ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. นรม. มั่นใจการฟื้นตัวของเอเชียจะยั่งยืน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นรม. กล่าวสุนทรพจน์ภายใต้
หัวข้อ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขาขึ้น : การขยายตัวของภูมิภาคท่ามกลางยักษ์ทางเศรษฐกิจของเอเชีย”
แสดงความมั่นใจว่า การฟื้นตัวของเอเชียจะยั่งยืน โดยวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 40 ถือเป็นความผิดพลาด แต่เป็น
ประสบการณ์เรียนรู้ที่มีคุณค่า ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวแล้วและพร้อมจะเดินหน้าอีกครั้ง สำหรับการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย ไทยเห็นว่าเป็นโอกาสไม่ใช่ภัยคุกคาม และการที่ไทยเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจของเอเชียจะเป็นประตูเชื่อมโยงทั้ง 2 ประเทศนี้ ไทยจึงกำหนดบทบาทใหม่ทั้งระดับภูมิภาคและระดับ
โลก เพื่อเป็นแรงส่งเสริมคลื่นเศรษฐกิจระลอกใหม่ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลดำเนินมาตรการต่าง ๆ ออกมา
ส่วนการที่ตัวเลขจีดีพีของไทยในไตรมาสแรกปีนี้เติบโตเพียงร้อยละ 3.3 ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าเป้าหมาย
แต่ยังหวังว่าการปรับตัวลดลงของจีดีพีจะเกิดจากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โลกยังส่งผลให้การส่งออกไทยลดลง ทั้งที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยดำเนินการผลิตอย่างเต็มกำลัง ส่งผลให้การนำ
เข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นพร้อม ๆ ไปกับการลงทุนเพื่อการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะผลักดันเศรษฐกิจให้รุด
หน้าต่อไป และหากราคาน้ำมันไม่สูงขึ้นมากจะสามารถทำให้จีดีพีเติบโตได้ในอัตราอย่างน้อยร้อยละ 5 ในปี
นี้(กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
2. ธปท. พร้อมเข้าดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า ธปท. ได้เข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ หลังสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวอ่อนตัว
ลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ขณะนี้ค่าเงินบาทนิ่งและอยู่ในระดับที่ใช้ได้เมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ โดยอ่อน
ค่าลงประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับสิ้นเดือน เม.ย. ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงร้อยละ 5 จึงช่วยให้การส่งออก
ไปยังสหภาพยุโรปยังขยายตัวได้ดี เพราะราคาสินค้าที่ส่งไปไม่แพงมาก แต่หากค่าเงินบาทไม่อ่อนลงเลยการส่งออก
ไปตลาดอื่นยกเว้น สรอ. จะมีปัญหา ซึ่ง ธปท. ไม่ต้องการให้เงินบาทอ่อนค่ามากจนเกินพอดี เพราะนโยบายขณะนี้
ยังคงเป็นการรักษาเสถียรภาพโดยรวมแต่ไม่ฝืนกลไกตลาด ซึ่งที่ผ่านมาได้เข้าไปดูแลไม่ให้แข็งจนเกินไปเช่นกัน
เพราะต้องดูเรื่องการนำเข้าด้วย ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 40.33 — 40.79
บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีส่วนต่างถึง 0.46 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ส่วนวานนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
เนื่องจากรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธปท. สำหรับการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลถือว่า
เดินมาถูกทางแล้ว ช่วยให้ประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง ส่วนผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อคงมีไม่มาก ธปท. เตรียม
รับมือไว้แล้ว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังจัดเก็บรายได้เดือน พ.ค. ทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด
ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้เดือน พ.ค.48 ว่า จัดเก็บรายได้สุทธิสูงถึง 200,482 ล้านบาท สูงกว่า
ประมาณการ 12,903 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.9 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 37,354 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 22.9 นับเป็นการจัดเก็บรายได้สูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา โดยภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ
16.5 ส่วนภาษีสำคัญที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ ภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างอัตรา
ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับผลการจัดเก็บรายได้สะสมตั้งแต่ต้นปี งปม. (ต.ค.47 — พ.
