สศอ. ชี้แนวโน้มอุตสาหกรรมปี 2548 ยังเติบโตต่อเนื่องจากปี 2547 มีอุตสาหกรรมหลายตัวดันยอดผลิตเพิ่ม โดยเฉพาะ เหล็กและเหล็กกล้า-ปูนซีเมนต์-ไม้และเครื่องเรือน เหตุจากต้องเร่งฟื้นวิกฤตสึนามิ 6 จังหวัดภาคใต้ ด้านอุตฯสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแนวโน้มสดใส หลังอเมริกายกเลิกโควตาสิ่งทอ แนะผู้ประกอบการเร่งเพิ่มศักยภาพผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์อัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมในปี 2548 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) คาดว่า อุตสาหกรรมหลักยังคงขยายตัวต่อเนื่องในปี2548 โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ ไม้และเครื่องเรือน ยานยนต์ ยาง และปิโตรเคมี ส่วนอุตสาหกรรมที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวตามสถานการณ์ตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก
สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปี2548 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากปี 2547 เนื่องจาก ปีนี้องค์การการค้าโลก (WTO) จะยกเลิกโควตาสิ่งทอ ซึ่งเป็นโอกาสที่สินค้าไทยจะสามารถเข้าไปแข่งขัน โดยเฉพาะ ตลาดสหภาพยุโรป (กลุ่มอียู) เนื่องจากคู่แข่งที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)ยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้ เพราะติดปัญหาด้านข้อกำหนดต่างๆของWTO ทำให้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาคผ่านโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในส่วนของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดว่า จะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากปัจจัยทางด้านบวกจากความต้องการทั้งตลาดในประเทศจากนโยบายการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ โดยแบ่งเป็น 2 แนวทางหลัก คือ 1.นโยบายการทำโครงการเมกกะโปรเจ็คด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โครงการรถไฟความเร็วสูง การก่อสร้างถนน เป็นต้น 2.นโยบายกระตุ้นกำลังซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อจัดสร้างบ้านให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการบ้านมั่นคง เป็นต้น ประกอบกับการฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างบ้านเรือน ร้านค้าและโรงแรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 6 จังหวัดภาคใต้อันเนื่องจากเหตุภัยธรรมชาติ คลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งจากปัจจัยบวกเหล่านี้ล้วนทำให้ต้องมีการใช้เหล็กก่อสร้างเป็นปริมาณมาก
ขณะเดียวกันความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนจากการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศลดภาษีนำเข้าเหล็กรีดร้อน (HR carbon steel) ของไทยลดลงเหลือร้อยละ 1.8 หลังจากที่ตรวจสอบพบว่าประเทศไทยไม่มีการอุดหนุนสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 จึงมีผลให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ทั้งนี้การผลิตเหล็กลวด น๊อตและสกรู ในปี 2548 คาดว่าจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิตภายในช่วงต้นปี โดยกำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นจาก 95,000 ตันต่อปี เป็น 168,000 ตันต่อปี
ด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน จากการประเมินแนวโน้มโดยภาพรวม คาดว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะมีการขยายตัวโดยกำลังซื้อจากภายในประเทศ เนื่องจาก การใช้ฟื้นฟูบ้านเรือน อาคาร โรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์ในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยผู้ผลิตจะเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการวิเคราะห์ของ สศอ.คาดว่า ในปี 2548 จะยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก โดยเฉพาะ การผลิตรถปิกอัพ ที่มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายรายกำลังจะย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาไทย ประกอบกับ ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์มีการวางแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ แม้ว่าในปี 2548 อัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงคาดการณ์ว่าในปี 2548 นี้ จะมีการผลิตรถยนต์ 1.10 ล้านคัน โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 7 แสนคัน และส่งออก 4 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 19.57 , 12.90 และ 25.0 ตามลำดับ
ด้านอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง จากตัวเลขสถิติในปี 2547 ไทยส่งออกยางและผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 4,645.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกยางพาราขั้นต้น 2,695.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และผลิตภัณฑ์ยาง 1,950.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากการประเมินทิศทางของอุตสาหกรรมยางในปีนี้ คาดว่า ผลผลิตยางทั้งประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มขึ้นในทุกภาค และราคายางที่จูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า จะมีการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะที่เติบโตต่อเนื่องตามอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่การส่งออกยางขั้นต้น คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณการส่งออกสูง โดยเฉพาะในตลาดจีน แต่ในขณะที่ปี 2548 จีนมีนโยบายในการชะลออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวการส่งออกลดลง
ส่วนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะยังอยู่ในช่วงวัฎจักรขาขึ้น เนื่องจากความต้องการเม็ดพลาสติกในตลาดโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการส่งออกไปต่างประเทศค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเทศจีน ด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ผู้ประกอบการได้วางแผนขยายการลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยจะหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบมากขึ้น เพื่อรองรับกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
ขณะที่ มีบางอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2548 คาดว่าจะยังคงเผชิญสภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรง โดยเฉพาะจากคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ที่มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกเชิงรุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ผลิตไทยควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เข้าสู่เชิงรุกอย่างเร่งด่วน โดยเน้นผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานสูงและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ ๆ ของประเทศผู้นำเข้าอีกด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก 2 กุมภาพันธ์ 2548
