1. บทนำ
1.1 อุตสาหกรรมกลุ่ม Florist Accessories and Articles ที่ศึกษาตามโครงการนี้ ครอบคลุมสินค้า 5 ประเภท คือ 1. ดอกไม้ประดิษฐ์ 2. ดอกไม้แห้ง 3. ดอกไม้แห้งอบหอม 4. ตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ 5. แจกันและกระถางเซรามิกสำหรับใส่ดอกไม้ประดับ อุตสาหกรรมนี้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอดีตที่เคยเป็นหัตถกรรมในครัวเรือนเพื่อการจำหน่ายในท้องถิ่นโดยตลาดยังคงจำกัดอยู่ภายในประเทศ ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก จึงได้มีการผลิตในรูปโรงงานอุตสาหกรรมทำการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อการจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางตั้งอยู่กระจัดกระจายทุกภูมิภาคของประเทศ และมีลักษณะการผลิตที่ต้องใช้ทั้งฝีมือและแรงงานเป็นหลัก
1.2 จากการที่ไทยได้เปรียบด้านฝีมือการผลิตที่ประณีต รูปแบบของสินค้าที่สวยงาม และมีคุณภาพ ทำให้ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศมากขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจะมีเพียงดอกไม้ ประดิษฐ์เท่านั้นที่ประสบการแข่งขันสูงขึ้นเป็นผลให้อัตราการขยายตัวลดลง แต่ก็มีมูลค่าการส่งออกสูงมาก เมื่อเทียบกับสินค้าชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มนี้
1.3 ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการตลาดและปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการส่งเสริมการส่งออกที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการขยายการส่งออกคือ การพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบแปลกใหม่ ใช้งานได้ตรงกับวัตถุประสงค์มากขึ้น และต้องกระจายตลาดให้กว้างขวางทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ รวมถึงการได้รับข้อมูลการตลาดที่ถูกต้องเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิต การตลาด และการส่งเสริมการขายได้ตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด
1.4 กรมส่งเสริมการส่งออกได้มอบให้ฝ่ายวิจัย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาภาพรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหมวดนี้ในประเทศไทยเพื่อให้ทราบข้อมูลด้านสถานภาพการผลิต การตลาด ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาดูแนวโน้มและแนวทางในการที่จะพัฒนาส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต พร้อมทั้งเสนอรายชื่อผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งออกและยินดีจะเข้าร่วมในโครงการ Florist Accessories and Articles ของหน่วยงาน CBI (Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ได้มีโอกาสไปเปิดตลาดสินค้าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศใกล้เคียงในยุโรป โดยผ่านทางกรมส่งเสริมการส่งออก
2. ดอกไม้ประดิษฐ์
2.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ดอกไม้ประดิษฐ์ในที่นี้จะครอบคลุมทั้งดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้และผักผลไม้ประดิษฐ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดอกไม้พลาสติก ดอกไม้ผ้าโพลีเอสเตอร์ ดอกไม้กระดาษ และดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุประเภทอื่น ๆ รวมทั้งต้นไม้และผักผลไม้ประดิษฐ์ โดยผู้ผลิตดอกไม้ ประดิษฐ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางมีแหล่งผลิตตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่มุ่งผลิตเพื่อส่งออกมีแหล่งที่ตั้งโรงงานในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ ส่วนดอกไม้กระดาษ เช่น กระดาษสา ผู้ผลิตกระจัดกระจายอยู่มากในภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ
2.2 สถานภาพด้านการผลิต การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์มีลักษณะเน้นการใช้แรงงาน (Labor-Inten- sive) โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าและดอกไม้กระดาษ ซึ่งมีทั้งการผลิตในโรงงานและการผลิตในครัวเรือน การผลิตในโรงงานจะใช้เครื่องจักรในการผลิตชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งการบรรจุหีบห่อ ส่วนการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ จะใช้แรงงานในท้องถิ่นซึ่งเป็นแรงงานจ้างเหมารับไปประกอบช่อดอกและใบนอกโรงงาน โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าโพลีเอสเตอร์จะนิยมจ้างเหมาแรงงานในลักษณะนี้ ส่วนการผลิตดอกไม้กระดาษและดอกไม้ประเภทอื่น ๆ จะใช้แรงงานฝีมือในการผลิตแทบทุกขั้นตอน จึงไม่นิยมที่จะจ้างเหมาแรงงานภายนอก สำหรับสภาพการผลิตในปัจจุบันไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนรายใหม่ไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นผลมาจากค่าแรงงานที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งขันมาก ผู้ผลิตที่ผลิตกันอยู่ในปัจจุบันล้วนแต่เป็นผู้ประกอบการรายเดิม สำหรับรายเล็กๆ ต่างก็ทยอยกันเลิกกิจการ ส่วนรายใหญ่ก็เริ่มมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศที่มีค่าแรงงานถูกกว่ามากขึ้น