ค.48) จัดเก็บได้สุทธิ 841,534 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 53,852 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.8 และสูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 94,965 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ตามที่
คาดการณ์ไว้ 1.25 ล้านล้านบาท แน่นอน (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
4. ประมูลอี-ออคชั่นช่วยรัฐประหยัด งปม.ร้อยละ 23 นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง เปิด
เผยภายหลังหารือร่วมกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศที่มีงบลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อสรุปผล
การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออคชั่น ว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่
วันที่ 1 ม.ค. — 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศประหยัด งปม. จากการจัดซื้อจัดจ้าง
ด้วยระบบอี-ออคชั่นเป็นเงิน 8,340 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23.43 จากวงเงิน งปม. ในการจัดซื้อจัดจ้าง
35,593 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการในส่วนภูมิภาคสามารถจัดทำระบบอี-ออคชั่นโดยประหยัด งปม. ได้
เพียง 92 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8 ของ งปม.จัดซื้อจัดจ้าง 3,322 ล้านบาท เนื่องจากวงเงินค่อนข้างน้อย
ประกอบกับการแข่งขันในการประมูลของส่วนกลางมีมากกว่า รวมถึงมีจำนวนการจัดซื้อและให้ราคาส่วนลดสูงกว่า
นอกจากนี้วงเงิน งปม. ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนจึงทำให้ผลการจัดทำอี-ออคชั่นได้ผลน้อยกว่าส่วนราชการในส่วน
กลาง (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจสรอ.จะขยายตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก รายงานจาก นิวยอร์ก เมื่อ
วันที่ 8 มิ.ย 48 ผลการสำรวจของภาคเอกชนและนักเศรษฐศาสตร์งวดครึ่งปี (เดือนมิ.ย. 48) ของ
ธ.กลางฟิลาเดลเฟียคาดว่า สรอ.ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในครึ่งหลังของปีนี้เศรษฐกิจจะขยาย
ตัวร้อยละ 3.6 สูงกว่าครึ่งปีแรกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 และคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1
ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 โดยผลการสำรวจก่อนหน้า (ธ.ค.47) นั้นคาดว่าทั้งช่วงครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังของปีนี้
เศรษฐกิจจะขยายตัวเท่ากันที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งขัดแย้งกับผลการสำรวจครั้งล่าสุดที่คาดว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะเติบโต
รวดเร็วกว่าครึ่งปีแรกแสดงให้เห็นว่ามีการมองแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะ
สูงกว่าเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดัชนีราคาผู้ผลิตอย่างไรก็ตามยังหวังว่าแรงกดดันด้านราคาจะลดลง
โดยผลการสำรวจเมื่อเดือนมิ.ย.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 48 จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.9 และจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ
2.7 ในปี 49 เทียบกับผลการสำรวจเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้วที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้และปีหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจพบว่าชาวอังกฤษโดยเฉลี่ยใช้จ่ายเงินเกินกว่ารายได้ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 8
มิ.ย.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของครอบครัวในอังกฤษจากกลุ่ม
ตัวอย่างกว่า 7,000 ครัวเรือนพบว่ารายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของครัวเรือนในอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ใน
ช่วงปี 46-47 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนเป็น 592 ปอนด์ มากกว่ารายรับโดย
เฉลี่ยต่อสัปดาห์ซึ่งมีจำนวน 570 ปอนด์อยู่ 22 ปอนด์ แสดงให้เห็นว่ามีชาวอังกฤษจำนวนหนึ่งที่กู้ยืมเงินมาใช้จ่าย
เกินกว่ารายรับโดยดูได้จากยอดสินเชื่อบุคคลของประเทศที่มีจำนวนเกินกว่า 1 ล้านล้านปอนด์แล้ว ในขณะที่ผล
สำรวจครั้งก่อนรายจ่ายมากกว่ารายรับ 14 ปอนด์ ผลสำรวจดังกล่าวสร้างความกังขาให้กับตัวเลขการใช้จ่ายของ
ครัวเรือนเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่มีแนวโน้มลดลง และเมื่อดูในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่ารายจ่ายต่อสัปดาห์ที่มีจำนวนมากที่
สุดคือรายจ่ายเกี่ยวกับบ้านซึ่งรวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านและการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้มี
จำนวนเฉลี่ย 116 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ลดลงจาก 187 ปอนด์จากผลสำรวจในช่วงปี 44-45 ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอังกฤษ
นิยมซื้อบ้านหลังที่ 2 เพื่อปล่อยให้เช่า อย่างไรก็ดีนักสถิติเตือนว่าเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบรายรับและรายจ่าย
โดยตรงโดยยกตัวอย่างว่าในการสำรวจไม่ได้คำนึงถึงการเก็บออมเงินเพื่อใช้ในช่วงวันหยุดแต่ใช้จ่ายจริงในวันหยุด
เกินกว่าที่ออมไว้ (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 9 มิ.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.48 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน
1.6269 ล้านล้านเยน (15.17 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.5342 ล้านล้านเยน หรือลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนเกิน
ดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
