อัตราการเจริญเติบโต
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth rate) ของเกาหลีใต้ในครึ่งแรกของปี 2541 ลดลงร้อยละ 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาค ได้แก่ ความวุ่นวายทางการเมืองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม รวมทั้งการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และความไม่แน่นอนในการลดค่าเงินหยวนของจีน ดัชนีของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ การขายปลีกและขายส่ง รวมทั้งการสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องจักร และการก่อสร้างลดลงอย่างมาก พร้อมกับการลดลงด้านราคาที่ดินและค่าจ้าง ในขณะเดียวกัน มีความผันผวนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาคสถาบันการเงินและภาคอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตของปี 2541 จะลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5-6 อันเนื่องมาจากพายุฝนและสภาวะน้ำท่วมในเกาหลีใต้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2541 ทำให้วิกฤตเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาคทวีความรุนแรงมากขึ้น ประมาณว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมสูงถึง 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การลงทุน
การลงทุนภายในประเทศหดตัวลงร้อยละ 23 และมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อไปอีก อัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในภาคการผลิตวัสดุอุปกรณ์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 3.7 เนื่องจากกำไรของการประกอบธุรกิจลดลงและไม่มั่นใจในภาคธุรกิจ อัตราการเจริญเติบโตของการลงุทนในภาคก่อสร้างลดลงร้อยละ 12 เนื่องจากรัฐบาลลดงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคม การขาดเงินทุนในการก่อสร้าง ราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และนโยบายเข้มงวดด้านการเงินทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอมีแนวโน้มล้มละลายเพิ่มขึ้น
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ประสบภาวะตกต่ำอย่างมากเมื่อเดือนมกราคม 2541 ในช่วงครึ่งปีแรก การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 2.46 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 28.4 เนื่องจากต่างชาติรับซื้อและควบกิจการซึ่งประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตในครึ่งแรกของปี 2541 มูลค่า 1.485 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สาเหตุที่การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงแรกของปี และจะขยายตัวต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 2541 เนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่กระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง ได้แก่
1) การออกกฎหมายให้สิทธิพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติในการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการลงทุนต่าง ๆ รวมทั้งภาษี และการทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก
2) การจัดตั้งหน่วยงาน *One Stop Service* โดย Korea Trade Invesment Promotion Agency (KOTRA) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติ โครงการดังกล่าวทำให้มีการลงทุนต่างชาติใน เกาหลีใต้ในช่วงแรกของปี 2541 จำนวน 20 โครงการมูลค่า 239 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอยู่ระหว่างการให้คำปรึกษาอีก 25 โครงการ มูลค่า 545 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) การสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ เช่น ความสำเร็จจากการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีคิม แดจุง เมื่อเดือนมิถุนายน 2541 ทำให้มีการจัดตั้ง Overseas Private InvestmentCorporation ของสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ขึ้นใหม่ เพื่อสร้างตวามมั่นใจให้แก่นักลงทุนสหรัฐฯ รวมทั้งการจัดโครงการให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของนักลงทุนต่างชาติเป็นต้น สภาวะการค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.6 เนื่องจากการส่งออกทองคำที่ได้จากโครงการรณรงค์รับซื้อทองจากประชาชน ซึ่งหากไม่รวมมูลค่าของการส่งออกทองคำแล้ว พบว่า การขยายตัวด้านการส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 และจากความพยายามในการบุกเบิกตลาดใหม่ทำให้ ปริมาณการส่งออกไปตะวันออกกลางและลาตินอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะที่การส่งออกไปตลาดเอเชียรวมทั้งจีนและญี่ปุ่นลดลง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวได้แก่
1) สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชียซึ่งเป็นตลาดสำคัญ ทำให้การส่งออกของเกาหลีใต้ลดลงถึงร้อยละ 50
2) การลดลงของราคาต่อหน่วยของสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากค่าเงินวอนตกต่ำลง
3) เศรษฐกิจเกาหลีใต้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
4) การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากปัญหาด้านแรงงานและการล้มละลายของบริษัทอุตสาหกรรม
5) การแข่งขันของสินค้าในตลาดโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการลดลงของค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชีย
