บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารจะต้องมีข้อความที่บอกกล่าวถึงคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้น
ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีข้อความในส่วนที่แสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารบนฉลาก ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตโดย ธุรกิจขนาดเล็กที่มียอดจำหน่ายน้อยกว่า 500,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
2. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ปรุงขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริโภคทันที เช่น ขนมปัง (bakeries) เป็นต้น
3. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อบริจาคเป็นการกุศล (Donated food)
4. ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริม (Dietary Supplements)
5. ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Medical Foods)
6. ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารก (Infant formula) หรือผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กที่มีอายุกว่า 4 ขวบ
7. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไว้เพื่อขายให้แก่กิจการ ภัตตาคาร หรือกิจการใดๆ ที่นำอาหารเหล่านั้นไปบริโภคทันที
8. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีนัยสำคัญทางด้านโภชนาการ (Foods of nonutritional significance) เช่นกาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) และผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ (spices) เป็นต้น
9. ผักสด ผลไม้สด และปลาสด (Raw fruit,vegetables,and fish)
10.อาหารที่ขนส่งและขายกันเป็นกอง (Foods shipped in bulk from)
ผลิตภัณฑ์อาหารที่จะต้องมีการแสดงข้อความเกี่ยวกับโภชนาการเป็นกรณีพิเศษได้แก่
1. บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ในส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ ให้ยกเว้นข้อความเกี่ยวกับปริมาณแคลลอรี่จากไขมัน ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล
2. บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 4 ปี ในส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ ให้ยกเว้นข้อความในส่วนที่เป็นวลี “Percent Daily Value ” และส่วนที่เป็นเชิงอรรถ (footnotes)
3. ผลิตภัณฑ์จำพวกไข่เปลือกแข็ง เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นก ให้ใส่ฉลากที่แสดงข้อความเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไว้ภายในกล่องที่ใช้บรรจุ
รายละเอียดของข้อความบางประเภทที่กำหนดให้มีปรากฏอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อแสดงถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารมีดังต่อไปนี้
1. ปริมาณพลังงานเป็นแคลลอรี่ที่ร่างกายได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร
ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ให้กำหนดหน่วยเป็นแคลลอรี่ (Calories) และสามารถใช้คำว่า “Energy ” แทนคำว่า Calories ได้ หรืออาจจะใช้คำว่า “Kilojoules ” เป็นหน่วยของปริมาณพลังงานบนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารก็ได้
การกำหนดปริมาณแคลลอรี่ ที่ได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ สามารถปรับตัวเลขได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ปริมาณแคลลอรี่ 50 แคลลอรี่ หรือ น้อยกว่าให้ปรับตัวเลขลงท้ายเป็นเลข 5 เช่น ปริมาณ37 แคลลอรี่ ให้ปรับเป็น 35 แคลลอรี่
ปริมาณแคลลอรี่ที่มากกว่า 50 แคลลอรี่ขึ้นไปให้ปรับตัวเลขเป็นเลข 10 เช่นปริมาณ 88แคลลอรี่ให้ปรับเป็น 90 แคลลอรี่
2. ปริมาณของน้ำตาลและไขมันในรูปของ Saturated fat และ Cholesterol
ปริมาณของคาร์โบไฮเดรท และไขมัน ที่มีปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้
Total fat : หมายความถึงปริมาณของกรดไขมัน (lipid fatty acids) ที่มีปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารในรูปของ triglycerides
Saturated fat : หมายความถึงปริมาณของกรดไขมัน (fatty acids) ทั้งหมดที่อยู่ในลักษณะของกรดไขมันที่อิ่มตัว (no double bonds) ซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารนั้น
Total carbohydrate : คือปริมาณคาร์โบไฮเดรททั้งหมดที่มีปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร การคำนวณหาปริมาณคาร์โบไฮเดรทในผลิตภัณฑ์อาหาร กระทำได้โดยนำเอาผลรวมของปริมาณโปรตีน(crude protein) ไขมัน (total fat) ความชื้น (moisture) และเศษเถ้า (ash) ลบออกจากน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด
Sugar Alcohol : คึอปริมาณทั้งหมดของอนุพันธ์คาร์โบไฮเดรท (saccharidederivatives) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) อยู่แทนที่ หมู่คีโตน (ketone or aldehyde group) ชนิดของ suger alcohol ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคและสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารได้ เช่น mannital,sorbitol และ xylitol เป็นต้น
