ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 16/2541
เรื่อง รายงานฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2540
ทุกปีธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่ง พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485สำหรับปี 2540 นั้น ธนาคารมีรายได้ ทั้งสิ้น 45,412 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 9,315 ล้านบาท จึงมีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติ จำนวน 36,097 ล้านบาท แต่ธนาคารมีผลขาดทุนจากการดำเนินการด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอีกจำนวนมาก
ในปี 2540 ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยประสบภาวะวิกฤติ โดยในช่วงต้นปีค่าเงินบาทมีความผันผวนอย่างมากเนื่องจากมีการโจมตีเงินบาทอย่างรุนแรงจากนักเก็งกำไร ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางมีหน้าที่หลักประการหนึ่ง คือ การรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น เพื่อรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ในช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศในตลาดทันทีและสร้างภาระผูกพันล่วงหน้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และนอกจากนั้น หลังจากที่ทางการได้เข้าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศแล้ว ก็ได้มีการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนสูง
ตามกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องจัดทำบัญชีแยกตามลักษณะของธุรกรรมหลักของธนาคาร กล่าวคือจัดทำบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารบัญชีหนึ่งกับบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคารแยกบัญชีต่างหาก เนื่องจากหนี้สินต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร แต่สินทรัพย์ต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคาร ดังนั้น เมื่อทางการประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นแบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก โดยเฉพาะในช่วงปลายปี จึงทำให้ธนาคารขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนสูง ซึ่งจากการแยกบัญชีดังกล่าว ผลขาดทุนทั้งหมดจึงบันทึกอยู่ในบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร ในขณะที่บัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคาร มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การพิจารณาฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องทำการวิเคราะห์ทั้งสองบัญชีควบคู่กันไป
การเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าวเป็นผลให้ฝ่ายกิจการธนาคารขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในปี 2540 ที่เกิดขึ้นแล้ว (realized) จำนวน 87,026 ล้านบาท และที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา(unrealized revaluation) ของสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศเป็นเงินบาทจำนวน 83,418 ล้านบาท (โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2540 เท่ากับ 47.247 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) รวมเป็นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจำนวน 170,444 ล้านบาท
นอกจากนี้ ฝ่ายกิจการธนาคารยังมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้าที่ทำไว้ในปี 2540 จำนวนขายสุทธิ 18,006 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเมื่อมีการชำระจริงคาดว่าจะมีผลขาดทุน แต่ ณ วันสิ้นปี 2540 ผลขาดทุนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงและไม่มีความแน่นอน จึงไม่อาจรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวในบัญชีกำไรขาดทุนจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามสัญญาและทราบผลขาดทุนที่ แน่นอนตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ สรอ.ต่อเงินบาท ณ วันปฏิบัติตามสัญญาแล้ว (ตัวอย่างเช่นถ้าคำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นปี 2540 ในอัตรา 47.247 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับอัตราซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ในอัตรา 33.811 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จะมีผลขาดทุนจำนวน 241,921 ล้านบาท แต่ถ้าคำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 มีนาคม 2541 ในอัตรา 38.600 บาทต่อ ดอลลาร์สรอ. จะมีผลขาดทุนจำนวนเพียง 86,225ล้านบาท)
ในการบันทึกบัญชี ธนาคารได้บันทึกผลขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจำนวน 87,026 ล้านบาท แสดงอยู่ในบัญชีกำไรขาดทุนปี2540 ทั้งจำนวน ส่วนผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจำนวน 83,418 ล้านบาท ธนาคารได้ทยอยตัดเป็นเวลา 5 ปี เฉลี่ยปีละ 16,684 ล้านบาท โดยแสดงเป็นรายการพิเศษ เริ่มตัดจ่ายตั้งแต่ปี 2540 ส่วนที่เหลือจำนวน 66,734 ล้านบาท แสดงเป็นรายการรอตัดบัญชีในด้านสินทรัพย์ของงบดุลปี 2540 จากวิธีการลงบัญชีดังกล่าวข้างต้น ทำให้บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 67,613 ล้านบาท (หลังหักกำไรจากการดำเนินงานตามปกติจำนวน 36,097 ล้านบาท) และเมื่อนำขาดทุนจำนวน ดังกล่าวไปหักจากบัญชีทุนของธนาคาร ทำให้บัญชีทุนติดลบจำนวน 36,413 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายออกบัตรธนาคารซึ่งมีสินทรัพย์ต่างประเทศที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้และที่สะสมไว้อย่างต่อเนื่องมีกำไรจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสุทธิเป็นเงิน 448,670 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของฝ่ายกิจการธนาคารกับของฝ่ายออกบัตรธนาคารแล้ว จะเห็นได้ว่าในปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสุทธิ 36,305 ล้านบาท (ทั้งนี้ โดยหักการขาดทุนจากภาระผูกพัน จำนวน 241,921 ล้านบาทไว้ด้วยแล้ว)