2.3 ตลาดภายในประเทศ ขนาดตลาดยังคงค่อนข้างจำกัด โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของ ปริมาณการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากรสนิยมของคนไทยที่นิยมดอกไม้สดมากกว่า และดอกไม้สดก็มีให้เลือกใช้มากมายตลอดทั้งปี ส่วนการนำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ในปัจจุบันปริมาณและมูลค่ายังมีน้อยและไม่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 มูลค่านำเข้ามีเพียงปีละประมาณ 11-12 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ดอกไม้ประดิษฐ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่นิยมผลิตในประเทศ เช่น ดอกไม้ที่ทำจากเซรามิค และประเภทที่มีราคาถูกกว่าโดยเฉพาะสินค้าที่มาจากจีนแดง แม้ว่าจะต้องเสียภาษีนำเข้าก็ตาม
2.4 ตลาดส่งออก ในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 การส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยประสบภาวะตกต่ำ จากการที่ตลาดต่างประเทศเริ่มถึงจุดอิ่มตัว การแข่งขันในต่างประเทศมีมาก และมีการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างหนักจากจีน ซึ่งได้เปรียบไทยในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องการใช้สูงถึงปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศในแถบเอเซีย สหรัฐอเมริกานำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ทุกประเภทจากไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ทั้งหมดของไทย สำหรับตลาดส่งออกอื่นๆ ที่มีความสำคัญและผู้ผลิตส่วนใหญ่พยายามที่จะเข้าไปเปิดตลาดมากขึ้น ได้แก่ ยุโรป เอเซีย และตะวันออกกลาง
2.5 แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย ในระยะสั้นภาวะการส่งออกน่าจะกระเตื้องขึ้นบ้างจากการที่จีนผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ผู้ผลิตไทยจึงได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มุ่งขยายตลาดไปทางแถบยุโรปซึ่งมีแนวโน้มความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น สำหรับในระยะยาวจากปัญหาค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ จีน อย่างมาก เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตดอกไม้ประดิษฐ์ในประเทศไทยคงจะไม่เฟื่องฟูดังเช่นในอดีต ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันได้จะต้องเลิกกิจการไปยังคงเหลือแต่ผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขสำคัญเพื่อความอยู่รอดของกิจการคือ จะต้องย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดที่มีค่าแรงถูกลง หรือย้ายไปยังประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
2.6 สภาพปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมนี้ที่สำคัญในด้านการผลิตคือ คุณภาพวัตถุดิบในประเทศไม่สม่ำเสมอ ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง ปัญหาค่าจ้างแรงงานและค่าขนส่งที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ส่วนปัญหาด้านการตลาด คือ การแข่งขันด้านราคาที่ไทยเสียเปรียบจีนและการพึ่งพาตลาดหลักเพียงตลาดเดียวคือ สหรัฐอเมริกา ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น
2.7 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ในอนาคตที่สำคัญได้แก่ ด้านการผลิต จากปัญหาค่าแรงงานนั้นคงจะแก้ไขได้ยาก แต่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ซึ่งจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นเวลา 5 ปี และค่าจ้างแรงงานจะถูกกว่าเขตอื่น สำหรับเรื่องวัตถุดิบนั้นควรมีการส่งเสริมให้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีขึ้นเองภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งวัตถุดิบต่างประเทศ และหันมาใช้วัตถุดิบประเภทที่มีอยู่มากภายในประเทศมากขึ้น เช่น กระดาษสา นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพของวัตถุดิบให้มีคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่ง ด้านการตลาด ผู้ส่งออกควรขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มดีได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สวีเดน เพื่อเตรียมป้องกันผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของ สหรัฐฯ นอกจากนั้นก็ควรผลิตสินค้าและพัฒนารูปแบบให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน ด้านกฎระเบียบและนโยบายของรัฐ ควรปรับปรุงต้นทุนที่เกิดจากภาครัฐบาล อันได้แก่ การนำเข้าวัตถุดิบ โดยรัฐบาลควรเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงจัง เช่น ปรับอัตราโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้ต่ำลง และปรับปรุงระบบการคืนภาษีวัตถุดิบตามมาตรา 19 ให้สามารถคืนภาษีได้ในเวลารวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งควรเก็บค่าบริการในการเทียบเรือให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