อันสามารถชดเชยภาวะการส่งออกที่ชะลอตัวได้ โดยการส่งออกในเดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.5 เมื่อ
เทียบจากปีก่อนหน้า ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.1 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงเหลือจำนวน 734.7
พัน ล.เยน หรือลดลงประมาณร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี สำหรับดุลบัญชีรายได้ในเดือน เม.ย.เกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ
18.5 จากปีก่อน เนื่องจากผลประโยชน์จากการถือสินทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการถือพันธบัตรของ
สรอ.และสหภาพยุโรป ทั้งนี้ การส่งออกที่ชะลอตัวทำให้คาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะไม่สดใสในปีนี้ ซึ่งเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเริ่มชะลอตัวประมาณ 1 ปีมาแล้ว แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวก็ตาม (รอยเตอร์)
4. ความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 2 รายงานจากโซลเมื่อ 9 มิ.ย.48 National Statistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดความ
คาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (Consumer
expectation index) ของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 99.2 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
จากระดับ 101.3 และ 102.2 ในเดือน เม.ย.และ มี.ค. ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.3
สำหรับดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพของผู้บริโภคเปรียบเทียบกับช่วง 6
เดือนก่อนหน้า (Consumer evaluation index) ในเดือน พ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 85.5 ลดลงจากระดับ 90.2
และ 89.6 ในเดือน เม.ย. และ มี.ค. นับเป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการภายในประเทศอาจจะยังไม่
ฟื้นตัว แม้จะมีสัญญาณที่ดีบางอย่าง ได้แก่ ดัชนีชี้วัดภาคบริการ (Service sector index) ในเดือน เม.ย.48
ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 รวมถึงปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและยอดขายของห้างสรรพสินค้า
ซึ่งเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.48 ก็ตาม ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความคาดหวังของผู้บริโภคเป็นปัจจัยชี้วัดความต้องการภายใน
ประเทศ ซึ่งทางการเกาหลีใต้คาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการชะลอตัวของการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักใน
การขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และการลดลงของดัชนีฯ ก่อให้เกิดการคาดหมายว่า ธ.กลาง
เกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 มิ.ย. 48 8 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.518 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3249/40.6078 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.4500—2.46875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 684.07/15.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 47.94 48.52 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.59** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 7 มิ.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 มิ.ย 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. นรม. มั่นใจการฟื้นตัวของเอเชียจะยั่งยืน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นรม. กล่าวสุนทรพจน์ภายใต้
หัวข้อ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขาขึ้น : การขยายตัวของภูมิภาคท่ามกลางยักษ์ทางเศรษฐกิจของเอเชีย”
แสดงความมั่นใจว่า การฟื้นตัวของเอเชียจะยั่งยืน โดยวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 40 ถือเป็นความผิดพลาด แต่เป็น
ประสบการณ์เรียนรู้ที่มีคุณค่า ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวแล้วและพร้อมจะเดินหน้าอีกครั้ง สำหรับการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย ไทยเห็นว่าเป็นโอกาสไม่ใช่ภัยคุกคาม และการที่ไทยเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจของเอเชียจะเป็นประตูเชื่อมโยงทั้ง 2 ประเทศนี้ ไทยจึงกำหนดบทบาทใหม่ทั้งระดับภูมิภาคและระดับ
โลก เพื่อเป็นแรงส่งเสริมคลื่นเศรษฐกิจระลอกใหม่ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลดำเนินมาตรการต่าง ๆ ออกมา
ส่วนการที่ตัวเลขจีดีพีของไทยในไตรมาสแรกปีนี้เติบโตเพียงร้อยละ 3.3 ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าเป้าหมาย
แต่ยังหวังว่าการปรับตัวลดลงของจีดีพีจะเกิดจากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โลกยังส่งผลให้การส่งออกไทยลดลง ทั้งที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยดำเนินการผลิตอย่างเต็มกำลัง ส่งผลให้การนำ
เข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นพร้อม ๆ ไปกับการลงทุนเพื่อการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะผลักดันเศรษฐกิจให้รุด
หน้าต่อไป และหากราคาน้ำมันไม่สูงขึ้นมากจะสามารถทำให้จีดีพีเติบโตได้ในอัตราอย่างน้อยร้อยละ 5 ในปี
นี้(กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
2. ธปท. พร้อมเข้าดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า ธปท. ได้เข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ หลังสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวอ่อนตัว
ลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ขณะนี้ค่าเงินบาทนิ่งและอยู่ในระดับที่ใช้ได้เมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ โดยอ่อน