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์อัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมในปี 2548 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) คาดว่า อุตสาหกรรมหลักยังคงขยายตัวต่อเนื่องในปี2548 โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ ไม้และเครื่องเรือน ยานยนต์ ยาง และปิโตรเคมี ส่วนอุตสาหกรรมที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวตามสถานการณ์ตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก
สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปี2548 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากปี 2547 เนื่องจาก ปีนี้องค์การการค้าโลก (WTO) จะยกเลิกโควตาสิ่งทอ ซึ่งเป็นโอกาสที่สินค้าไทยจะสามารถเข้าไปแข่งขัน โดยเฉพาะ ตลาดสหภาพยุโรป (กลุ่มอียู) เนื่องจากคู่แข่งที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)ยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้ เพราะติดปัญหาด้านข้อกำหนดต่างๆของWTO ทำให้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาคผ่านโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในส่วนของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดว่า จะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากปัจจัยทางด้านบวกจากความต้องการทั้งตลาดในประเทศจากนโยบายการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ โดยแบ่งเป็น 2 แนวทางหลัก คือ 1.นโยบายการทำโครงการเมกกะโปรเจ็คด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โครงการรถไฟความเร็วสูง การก่อสร้างถนน เป็นต้น 2.นโยบายกระตุ้นกำลังซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อจัดสร้างบ้านให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการบ้านมั่นคง เป็นต้น ประกอบกับการฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างบ้านเรือน ร้านค้าและโรงแรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 6 จังหวัดภาคใต้อันเนื่องจากเหตุภัยธรรมชาติ คลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งจากปัจจัยบวกเหล่านี้ล้วนทำให้ต้องมีการใช้เหล็กก่อสร้างเป็นปริมาณมาก
ขณะเดียวกันความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนจากการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศลดภาษีนำเข้าเหล็กรีดร้อน (HR carbon steel) ของไทยลดลงเหลือร้อยละ 1.8 หลังจากที่ตรวจสอบพบว่าประเทศไทยไม่มีการอุดหนุนสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 จึงมีผลให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ทั้งนี้การผลิตเหล็กลวด น๊อตและสกรู ในปี 2548 คาดว่าจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิตภายในช่วงต้นปี โดยกำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นจาก 95,000 ตันต่อปี เป็น 168,000 ตันต่อปี
ด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน จากการประเมินแนวโน้มโดยภาพรวม คาดว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะมีการขยายตัวโดยกำลังซื้อจากภายในประเทศ เนื่องจาก การใช้ฟื้นฟูบ้านเรือน อาคาร โรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์ในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยผู้ผลิตจะเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการวิเคราะห์ของ สศอ.คาดว่า ในปี 2548 จะยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก โดยเฉพาะ การผลิตรถปิกอัพ ที่มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายรายกำลังจะย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาไทย ประกอบกับ ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์มีการวางแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ แม้ว่าในปี 2548 อัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงคาดการณ์ว่าในปี 2548 นี้ จะมีการผลิตรถยนต์ 1.10 ล้านคัน โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 7 แสนคัน และส่งออก 4 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 19.57 , 12.90 และ 25.0 ตามลำดับ
ด้านอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง จากตัวเลขสถิติในปี 2547 ไทยส่งออกยางและผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 4,645.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกยางพาราขั้นต้น 2,695.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และผลิตภัณฑ์ยาง 1,950.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากการประเมินทิศทางของอุตสาหกรรมยางในปีนี้ คาดว่า ผลผลิตยางทั้งประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มขึ้นในทุกภาค และราคายางที่จูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า จะมีการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะที่เติบโตต่อเนื่องตามอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่การส่งออกยางขั้นต้น คาดว่าจะมีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณการส่งออกสูง โดยเฉพาะในตลาดจีน แต่ในขณะที่ปี 2548 จีนมีนโยบายในการชะลออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวการส่งออกลดลง
ส่วนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะยังอยู่ในช่วงวัฎจักรขาขึ้น เนื่องจากความต้องการเม็ดพลาสติกในตลาดโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการส่งออกไปต่างประเทศค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเทศจีน ด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ผู้ประกอบการได้วางแผนขยายการลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยจะหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบมากขึ้น เพื่อรองรับกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
ขณะที่ มีบางอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2548 คาดว่าจะยังคงเผชิญสภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรง โดยเฉพาะจากคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ที่มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกเชิงรุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ผลิตไทยควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เข้าสู่เชิงรุกอย่างเร่งด่วน โดยเน้นผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานสูงและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ ๆ ของประเทศผู้นำเข้าอีกด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก 2 กุมภาพันธ์ 2548
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-