สำหรับแนวโน้มสภาวะการส่งออกในครึ่งปีหลังนักวิเคราะห์เกาหลีใต้คาดการณ์ว่าจะเลวร้ายลงไปอีก โดยตัวเลขการส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 7-8 เมื่อเทียบกับปี 2540 เนื่องจากตลาดในเอเชียรวมทั้งญี่ปุ่น และรัสเซียยังคงประสบกับปัญหาด้านการเงิน ความผันผวนของค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชียตลอดจนความเป็นไปได้ของการลดค่าเงินหยวน แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐและสหภาพยุโรป รวมทั้งการที่ราคาสินค้าที่ส่งออกตกต่ำ ระเบียบการนำเข้าที่เข้มงวดของต่างประเทศ และปัญหาการขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจภายในประเทศอันเป็นผลเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน นอกจากนี้ การที่พื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในต้นเดือนสิงหาคม 2541 จะส่งผลให้ตัวเลขส่งออกเลวร้ายลงไปอีก
การนำเข้า
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 การนำเข้าสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 14 ในขณะที่การนำเข้าเพื่อการบริโภคในประเทศลดลงร้อยละ 46.9 การนำเข้าวัตถุดิบลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน ในขณะที่การนำเข้าสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกและเริ่มลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน
ปัจจัยที่ทำให้การนำเข้าลดลง ได้แก่
1) การลดลงของอุปกรณ์ภายในประเทศทั้งในด้านการลงทุน และการบริโภคเนื่องจากเศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง
2) สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการลดลงของค่าเงินวอน
3) มูลค่าการนำเข้าลดลงเนื่องจากราคาวัตถุดิบของตลาดต่างประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำมัน
4) การลดปริมาณการเปิด letter of credit สำหรับการนำเข้า เนื่องจากประเทศประสบปัญหาขาดสภาพคล่องตั้งแต่เดือนธันวาคม
สภาวะการว่างงาน
ในเดือนมิถุนายน 2541 เกาหลีใต้มีผู้ว่างงานสูงที่สุดในรอบสามสิบปี โดยมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 7 ประมาณว่า 1.43 ล้านคน ร้อยละ 93.3 ของจำนวนผู้ว่างงานปัจจุบันคือผู้ที่ได้รับการจ้างงานก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมทำให้ปลดคนงานออกจากภาคการก่อสร้างร้อยละ 22.9 และโรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 15.1 ในขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ 2540 กระทรวงแรงงานเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า หากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ชะลอตัวลงร้อยละ 4.2 ในปี 2541 อัตราการว่างงานในปลายปี 2541 จะสูงถึงร้อยละ 8.3 กล่าวคือ มีผู้ว่างงานประมาณ 1.78 ล้านคน
ข้อสังเกต
1) การลดค่าเงินหยวนจะเป็นปัจจัยภายนอกซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ถดถอยลงไปอีก แม้ว่าจีนจะยืนยันว่า ในระยะเวลาอันใกล้ จีนจะไม่ลดค่าเงินหยวน มีการประเมินว่าการลดค่าเงินหยวนร้อยละ 10 จะทำให้มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้สูญเสียไปอย่างน้อย 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
2) หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่นยังไม่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้อย่างมาก เพราะจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกาหลีใต้ในตลาดโลก 50 รายการที่เป็น สินค้าคู่แข่งกับญี่ปุ่นลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ เหล็ก อุตสาหกรรมต่อเรือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3) การที่รัสเซียประกาศพักชำระหนี้เป็นเวลา 90 วันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2541 และค่าเงินรูเปิลลดลงร้อยละ 50 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ เนื่องจากสถาบันการเงินเกาหลีใต้ลงทุนในตลาดเงิน
รัสเซีย มากมายมหาศาล และการลงทุนในรูปของ short-term-treasury bills มีมูลค่า 840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้นได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพักชำระหนี้นอกจากนี้ บริษัทเอกชน เกาหลีใต้ลงทุนโดยตรงในรัสเซียอีก 87 โครงการ มูลค่า 127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อนึ่ง เกาหลีใต้ให้สินเชื่อแก่รัสเซียจำนวน 1.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อของรัฐบาลเกาหลีใต้จำนวน 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่ารัสเซียจชะลอการนำเข้าสินค้าเกาหลีใต้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ที่อยู่ในภาวะตกต่ำอยู่แล้วมากยิ่งขึ้น
4) อินโดนีเซียเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เกาหลีใต้ลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากเวียดนามดังนั้นปัญหาเศรษฐกิจในอินโดนีเซียจะส่งผลกระทบต่อเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการที่อินโดนีเซียไม่สามารถชำระหนี้ต่างประเทศบางส่วนได้ ทั้งนี้ ภาครัฐบาลและเอกชนเกาหลีใต้ได้ให้เงินกู้แก่อินโดนีเซียจำนวน 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) กล่าวโดยสรุป การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ขึ้นอยู่อย่างมากกับสภาวะแวดล้อมในภูมิภาค ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่เอื้ออำนวยถึงแม้รัฐบาลเกาหลีใต้ได้พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม
ที่มา : กรมเอเชียตะวันออก,กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 9/15 ตุลาคม 2541--