โดยที่ในขณะนี้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 กำหนดให้ธนาคารแยกบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคารออกจากบัญชีของ ฝ่ายกิจการธนาคาร ดังนั้นผลกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแต่ละฝ่ายจึงยังไม่สามารถนำมา ชดเชยกันได้
ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารกลางโดยทั่วไปอาจประสบปัญหาการขาดทุนจนทำให้เงินทุนของธนาคารติดลบได้ดังที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธนาคารกลางจะมีลักษณะพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีทุนสูงหรือติดลบเป็นการชั่วคราวได้ แต่ก็ควรจะหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วโดยเร็วและป้องกันมิให้ปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต ธนาคารได้พิจารณาในชั้นต้นแล้วเห็นว่าการรวมบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารและฝ่ายออกบัตรธนาคารเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของธนาคารในระยะต่อไป เพราะการรวมบัญชีนอกจากจะทำให้บัญชีทุนที่รวมกันแล้วมีฐานะเป็นบวก การรวมบัญชีดังกล่าวยังจะทำให้การบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศของประเทศมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติของธนาคารกลางส่วนใหญ่ทั่วโลก และแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 ได้ระบุในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 และ 3 ที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศไว้แล้ว ทั้งนี้ ในการแก้ไขพระราชบัญญัติฯดังกล่าว จะยังคงรักษาหลักการที่สำคัญของการรักษาความมั่นคงแห่งค่าของเงินตรา คือธนบัตรออกใช้ต้องมีการหนุนหลังด้วยทุนสำรองเงินตราเต็มจำนวนอยู่เช่นเดิม
จึงขอแถลงมาเพื่อทราบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 เมษายน 2541
รายงานฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2540
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ฉบับที่ 16/2541
เรื่อง รายงานฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2540
ทุกปีธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่ง พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485สำหรับปี 2540 นั้น ธนาคารมีรายได้ ทั้งสิ้น 45,412 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 9,315 ล้านบาท จึงมีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติ จำนวน 36,097 ล้านบาท แต่ธนาคารมีผลขาดทุนจากการดำเนินการด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอีกจำนวนมาก
ในปี 2540 ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยประสบภาวะวิกฤติ โดยในช่วงต้นปีค่าเงินบาทมีความผันผวนอย่างมากเนื่องจากมีการโจมตีเงินบาทอย่างรุนแรงจากนักเก็งกำไร ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางมีหน้าที่หลักประการหนึ่ง คือ การรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น เพื่อรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ในช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศในตลาดทันทีและสร้างภาระผูกพันล่วงหน้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และนอกจากนั้น หลังจากที่ทางการได้เข้าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศแล้ว ก็ได้มีการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนสูง
ตามกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องจัดทำบัญชีแยกตามลักษณะของธุรกรรมหลักของธนาคาร กล่าวคือจัดทำบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารบัญชีหนึ่งกับบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคารแยกบัญชีต่างหาก เนื่องจากหนี้สินต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร แต่สินทรัพย์ต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคาร ดังนั้น เมื่อทางการประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นแบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก โดยเฉพาะในช่วงปลายปี จึงทำให้ธนาคารขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนสูง ซึ่งจากการแยกบัญชีดังกล่าว ผลขาดทุนทั้งหมดจึงบันทึกอยู่ในบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร ในขณะที่บัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคาร มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การพิจารณาฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องทำการวิเคราะห์ทั้งสองบัญชีควบคู่กันไป
การเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าวเป็นผลให้ฝ่ายกิจการธนาคารขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในปี 2540 ที่เกิดขึ้นแล้ว (realized) จำนวน 87,026 ล้านบาท และที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา(unrealized revaluation) ของสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศเป็นเงินบาทจำนวน 83,418 ล้านบาท (โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2540 เท่ากับ 47.247 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) รวมเป็นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจำนวน 170,444 ล้านบาท
นอกจากนี้ ฝ่ายกิจการธนาคารยังมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้าที่ทำไว้ในปี 2540 จำนวนขายสุทธิ 18,006 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเมื่อมีการชำระจริงคาดว่าจะมีผลขาดทุน แต่ ณ วันสิ้นปี 2540 ผลขาดทุนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงและไม่มีความแน่นอน จึงไม่อาจรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวในบัญชีกำไรขาดทุนจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามสัญญาและทราบผลขาดทุนที่ แน่นอนตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ สรอ.ต่อเงินบาท ณ วันปฏิบัติตามสัญญาแล้ว (ตัวอย่างเช่นถ้าคำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นปี 2540 ในอัตรา 47.247 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับอัตราซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ในอัตรา 33.811 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จะมีผลขาดทุนจำนวน 241,921 ล้านบาท แต่ถ้าคำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 มีนาคม 2541 ในอัตรา 38.600 บาทต่อ ดอลลาร์สรอ. จะมีผลขาดทุนจำนวนเพียง 86,225ล้านบาท)
ในการบันทึกบัญชี ธนาคารได้บันทึกผลขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจำนวน 87,026 ล้านบาท แสดงอยู่ในบัญชีกำไรขาดทุนปี2540 ทั้งจำนวน ส่วนผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจำนวน 83,418 ล้านบาท ธนาคารได้ทยอยตัดเป็นเวลา 5 ปี เฉลี่ยปีละ 16,684 ล้านบาท โดยแสดงเป็นรายการพิเศษ เริ่มตัดจ่ายตั้งแต่ปี 2540 ส่วนที่เหลือจำนวน 66,734 ล้านบาท แสดงเป็นรายการรอตัดบัญชีในด้านสินทรัพย์ของงบดุลปี 2540 จากวิธีการลงบัญชีดังกล่าวข้างต้น ทำให้บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 67,613 ล้านบาท (หลังหักกำไรจากการดำเนินงานตามปกติจำนวน 36,097 ล้านบาท) และเมื่อนำขาดทุนจำนวน ดังกล่าวไปหักจากบัญชีทุนของธนาคาร ทำให้บัญชีทุนติดลบจำนวน 36,413 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายออกบัตรธนาคารซึ่งมีสินทรัพย์ต่างประเทศที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้และที่สะสมไว้อย่างต่อเนื่องมีกำไรจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสุทธิเป็นเงิน 448,670 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของฝ่ายกิจการธนาคารกับของฝ่ายออกบัตรธนาคารแล้ว จะเห็นได้ว่าในปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสุทธิ 36,305 ล้านบาท (ทั้งนี้ โดยหักการขาดทุนจากภาระผูกพัน จำนวน 241,921 ล้านบาทไว้ด้วยแล้ว)
โดยที่ในขณะนี้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 กำหนดให้ธนาคารแยกบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคารออกจากบัญชีของ ฝ่ายกิจการธนาคาร ดังนั้นผลกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแต่ละฝ่ายจึงยังไม่สามารถนำมา ชดเชยกันได้
ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารกลางโดยทั่วไปอาจประสบปัญหาการขาดทุนจนทำให้เงินทุนของธนาคารติดลบได้ดังที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธนาคารกลางจะมีลักษณะพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีทุนสูงหรือติดลบเป็นการชั่วคราวได้ แต่ก็ควรจะหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วโดยเร็วและป้องกันมิให้ปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต ธนาคารได้พิจารณาในชั้นต้นแล้วเห็นว่าการรวมบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารและฝ่ายออกบัตรธนาคารเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของธนาคารในระยะต่อไป เพราะการรวมบัญชีนอกจากจะทำให้บัญชีทุนที่รวมกันแล้วมีฐานะเป็นบวก การรวมบัญชีดังกล่าวยังจะทำให้การบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศของประเทศมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติของธนาคารกลางส่วนใหญ่ทั่วโลก และแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 ได้ระบุในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 และ 3 ที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศไว้แล้ว ทั้งนี้ ในการแก้ไขพระราชบัญญัติฯดังกล่าว จะยังคงรักษาหลักการที่สำคัญของการรักษาความมั่นคงแห่งค่าของเงินตรา คือธนบัตรออกใช้ต้องมีการหนุนหลังด้วยทุนสำรองเงินตราเต็มจำนวนอยู่เช่นเดิม
จึงขอแถลงมาเพื่อทราบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 เมษายน 2541
รายงานฐานะการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2540
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--