเป็นงานประเภทฝีมือที่ใช้แรงงานคนทำเหมือนกันต้นทุนส่วนใหญ่
เป็นค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันหอมระเหย สารตรึงกลิ่น และวัตถุดิบ ปริมาณการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมในประเทศมี
มูลค่ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี
4.3 ตลาดในประเทศ ปัจจุบันลูกค้ายังอยู่ในวงแคบเนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาแพงลูกค้า
คนไทยส่วนใหญ่นิยมซื้อในลักษณะเป็นของชำร่วย ของขวัญ หรือของที่ระลึกมอบให้แก่กันมากกว่าที่จะตั้งใจซื้อ
เพื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างลูกค้าในต่างประเทศบางประเทศที่นิยมซื้อมาเป็นอุปกรณ์ตกแต่งห้อง สำหรับ
บ้านพักและสำนักงาน หรือช่วยเพิ่มความหอมและสดชื่นให้แก่ห้อง สำหรับการส่งออกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมของไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากมูลค่า 26.7 ล้านบาทในปี พ.ศ.2531
เพิ่มเป็นมูลค่า 71.5 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 27.9 ต่อปี ตลาด
ส่งออกที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมทั้งหมด
ในปี 2535 รองลงมาคือ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8,8.1 และ7.1
ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมในปีดังกล่าวตามลำดับ แต่ทั้งนี้การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมส่วนใหญ่
จะส่งออกในรูปของวัตถุดิบคือ ดอกไม้แห้งล้วน ๆ ยังไม่ผสมเข้าด้วยกันและไม่ปรุงแต่งกลิ่น โดยมีประเทศ
อินเดีย และจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
4.4 แนวโน้มในอนาคต จากการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคซึ่งหันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เพิ่มขึ้นส่งผลให้ธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมในประเทศมีลู่ทางแจ่มใสและมีแนวโน้มที่สามารถขยายการส่งออกได้
เพิ่มมากขึ้นจากส่วนต่างของกำไร (Profit Margin) ที่สูงและลู่ทางการตลาดที่ดีต่อไปในอนาคตจึงคาด
ว่าจะดึงดูดผู้ผลิตรายใหม่ให้เข้ามาในธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างของกำไรใน
อนาคตลดลงมาและเกิดการแข่งขันกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับอุตสาห-
กรรมดอกไม้ประดิษฐ์
4.5 ปัญหา อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งอบหอมมีปัญหาสำคัญคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ต้นทุน
วัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูง กล่าวคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
ตามที่ตลาดต้องการเช่น มีสิ่งปนเปื้อน กลิ่น สีและบรรจุภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการเป็นต้น ส่วนทางด้าน
ต้นทุนการผลิตนั้นผู้ผลิตต้องสั่งซื้อน้ำมันหอมสำหรับปรุงแต่งกลิ่นหอมและสารเคมีจากต่างประเทศด้วยราคาสูง
และการที่จะต้องส่งสินค้าสู่ปลายทาง โดยรวดเร็วทำให้เสียค่าขนส่งแพง จึงส่งผลให้ดอกไม้แห้งอบหอม
ของไทยเมื่อถึงตลาดเป้าหมายแล้วมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์เกรดเดียวกันกับที่ผลิตในตลาดยุโรป
4.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยผู้ผลิตควร
เร่งพัฒนาทั้งคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งออกสินค้าในรูปแบบสินค้าสำเร็จรูปโดยการบรรจุ
ภาชนะต่างๆให้ดูน่ารัก ทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม มีสีสันและกลิ่นหอมให้เหมาะสมกับรสนิยมของผู้บริโภคใน
ตลาดต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าแทนที่จะขายในลักษณะวัตถุดิบเช่นที่ผ่านมาส่วนรัฐบาลควรจะ
ลดภาษีนำเข้าสารเคมี และน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ผู้ผลิตไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมถึงทำ
การศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาดให้แก่ ผู้ผลิตได้รับทราบในด้านการแข่งขัน และลักษณะความ
ต้องการสินค้าของผู้บริโภคชาวต่างประเทศ เพื่อที่ผู้ผลิตไทยจะได้ปรับตัวทันในการผลิตดอกไม้แห้งอบหอม
ส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลก
5. ตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ
5.1 แหล่งผลิต อุตสาหกรรมผลิตตะกร้าและกระเช้ามีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีการ
ผลิตอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ วัสดุธรรมชาติหลักที่ใช้ทำตะกร้าและกระเช้าได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย เถาวัลย์
ผักตบชวา และต้นกก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ไผ่ แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหวาย
แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเถาวัลย์หรือเถาองุ่น แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดราชบุรี
และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชัยนาท
5.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทและจะทำการผลิตในยามว่างจากงานหลัก
ภาคการเกษตร โดยลักษณะการผลิตต้องพึ่งพาแรงงานเป็นหลักทำให้กำลังการผลิตในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน
จะขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อและเวลาว่างจากงานหลักภาคเกษตรของแรงงาน สำหรับการจักสานตะกร้าและกระเช้า
ที่มีรูปแบบทั่วๆ ไปไม่ซับซ้อนมากนัก แรงงาน 1 คน สามารถผลิตได้ประมาณ 5-10 ชิ้นต่อวัน
5.3 ตลาดภายในประเทศ ปัจจุบันตลาดมีความนิยมตะกร้ากระเช้าที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากผู้ผลิตได้มีการพัฒนารูปแบบ และสีสันของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับเป็นงานฝีมือ
ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงเป็นที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของฝากและเพื่อตกแต่งสถานที่ให้เกิดความ