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth rate) ของเกาหลีใต้ในครึ่งแรกของปี 2541 ลดลงร้อยละ 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาค ได้แก่ ความวุ่นวายทางการเมืองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม รวมทั้งการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และความไม่แน่นอนในการลดค่าเงินหยวนของจีน ดัชนีของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ การขายปลีกและขายส่ง รวมทั้งการสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องจักร และการก่อสร้างลดลงอย่างมาก พร้อมกับการลดลงด้านราคาที่ดินและค่าจ้าง ในขณะเดียวกัน มีความผันผวนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาคสถาบันการเงินและภาคอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตของปี 2541 จะลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5-6 อันเนื่องมาจากพายุฝนและสภาวะน้ำท่วมในเกาหลีใต้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2541 ทำให้วิกฤตเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาคทวีความรุนแรงมากขึ้น ประมาณว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมสูงถึง 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การลงทุน
การลงทุนภายในประเทศหดตัวลงร้อยละ 23 และมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อไปอีก อัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในภาคการผลิตวัสดุอุปกรณ์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 3.7 เนื่องจากกำไรของการประกอบธุรกิจลดลงและไม่มั่นใจในภาคธุรกิจ อัตราการเจริญเติบโตของการลงุทนในภาคก่อสร้างลดลงร้อยละ 12 เนื่องจากรัฐบาลลดงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคม การขาดเงินทุนในการก่อสร้าง ราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และนโยบายเข้มงวดด้านการเงินทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอมีแนวโน้มล้มละลายเพิ่มขึ้น
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ประสบภาวะตกต่ำอย่างมากเมื่อเดือนมกราคม 2541 ในช่วงครึ่งปีแรก การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 2.46 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 28.4 เนื่องจากต่างชาติรับซื้อและควบกิจการซึ่งประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตในครึ่งแรกของปี 2541 มูลค่า 1.485 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สาเหตุที่การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงแรกของปี และจะขยายตัวต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 2541 เนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่กระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง ได้แก่
1) การออกกฎหมายให้สิทธิพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติในการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการลงทุนต่าง ๆ รวมทั้งภาษี และการทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก
2) การจัดตั้งหน่วยงาน *One Stop Service* โดย Korea Trade Invesment Promotion Agency (KOTRA) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติ โครงการดังกล่าวทำให้มีการลงทุนต่างชาติใน เกาหลีใต้ในช่วงแรกของปี 2541 จำนวน 20 โครงการมูลค่า 239 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอยู่ระหว่างการให้คำปรึกษาอีก 25 โครงการ มูลค่า 545 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) การสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ เช่น ความสำเร็จจากการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีคิม แดจุง เมื่อเดือนมิถุนายน 2541 ทำให้มีการจัดตั้ง Overseas Private InvestmentCorporation ของสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ขึ้นใหม่ เพื่อสร้างตวามมั่นใจให้แก่นักลงทุนสหรัฐฯ รวมทั้งการจัดโครงการให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของนักลงทุนต่างชาติเป็นต้น สภาวะการค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.6 เนื่องจากการส่งออกทองคำที่ได้จากโครงการรณรงค์รับซื้อทองจากประชาชน ซึ่งหากไม่รวมมูลค่าของการส่งออกทองคำแล้ว พบว่า การขยายตัวด้านการส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 และจากความพยายามในการบุกเบิกตลาดใหม่ทำให้ ปริมาณการส่งออกไปตะวันออกกลางและลาตินอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะที่การส่งออกไปตลาดเอเชียรวมทั้งจีนและญี่ปุ่นลดลง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวได้แก่
1) สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชียซึ่งเป็นตลาดสำคัญ ทำให้การส่งออกของเกาหลีใต้ลดลงถึงร้อยละ 50
2) การลดลงของราคาต่อหน่วยของสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากค่าเงินวอนตกต่ำลง
3) เศรษฐกิจเกาหลีใต้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
4) การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากปัญหาด้านแรงงานและการล้มละลายของบริษัทอุตสาหกรรม
5) การแข่งขันของสินค้าในตลาดโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการลดลงของค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชีย
สำหรับแนวโน้มสภาวะการส่งออกในครึ่งปีหลังนักวิเคราะห์เกาหลีใต้คาดการณ์ว่าจะเลวร้ายลงไปอีก โดยตัวเลขการส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 7-8 เมื่อเทียบกับปี 2540 เนื่องจากตลาดในเอเชียรวมทั้งญี่ปุ่น และรัสเซียยังคงประสบกับปัญหาด้านการเงิน ความผันผวนของค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชียตลอดจนความเป็นไปได้ของการลดค่าเงินหยวน แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐและสหภาพยุโรป รวมทั้งการที่ราคาสินค้าที่ส่งออกตกต่ำ ระเบียบการนำเข้าที่เข้มงวดของต่างประเทศ และปัญหาการขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจภายในประเทศอันเป็นผลเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน นอกจากนี้ การที่พื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในต้นเดือนสิงหาคม 2541 จะส่งผลให้ตัวเลขส่งออกเลวร้ายลงไปอีก
การนำเข้า
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 การนำเข้าสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 14 ในขณะที่การนำเข้าเพื่อการบริโภคในประเทศลดลงร้อยละ 46.9 การนำเข้าวัตถุดิบลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน ในขณะที่การนำเข้าสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกและเริ่มลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน
ปัจจัยที่ทำให้การนำเข้าลดลง ได้แก่
1) การลดลงของอุปกรณ์ภายในประเทศทั้งในด้านการลงทุน และการบริโภคเนื่องจากเศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง
2) สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการลดลงของค่าเงินวอน
3) มูลค่าการนำเข้าลดลงเนื่องจากราคาวัตถุดิบของตลาดต่างประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำมัน
4) การลดปริมาณการเปิด letter of credit สำหรับการนำเข้า เนื่องจากประเทศประสบปัญหาขาดสภาพคล่องตั้งแต่เดือนธันวาคม
สภาวะการว่างงาน
ในเดือนมิถุนายน 2541 เกาหลีใต้มีผู้ว่างงานสูงที่สุดในรอบสามสิบปี โดยมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 7 ประมาณว่า 1.43 ล้านคน ร้อยละ 93.3 ของจำนวนผู้ว่างงานปัจจุบันคือผู้ที่ได้รับการจ้างงานก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมทำให้ปลดคนงานออกจากภาคการก่อสร้างร้อยละ 22.9 และโรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 15.1 ในขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ 2540 กระทรวงแรงงานเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า หากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ชะลอตัวลงร้อยละ 4.2 ในปี 2541 อัตราการว่างงานในปลายปี 2541 จะสูงถึงร้อยละ 8.3 กล่าวคือ มีผู้ว่างงานประมาณ 1.78 ล้านคน
ข้อสังเกต
1) การลดค่าเงินหยวนจะเป็นปัจจัยภายนอกซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ถดถอยลงไปอีก แม้ว่าจีนจะยืนยันว่า ในระยะเวลาอันใกล้ จีนจะไม่ลดค่าเงินหยวน มีการประเมินว่าการลดค่าเงินหยวนร้อยละ 10 จะทำให้มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้สูญเสียไปอย่างน้อย 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
2) หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่นยังไม่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้อย่างมาก เพราะจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกาหลีใต้ในตลาดโลก 50 รายการที่เป็น สินค้าคู่แข่งกับญี่ปุ่นลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ เหล็ก อุตสาหกรรมต่อเรือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3) การที่รัสเซียประกาศพักชำระหนี้เป็นเวลา 90 วันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2541 และค่าเงินรูเปิลลดลงร้อยละ 50 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ เนื่องจากสถาบันการเงินเกาหลีใต้ลงทุนในตลาดเงิน
รัสเซีย มากมายมหาศาล และการลงทุนในรูปของ short-term-treasury bills มีมูลค่า 840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้นได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพักชำระหนี้นอกจากนี้ บริษัทเอกชน เกาหลีใต้ลงทุนโดยตรงในรัสเซียอีก 87 โครงการ มูลค่า 127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อนึ่ง เกาหลีใต้ให้สินเชื่อแก่รัสเซียจำนวน 1.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อของรัฐบาลเกาหลีใต้จำนวน 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่ารัสเซียจชะลอการนำเข้าสินค้าเกาหลีใต้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ที่อยู่ในภาวะตกต่ำอยู่แล้วมากยิ่งขึ้น
4) อินโดนีเซียเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เกาหลีใต้ลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากเวียดนามดังนั้นปัญหาเศรษฐกิจในอินโดนีเซียจะส่งผลกระทบต่อเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการที่อินโดนีเซียไม่สามารถชำระหนี้ต่างประเทศบางส่วนได้ ทั้งนี้ ภาครัฐบาลและเอกชนเกาหลีใต้ได้ให้เงินกู้แก่อินโดนีเซียจำนวน 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) กล่าวโดยสรุป การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ขึ้นอยู่อย่างมากกับสภาวะแวดล้อมในภูมิภาค ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่เอื้ออำนวยถึงแม้รัฐบาลเกาหลีใต้ได้พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม
ที่มา : กรมเอเชียตะวันออก,กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 9/15 ตุลาคม 2541--