3. ดอกไม้แห้ง
3.1 สถานภาพด้านการผลิต และแหล่งผลิต อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก (Labor-Intensive) ใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันมีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ไม่มากนัก มีทั้งผู้ผลิตรายเล็กที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบง่าย ๆ และผู้ผลิตขนาดกลางซึ่งใช้เทคโนโลยีซับซ้อนขึ้น เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะไม่ทำการผลิตเองทุกขั้นตอนแต่จะใช้ระบบการรับช่วงการผลิต โดยกระจายงานไปให้ชาวบ้านตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับจ้างทำในขั้นตอนง่าย ๆ เช่น ย้อมสีดอกไม้, ประดิษฐ์ดอกไม้แห้งขึ้นใหม่จากส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้แห้ง เป็นต้น แหล่งผลิตจึงตั้งอยู่กระจัด กระจายทั่วไปตามแหล่งวัตถุดิบคือในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง (ตอนบน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.2 การตลาด ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มนิยมดอกไม้แห้งกันมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ทดแทนดอกไม้สดที่มีอายุการใช้งานสั้น หรือทดแทนดอกไม้ประดิษฐ์ที่ดูไม่มีชีวิตชีวาและมีราคาแพง ประกอบกับการรณรงค์ให้อนุรักษ์ธรรมชาติโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแนวโน้มว่าดอกไม้แห้งจะได้รับความ นิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ดอกไม้แห้งที่จำหน่ายในตลาดนอกจากจะมีลักษณะเป็นกิ่ง ก้านที่สามารถนำมาเข้าช่อจัดใส่แจกันแล้ว ยังมีการนำดอกไม้แห้งไปประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตะกร้าดอกไม้แห้ง, กรอบรูป, กิ๊บติดผม, ช่อกลมแขวนโชว์ เป็นต้น โดยวางจำหน่ายทั่วไปทั้งตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกอื่น ๆ
3.3 ตลาดส่งออก เริ่มมีการส่งออกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีปริมาณและมูลค่าน้อยอยู่ สินค้าที่ส่งออกก็ยังไม่หลากหลาย มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากผู้ผลิตรายเล็กมี ปริมาณการผลิตน้อยจึงผลิตเพื่อขายในประเทศเท่านั้น ดอกไม้แห้งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ที่ ประดิษฐ์จากดอกไม้แห้งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสะดวกในการบรรจุเพื่อส่งออกและสินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำหน่ายได้ราคามากกว่าการส่งออกเป็นดอกไม้แห้งแบบก้านยาว ส่วนการส่งออกดอกไม้แห้งแบบมีก้านสำหรับจัดเข้าช่อมีปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากสินค้าจะชำรุดเสียหายได้ง่ายในขั้นตอนการขนส่งจึงต้องมีการบรรจุหีบห่ออย่างดีทำให้มีต้นทุนสูง ประกอบกับประเภทของดอกไม้แห้งที่นำมาจัดเป็นช่อได้มีไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีดอกไม้หลายชนิดและมีความคงทนแข็งแรงกว่า ตลาดส่งออกดอกไม้แห้งที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น ประเทศคู่แข่งในการส่งออกดอกไม้แห้งที่สำคัญคือ จีน และไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกเป็นดอก และเป็นแบบก้านยาวแทบจะไม่ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากดอกไม้แห้งเท่าใดนัก
3.4 แนวโน้มภาวะตลาดของดอกไม้แห้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มค่อนข้างแจ่มใสสามารถเพิ่มมูลค่าและขยายตลาดต่อไปได้อีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมหันมาสนใจการตกแต่งสถานที่ต่างๆ ด้วยดอกไม้แห้งและผลิตภัณฑ์จากดอกไม้แห้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งของขวัญของชำร่วยที่ทำจากดอกไม้แห้งก็ได้รับความนิยมอย่างมาก กอปรกับการรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลดีต่อตลาดดอกไม้แห้งที่จะสามารถเติบโตได้มากในอนาคต