สวยงาม สินค้าประเภทนี้มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัด ส่วนตลาดต่างประเทศมักเป็นที่นิยมในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ
ของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และสเปน เนื่องจาก
ประเทศเหล่านี้มีค่าจ้างแรงงานสูงจึงไม่นิยมที่จะผลิตใช้เองภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้า
ประเภทนี้ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปี คือจากมูลค่า
91.0 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เหลือเพียง 70.2 ล้านบาทในปี พ.ศ.2535 ทั้งนี้เนื่องจากประสบการ
แข่งขันสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และอินโดนีเซีย ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูก และมีวัตถุดิบภายใน
ประเทศอยู่มากทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยจึงสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า แม้สินค้าไทยจะมี
คุณภาพและรูปแบบที่ดีกว่าก็ตาม แต่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาเรื่องราคาเป็นสำคัญ
5.4 แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้คาดว่าตลาดภายในประเทศจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภค
ภายในประเทศได้หันมาให้ความสนใจในสินค้าประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ส่วนในด้านการส่งออกนั้นประเทศที่มีแนว
โน้มจะเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคตคือ ญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และ
สเปน ส่วนสหรัฐอเมริกาจะเป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนลดลง เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ผู้ส่งออกจากประเทศ
ต่าง ๆ จึงมุ่งส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดต่ำลง
5.5 ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมตะกร้า และกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สำคัญในด้านการผลิตคือ
ขาดแคลนวัตถุดิบได้แก่ วัสดุธรรมชาติจำพวกไม้ไผ่และหวายหายาก ทำให้ต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
และขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญ เนื่องจากแรงงานที่ทำการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่ว่างจากภาค
การเกษตรไม่ได้ยึดถืออาชีพนี้เป็นหลัก ความชำนาญในการผลิตจึงมีไม่มาก ส่วนปัญหาทางด้านการตลาดคือ
การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ และผู้ประกอบการยังขาดข้อมูลด้านการตลาดต่างประเทศ ทำให้
เป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดส่งออก
5.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือในการแก้ไข
ปัญหาก่อนที่จะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศโดยประเทศคู่แข่งของไทยที่ได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต
โดยผู้ผลิตควรมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ คุณภาพ ตลอดจนประเภทของวัตถุดิบที่นำมาใช้ ในการผลิต
เพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบจำพวกหวาย และไม้ไผ่ ซึ่งหายากและมีต้นทุนสูง รวมทั้งการหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ
ที่มีศักยภาพในการนำเข้าสูง เช่น ตลาดยุโรปซึ่งไทยยังมีการส่งออกน้อยอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายตลาด
ส่งออกให้กว้างขึ้น ส่วนรัฐบาลควรให้การฝึกอบรมความรู้ในด้านการผลิตแก่ประชาชนผู้สนใจให้มากขึ้น
เพื่อเป็นการเพิ่มอุปทานแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ และสนับสนุนในด้านข้อมูลข่าวสาร และข้อแนะนำที่จำเป็น
ของตลาดนั้น ๆ แก่ผู้ส่งออก
6. แจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิก
6.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ สามารถแบ่งได้ตามชนิดของเนื้อวัสดุได้เป็น 4
ประเภทคือ 1. เทอร์ราคอตตา(Terra Cotta) เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบ 2. เอิร์ธเทนแวร์
(Earthenware) มีเนื้อดินแน่นและดูดซึมน้ำได้สูง 3. สโตนแวร์(Stoneware) เนื้อผลิตภัณฑ์จะแข็งแกร่ง
ดูดซึมน้ำได้น้อย 4.พอร์ซเลน (Pocelain) เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดี เนื้อแกร่ง โปร่งแสง เคาะมีเสียงกังวาน
ไม่ดูดซึมน้ำ แหล่งที่ตั้งของโรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ตามแหล่งของวัตถุดิบ และแหล่งที่มีแรงงานฝีมือ วิจิตรศิลป์
ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และนครราชสีมาผู้ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางจะผลิตสินค้าคุณภาพสูง
จำพวกสโตนแวร์ และพอร์ซเลน ส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผลิตพวกเทอร์ราคอตตาและเอิร์ธเทนแวร์
ซึ่งเนื้อผลิตภัณฑ์หยาบและมีราคาถูก เช่นที่รู้จักกันดีในนามของผลิตภัณฑ์ด่านเกวียนสำหรับภาคกลางก็มีผู้ผลิต
อยู่บ้างไม่มากนักกระจายตัวอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี
6.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตแจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิกในประเทศ
มีประมาณ 88 ราย ผลิตสินค้าได้ปีละประมาณ 13 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ผู้ผลิต
รายใหญ่มีการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 70-80 โดยผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงจะเน้นการผลิตเพื่อ
ส่งออก สำหรับต้นทุนการผลิตจากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งที่ผลิตสินค้าหลายแบบทั้งแบบเบญจรงค์
ลายคราม ลายสวยงาม และแบบสากลต้นทุนร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นค่าจ้างแรงงาน
6.3 ตลาดในประเทศ ตลาดหลักมี 4 ตลาด คือ ตลาดห้างสรรพสินค้า ตลาดสวนจตุจักร ตลาดนัก
ท่องเที่ยวและตลาดท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน และอิตาลี ในปี
