อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะ ใช้แรงงาน
เป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็น
อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.93 ล้านตารางเมตร
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.18 และ
1.49 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกัน
ของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.49 และ 22.71 ตามลำดับ(ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งเป็นไปตาม
การขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นการขยายตัวเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูการขาย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 44.15 ล้านตารางเมตร
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.16 และ
9.59 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ การจำหน่ายมีปริมาณ 1.27 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.18 และ 18.31 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ
2) การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดู การขาย และตามการขยายตัวของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการนำกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ไปใช้เป็นวัสดุตกแต่งบ้านสร้างใหม่ใน
โครงการจัดสรรต่าง ๆ ปรับปรุงบ้านเก่าที่มีการซ่อมแซม และต่อเติม ตลอดจนใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ
สำหรับการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยจะเน้นสร้างความแตกต่างใน
ตัวผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า ซึ่งผู้
ผลิตหลายรายเตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 48 นอกจากนี้ยังเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดโดยโฆษณาผ่านสื่อต่าง
ๆ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำ เพิ่มตัวแทนจำหน่าย ส่งเสริมการขายผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ปรับปรุงดิสเพลย์ร้าน
ค้า และเพิ่มจุดแสดงสินค้าให้มากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย
เยอรมนี ไต้หวัน แคนาดา และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี
2548 มีมูลค่ารวม 131.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตรา
ขยายตัวลดลง ร้อยละ 3.38 และ 2.81 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ ที่การส่งออกมีแนวโน้มที่ดี และมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ของชำร่วยเครื่อง
ประดับ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารกลับมีแนวโน้ม
ขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน อิตาลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 36.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.07 (ดังตารางที่ 4) ซึ่งการ นำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น สำหรับการ นำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วน
ใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้
เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นการ
ขยายตัวเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูการขาย โดยการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศจะเน้นสร้างความแตกต่างใน
ตัวผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า และ
พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด ซึ่งการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัย
เสี่ยงทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังอยู่ในภาวะทรงตัว และมีแนวโน้มที่ไม่ดี
นัก เนื่องจาก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในผลิตภัณฑ์เซรามิกกลับมีแน้วโน้ม
ขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้อง เร่งสร้าง
ขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดดังกล่าว
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส
1/2547 4/2547 1/2548 *
การผลิต 36,382,888 35,107,740 36,926,212
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.18
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.49
การจำหน่ายในประเทศ 40,288,614 37,366,384 44,152,412
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 18.16
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.59
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2548 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส
1/2547 4/2547 1/2548 *
การผลิต 1,802,345 2,200,883 2,211,682
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.49
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.71
การจำหน่ายในประเทศ 1,072,106 1,205,975 1,268,420
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.18
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.31
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2548 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 4/2547 1/2548
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 21.7 18.9 20.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 8.99
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.07
เครื่องสุขภัณฑ์ 22.2 24.4 25.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.87
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.06
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 43.9 45.2 41.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.96
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.24
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.6 7.5 8.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.67
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.16
ลูกถ้วยไฟฟ้า 4.1 2.8 3.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 21.43
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.07
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 35.7 37.2 32.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.71
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.08
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 135.2 136 131.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.81
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 1/2548
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 11.4 16.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 42.98
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 17.1 20.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.13
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 28.5 36.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.07
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่
โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ
และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903
ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะ
อาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน
พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้า
อุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็น
อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.93 ล้านตารางเมตร
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.18 และ
1.49 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกัน
ของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.49 และ 22.71 ตามลำดับ(ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งเป็นไปตาม
การขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นการขยายตัวเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูการขาย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 44.15 ล้านตารางเมตร
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.16 และ
9.59 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ การจำหน่ายมีปริมาณ 1.27 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.18 และ 18.31 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ
2) การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดู การขาย และตามการขยายตัวของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการนำกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ไปใช้เป็นวัสดุตกแต่งบ้านสร้างใหม่ใน
โครงการจัดสรรต่าง ๆ ปรับปรุงบ้านเก่าที่มีการซ่อมแซม และต่อเติม ตลอดจนใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ
สำหรับการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยจะเน้นสร้างความแตกต่างใน
ตัวผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า ซึ่งผู้
ผลิตหลายรายเตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 48 นอกจากนี้ยังเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดโดยโฆษณาผ่านสื่อต่าง
ๆ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำ เพิ่มตัวแทนจำหน่าย ส่งเสริมการขายผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ปรับปรุงดิสเพลย์ร้าน
ค้า และเพิ่มจุดแสดงสินค้าให้มากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย
เยอรมนี ไต้หวัน แคนาดา และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี
2548 มีมูลค่ารวม 131.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตรา
ขยายตัวลดลง ร้อยละ 3.38 และ 2.81 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ ที่การส่งออกมีแนวโน้มที่ดี และมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ของชำร่วยเครื่อง
ประดับ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารกลับมีแนวโน้ม
ขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน อิตาลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 36.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.07 (ดังตารางที่ 4) ซึ่งการ นำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น สำหรับการ นำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วน
ใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้
เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นการ
ขยายตัวเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูการขาย โดยการแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศจะเน้นสร้างความแตกต่างใน
ตัวผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า และ
พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด ซึ่งการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัย
เสี่ยงทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังอยู่ในภาวะทรงตัว และมีแนวโน้มที่ไม่ดี
นัก เนื่องจาก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในผลิตภัณฑ์เซรามิกกลับมีแน้วโน้ม
ขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้อง เร่งสร้าง
ขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดดังกล่าว
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส
1/2547 4/2547 1/2548 *
การผลิต 36,382,888 35,107,740 36,926,212
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.18
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.49
การจำหน่ายในประเทศ 40,288,614 37,366,384 44,152,412
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 18.16
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.59
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2548 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส
1/2547 4/2547 1/2548 *
การผลิต 1,802,345 2,200,883 2,211,682
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.49
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.71
การจำหน่ายในประเทศ 1,072,106 1,205,975 1,268,420
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.18
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.31
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2548 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 4/2547 1/2548
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 21.7 18.9 20.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 8.99
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.07
เครื่องสุขภัณฑ์ 22.2 24.4 25.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.87
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.06
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 43.9 45.2 41.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.96
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.24
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.6 7.5 8.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.67
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.16
ลูกถ้วยไฟฟ้า 4.1 2.8 3.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 21.43
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.07
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 35.7 37.2 32.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.71
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.08
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 135.2 136 131.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.81
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 1/2548
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 11.4 16.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 42.98
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 17.1 20.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.13
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 28.5 36.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.07
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่
โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ
และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903
ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะ
อาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน
พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้า
อุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-