3.5 ปัญหาและอุปสรรค อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งมีปัญหาและอุปสรรคสำคัญคือ ปัญหาทางด้านการผลิต ที่สำคัญคือ ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่หาได้จากธรรมชาติทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการผลิต ปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่ มีความชื้น เชื้อรา แมลง และในเรื่องความไม่คงทน แตกหักได้ง่ายของดอกไม้แห้งซึ่งแตกต่างจากดอกไม้ของต่างประเทศ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์ที่ดอกไม้มีความแข็งแรงคงทน และมีสีสันสดใส นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงานสูง ส่วนปัญหาทางด้านการตลาดที่สำคัญคือ ตลาดยังแคบอยู่ เนื่องจากชนิดของดอกไม้แห้งมีอยู่ไม่มากนักทำให้ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ผลิตบางรายขาดความรู้และข้อมูลในด้านการตลาดทำให้ไม่สามารถขยายตลาดได้ และปัญหาด้านการขนส่งที่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ป้องกันการเสียหายของสินค้า ทำให้ค่าบรรจุภัณฑ์และค่าขนส่งสูงขึ้น
3.6 แนวทางแก้ไขปัญหา ดังกล่าวข้างต้นคือ ผู้ผลิตควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่ สามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ มีการศึกษาพัฒนาดอกไม้พันธุ์ใหม่ ๆ ให้สามารถผลิตเป็นดอกไม้แห้ง เพื่อให้มีดอกไม้แห้งหลากหลายชนิดได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วนหน่วยงานของรัฐก็ควรให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลการตลาด มีการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และข่าวสารให้แก่ผู้ผลิตและผู้ส่ง ออก รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักทั่วไปในต่างประเทศ
4. ดอกไม้แห้งอบหอม
4.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ดอกไม้แห้งอบหอมที่ผลิตได้ภายในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ดอกไม้แห้งอบหอมบรรจุภาชนะและประเภทวัตถุดิบสำหรับการส่งออก ดอกไม้แห้งอบหอมมี กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากนักและใช้เงินลงทุนต่ำ หากแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่ง ปรับปรุงกลิ่น และสีของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงมีผู้ผลิตรายย่อยกระจายอยู่ทั่วไปในภาคกลางและภาคเหนือ ผู้ผลิตรายใหญ่ส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่จะมีโรงงานอยู่ในแหล่งวัตถุดิบเพื่อรวบรวมวัตถุดิบจากชาวบ้าน หรือสวนดอกไม้แล้วผ่านกระบวนการทำให้แห้งก่อนส่งมากรุงเทพฯ
4.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่สามารถผลิตดอกไม้แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้งไปพร้อมกันเพื่อขยายตลาดให้กว้างมากที่สุด แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลาระหว่างการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้งเนื่องจากเป็นงานประเภทฝีมือที่ใช้แรงงานคนทำเหมือนกัน ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันหอมระเหย สารตรึงกลิ่น และวัตถุดิบ ปริมาณการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมใน ประเทศมีมูลค่ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี
4.3 ตลาดในประเทศ ปัจจุบันลูกค้ายังอยู่ในวงแคบเนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาแพง ลูกค้าคนไทยส่วนใหญ่นิยมซื้อในลักษณะเป็นของชำร่วย ของขวัญ หรือของที่ระลึกมอบให้แก่กันมากกว่าที่จะตั้งใจซื้อเพื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างลูกค้าในต่างประเทศบางประเทศที่นิยมซื้อมาเป็นอุปกรณ์ตกแต่งห้องสำหรับบ้านพักและสำนักงาน หรือช่วยเพิ่มความหอมและสดชื่นให้แก่ห้อง สำหรับการส่งออกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมของไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากมูลค่า 26.7 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เพิ่มเป็นมูลค่า 71.5 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 27.9 ต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมทั้งหมดในปี 2535 รองลงมาคือ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8, 8.1 และ 7.1 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมในปีดังกล่าวตามลำดับ แต่ทั้งนี้การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปของวัตถุดิบคือ ดอกไม้แห้งล้วน ๆ ยังไม่ผสมเข้าด้วยกัน และไม่ปรุงแต่งกลิ่น โดยมีประเทศอินเดีย และจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