3. ปริมาณของเส้นใยอาหาร (Dietary fiber)
เส้นใยอาหาร (Dietary fiber) เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร ที่จะต้องมีการแสดงไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารในส่วนที่เป็นการแสดงถึงคุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition Labeling) โดยกำหนดให้หน่วยเป็นกรัมต่อระดับของการบริโภคในแต่ละครั้ง
ปริมาณของเส้นใยอาหาร (Dietary fiber) ถ้ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารใด ๆ น้อยกว่า 1 กรัม ต่อระดับของการบริโภคในแต่ละครั้ง (level per serving) บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารในส่วนที่เป็น Nutrition Labeling จะต้องมีข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดปรากฏอยู่คือ“Not a significant source of dietary fiber ”
4. ปริมาณวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ
ข้อความที่แสดงเกี่ยวกับปริมาณของวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ จะต้องมีลักษณะที่ไม่โดดเด่นมากไปกว่าส่วนประกอบอาหารประเภทอื่น ที่ไม่ใช่สารอาหารจำพวกวิตามิน และเกลือแร่
วิตามินและเกลือแร่ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเป็นส่วนมากได้แก่
วิตามิน เอ วิตามิน ซี วิตามิน ดี
วิตามิน อี วิตามิน บี 6 วิตามิน บี 12
Thiamin Iron Riboflavin
Niacin Folic Acid Copper
Zinc Biotin Phosphorus
Calcium Iodine Manganese
Pantothetic Acid Potassium Selenium
Chromium Molybdanum Chloride
5. ปริมาณการบริโภคในแต่ละครั้ง (Serving Size)
การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละครั้งบนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. การกำหนดลักษณะของปริมาณที่ใช้ในครัวเรือนโดยทั่วไป“(household measure term)” โดยมีหน่วยเป็นกรัม ในระบบ ชั่ง ตวง วัด ตามมาตราเมตริก สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเครื่องดื่ม (beverages) อาจจะกำหนดหน่วยเป็นถ้วย (Cup) หรือเศษส่วนของถ้วยที่มีปริมาตรเป็นมิลลิลิตร (milliliters) ตัวอย่างเช่น
ชนิดของอาหาร ตัวอย่างการกำหนด Serving Size คุกกี้ “I cookie (28 g)” หรือ “I cookie (28 g/1 oz)”นมสด, น้ำส้ม “8 ft oz (240 ml)” หรือ “I cup (240 ml)”Grated Cheese “I tablespoon (5 g)” หรือ
2. การกำหนดในลักษณะของปริมาณอ้างอิง “(reference amount)” เช่น
“Serving Size 1/6 pie (123 g)”
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่1 / 15 มกราคม 2540--
ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีข้อความในส่วนที่แสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารบนฉลาก ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตโดย ธุรกิจขนาดเล็กที่มียอดจำหน่ายน้อยกว่า 500,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
2. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ปรุงขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริโภคทันที เช่น ขนมปัง (bakeries) เป็นต้น
3. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อบริจาคเป็นการกุศล (Donated food)
4. ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริม (Dietary Supplements)
5. ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Medical Foods)
6. ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารก (Infant formula) หรือผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กที่มีอายุกว่า 4 ขวบ
7. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไว้เพื่อขายให้แก่กิจการ ภัตตาคาร หรือกิจการใดๆ ที่นำอาหารเหล่านั้นไปบริโภคทันที
8. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีนัยสำคัญทางด้านโภชนาการ (Foods of nonutritional significance) เช่นกาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) และผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ (spices) เป็นต้น
9. ผักสด ผลไม้สด และปลาสด (Raw fruit,vegetables,and fish)
10.อาหารที่ขนส่งและขายกันเป็นกอง (Foods shipped in bulk from)
ผลิตภัณฑ์อาหารที่จะต้องมีการแสดงข้อความเกี่ยวกับโภชนาการเป็นกรณีพิเศษได้แก่
1. บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ในส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ ให้ยกเว้นข้อความเกี่ยวกับปริมาณแคลลอรี่จากไขมัน ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล
2. บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 4 ปี ในส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ ให้ยกเว้นข้อความในส่วนที่เป็นวลี “Percent Daily Value ” และส่วนที่เป็นเชิงอรรถ (footnotes)
3. ผลิตภัณฑ์จำพวกไข่เปลือกแข็ง เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นก ให้ใส่ฉลากที่แสดงข้อความเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไว้ภายในกล่องที่ใช้บรรจุ
