กรุงเทพ--26 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2542) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดการแถลงข่าวผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2542 โดยมีศาสตราจารย์แพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ เข้าร่วม ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ในปี 2542 นี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมทั้งสิ้น 57 คน จาก 25 ประเทศ การพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กระทำโดยผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการที่ปรึกษา (Scientific Advisory Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ (International Award Committee) ซี่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นประธาน แล้วเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานเพื่อตัดสินขั้นสุดท้าย
ผลการพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2542 ปรากฏดังนี้
สาขาการแพทย์
นายแพทย์ R.Palmer Beasley ชาวอเมริกัน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องพยาธิกำเนิดของการติดเชื้อตับอักเสบ บี จนเป็นที่ยอมรับทั่วไป โรคนี้นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญของตับในประชากรนับร้อยล้านคนในหลายภูมิภาคทั่วโลก
นายแพทย์ Beasley ได้แสดงถึงความสำคัญของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่สู่ลูก ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรังและการเป็นพาหะของโรคไปจนถึงการเกิดมะเร็งของตับ และพื้นที่เกี่ยวข้องกับการให้ภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนตับอักเสบ บี กับทารก ความรู้นี้ได้สนับสนุนการใช้วัคซีนตับอักเสบ บี ในการป้องกันเชื้อตับอักเสบ บี และป้องกันการเกิดมะเร็งของตับอย่างมาก
สาขาการสาธารณสุข
นายแพทย์ Adetokundo Olumide Lucas ชาวไนจีเรีย และ นายแพทย์ Tore Godal ขาวนอร์เวย์ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ให้การสนับสนุนและพัฒนาโครงการพิเศษเกี่ยวกับการวิจัยโรคเมืองร้อนขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับโรคเมืองร้อนอาทิ เช่น มาลาเรีย, Schistosomiasis, Filaria, Leishmaniasis, โรค Chagas และ African Trypanosomiasis และโรคเรื้อน เป็นโรคที่เกิดกับประชาชนนับล้านคนในแถบแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ความก้าวหน้าของโครงการเรื่องสำคัญหลายเรื่องโดยเฉพาะการอบรมนักวิจัยในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศเหล่านี้ได้ทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากประเทศอุตสาหกรรมอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ในการค้นคว้าเพื่อหาทางป้องกันและควบคุมโรคเมืองร้อนเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง ทั้งสองท่านได้วางกลยุทธ์การวิจัยโรคเมืองร้อนทำให้โรคดังกล่าวมีความสำคัญเทียบเท่าการวิจัยในเรื่องมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญสำหรับประเทศอุตสาหกรรม การวิจัยและการพัฒนานี้ได้นำไปสู่การคิดค้นวัคซีนและยารักษาโรค และได้ผนวกกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนายาและวัคซีน Dr. Lucas และ Dr. Godal ได้แสดงความสำเร็จของการบริหารอย่างยอดเยี่ยมของโครงการการวิจัยโรคเมืองร้อน โครงการนี้แม้จะอยู่ภายใต้การกำกับขององค์การอนามัยโลก แต่ก็ใช้งบประมาณจากองค์กรภายนอกองค์การอนามัยโลก การบริหารโครงการวิจัยโรคเมืองร้อนได้นั้นต้องอาศัยการประสานประโยชน์และประสานเป้าหมายอย่างมากระหว่างองค์การอนามัยโลก องค์กรที่บริจาคเงิน และระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาและของประเทศที่พัฒนาแล้ว รวม ถึงภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นว่า โครงการการวิจัยด้านสุขภาพนั้นอาจจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ในวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2543 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2542 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล พร้อมคู่สมรส และแขกผู้มีเกียรติในวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม--จบ--
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2542) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดการแถลงข่าวผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2542 โดยมีศาสตราจารย์แพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ เข้าร่วม ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ในปี 2542 นี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมทั้งสิ้น 57 คน จาก 25 ประเทศ การพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กระทำโดยผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการที่ปรึกษา (Scientific Advisory Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ (International Award Committee) ซี่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นประธาน แล้วเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานเพื่อตัดสินขั้นสุดท้าย
ผลการพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2542 ปรากฏดังนี้
สาขาการแพทย์
นายแพทย์ R.Palmer Beasley ชาวอเมริกัน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องพยาธิกำเนิดของการติดเชื้อตับอักเสบ บี จนเป็นที่ยอมรับทั่วไป โรคนี้นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญของตับในประชากรนับร้อยล้านคนในหลายภูมิภาคทั่วโลก
นายแพทย์ Beasley ได้แสดงถึงความสำคัญของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่สู่ลูก ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรังและการเป็นพาหะของโรคไปจนถึงการเกิดมะเร็งของตับ และพื้นที่เกี่ยวข้องกับการให้ภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนตับอักเสบ บี กับทารก ความรู้นี้ได้สนับสนุนการใช้วัคซีนตับอักเสบ บี ในการป้องกันเชื้อตับอักเสบ บี และป้องกันการเกิดมะเร็งของตับอย่างมาก
สาขาการสาธารณสุข
นายแพทย์ Adetokundo Olumide Lucas ชาวไนจีเรีย และ นายแพทย์ Tore Godal ขาวนอร์เวย์ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ให้การสนับสนุนและพัฒนาโครงการพิเศษเกี่ยวกับการวิจัยโรคเมืองร้อนขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับโรคเมืองร้อนอาทิ เช่น มาลาเรีย, Schistosomiasis, Filaria, Leishmaniasis, โรค Chagas และ African Trypanosomiasis และโรคเรื้อน เป็นโรคที่เกิดกับประชาชนนับล้านคนในแถบแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ความก้าวหน้าของโครงการเรื่องสำคัญหลายเรื่องโดยเฉพาะการอบรมนักวิจัยในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศเหล่านี้ได้ทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากประเทศอุตสาหกรรมอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ในการค้นคว้าเพื่อหาทางป้องกันและควบคุมโรคเมืองร้อนเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง ทั้งสองท่านได้วางกลยุทธ์การวิจัยโรคเมืองร้อนทำให้โรคดังกล่าวมีความสำคัญเทียบเท่าการวิจัยในเรื่องมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญสำหรับประเทศอุตสาหกรรม การวิจัยและการพัฒนานี้ได้นำไปสู่การคิดค้นวัคซีนและยารักษาโรค และได้ผนวกกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนายาและวัคซีน Dr. Lucas และ Dr. Godal ได้แสดงความสำเร็จของการบริหารอย่างยอดเยี่ยมของโครงการการวิจัยโรคเมืองร้อน โครงการนี้แม้จะอยู่ภายใต้การกำกับขององค์การอนามัยโลก แต่ก็ใช้งบประมาณจากองค์กรภายนอกองค์การอนามัยโลก การบริหารโครงการวิจัยโรคเมืองร้อนได้นั้นต้องอาศัยการประสานประโยชน์และประสานเป้าหมายอย่างมากระหว่างองค์การอนามัยโลก องค์กรที่บริจาคเงิน และระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาและของประเทศที่พัฒนาแล้ว รวม ถึงภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นว่า โครงการการวิจัยด้านสุขภาพนั้นอาจจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ในวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2543 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2542 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล พร้อมคู่สมรส และแขกผู้มีเกียรติในวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม--จบ--