4.4 แนวโน้มในอนาคต จากการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคซึ่งหันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมในประเทศมีลู่ทางแจ่มใสและมีแนวโน้มที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น จากส่วนต่างของกำไร (Profit Margin) ที่สูงและลู่ทางการตลาดที่ดีต่อไปในอนาคตจึงคาดว่าจะดึงดูดผู้ผลิตรายใหม่ให้เข้ามาในธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างของกำไรในอนาคตลดลงมาและเกิดการแข่งขันกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์
4.5 ปัญหา อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งอบหอมมีปัญหาสำคัญคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ต้นทุน วัตถุดิบ และค่าขนส่งที่สูง กล่าวคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ เช่น มีสิ่งปนเปื้อน กลิ่น สีและบรรจุภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการ เป็นต้น ส่วนทางด้านต้นทุนการผลิตนั้นผู้ผลิตต้องสั่งซื้อน้ำมันหอมสำหรับปรุงแต่งกลิ่นหอมและสารเคมีจากต่างประเทศด้วยราคาสูง และการที่จะต้องส่งสินค้าสู่ปลายทางโดยรวดเร็วทำให้เสียค่าขนส่งแพง จึงส่งผลให้ดอกไม้แห้งอบหอมของไทยเมื่อถึงตลาดเป้าหมายแล้วมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์เกรดเดียวกันกับที่ผลิตในตลาดยุโรป
4.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยผู้ผลิตควรเร่งพัฒนาทั้งคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งออกสินค้าในรูปแบบสินค้าสำเร็จรูปโดยการบรรจุภาชนะต่างๆให้ดูน่ารัก ทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม มีสีสันและกลิ่นหอมให้เหมาะสมกับรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าแทนที่จะขายในลักษณะวัตถุดิบเช่นที่ผ่านมา ส่วนรัฐบาลควรจะลดภาษีนำเข้าสารเคมี และน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ผู้ผลิตไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมถึงทำการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาดให้แก่ผู้ผลิตได้รับทราบในด้านการแข่งขัน และลักษณะความต้องการสินค้าของผู้บริโภคชาวต่างประเทศ เพื่อที่ผู้ผลิตไทยจะได้ปรับตัวทันในการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลก
5. ตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ
5.1 แหล่งผลิต อุตสาหกรรมผลิตตะกร้าและกระเช้ามีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีการผลิตอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ วัสดุธรรมชาติหลักที่ใช้ทำตะกร้าและกระเช้า ได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย เถาวัลย์ ผักตบชวา และต้นกก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ไผ่ แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหวาย แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเถาวัลย์หรือเถาองุ่น แหล่งผลิตหลักอยู่ที่ จังหวัดราชบุรี และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชัยนาท
5.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทและจะทำการผลิตในยามว่างจากงานหลักภาคการเกษตร โดยลักษณะการผลิตต้องพึ่งพาแรงงานเป็นหลัก ทำให้กำลังการผลิตในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน จะขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อและเวลาว่างจากงานหลักภาคเกษตรของแรงงาน สำหรับการจักสานตะกร้าและกระเช้าที่มีรูปแบบทั่ว ๆ ไปไม่ซับซ้อนมากนัก แรงงาน 1 คน สามารถผลิตได้ประมาณ 5-10 ชิ้นต่อวัน
5.3 ตลาดภายในประเทศ ปัจจุบันตลาดมีความนิยมตะกร้ากระเช้าที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตได้มีการพัฒนารูปแบบ และสีสันของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับเป็นงานฝีมือที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงเป็นที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของฝากและเพื่อตกแต่งสถานที่ให้เกิดความสวยงาม สินค้าประเภทนี้มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่วนตลาดต่างประเทศมักเป็นที่นิยมในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และสเปน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีค่าจ้างแรงงานสูงจึงไม่นิยมที่จะผลิตใช้เองภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าประเภทนี้ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปี คือจากมูลค่า 91.0 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เหลือเพียง 70.2 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 ทั้งนี้เนื่องจากประสบการแข่งขันสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และอินโดนีเซีย ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูก และมีวัตถุดิบภายในประเทศอยู่มากทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยจึงสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า แม้สินค้าไทยจะมี คุณภาพและรูปแบบที่ดีกว่าก็ตาม แต่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาเรื่องราคาเป็นสำคัญ