2535 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทนี้เป็นมูลค่า 10.8 ล้านบาท สำหรับตลาดโลกของสินค้าเซรามิก
ประเภทของประดับเครื่องตกแต่งมีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ของประดับและเครื่องตกแต่งเซรามิกไทย ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากมูลค่า 81.7 ล้านบาท
ในปี พ.ศ.2531 เป็นมูลค่า 413.1 ล้านบาทในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ
ร้อยละ 50.0 ต่อปี โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมัน
6.4 แนวโน้ม อุตสาหกรรมผลิตแจกันและกระถางเซรามิกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไป และมุ่งตลาด
ส่งออกเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจากตลาดมีขนาดใหญ่และประชาชนมีกำลังซื้อสูง
นอกจากนี้จากการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยความช่วยเหลือด้านเครื่องจักรอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญจาก
JICA (Japan International Co-Operation Agency)ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ
ดินเผาภาคเหนือขึ้นเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ผลิตโดยตรง จะช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
6.5 ปัญหาและอุปสรรค ปัจจุบันผู้ผลิตอุตสาหกรรมนี้ประสบปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือ คุณภาพ
วัตถุดิบไม่สม่ำเสมอ ค่าจ้างแรงงานสูง และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตล้าสมัย ส่วนปัญหาด้านการส่งออก
ได้แก่การตัดราคากันเองระหว่างผู้ผลิตคนไทยด้วยกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกยังมีน้อยและ
ขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศ
6.6 แนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้น คือหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาห-
กรรมนี้ เช่น ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ ควรจะเร่งทำการประชาสัมพันธ์
และออกไปเผยแพร่ให้ความรู้และคำแนะนำด้านการผลิตแก่ผู้ผลิต รัฐบาลควรมีนโยบายให้สถาบันการเงิน
ในประเทศให้บริการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขน้อย เพื่อให้ผู้ผลิตกู้มาลงทุนในด้านเครื่องมือ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมทั้งลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะสีและน้ำยาเคลือบซึ่งยังไม่สามารถ
ผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกควรทำการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักใน
ต่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ของไทยในแต่ละแหล่งผลิตที่สำคัญ และเป็นตัวกลาง
ในการประสานงานติดต่อให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้พบปะกับผู้ผลิตได้สะดวกยิ่งขึ้น
--กรมส่งเสริมการส่งออก กุมภาพันธ์ 2541--
1. บทนำ
1.1 อุตสาหกรรมกลุ่ม Florist Accessories and Articles ที่ศึกษาตามโครงการนี้ ครอบคลุม
สินค้า 5 ประเภท คือ 1. ดอกไม้ประดิษฐ์ 2. ดอกไม้แห้ง 3. ดอกไม้แห้งอบหอม 4.ตะกร้าและกระเช้าที่
ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ 5. แจกันและกระถางเซรามิกสำหรับใส่ดอกไม้
ประดับอุตสาหกรรมนี้ มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอดีตที่เคยเป็นหัตถกรรมในครัวเรือน เพื่อการ
จำหน่ายในท้องถิ่นโดยตลาดยังคงจำกัดอยู่ภายในประเทศ ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตเพื่อ
ส่งออก จึงได้มีการผลิตในรูปโรงงานอุตสาหกรรมทำการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อการจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ
มากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง ตั้งอยู่กระจัดกระจายทุก
ภูมิภาคของประเทศ และมีลักษณะการผลิตที่ต้องใช้ทั้งฝีมือและแรงงานเป็นหลัก
1.2 จากการที่ไทยได้เปรียบด้านฝีมือการผลิตที่ประณีต รูปแบบของสินค้าที่สวยงามและมีคุณภาพทำให้ได้รับ
ความนิยมในตลาดต่างประเทศมากขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจะมีเพียงดอกไม้ประดิษฐ์เท่านั้น
ที่ประสบการแข่งขันสูงขึ้นเป็นผลให้อัตราการขยายตัวลดลง แต่ก็มีมูลค่าการส่งออกสูงมาก เมื่อเทียบกับสินค้า
ชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มนี้
1.3 ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการตลาดและปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการ
ส่งเสริมการส่งออกที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการขยายการส่งออกคือ การพัฒนา
สินค้าให้มีรูปแบบแปลกใหม่ ใช้งานได้ตรงกับวัตถุประสงค์มากขึ้น และต้องกระจายตลาดให้กว้างขวางทั้งตลาดใน
ประเทศและตลาดต่างประเทศ รวมถึงการได้รับข้อมูลการตลาดที่ถูกต้องเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิต การตลาด
และการส่งเสริมการขายได้ตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด
1.4 กรมส่งเสริมการส่งออกได้มอบให้ฝ่ายวิจัย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำการศึกษา
ภาพรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหมวดนี้ ในประเทศไทยเพื่อให้ทราบข้อมูลด้านสถานภาพการผลิตการตลาด
ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดจนศึกษาดูแนวโน้มและแนวทางในการที่จะพัฒนาส่งเสริม
ให้มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต พร้อมทั้งเสนอรายชื่อผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการ
ส่งออกและยินดีจะเข้าร่วมในโครงการ Florist Accessories and Articles ของหน่วยงาน CBI
(Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries) ประเทศเนเธอร์แลนด์
ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน แก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ได้มีโอกาสไปเปิดตลาดสินค้าที่
ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศใกล้เคียงในยุโรป โดยผ่านทางกรมส่งเสริมการส่งออก
