แท็ก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
องอาจ คล้ามไพบูลย์
พรรคประชาธิปัตย์
สภาผู้แทนราษฎร
กรณ์ จาติกวณิช
วันนี้ (17 พ.ย.48) เวลา 13.30น. ที่ห้องประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน อาคารรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายพิเชษฐ์ พันธ์วิชาติกุล นายกรณ์ จาติกวณิช นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ มล.อภิมงคล โสณกุล นายถาวร เสนเนียม แถลงข่าวกรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าตลาดหลักทรัพย์ว่า
สืบเนื่องจากที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เคยบอกว่าจะมีคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายกรณีการนำกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะในส่วนของ พระราชกฤษฏีกา ในเบื้องต้นคณะทำงานฯได้มีข้อสังเกตที่มีความสำคัญหลายข้อคือ
1. กรณีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เพราะรัฐบาลอธิบายเพียงว่าเขื่อน ไม่ได้โอนเป็นของบริษัท แต่โอนเป็นของกรมธนารักษ์ ซึ่งบริษัทต้องทำสัญญาในการเช่า เขื่อนจากกรมธนารักษ์ ตรงนี้ควรจะมีการเปิดเผยสัญญา เพราะเป็นการเช่าทรัพย์สินที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่จะกระทบกับประชาชนในวงกว้าง เพราะการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานน้ำ แทบจะไม่ต้องมีต้นทุนในการผลิต แต่สุดท้ายผลประโยชน์แทนที่จะตกกับประชาชน กลับตกไปที่นายทุน นอกจากนั้นเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ทั้งเรื่องการควบคุมดูแล หรือสิทธิที่จะใช้ ตลอดหนังสือชี้ชวน ที่ระบุว่า เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมา เพราะดูจะหนักไปที่การดูแลผลประโยชน์ของน้ำเท่านั้น
2. ในการดำเนินกิจการไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้อำนาจรัฐ ทั้งการปักเสา การเดินสาย หรือกิจการอีกหลายอย่าง จะต้องมีเรื่องการเวนคืน การรอนสิทธิ ซึ่งในอดีตเมื่อกฟผ.เป็นองค์การของรัฐ สามารถใช้อำนาจของรัฐเพื่อสาธารณะประโยชน์ แต่หากมีการกระจายหุ้นแล้ว หมายความว่าทรัพย์สิน หรือการรอนสิทธิที่ได้โดยการใช้อำนาจรัฐ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชนด้วย ตรงนี้เป็นประเด็นที่หมิ่นเหม่กับการขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ. ซึ่งต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
3 . ภายใต้โครงสร้างการเดินหน้าตามแผนของรัฐบาลในเรื่องการดินกิจการของ กฟผ. จะมีอำนาจผูกขาด
ทั้งเรื่องการขายไฟฟ้า การซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตทุกราย คำถามคือ การผูกขาดเช่นนี้จะมีการกำกับดูแลและรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมอย่างไร และเป็นน่าสังเกตว่ารัฐบาลกำลังฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 87 หรือไม่
4. ในพระราชกฤษฎีกา มีการอนุญาตให้แต่งตั้งพนักงานโดยเอาภาคเอกชนมาทำหน้าที่ตรงนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา เพราะอำนาจนี้จะนำไปสู่การใช้อำนาจที่อาจริดรอนสิทธิของผู้อื่น ซึ่งแต่เดิมเป็นบุคลากรของรัฐที่จะทำตรงนี้ได้ “ข้อกฎหมายเหล่านี้พรรคฝ่ายค้านจะทำเป็นรายงานการศึกษาเพื่อไปสนับสนุนผู้ร้องที่ศาลปกครอง และ สืบเนื่องจากรัฐบาลออกมาบอกว่า การระงับการกระจายหุ้น จะนำไปสู่การขึ้นค่าไฟได้ เพราะต้องมีการลงทุนในการสร้างโรงวไฟฟ้า 4 แห่ง ผมอยากเรียนว่ารัฐบาลควรหยุดพฤติกรรมเช่นนี้ เพราะรัฐมนตรี เคยข่มขู่ศาลปกครองมาแล้วว่า หากศาลปกครองมีคำสั่งระงับเศรษฐกิจไทยจะพัง แต่เมื่อศาลปกครองวินิจฉัยมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ออกมายอมรับว่าคำสั่งศาลไม่กระทบกับศก. ดังนั้นคำข่มขู่จึงขาดความน่าเชื่อถือ ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าว กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นการสร้างโรงไฟฟ้า เป็นตัวสะท้อนถึงปัญหาที่รัฐบาลเอามากล่าวอ้าง เพราะความจำเป็นในการสร้าง สามารถตอบสนองได้ตามแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ คือให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนได้ ที่รัฐบาลเลือกวิธีที่จะดำเนินการกับกฟผ.นั้น ก็เพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้น เพราะฉะนั้นที่รัฐบาลบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคยมีนโยบายแปรรูป ตรงนี้คือความแตกต่าง เพราะพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าให้เอกชนเข้ามาได้ แต่ไม่ใช่การเอาสมบัติชาติ และถ้ารัฐบาลมีความกังวลว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้า ก็ให้รัฐบาลตระหนักถึงการดำเนินงานที่ถูกต้อง