5.4 แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้คาดว่าตลาดภายในประเทศจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคภายในประเทศได้หันมาให้ความสนใจในสินค้าประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ส่วนในด้านการส่งออกนั้นประเทศที่มีแนวโน้มจะเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต คือ ญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และ สเปน ส่วนสหรัฐอเมริกาจะเป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนลดลง เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ผู้ส่งออกจากประเทศต่าง ๆ จึงมุ่งส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดต่ำลง
5.5 ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สำคัญในด้านการผลิตคือ ขาดแคลนวัตถุดิบได้แก่ วัสดุธรรมชาติจำพวกไม้ไผ่และหวายหายาก ทำให้ต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญเนื่องจากแรงงานที่ทำการผลิต ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่ว่างจากภาคการเกษตรไม่ได้ยึดถืออาชีพนี้เป็นหลัก ความชำนาญในการผลิตจึงมีไม่มาก ส่วนปัญหาทางด้านการตลาดคือ การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ และผู้ประกอบการยังขาดข้อมูลด้านการตลาดต่างประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดส่งออก
5.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ก่อนที่จะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศโดยประเทศคู่แข่งของไทยที่ได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต โดยผู้ผลิตควรมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ คุณภาพ ตลอดจนประเภทของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบจำพวกหวาย และไม้ไผ่ ซึ่งหายากและมีต้นทุนสูง รวมทั้งการหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการนำเข้าสูง เช่น ตลาดยุโรปซึ่งไทยยังมีการส่งออกน้อยอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายตลาดส่งออกให้กว้างขึ้น ส่วนรัฐบาลควรให้การฝึกอบรมความรู้ในด้านการผลิตแก่ประชาชนผู้สนใจให้มากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มอุปทานแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ และสนับสนุนในด้านข้อมูลข่าวสาร และข้อแนะนำที่จำเป็นของตลาดนั้น ๆ แก่ผู้ส่งออก
6. แจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิก
6.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้สามารถแบ่งได้ตามชนิดของเนื้อวัสดุได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. เทอร์ราคอตตา (Terra Cotta) เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบ 2. เอิร์ธเทนแวร์ (Earthenware) มีเนื้อดินแน่นและดูดซึมน้ำได้สูง 3. สโตนแวร์ (Stoneware) เนื้อผลิตภัณฑ์จะแข็งแกร่ง ดูดซึมน้ำได้น้อย 4. พอร์ซเลน (Pocelain) เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดี เนื้อแกร่ง โปร่งแสง เคาะมีเสียงกังวาน ไม่ดูดซึมน้ำ แหล่งที่ตั้งของโรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ตามแหล่งของวัตถุดิบ และแหล่งที่มีแรงงานฝีมือ วิจิตรศิลป์ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และนครราชสีมา ผู้ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางจะผลิต สินค้าคุณภาพสูงจำพวกสโตนแวร์ และพอร์ซเลน ส่วนจังหวัดนครราชสีมาผลิตพวกเทอร์ราคอตตาและเอิร์ธเทนแวร์ ซึ่งเนื้อผลิตภัณฑ์หยาบและมีราคาถูก เช่นที่รู้จักกันดีในนามของผลิตภัณฑ์ด่านเกวียน สำหรับภาคกลางก็มีผู้ผลิตอยู่บ้างไม่มากนัก กระจายตัวอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี
6.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตแจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิกในประเทศมี ประมาณ 88 ราย ผลิตสินค้าได้ปีละประมาณ 13 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ผู้ผลิตรายใหญ่มีการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 70-80 โดยผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงจะเน้นการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับต้นทุนการผลิต จากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งที่ผลิตสินค้าหลายแบบทั้งแบบเบญจรงค์ ลายคราม ลายสวยงาม และแบบสากล ต้นทุนร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นค่าจ้างแรงงาน