รายละเอียดของข้อความบางประเภทที่กำหนดให้มีปรากฏอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อแสดงถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารมีดังต่อไปนี้
1. ปริมาณพลังงานเป็นแคลลอรี่ที่ร่างกายได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร
ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ให้กำหนดหน่วยเป็นแคลลอรี่ (Calories) และสามารถใช้คำว่า “Energy ” แทนคำว่า Calories ได้ หรืออาจจะใช้คำว่า “Kilojoules ” เป็นหน่วยของปริมาณพลังงานบนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารก็ได้
การกำหนดปริมาณแคลลอรี่ ที่ได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ สามารถปรับตัวเลขได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ปริมาณแคลลอรี่ 50 แคลลอรี่ หรือ น้อยกว่าให้ปรับตัวเลขลงท้ายเป็นเลข 5 เช่น ปริมาณ37 แคลลอรี่ ให้ปรับเป็น 35 แคลลอรี่
ปริมาณแคลลอรี่ที่มากกว่า 50 แคลลอรี่ขึ้นไปให้ปรับตัวเลขเป็นเลข 10 เช่นปริมาณ 88แคลลอรี่ให้ปรับเป็น 90 แคลลอรี่
2. ปริมาณของน้ำตาลและไขมันในรูปของ Saturated fat และ Cholesterol
ปริมาณของคาร์โบไฮเดรท และไขมัน ที่มีปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้
Total fat : หมายความถึงปริมาณของกรดไขมัน (lipid fatty acids) ที่มีปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารในรูปของ triglycerides
Saturated fat : หมายความถึงปริมาณของกรดไขมัน (fatty acids) ทั้งหมดที่อยู่ในลักษณะของกรดไขมันที่อิ่มตัว (no double bonds) ซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารนั้น
Total carbohydrate : คือปริมาณคาร์โบไฮเดรททั้งหมดที่มีปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร การคำนวณหาปริมาณคาร์โบไฮเดรทในผลิตภัณฑ์อาหาร กระทำได้โดยนำเอาผลรวมของปริมาณโปรตีน(crude protein) ไขมัน (total fat) ความชื้น (moisture) และเศษเถ้า (ash) ลบออกจากน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด
Sugar Alcohol : คึอปริมาณทั้งหมดของอนุพันธ์คาร์โบไฮเดรท (saccharidederivatives) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) อยู่แทนที่ หมู่คีโตน (ketone or aldehyde group) ชนิดของ suger alcohol ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคและสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารได้ เช่น mannital,sorbitol และ xylitol เป็นต้น
3. ปริมาณของเส้นใยอาหาร (Dietary fiber)
เส้นใยอาหาร (Dietary fiber) เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร ที่จะต้องมีการแสดงไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารในส่วนที่เป็นการแสดงถึงคุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition Labeling) โดยกำหนดให้หน่วยเป็นกรัมต่อระดับของการบริโภคในแต่ละครั้ง
ปริมาณของเส้นใยอาหาร (Dietary fiber) ถ้ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารใด ๆ น้อยกว่า 1 กรัม ต่อระดับของการบริโภคในแต่ละครั้ง (level per serving) บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารในส่วนที่เป็น Nutrition Labeling จะต้องมีข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดปรากฏอยู่คือ“Not a significant source of dietary fiber ”
4. ปริมาณวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ
ข้อความที่แสดงเกี่ยวกับปริมาณของวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ จะต้องมีลักษณะที่ไม่โดดเด่นมากไปกว่าส่วนประกอบอาหารประเภทอื่น ที่ไม่ใช่สารอาหารจำพวกวิตามิน และเกลือแร่
วิตามินและเกลือแร่ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเป็นส่วนมากได้แก่
วิตามิน เอ วิตามิน ซี วิตามิน ดี
วิตามิน อี วิตามิน บี 6 วิตามิน บี 12
Thiamin Iron Riboflavin
Niacin Folic Acid Copper
Zinc Biotin Phosphorus
Calcium Iodine Manganese
Pantothetic Acid Potassium Selenium
Chromium Molybdanum Chloride
5. ปริมาณการบริโภคในแต่ละครั้ง (Serving Size)
การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละครั้งบนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. การกำหนดลักษณะของปริมาณที่ใช้ในครัวเรือนโดยทั่วไป“(household measure term)” โดยมีหน่วยเป็นกรัม ในระบบ ชั่ง ตวง วัด ตามมาตราเมตริก สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเครื่องดื่ม (beverages) อาจจะกำหนดหน่วยเป็นถ้วย (Cup) หรือเศษส่วนของถ้วยที่มีปริมาตรเป็นมิลลิลิตร (milliliters) ตัวอย่างเช่น
ชนิดของอาหาร ตัวอย่างการกำหนด Serving Size คุกกี้ “I cookie (28 g)” หรือ “I cookie (28 g/1 oz)”นมสด, น้ำส้ม “8 ft oz (240 ml)” หรือ “I cup (240 ml)”Grated Cheese “I tablespoon (5 g)” หรือ
2. การกำหนดในลักษณะของปริมาณอ้างอิง “(reference amount)” เช่น
“Serving Size 1/6 pie (123 g)”
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่1 / 15 มกราคม 2540--