2. ดอกไม้ประดิษฐ์
2.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ดอกไม้ประดิษฐ์ในที่นี้จะครอบคลุมทั้งดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้และผัก
ผลไม้ประดิษฐ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ ดอกไม้พลาสติก ดอกไม้ผ้าโพลีเอสเตอร์ ดอกไม้กระดาษ
และดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุประเภทอื่นๆ รวมทั้งต้นไม้และผักผลไม้ประดิษฐ์ ดยผู้ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์มีอยู่เป็น
จำนวนมาก โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลาง มีแหล่งผลิตตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ
สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ ที่มุ่งผลิตเพื่อส่งออกมีแหล่งที่ตั้งโรงงานในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เป็นส่วนใหญ่
ส่วนดอกไม้กระดาษเช่น กระดาษสา ผู้ผลิตกระจัดกระจายอยู่มากในภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ
2.2 สถานภาพด้านการผลิต การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์มีลักษณะเน้นการใช้แรงงาน (Labor-Inten-sive)
โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าและดอกไม้กระดาษ ซึ่งมีทั้งการผลิตในโรงงานและการผลิตในครัวเรือนการผลิตในโรงงาน
จะใช้เครื่องจักรในการผลิตชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งการบรรจุหีบห่อ ส่วนการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ จะใช้
แรงงานในท้องถิ่นซึ่งเป็นแรงงานจ้างเหมารับไปประกอบช่อดอกและใบนอกโรงงาน โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าโพลี
เอสเตอร์จะนิยมจ้างเหมาแรงงานในลักษณะนี้ ส่วนการผลิตดอกไม้กระดาษและดอกไม้ประเภทอื่น ๆ จะใช้
แรงงานฝีมือในการผลิตแทบทุกขั้นตอน จึงไม่นิยมที่จะจ้างเหมาแรงงานภายนอก สำหรับสภาพการผลิตในปัจจุบัน
ไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนรายใหม่ไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นผลมาจากค่าแรงงานที่สูงกว่า
ประเทศคู่แข่งขันมาก ผู้ผลิตที่ผลิตกันอยู่ในปัจจุบันล้วนแต่เป็นผู้ประกอบการรายเดิม สำหรับรายเล็กๆ ต่างก็ทยอย
กันเลิกกิจการ ส่วนรายใหญ่ก็เริ่มมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศที่มีค่าแรงงาน
ถูกกว่ามากขึ้น
2.3 ตลาดภายในประเทศ ขนาดตลาดยังคงค่อนข้างจำกัด โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณ
การผลิตทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากรสนิยมของคนไทยที่นิยมดอกไม้สดมากกว่า และดอกไม้สดก็มีให้เลือกใช้มากมาย
ตลอดทั้งปีส่วนการนำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ในปัจจุบันปริมาณ และมูลค่ายังมีน้อยและไม่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต
โดยในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 มูลค่านำเข้ามีเพียงปีละประมาณ 11-12 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า
จากไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ดอกไม้ประดิษฐ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่นิยมผลิตในประเทศ เช่น ดอกไม้ที่
ทำจากเซรามิค และประเภทที่มีราคาถูกกว่าโดยเฉพาะสินค้าที่มาจากจีนแดง แม้ว่าจะต้องเสียภาษีนำเข้าก็ตาม
2.4 ตลาดส่งออก ในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 การส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยประสบภาวะตกต่ำ
จากการที่ตลาดต่างประเทศเริ่มถึงจุดอิ่มตัว การแข่งขันในต่างประเทศมีมาก และมีการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด
อย่างหนักจากจีน ซึ่งได้เปรียบไทยในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ
5.8 ต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องการใช้สูงถึงปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศในแถบเอเซีย สหรัฐอเมริกานำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ทุกประเภทจากไทย
คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ65 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ทั้งหมดของไทย สำหรับตลาดส่งออกอื่นๆ
ที่มีความสำคัญและผู้ผลิตส่วนใหญ่พยายามที่
จะเข้าไปเปิดตลาดมากขึ้น ได้แก่ ยุโรป เอเซีย และตะวันออกกลาง
2.5 แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย ในระยะสั้นภาวะการส่งออกน่าจะ
กระเตื้องขึ้นบ้างจากการที่จีนผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ผู้ผลิตไทยจึงได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
ประกอบกับผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มุ่งขยายตลาดไปทางแถบยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น
สำหรับในระยะยาวจากปัญหาค่าแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ จีน อย่างมาก
เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตดอกไม้ประดิษฐ์ ในประเทศไทยคงจะไม่เฟื่องฟูดังเช่นในอดีต
ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันได้จะต้องเลิกกิจการไปยังคงเหลือแต่ผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้นซึ่งเงื่อนไข
สำคัญเพื่อความอยู่รอดของกิจการคือ จะต้องย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดที่มีค่าแรงถูกลง หรือย้ายไปยัง
ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
2.6 สภาพปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมนี้ที่สำคัญในด้านการผลิตคือ คุณภาพวัตถุดิบในประเทศ
ไม่สม่ำเสมอทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง ปัญหาค่าจ้างแรงงานและค่า
ขนส่งที่สูงขึ้นเป็นลำดับส่วนปัญหาด้านการตลาด คือ การแข่งขันด้านราคาที่ไทยเสียเปรียบจีน และการพึ่งพา
ตลาดหลักเพียงตลาดเดียวคือสหรัฐอเมริกา ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น