6.3 ตลาดในประเทศ ตลาดหลักมี 4 ตลาด คือ ตลาดห้างสรรพสินค้า ตลาดสวนจตุจักร ตลาดนักท่องเที่ยว และตลาดท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน และอิตาลี ในปี 2535 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทนี้เป็นมูลค่า 10.8 ล้านบาท สำหรับตลาดโลกของสินค้าเซรามิก ประเภทของประดับเครื่องตกแต่งมีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์ของประดับและเครื่องตกแต่งเซรามิกไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากมูลค่า 81.7 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เป็นมูลค่า 413.1 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50.0 ต่อปี โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
6.4 แนวโน้ม อุตสาหกรรมผลิตแจกันและกระถางเซรามิกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไป และมุ่งตลาดส่งออกเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเนื่องจากตลาดมีขนาดใหญ่และประชาชนมีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ จากการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยความช่วยเหลือด้านเครื่องจักรอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญจาก JICA (Japan International Co-Operation Agency) ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาค เหนือขึ้นเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ผลิตโดยตรงจะช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
6.5 ปัญหาและอุปสรรค ปัจจุบันผู้ผลิตอุตสาหกรรมนี้ประสบปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือ คุณภาพวัตถุดิบไม่สม่ำเสมอ ค่าจ้างแรงงานสูง และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตล้าสมัย ส่วนปัญหาด้านการส่งออกได้แก่ การตัดราคากันเองระหว่างผู้ผลิตคนไทยด้วยกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกยังมีน้อยและขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่แนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศ
6.6 แนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้น คือ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ เช่น ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ ควรจะเร่งทำการประชาสัมพันธ์และออกไปเผยแพร่ให้ความรู้และคำแนะนำด้านการผลิตแก่ผู้ผลิต รัฐบาลควรมีนโยบายให้สถาบันการเงินในประเทศให้บริการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขน้อย เพื่อให้ผู้ผลิตกู้มาลงทุนในด้านเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมทั้งลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะสีและน้ำยาเคลือบซึ่งยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกควรทำการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ของไทยในแต่ละแหล่งผลิตที่สำคัญ และเป็นตัวกลางในการประสานงานติดต่อให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้พบปะกับผู้ผลิตได้สะดวกยิ่งขึ้น--จบ--
-- กรมส่งเสริมการส่งออก กุมภาพันธ์ 2541 --
1.1 อุตสาหกรรมกลุ่ม Florist Accessories and Articles ที่ศึกษาตามโครงการนี้ ครอบคลุมสินค้า 5 ประเภท คือ 1. ดอกไม้ประดิษฐ์ 2. ดอกไม้แห้ง 3. ดอกไม้แห้งอบหอม 4. ตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ 5. แจกันและกระถางเซรามิกสำหรับใส่ดอกไม้ประดับ อุตสาหกรรมนี้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอดีตที่เคยเป็นหัตถกรรมในครัวเรือนเพื่อการจำหน่ายในท้องถิ่นโดยตลาดยังคงจำกัดอยู่ภายในประเทศ ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก จึงได้มีการผลิตในรูปโรงงานอุตสาหกรรมทำการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อการจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางตั้งอยู่กระจัดกระจายทุกภูมิภาคของประเทศ และมีลักษณะการผลิตที่ต้องใช้ทั้งฝีมือและแรงงานเป็นหลัก
1.2 จากการที่ไทยได้เปรียบด้านฝีมือการผลิตที่ประณีต รูปแบบของสินค้าที่สวยงาม และมีคุณภาพ ทำให้ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศมากขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจะมีเพียงดอกไม้ ประดิษฐ์เท่านั้นที่ประสบการแข่งขันสูงขึ้นเป็นผลให้อัตราการขยายตัวลดลง แต่ก็มีมูลค่าการส่งออกสูงมาก เมื่อเทียบกับสินค้าชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มนี้