ค่าลงประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับสิ้นเดือน เม.ย. ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงร้อยละ 5 จึงช่วยให้การส่งออก
ไปยังสหภาพยุโรปยังขยายตัวได้ดี เพราะราคาสินค้าที่ส่งไปไม่แพงมาก แต่หากค่าเงินบาทไม่อ่อนลงเลยการส่งออก
ไปตลาดอื่นยกเว้น สรอ. จะมีปัญหา ซึ่ง ธปท. ไม่ต้องการให้เงินบาทอ่อนค่ามากจนเกินพอดี เพราะนโยบายขณะนี้
ยังคงเป็นการรักษาเสถียรภาพโดยรวมแต่ไม่ฝืนกลไกตลาด ซึ่งที่ผ่านมาได้เข้าไปดูแลไม่ให้แข็งจนเกินไปเช่นกัน
เพราะต้องดูเรื่องการนำเข้าด้วย ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 40.33 — 40.79
บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีส่วนต่างถึง 0.46 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ส่วนวานนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
เนื่องจากรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธปท. สำหรับการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลถือว่า
เดินมาถูกทางแล้ว ช่วยให้ประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง ส่วนผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อคงมีไม่มาก ธปท. เตรียม
รับมือไว้แล้ว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังจัดเก็บรายได้เดือน พ.ค. ทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด
ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้เดือน พ.ค.48 ว่า จัดเก็บรายได้สุทธิสูงถึง 200,482 ล้านบาท สูงกว่า
ประมาณการ 12,903 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.9 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 37,354 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 22.9 นับเป็นการจัดเก็บรายได้สูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา โดยภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ
16.5 ส่วนภาษีสำคัญที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ ภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างอัตรา
ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับผลการจัดเก็บรายได้สะสมตั้งแต่ต้นปี งปม. (ต.ค.47 — พ.
ค.48) จัดเก็บได้สุทธิ 841,534 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 53,852 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.8 และสูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 94,965 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ตามที่
คาดการณ์ไว้ 1.25 ล้านล้านบาท แน่นอน (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
4. ประมูลอี-ออคชั่นช่วยรัฐประหยัด งปม.ร้อยละ 23 นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง เปิด
เผยภายหลังหารือร่วมกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศที่มีงบลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อสรุปผล
การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออคชั่น ว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่
วันที่ 1 ม.ค. — 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศประหยัด งปม. จากการจัดซื้อจัดจ้าง
ด้วยระบบอี-ออคชั่นเป็นเงิน 8,340 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23.43 จากวงเงิน งปม. ในการจัดซื้อจัดจ้าง
35,593 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการในส่วนภูมิภาคสามารถจัดทำระบบอี-ออคชั่นโดยประหยัด งปม. ได้
เพียง 92 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8 ของ งปม.จัดซื้อจัดจ้าง 3,322 ล้านบาท เนื่องจากวงเงินค่อนข้างน้อย
ประกอบกับการแข่งขันในการประมูลของส่วนกลางมีมากกว่า รวมถึงมีจำนวนการจัดซื้อและให้ราคาส่วนลดสูงกว่า
นอกจากนี้วงเงิน งปม. ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนจึงทำให้ผลการจัดทำอี-ออคชั่นได้ผลน้อยกว่าส่วนราชการในส่วน
กลาง (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจสรอ.จะขยายตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก รายงานจาก นิวยอร์ก เมื่อ
วันที่ 8 มิ.ย 48 ผลการสำรวจของภาคเอกชนและนักเศรษฐศาสตร์งวดครึ่งปี (เดือนมิ.ย. 48) ของ
ธ.กลางฟิลาเดลเฟียคาดว่า สรอ.ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในครึ่งหลังของปีนี้เศรษฐกิจจะขยาย
ตัวร้อยละ 3.6 สูงกว่าครึ่งปีแรกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 และคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1
ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 โดยผลการสำรวจก่อนหน้า (ธ.ค.47) นั้นคาดว่าทั้งช่วงครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังของปีนี้
เศรษฐกิจจะขยายตัวเท่ากันที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งขัดแย้งกับผลการสำรวจครั้งล่าสุดที่คาดว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะเติบโต
รวดเร็วกว่าครึ่งปีแรกแสดงให้เห็นว่ามีการมองแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะ
สูงกว่าเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดัชนีราคาผู้ผลิตอย่างไรก็ตามยังหวังว่าแรงกดดันด้านราคาจะลดลง
โดยผลการสำรวจเมื่อเดือนมิ.ย.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 48 จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.9 และจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ
2.7 ในปี 49 เทียบกับผลการสำรวจเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้วที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้และปีหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจพบว่าชาวอังกฤษโดยเฉลี่ยใช้จ่ายเงินเกินกว่ารายได้ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 8