2.7 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและ เป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตเพื่อ
การส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ในอนาคตที่สำคัญได้แก่ ด้านการผลิตจากปัญหาค่าแรงงานนั้นคงจะแก้ไขได้ยาก
แต่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือในเขตส่งเสริม
การลงทุนเขต 3ซึ่งจะได้รับยกเว้น อากรขาเข้าและภาษีการค้า สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิต
เพื่อการส่งออกเป็นเวลา 5 ปี และค่าจ้างแรงงานจะถูกกว่าเขตอื่น สำหรับเรื่องวัตถุดิบนั้นควรมีการส่งเสริม
ให้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีขึ้นเองภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งวัตถุดิบต่างประเทศ และหันมาใช้วัตถุดิบประเภท
ที่มีอยู่มากภายในประเทศมากขึ้น เช่น กระดาษสา นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพของวัตถุดิบให้มีคุณภาพ
เหนือกว่าคู่แข่ง ด้านการตลาด ผู้ส่งออกควรขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มดีได้แก่ สหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมัน สวีเดนเพื่อเตรียมป้องกันผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ นอกจากนั้น
ก็ควรผลิตสินค้าและพัฒนารูปแบบให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน ด้านกฎระเบียบและ
นโยบายของรัฐ ควรปรับปรุงต้นทุนที่เกิดจากภาครัฐบาล อันได้แก่ การนำเข้าวัตถุดิบโดยรัฐบาลควรเข้ามา
ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เช่น ปรับอัตราโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้ต่ำลง และปรับปรุงระบบการคืนภาษี
วัตถุดิบตามมาตรา 19 ให้สามารถคืนภาษีได้ในเวลารวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งควรเก็บค่าบริการในการ
เทียบเรือให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
3. ดอกไม้แห้ง
3.1 สถานภาพด้านการผลิต และแหล่งผลิตอุตสาหกรรมดอกไม้แห้งเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน
เป็นหลัก (Labor-Intensive) ใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันมีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ไม่มากนักมีทั้งผู้ผลิต
รายเล็กที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบง่าย ๆ และผู้ผลิตขนาดกลางซึ่งใช้เทคโนโลยีซับซ้อนขึ้น เพื่อควบคุมคุณภาพ
สินค้าให้ได้มาตรฐาน ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะไม่ทำการผลิตเองทุกขั้นตอน แต่จะใช้ระบบการรับช่วงการผลิต
โดยกระจายงานไปให้ชาวบ้านตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับจ้างทำในขั้นตอนง่าย ๆ เช่น ย้อมสีดอกไม้,ประดิษฐ์
ดอกไม้แห้งขึ้นใหม่จากส่วนต่างๆ ของดอกไม้แห้ง เป็นต้น แหล่งผลิตจึงตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปตามแหล่ง
วัตถุดิบคือในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง(ตอนบน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.2 การตลาด ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มนิยมดอกไม้แห้งกันมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ทดแทนดอกไม้สดที่มีอายุการใช้
งานสั้น หรือทดแทนดอกไม้ประดิษฐ์ที่ดูไม่มีชีวิตชีวาและมีราคาแพงประกอบกับการรณรงค์ให้อนุรักษ์ธรรมชาติโดย
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแนวโน้มว่าดอกไม้แห้งจะได้รับความนิยมจาก
ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ดอกไม้แห้งที่จำหน่ายในตลาดนอกจากจะมีลักษณะเป็นกิ่งก้านที่สามารถนำมาเข้าช่อจัดใส่แจกัน
แล้วยังมีการนำดอกไม้แห้งไปประดิษฐ์ เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตะกร้าดอกไม้แห้ง,
กรอบรูป, กิ๊บติดผม, ช่อกลมแขวนโชว์ เป็นต้น โดยวางจำหน่ายทั่วไปทั้งตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้า
ปลีกอื่น ๆ
3.3 ตลาดส่งออก เริ่มมีการส่งออกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแต่ยังมีปริมาณและมูลค่าน้อยอยู่ สินค้าที่ส่งออก
ก็ยังไม่หลากหลาย มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากผู้ผลิตรายเล็กมี ปริมาณการผลิตน้อย
จึงผลิตเพื่อขายในประเทศเท่านั้น ดอกไม้แห้งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ที่ ประดิษฐ์จากดอกไม้
แห้งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสะดวกในการบรรจุเพื่อส่งออกและสินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำหน่ายได้ราคามากกว่า
การส่งออกเป็นดอกไม้แห้งแบบก้านยาว ส่วนการส่งออกดอกไม้แห้งแบบมีก้านสำหรับจัดเข้าช่อมีปริมาณไม่มากนัก
เนื่องจากสินค้าจะชำรุดเสียหายได้ง่ายในขั้นตอนการขนส่ง จึงต้องมีการบรรจุหีบห่ออย่างดีทำให้มีต้นทุนสูง
ประกอบกับประเภทของดอกไม้แห้งที่นำมาจัดเป็นช่อได้มีไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
อื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีดอกไม้หลายชนิดและมีความคงทนแข็งแรงกว่าตลาดส่งออก
ดอกไม้แห้งที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นเป็นต้น ประเทศคู่แข่ง
ในการส่งออกดอกไม้แห้งที่สำคัญคือ จีนและไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกเป็นดอก และเป็นแบบก้านยาวแทบจะ
ไม่ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากดอกไม้แห้งเท่าใดนัก
3.4 แนวโน้มภาวะตลาดของดอกไม้แห้งในประเทศและต่างประเทศ มีแนวโน้มค่อนข้างแจ่มใสสามารถ
เพิ่มมูลค่าและขยายตลาดต่อไปได้อีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมหันมาสนใจการตกแต่ง
สถานที่ต่างๆ ด้วยดอกไม้แห้งและผลิตภัณฑ์จากดอกไม้แห้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งของขวัญของชำร่วยที่ทำจาก
ดอกไม้แห้งก็ได้รับความนิยมอย่างมาก กอปรกับการรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ส่งผลดีต่อตลาดดอกไม้แห้งที่จะสามารถเติบโตได้มากในอนาคต