“อยากย้ำจุดยืนของฝ่ายค้านว่าสอดคล้องกับสมัยที่เป็นรัฐบาล คือต้องการให้มีรัฐวิสากิจที่มีประสิทธิภาพที่มุ่งการแข่งขันและมีระบบที่ดี” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 พ.ย.2548--จบ--
สืบเนื่องจากที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เคยบอกว่าจะมีคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายกรณีการนำกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะในส่วนของ พระราชกฤษฏีกา ในเบื้องต้นคณะทำงานฯได้มีข้อสังเกตที่มีความสำคัญหลายข้อคือ
1. กรณีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เพราะรัฐบาลอธิบายเพียงว่าเขื่อน ไม่ได้โอนเป็นของบริษัท แต่โอนเป็นของกรมธนารักษ์ ซึ่งบริษัทต้องทำสัญญาในการเช่า เขื่อนจากกรมธนารักษ์ ตรงนี้ควรจะมีการเปิดเผยสัญญา เพราะเป็นการเช่าทรัพย์สินที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่จะกระทบกับประชาชนในวงกว้าง เพราะการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานน้ำ แทบจะไม่ต้องมีต้นทุนในการผลิต แต่สุดท้ายผลประโยชน์แทนที่จะตกกับประชาชน กลับตกไปที่นายทุน นอกจากนั้นเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ทั้งเรื่องการควบคุมดูแล หรือสิทธิที่จะใช้ ตลอดหนังสือชี้ชวน ที่ระบุว่า เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมา เพราะดูจะหนักไปที่การดูแลผลประโยชน์ของน้ำเท่านั้น
2. ในการดำเนินกิจการไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้อำนาจรัฐ ทั้งการปักเสา การเดินสาย หรือกิจการอีกหลายอย่าง จะต้องมีเรื่องการเวนคืน การรอนสิทธิ ซึ่งในอดีตเมื่อกฟผ.เป็นองค์การของรัฐ สามารถใช้อำนาจของรัฐเพื่อสาธารณะประโยชน์ แต่หากมีการกระจายหุ้นแล้ว หมายความว่าทรัพย์สิน หรือการรอนสิทธิที่ได้โดยการใช้อำนาจรัฐ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชนด้วย ตรงนี้เป็นประเด็นที่หมิ่นเหม่กับการขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ. ซึ่งต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
3 . ภายใต้โครงสร้างการเดินหน้าตามแผนของรัฐบาลในเรื่องการดินกิจการของ กฟผ. จะมีอำนาจผูกขาด
ทั้งเรื่องการขายไฟฟ้า การซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตทุกราย คำถามคือ การผูกขาดเช่นนี้จะมีการกำกับดูแลและรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมอย่างไร และเป็นน่าสังเกตว่ารัฐบาลกำลังฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 87 หรือไม่
4. ในพระราชกฤษฎีกา มีการอนุญาตให้แต่งตั้งพนักงานโดยเอาภาคเอกชนมาทำหน้าที่ตรงนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา เพราะอำนาจนี้จะนำไปสู่การใช้อำนาจที่อาจริดรอนสิทธิของผู้อื่น ซึ่งแต่เดิมเป็นบุคลากรของรัฐที่จะทำตรงนี้ได้ “ข้อกฎหมายเหล่านี้พรรคฝ่ายค้านจะทำเป็นรายงานการศึกษาเพื่อไปสนับสนุนผู้ร้องที่ศาลปกครอง และ สืบเนื่องจากรัฐบาลออกมาบอกว่า การระงับการกระจายหุ้น จะนำไปสู่การขึ้นค่าไฟได้ เพราะต้องมีการลงทุนในการสร้างโรงวไฟฟ้า 4 แห่ง ผมอยากเรียนว่ารัฐบาลควรหยุดพฤติกรรมเช่นนี้ เพราะรัฐมนตรี เคยข่มขู่ศาลปกครองมาแล้วว่า หากศาลปกครองมีคำสั่งระงับเศรษฐกิจไทยจะพัง แต่เมื่อศาลปกครองวินิจฉัยมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ออกมายอมรับว่าคำสั่งศาลไม่กระทบกับศก. ดังนั้นคำข่มขู่จึงขาดความน่าเชื่อถือ ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าว กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นการสร้างโรงไฟฟ้า เป็นตัวสะท้อนถึงปัญหาที่รัฐบาลเอามากล่าวอ้าง เพราะความจำเป็นในการสร้าง สามารถตอบสนองได้ตามแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ คือให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนได้ ที่รัฐบาลเลือกวิธีที่จะดำเนินการกับกฟผ.นั้น ก็เพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้น เพราะฉะนั้นที่รัฐบาลบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคยมีนโยบายแปรรูป ตรงนี้คือความแตกต่าง เพราะพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าให้เอกชนเข้ามาได้ แต่ไม่ใช่การเอาสมบัติชาติ และถ้ารัฐบาลมีความกังวลว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้า ก็ให้รัฐบาลตระหนักถึงการดำเนินงานที่ถูกต้อง
“อยากย้ำจุดยืนของฝ่ายค้านว่าสอดคล้องกับสมัยที่เป็นรัฐบาล คือต้องการให้มีรัฐวิสากิจที่มีประสิทธิภาพที่มุ่งการแข่งขันและมีระบบที่ดี” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 พ.ย.2548--จบ--