มิ.ย.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของครอบครัวในอังกฤษจากกลุ่ม
ตัวอย่างกว่า 7,000 ครัวเรือนพบว่ารายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของครัวเรือนในอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ใน
ช่วงปี 46-47 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนเป็น 592 ปอนด์ มากกว่ารายรับโดย
เฉลี่ยต่อสัปดาห์ซึ่งมีจำนวน 570 ปอนด์อยู่ 22 ปอนด์ แสดงให้เห็นว่ามีชาวอังกฤษจำนวนหนึ่งที่กู้ยืมเงินมาใช้จ่าย
เกินกว่ารายรับโดยดูได้จากยอดสินเชื่อบุคคลของประเทศที่มีจำนวนเกินกว่า 1 ล้านล้านปอนด์แล้ว ในขณะที่ผล
สำรวจครั้งก่อนรายจ่ายมากกว่ารายรับ 14 ปอนด์ ผลสำรวจดังกล่าวสร้างความกังขาให้กับตัวเลขการใช้จ่ายของ
ครัวเรือนเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่มีแนวโน้มลดลง และเมื่อดูในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่ารายจ่ายต่อสัปดาห์ที่มีจำนวนมากที่
สุดคือรายจ่ายเกี่ยวกับบ้านซึ่งรวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านและการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้มี
จำนวนเฉลี่ย 116 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ลดลงจาก 187 ปอนด์จากผลสำรวจในช่วงปี 44-45 ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอังกฤษ
นิยมซื้อบ้านหลังที่ 2 เพื่อปล่อยให้เช่า อย่างไรก็ดีนักสถิติเตือนว่าเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบรายรับและรายจ่าย
โดยตรงโดยยกตัวอย่างว่าในการสำรวจไม่ได้คำนึงถึงการเก็บออมเงินเพื่อใช้ในช่วงวันหยุดแต่ใช้จ่ายจริงในวันหยุด
เกินกว่าที่ออมไว้ (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 9 มิ.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.48 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน
1.6269 ล้านล้านเยน (15.17 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.5342 ล้านล้านเยน หรือลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนเกิน
ดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
อันสามารถชดเชยภาวะการส่งออกที่ชะลอตัวได้ โดยการส่งออกในเดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.5 เมื่อ
เทียบจากปีก่อนหน้า ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.1 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงเหลือจำนวน 734.7
พัน ล.เยน หรือลดลงประมาณร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี สำหรับดุลบัญชีรายได้ในเดือน เม.ย.เกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ
18.5 จากปีก่อน เนื่องจากผลประโยชน์จากการถือสินทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการถือพันธบัตรของ
สรอ.และสหภาพยุโรป ทั้งนี้ การส่งออกที่ชะลอตัวทำให้คาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะไม่สดใสในปีนี้ ซึ่งเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเริ่มชะลอตัวประมาณ 1 ปีมาแล้ว แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวก็ตาม (รอยเตอร์)
4. ความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 2 รายงานจากโซลเมื่อ 9 มิ.ย.48 National Statistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดความ
คาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (Consumer
expectation index) ของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 99.2 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
จากระดับ 101.3 และ 102.2 ในเดือน เม.ย.และ มี.ค. ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.3
สำหรับดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพของผู้บริโภคเปรียบเทียบกับช่วง 6
เดือนก่อนหน้า (Consumer evaluation index) ในเดือน พ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 85.5 ลดลงจากระดับ 90.2
และ 89.6 ในเดือน เม.ย. และ มี.ค. นับเป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการภายในประเทศอาจจะยังไม่
ฟื้นตัว แม้จะมีสัญญาณที่ดีบางอย่าง ได้แก่ ดัชนีชี้วัดภาคบริการ (Service sector index) ในเดือน เม.ย.48
ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 รวมถึงปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและยอดขายของห้างสรรพสินค้า
ซึ่งเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.48 ก็ตาม ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความคาดหวังของผู้บริโภคเป็นปัจจัยชี้วัดความต้องการภายใน
ประเทศ ซึ่งทางการเกาหลีใต้คาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการชะลอตัวของการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักใน
การขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และการลดลงของดัชนีฯ ก่อให้เกิดการคาดหมายว่า ธ.กลาง
เกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 มิ.ย. 48 8 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.518 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3249/40.6078 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.4500—2.46875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 684.07/15.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 47.94 48.52 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.59** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 7 มิ.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 มิ.ย 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--