3.5 ปัญหาและอุปสรรค อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งมีปัญหาและอุปสรรคสำคัญคือ ปัญหาทางด้านการผลิต
ที่สำคัญคือปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่หาได้จากธรรมชาติทำให้เกิดความไม่แน่นอนใน
การผลิต ปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐานได้แก่ มีความชื้น เชื้อรา แมลง และในเรื่องความไม่คงทน
แตกหักได้ง่ายของดอกไม้แห้ง ซึ่งแตกต่างจากดอกไม้ของต่างประเทศ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์ที่ดอกไม้มี
ความแข็งแรงคงทน และมีสีสันสดใส นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงานสูง ส่วนปัญหาทางด้านการ
ตลาดที่สำคัญคือ ตลาดยังแคบอยู่เนื่องจากชนิดของดอกไม้แห้งมีอยู่ไม่มากนักทำให้ไม่ตรงกับความต้องการ
ของตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศผู้ผลิตบางรายขาดความรู้และข้อมูลในด้านการตลาด ทำให้ไม่
สามารถขยายตลาดได้ และปัญหาด้านการขนส่งที่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงป้องกันการเสียหาย
ของสินค้า ทำให้ค่าบรรจุภัณฑ์และค่าขนส่งสูงขึ้น
3.6 แนวทางแก้ไขปัญหา ดังกล่าวข้างต้นคือ ผู้ผลิตควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่
สามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้า ได้มีการศึกษาพัฒนาดอกไม้พันธุ์ใหม่ ๆ ให้สามารถผลิตเป็น
ดอกไม้แห้ง เพื่อให้มีดอกไม้แห้งหลากหลายชนิดได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วนหน่วยงานของรัฐก็
ควรให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลการตลาด มีการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และข่าวสารให้แก่ผู้ผลิตและ
ผู้ส่งออกรวมทั้งการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักทั่วไปในต่างประเทศ
4. ดอกไม้แห้งอบหอม
4.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิตดอกไม้แห้งอบหอมที่ผลิตได้ภายในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2
ประเภทคือ ดอกไม้แห้งอบหอมบรรจุภาชนะและประเภทวัตถุดิบสำหรับการส่งออก ดอกไม้แห้งอบหอมมี
กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากนักและใช้เงินลงทุนต่ำ หากแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญ และ
ความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่งปรับปรุงกลิ่น และสีของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงมีผู้ผลิตรายย่อยกระจายอยู่ทั่วไป
ในภาคกลางและภาคเหนือ ผู้ผลิตรายใหญ่ ส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่จะมีโรงงานอยู่ในแหล่งวัตถุดิบ
เพื่อรวบรวมวัตถุดิบจากชาวบ้าน หรือสวนดอกไม้แล้วผ่านกระบวนการทำให้แห้งก่อนส่งมากรุงเทพฯ
4.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่สามารถผลิตดอกไม้แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้งไป
พร้อมกันเพื่อขยายตลาดให้กว้างมากที่สุด แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลาระหว่างการผลิตดอกไม้
แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้ง เนื่องจากเป็นงานประเภทฝีมือที่ใช้แรงงานคนทำเหมือนกันต้นทุนส่วนใหญ่
เป็นค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันหอมระเหย สารตรึงกลิ่น และวัตถุดิบ ปริมาณการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมในประเทศมี
มูลค่ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี
4.3 ตลาดในประเทศ ปัจจุบันลูกค้ายังอยู่ในวงแคบเนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาแพงลูกค้า
คนไทยส่วนใหญ่นิยมซื้อในลักษณะเป็นของชำร่วย ของขวัญ หรือของที่ระลึกมอบให้แก่กันมากกว่าที่จะตั้งใจซื้อ
เพื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างลูกค้าในต่างประเทศบางประเทศที่นิยมซื้อมาเป็นอุปกรณ์ตกแต่งห้อง สำหรับ
บ้านพักและสำนักงาน หรือช่วยเพิ่มความหอมและสดชื่นให้แก่ห้อง สำหรับการส่งออกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมของไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากมูลค่า 26.7 ล้านบาทในปี พ.ศ.2531
เพิ่มเป็นมูลค่า 71.5 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 27.9 ต่อปี ตลาด
ส่งออกที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมทั้งหมด
ในปี 2535 รองลงมาคือ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8,8.1 และ7.1
ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมในปีดังกล่าวตามลำดับ แต่ทั้งนี้การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมส่วนใหญ่
จะส่งออกในรูปของวัตถุดิบคือ ดอกไม้แห้งล้วน ๆ ยังไม่ผสมเข้าด้วยกันและไม่ปรุงแต่งกลิ่น โดยมีประเทศ
อินเดีย และจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
4.4 แนวโน้มในอนาคต จากการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคซึ่งหันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เพิ่มขึ้นส่งผลให้ธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมในประเทศมีลู่ทางแจ่มใสและมีแนวโน้มที่สามารถขยายการส่งออกได้
เพิ่มมากขึ้นจากส่วนต่างของกำไร (Profit Margin) ที่สูงและลู่ทางการตลาดที่ดีต่อไปในอนาคตจึงคาด
ว่าจะดึงดูดผู้ผลิตรายใหม่ให้เข้ามาในธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างของกำไรใน
อนาคตลดลงมาและเกิดการแข่งขันกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับอุตสาห-
กรรมดอกไม้ประดิษฐ์
4.5 ปัญหา อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งอบหอมมีปัญหาสำคัญคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ต้นทุน
วัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูง กล่าวคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
ตามที่ตลาดต้องการเช่น มีสิ่งปนเปื้อน กลิ่น สีและบรรจุภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการเป็นต้น ส่วนทางด้าน
ต้นทุนการผลิตนั้นผู้ผลิตต้องสั่งซื้อน้ำมันหอมสำหรับปรุงแต่งกลิ่นหอมและสารเคมีจากต่างประเทศด้วยราคาสูง
