คณะกรรมการองค์การปฏิรูปเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
ประกาศผลการพิจารณาแผนการแก้ไขฟื้นฟูฐานะกิจการ
ของสถาบันการเงิน 58 แห่ง
วันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2540
แถลงโดย
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
58 สถาบันการเงิน
เพื่อเป็นการปฎิบัติตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดองค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2540 ผมได้รับทราบผลจากการรายงานของคณะกรรมการ ปรส. ซึ่งประธานคณะกรรมการ ปรส.ได้ยื่นไว้ที่กระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2540
การรับทราบผลการตัดสินของผมในฐานะรัฐมนตรีตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รับการยืนยันจากที่ปรึกษาอิสระ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงินชื่อกลุ่มบริษัท เซ็คเคียวรา ซึ่งได้ติดตามการดำเนินงานของ ปรส.ทุกขั้นตอน และให้การรับรองว่า การดำเนินงานและกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการ ปรส.ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ประกอบกับมีความโปร่งใส
ถึงแม้ว่าจะมีสถาบันการเงินเพียง 2 แห่ง ที่อยู่ในข่ายที่จะเปิดดำเนินการต่อไปได้และที่เหลือทั้ง 56 แห่งจะอยู่ในขั้นตอนของการปิดกิจการเป็นการถาวรต่อไป แต่ทางการได้มีมาตรการรองรับ และฟื้นฟูทรัพย์ที่เหลือของสถาบันการเงินที่ถูกปิดทั้งหมด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ถูกปิดกิจการ จะได้รับการปฎิบัติอย่างเป็นธรรมและถูกต้อง โดยมีมาตรการรองรับต่าง ๆ ดังนี้
1. พนักงานของบริษัทที่ถูกปิดประมาณ 6,000 คน ที่เหลืออยู่ จะได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงาน บางส่วนที่มีความสามารถจะได้รับการพิจารณาจ้างทำงานในธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ และใน 56 บริษัท ภายใต้ช่วงเวลาการบริหารงานของผู้จัดการพิเศษ
2. ผู้ฝากเงินจะได้รับการคุ้มครองเหมือนเดิม ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นบัตรเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย และตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ทั้งนี้ มีกำหนดขยายเวลาให้เปลี่ยนตั๋วได้ภายในเวลา 75 วัน
3. เจ้าหนี้ของบริษัททุกรายรวมทั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะได้รับการปฎิบัติตามสิทธิในทรัพย์สินอย่างเท่าเทียมกัน และยังคงสิทธิไว้สำหรับเจ้าหนี้ของบริษัทเงินทุนกลุ่ม 42 บริษัท ที่สามารถแลกเปลี่ยนตั๋วกับธนาคารกรุงไทยได้
4. ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับชำระเงินคืนบางส่วนในกรณีที่บริษัทยังมีมูลค่าทรัพย์สินเกินกว่าหนี้สินหลังจากได้หักชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว
สำหรับการบริหารงานขององค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ต่อไปจะดำเนินในวิธีการ ซึ่งรักษาสภาพของสินทรัพย์ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ จะดำเนินการโอนออกไปโดยวิธีการที่โปร่งใสภายใต้กฎระเบียบของ ปรส.ให้กับธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นใหม่หนึ่งหรือสองแห่ง
ธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นั้น ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การจัดตั้งที่เข้มงวด และคำนึงถึงการบริหารที่ดีโดยมืออาชีพ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงอย่างเต็มที่ การที่จะตั้งธนาคารพาณิชย์หนึ่งหรือสองแห่งนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของสินทรัพย์มีคุณภาพที่จะรับโอนมาได้เรียบร้อย ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าหลังจากนั้น ธนาคารใหม่จะจัดสภาพคล่องให้เพียงพอกับลูกค้าที่สามารถทำธุรกิจได้เป็นปกติต่อไป
ธนาคารพาณิชย์ใหม่จะดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยนำไปให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ที่ดี และสามารถคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ได้อย่างเป็นระบบ
ส่วนทรัพย์สินคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในการติดตามชำระคืนโดย ปรส. และ บบส. ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น ตามแนวทางที่ได้ตกลงไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการ และการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศฉบับที่สอง
ผมคาดว่า ผลของการติดสินของ ปรส.และการปฎิบัติตามขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพของ ปรส. และ บบส. ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีผลให้เรียกความมั่นใจและความเชื่อถือของระบบการเงินไทยกลับคืนมา ดังต่อไปนี้
1. ขจัดบรรยากาศความไม่แน่นอนจากระบบการเงินของไทย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปิดกิจการ 58 สถาบันการเงิน
2. จากสินทรัพย์รวมของ 58 สถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่มีทุนมากพอและมีสินทรัพย์ที่มีคุณภาพเท่านั้น จะได้รับการอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้
3. สำหรับสินทรัพย์ที่มีคุณภาพจะได้รับการดูแลให้มีสภาพคล่องเพียงพอภายใต้ธนาคารพาณิชย์ใหม่ที่ดีและมั่นคง และจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของกิจการเหล่านั้น
4. ผลประโยชน์ของเจ้าหนี้และของผู้ถือหุ้นจะได้รับการดูแลอย่างดี โดยการบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขั้นตอนการพิจารณาตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินต่อไป โดย ปรส. และ ผู้จัดการพิเศษ ผมได้มอบนโยบายให้ไว้ว่า หากพบว่ามีการกระทำผิดใด ๆ ที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจนในการดำเนินงานที่ผ่านมา ขอให้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัดต่อไป
ระบบการเงิน
ผลการตัดสินใจขององค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงินวันนี้ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างระบบการเงินที่มั่นคงแข็งแรงภายใต้สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินทั้งระบบพยายามที่จะสร้างฐานเงินกองทุนที่มั่นคง โดยแทบทุกสถาบันการเงินในประเทศจะได้มีการเพิ่มทุน โดยการระดมทุนในประเทศ และโดยมีหุ้นส่วนจากต่างประเทศเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งเป็นที่น่าพอใจว่า สถาบันการเงินชั้นนำของโลกได้สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นในสถาบันการเงินไทย และจะมีส่วนช่วยให้ระบบการเงินแข็งแกร่งขึ้น ไม่มีจุดอ่อนที่เกิดขึ้นกับวิกฤตในปีนี้ถ้าระบบการเงินของประเทศกลับคืนสู่สภาพปกติเร็วเท่าใด เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็วขึ้นเท่านั้น และจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในอนาตค
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการปรับปรุงระบบสถาบันการเงินไทยให้มีความโปร่งใสมากขึ้น โดยได้กำหนดมาตรฐานเข้มงวดขึ้นในการจัดชั้นหนี้และการสำรองหนี้สูญ รวมไปถึงการเพิ่มมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใสขึ้น
ผมขอยืนยันว่า รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการอย่างเข้มงวดกับสถาบันการเงินใดที่มีการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ในกรณีเช่นนั้น จะดำเนินการให้มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารและให้มีการเพิ่มทุนอย่างเพียงพอโดยทันที แต่ในทุกกรณี ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้จะได้รับความคุ้มครองเต็มที่
องค์ประกอบอื่นที่สำคัญในการที่จะสร้างความมั่นคงให้กับระบบการเงินคือการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงในพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างการบริหารงานอย่างโปร่งใส และมีความรับผิดชอบ เช่นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นจะต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ผู้กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันการณ์ และจัดให้การกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยการปรับปรุงด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรม รวมทั้งเร่งรัดให้นำร่างพระราชบัญญัติล้มละลายอยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาใช้บังคับโดยเร็ว และสร้างระบบบัญชีทั่วไปให้มีมาตรฐานสูงขึ้น--จบ--
ประกาศผลการพิจารณาแผนการแก้ไขฟื้นฟูฐานะกิจการ
ของสถาบันการเงิน 58 แห่ง
วันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2540
แถลงโดย
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
58 สถาบันการเงิน
เพื่อเป็นการปฎิบัติตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดองค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2540 ผมได้รับทราบผลจากการรายงานของคณะกรรมการ ปรส. ซึ่งประธานคณะกรรมการ ปรส.ได้ยื่นไว้ที่กระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2540
การรับทราบผลการตัดสินของผมในฐานะรัฐมนตรีตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รับการยืนยันจากที่ปรึกษาอิสระ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงินชื่อกลุ่มบริษัท เซ็คเคียวรา ซึ่งได้ติดตามการดำเนินงานของ ปรส.ทุกขั้นตอน และให้การรับรองว่า การดำเนินงานและกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการ ปรส.ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ประกอบกับมีความโปร่งใส
ถึงแม้ว่าจะมีสถาบันการเงินเพียง 2 แห่ง ที่อยู่ในข่ายที่จะเปิดดำเนินการต่อไปได้และที่เหลือทั้ง 56 แห่งจะอยู่ในขั้นตอนของการปิดกิจการเป็นการถาวรต่อไป แต่ทางการได้มีมาตรการรองรับ และฟื้นฟูทรัพย์ที่เหลือของสถาบันการเงินที่ถูกปิดทั้งหมด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ถูกปิดกิจการ จะได้รับการปฎิบัติอย่างเป็นธรรมและถูกต้อง โดยมีมาตรการรองรับต่าง ๆ ดังนี้
1. พนักงานของบริษัทที่ถูกปิดประมาณ 6,000 คน ที่เหลืออยู่ จะได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงาน บางส่วนที่มีความสามารถจะได้รับการพิจารณาจ้างทำงานในธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ และใน 56 บริษัท ภายใต้ช่วงเวลาการบริหารงานของผู้จัดการพิเศษ
2. ผู้ฝากเงินจะได้รับการคุ้มครองเหมือนเดิม ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นบัตรเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย และตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ ทั้งนี้ มีกำหนดขยายเวลาให้เปลี่ยนตั๋วได้ภายในเวลา 75 วัน
3. เจ้าหนี้ของบริษัททุกรายรวมทั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะได้รับการปฎิบัติตามสิทธิในทรัพย์สินอย่างเท่าเทียมกัน และยังคงสิทธิไว้สำหรับเจ้าหนี้ของบริษัทเงินทุนกลุ่ม 42 บริษัท ที่สามารถแลกเปลี่ยนตั๋วกับธนาคารกรุงไทยได้
4. ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับชำระเงินคืนบางส่วนในกรณีที่บริษัทยังมีมูลค่าทรัพย์สินเกินกว่าหนี้สินหลังจากได้หักชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว
สำหรับการบริหารงานขององค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ต่อไปจะดำเนินในวิธีการ ซึ่งรักษาสภาพของสินทรัพย์ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ จะดำเนินการโอนออกไปโดยวิธีการที่โปร่งใสภายใต้กฎระเบียบของ ปรส.ให้กับธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นใหม่หนึ่งหรือสองแห่ง
ธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นั้น ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การจัดตั้งที่เข้มงวด และคำนึงถึงการบริหารที่ดีโดยมืออาชีพ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงอย่างเต็มที่ การที่จะตั้งธนาคารพาณิชย์หนึ่งหรือสองแห่งนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของสินทรัพย์มีคุณภาพที่จะรับโอนมาได้เรียบร้อย ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าหลังจากนั้น ธนาคารใหม่จะจัดสภาพคล่องให้เพียงพอกับลูกค้าที่สามารถทำธุรกิจได้เป็นปกติต่อไป
ธนาคารพาณิชย์ใหม่จะดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยนำไปให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ที่ดี และสามารถคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ได้อย่างเป็นระบบ
ส่วนทรัพย์สินคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในการติดตามชำระคืนโดย ปรส. และ บบส. ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น ตามแนวทางที่ได้ตกลงไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการ และการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศฉบับที่สอง
ผมคาดว่า ผลของการติดสินของ ปรส.และการปฎิบัติตามขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพของ ปรส. และ บบส. ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีผลให้เรียกความมั่นใจและความเชื่อถือของระบบการเงินไทยกลับคืนมา ดังต่อไปนี้
1. ขจัดบรรยากาศความไม่แน่นอนจากระบบการเงินของไทย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปิดกิจการ 58 สถาบันการเงิน
2. จากสินทรัพย์รวมของ 58 สถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่มีทุนมากพอและมีสินทรัพย์ที่มีคุณภาพเท่านั้น จะได้รับการอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้
3. สำหรับสินทรัพย์ที่มีคุณภาพจะได้รับการดูแลให้มีสภาพคล่องเพียงพอภายใต้ธนาคารพาณิชย์ใหม่ที่ดีและมั่นคง และจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของกิจการเหล่านั้น
4. ผลประโยชน์ของเจ้าหนี้และของผู้ถือหุ้นจะได้รับการดูแลอย่างดี โดยการบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขั้นตอนการพิจารณาตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินต่อไป โดย ปรส. และ ผู้จัดการพิเศษ ผมได้มอบนโยบายให้ไว้ว่า หากพบว่ามีการกระทำผิดใด ๆ ที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจนในการดำเนินงานที่ผ่านมา ขอให้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัดต่อไป
ระบบการเงิน
ผลการตัดสินใจขององค์การเพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงินวันนี้ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างระบบการเงินที่มั่นคงแข็งแรงภายใต้สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินทั้งระบบพยายามที่จะสร้างฐานเงินกองทุนที่มั่นคง โดยแทบทุกสถาบันการเงินในประเทศจะได้มีการเพิ่มทุน โดยการระดมทุนในประเทศ และโดยมีหุ้นส่วนจากต่างประเทศเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งเป็นที่น่าพอใจว่า สถาบันการเงินชั้นนำของโลกได้สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นในสถาบันการเงินไทย และจะมีส่วนช่วยให้ระบบการเงินแข็งแกร่งขึ้น ไม่มีจุดอ่อนที่เกิดขึ้นกับวิกฤตในปีนี้ถ้าระบบการเงินของประเทศกลับคืนสู่สภาพปกติเร็วเท่าใด เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็วขึ้นเท่านั้น และจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในอนาตค
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการปรับปรุงระบบสถาบันการเงินไทยให้มีความโปร่งใสมากขึ้น โดยได้กำหนดมาตรฐานเข้มงวดขึ้นในการจัดชั้นหนี้และการสำรองหนี้สูญ รวมไปถึงการเพิ่มมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใสขึ้น
ผมขอยืนยันว่า รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการอย่างเข้มงวดกับสถาบันการเงินใดที่มีการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ในกรณีเช่นนั้น จะดำเนินการให้มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารและให้มีการเพิ่มทุนอย่างเพียงพอโดยทันที แต่ในทุกกรณี ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้จะได้รับความคุ้มครองเต็มที่
องค์ประกอบอื่นที่สำคัญในการที่จะสร้างความมั่นคงให้กับระบบการเงินคือการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงในพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างการบริหารงานอย่างโปร่งใส และมีความรับผิดชอบ เช่นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นจะต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ผู้กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันการณ์ และจัดให้การกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยการปรับปรุงด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรม รวมทั้งเร่งรัดให้นำร่างพระราชบัญญัติล้มละลายอยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาใช้บังคับโดยเร็ว และสร้างระบบบัญชีทั่วไปให้มีมาตรฐานสูงขึ้น--จบ--