และการที่จะต้องส่งสินค้าสู่ปลายทาง โดยรวดเร็วทำให้เสียค่าขนส่งแพง จึงส่งผลให้ดอกไม้แห้งอบหอม
ของไทยเมื่อถึงตลาดเป้าหมายแล้วมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์เกรดเดียวกันกับที่ผลิตในตลาดยุโรป
4.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยผู้ผลิตควร
เร่งพัฒนาทั้งคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งออกสินค้าในรูปแบบสินค้าสำเร็จรูปโดยการบรรจุ
ภาชนะต่างๆให้ดูน่ารัก ทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม มีสีสันและกลิ่นหอมให้เหมาะสมกับรสนิยมของผู้บริโภคใน
ตลาดต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าแทนที่จะขายในลักษณะวัตถุดิบเช่นที่ผ่านมาส่วนรัฐบาลควรจะ
ลดภาษีนำเข้าสารเคมี และน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ผู้ผลิตไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมถึงทำ
การศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาดให้แก่ ผู้ผลิตได้รับทราบในด้านการแข่งขัน และลักษณะความ
ต้องการสินค้าของผู้บริโภคชาวต่างประเทศ เพื่อที่ผู้ผลิตไทยจะได้ปรับตัวทันในการผลิตดอกไม้แห้งอบหอม
ส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลก
5. ตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ
5.1 แหล่งผลิต อุตสาหกรรมผลิตตะกร้าและกระเช้ามีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีการ
ผลิตอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ วัสดุธรรมชาติหลักที่ใช้ทำตะกร้าและกระเช้าได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย เถาวัลย์
ผักตบชวา และต้นกก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ไผ่ แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหวาย
แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเถาวัลย์หรือเถาองุ่น แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดราชบุรี
และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชัยนาท
5.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทและจะทำการผลิตในยามว่างจากงานหลัก
ภาคการเกษตร โดยลักษณะการผลิตต้องพึ่งพาแรงงานเป็นหลักทำให้กำลังการผลิตในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน
จะขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อและเวลาว่างจากงานหลักภาคเกษตรของแรงงาน สำหรับการจักสานตะกร้าและกระเช้า
ที่มีรูปแบบทั่วๆ ไปไม่ซับซ้อนมากนัก แรงงาน 1 คน สามารถผลิตได้ประมาณ 5-10 ชิ้นต่อวัน
5.3 ตลาดภายในประเทศ ปัจจุบันตลาดมีความนิยมตะกร้ากระเช้าที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากผู้ผลิตได้มีการพัฒนารูปแบบ และสีสันของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับเป็นงานฝีมือ
ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงเป็นที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของฝากและเพื่อตกแต่งสถานที่ให้เกิดความ
สวยงาม สินค้าประเภทนี้มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัด ส่วนตลาดต่างประเทศมักเป็นที่นิยมในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ
ของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และสเปน เนื่องจาก
ประเทศเหล่านี้มีค่าจ้างแรงงานสูงจึงไม่นิยมที่จะผลิตใช้เองภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้า
ประเภทนี้ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปี คือจากมูลค่า
91.0 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เหลือเพียง 70.2 ล้านบาทในปี พ.ศ.2535 ทั้งนี้เนื่องจากประสบการ
แข่งขันสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และอินโดนีเซีย ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูก และมีวัตถุดิบภายใน
ประเทศอยู่มากทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยจึงสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า แม้สินค้าไทยจะมี
คุณภาพและรูปแบบที่ดีกว่าก็ตาม แต่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาเรื่องราคาเป็นสำคัญ
5.4 แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้คาดว่าตลาดภายในประเทศจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภค
ภายในประเทศได้หันมาให้ความสนใจในสินค้าประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ส่วนในด้านการส่งออกนั้นประเทศที่มีแนว
โน้มจะเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคตคือ ญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และ
สเปน ส่วนสหรัฐอเมริกาจะเป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนลดลง เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ผู้ส่งออกจากประเทศ
ต่าง ๆ จึงมุ่งส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดต่ำลง
5.5 ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมตะกร้า และกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สำคัญในด้านการผลิตคือ
ขาดแคลนวัตถุดิบได้แก่ วัสดุธรรมชาติจำพวกไม้ไผ่และหวายหายาก ทำให้ต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
และขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญ เนื่องจากแรงงานที่ทำการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่ว่างจากภาค
การเกษตรไม่ได้ยึดถืออาชีพนี้เป็นหลัก ความชำนาญในการผลิตจึงมีไม่มาก ส่วนปัญหาทางด้านการตลาดคือ
การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ และผู้ประกอบการยังขาดข้อมูลด้านการตลาดต่างประเทศ ทำให้
เป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดส่งออก
5.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือในการแก้ไข
ปัญหาก่อนที่จะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศโดยประเทศคู่แข่งของไทยที่ได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต
โดยผู้ผลิตควรมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ คุณภาพ ตลอดจนประเภทของวัตถุดิบที่นำมาใช้ ในการผลิต
เพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบจำพวกหวาย และไม้ไผ่ ซึ่งหายากและมีต้นทุนสูง รวมทั้งการหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ
ที่มีศักยภาพในการนำเข้าสูง เช่น ตลาดยุโรปซึ่งไทยยังมีการส่งออกน้อยอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายตลาด
ส่งออกให้กว้างขึ้น ส่วนรัฐบาลควรให้การฝึกอบรมความรู้ในด้านการผลิตแก่ประชาชนผู้สนใจให้มากขึ้น
เพื่อเป็นการเพิ่มอุปทานแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ และสนับสนุนในด้านข้อมูลข่าวสาร และข้อแนะนำที่จำเป็น
ของตลาดนั้น ๆ แก่ผู้ส่งออก
6. แจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิก
6.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ สามารถแบ่งได้ตามชนิดของเนื้อวัสดุได้เป็น 4
ประเภทคือ 1. เทอร์ราคอตตา(Terra Cotta) เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบ 2. เอิร์ธเทนแวร์
(Earthenware) มีเนื้อดินแน่นและดูดซึมน้ำได้สูง 3. สโตนแวร์(Stoneware) เนื้อผลิตภัณฑ์จะแข็งแกร่ง
ดูดซึมน้ำได้น้อย 4.พอร์ซเลน (Pocelain) เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดี เนื้อแกร่ง โปร่งแสง เคาะมีเสียงกังวาน
ไม่ดูดซึมน้ำ แหล่งที่ตั้งของโรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ตามแหล่งของวัตถุดิบ และแหล่งที่มีแรงงานฝีมือ วิจิตรศิลป์
ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และนครราชสีมาผู้ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางจะผลิตสินค้าคุณภาพสูง
จำพวกสโตนแวร์ และพอร์ซเลน ส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผลิตพวกเทอร์ราคอตตาและเอิร์ธเทนแวร์
ซึ่งเนื้อผลิตภัณฑ์หยาบและมีราคาถูก เช่นที่รู้จักกันดีในนามของผลิตภัณฑ์ด่านเกวียนสำหรับภาคกลางก็มีผู้ผลิต
อยู่บ้างไม่มากนักกระจายตัวอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี
6.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตแจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิกในประเทศ
มีประมาณ 88 ราย ผลิตสินค้าได้ปีละประมาณ 13 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ผู้ผลิต
รายใหญ่มีการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 70-80 โดยผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงจะเน้นการผลิตเพื่อ
ส่งออก สำหรับต้นทุนการผลิตจากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งที่ผลิตสินค้าหลายแบบทั้งแบบเบญจรงค์
ลายคราม ลายสวยงาม และแบบสากลต้นทุนร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นค่าจ้างแรงงาน
6.3 ตลาดในประเทศ ตลาดหลักมี 4 ตลาด คือ ตลาดห้างสรรพสินค้า ตลาดสวนจตุจักร ตลาดนัก
ท่องเที่ยวและตลาดท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน และอิตาลี ในปี
2535 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทนี้เป็นมูลค่า 10.8 ล้านบาท สำหรับตลาดโลกของสินค้าเซรามิก
ประเภทของประดับเครื่องตกแต่งมีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ของประดับและเครื่องตกแต่งเซรามิกไทย ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากมูลค่า 81.7 ล้านบาท
ในปี พ.ศ.2531 เป็นมูลค่า 413.1 ล้านบาทในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ
ร้อยละ 50.0 ต่อปี โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมัน
6.4 แนวโน้ม อุตสาหกรรมผลิตแจกันและกระถางเซรามิกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไป และมุ่งตลาด
ส่งออกเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจากตลาดมีขนาดใหญ่และประชาชนมีกำลังซื้อสูง
นอกจากนี้จากการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยความช่วยเหลือด้านเครื่องจักรอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญจาก
JICA (Japan International Co-Operation Agency)ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ
ดินเผาภาคเหนือขึ้นเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ผลิตโดยตรง จะช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
6.5 ปัญหาและอุปสรรค ปัจจุบันผู้ผลิตอุตสาหกรรมนี้ประสบปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือ คุณภาพ
วัตถุดิบไม่สม่ำเสมอ ค่าจ้างแรงงานสูง และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตล้าสมัย ส่วนปัญหาด้านการส่งออก
ได้แก่การตัดราคากันเองระหว่างผู้ผลิตคนไทยด้วยกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกยังมีน้อยและ
ขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศ
6.6 แนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้น คือหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาห-
กรรมนี้ เช่น ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ ควรจะเร่งทำการประชาสัมพันธ์
และออกไปเผยแพร่ให้ความรู้และคำแนะนำด้านการผลิตแก่ผู้ผลิต รัฐบาลควรมีนโยบายให้สถาบันการเงิน
ในประเทศให้บริการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขน้อย เพื่อให้ผู้ผลิตกู้มาลงทุนในด้านเครื่องมือ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมทั้งลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะสีและน้ำยาเคลือบซึ่งยังไม่สามารถ
ผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกควรทำการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักใน
ต่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ของไทยในแต่ละแหล่งผลิตที่สำคัญ และเป็นตัวกลาง
ในการประสานงานติดต่อให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้พบปะกับผู้ผลิตได้สะดวกยิ่งขึ้น
--กรมส่งเสริมการส่งออก กุมภาพันธ์ 2541--