1.3 ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการตลาดและปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการส่งเสริมการส่งออกที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการขยายการส่งออกคือ การพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบแปลกใหม่ ใช้งานได้ตรงกับวัตถุประสงค์มากขึ้น และต้องกระจายตลาดให้กว้างขวางทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ รวมถึงการได้รับข้อมูลการตลาดที่ถูกต้องเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิต การตลาด และการส่งเสริมการขายได้ตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด
1.4 กรมส่งเสริมการส่งออกได้มอบให้ฝ่ายวิจัย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาภาพรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหมวดนี้ในประเทศไทยเพื่อให้ทราบข้อมูลด้านสถานภาพการผลิต การตลาด ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาดูแนวโน้มและแนวทางในการที่จะพัฒนาส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต พร้อมทั้งเสนอรายชื่อผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งออกและยินดีจะเข้าร่วมในโครงการ Florist Accessories and Articles ของหน่วยงาน CBI (Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ได้มีโอกาสไปเปิดตลาดสินค้าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศใกล้เคียงในยุโรป โดยผ่านทางกรมส่งเสริมการส่งออก
2. ดอกไม้ประดิษฐ์
2.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ดอกไม้ประดิษฐ์ในที่นี้จะครอบคลุมทั้งดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้และผักผลไม้ประดิษฐ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดอกไม้พลาสติก ดอกไม้ผ้าโพลีเอสเตอร์ ดอกไม้กระดาษ และดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุประเภทอื่น ๆ รวมทั้งต้นไม้และผักผลไม้ประดิษฐ์ โดยผู้ผลิตดอกไม้ ประดิษฐ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางมีแหล่งผลิตตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่มุ่งผลิตเพื่อส่งออกมีแหล่งที่ตั้งโรงงานในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ ส่วนดอกไม้กระดาษ เช่น กระดาษสา ผู้ผลิตกระจัดกระจายอยู่มากในภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ
2.2 สถานภาพด้านการผลิต การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์มีลักษณะเน้นการใช้แรงงาน (Labor-Inten- sive) โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าและดอกไม้กระดาษ ซึ่งมีทั้งการผลิตในโรงงานและการผลิตในครัวเรือน การผลิตในโรงงานจะใช้เครื่องจักรในการผลิตชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งการบรรจุหีบห่อ ส่วนการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ จะใช้แรงงานในท้องถิ่นซึ่งเป็นแรงงานจ้างเหมารับไปประกอบช่อดอกและใบนอกโรงงาน โดยเฉพาะดอกไม้ผ้าโพลีเอสเตอร์จะนิยมจ้างเหมาแรงงานในลักษณะนี้ ส่วนการผลิตดอกไม้กระดาษและดอกไม้ประเภทอื่น ๆ จะใช้แรงงานฝีมือในการผลิตแทบทุกขั้นตอน จึงไม่นิยมที่จะจ้างเหมาแรงงานภายนอก สำหรับสภาพการผลิตในปัจจุบันไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนรายใหม่ไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นผลมาจากค่าแรงงานที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งขันมาก ผู้ผลิตที่ผลิตกันอยู่ในปัจจุบันล้วนแต่เป็นผู้ประกอบการรายเดิม สำหรับรายเล็กๆ ต่างก็ทยอยกันเลิกกิจการ ส่วนรายใหญ่ก็เริ่มมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศที่มีค่าแรงงานถูกกว่ามากขึ้น
2.3 ตลาดภายในประเทศ ขนาดตลาดยังคงค่อนข้างจำกัด โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของ ปริมาณการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากรสนิยมของคนไทยที่นิยมดอกไม้สดมากกว่า และดอกไม้สดก็มีให้เลือกใช้มากมายตลอดทั้งปี ส่วนการนำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ในปัจจุบันปริมาณและมูลค่ายังมีน้อยและไม่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 มูลค่านำเข้ามีเพียงปีละประมาณ 11-12 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ดอกไม้ประดิษฐ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่นิยมผลิตในประเทศ เช่น ดอกไม้ที่ทำจากเซรามิค และประเภทที่มีราคาถูกกว่าโดยเฉพาะสินค้าที่มาจากจีนแดง แม้ว่าจะต้องเสียภาษีนำเข้าก็ตาม
2.4 ตลาดส่งออก ในช่วงปี พ.ศ.2532-2535 การส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ของไทยประสบภาวะตกต่ำ จากการที่ตลาดต่างประเทศเริ่มถึงจุดอิ่มตัว การแข่งขันในต่างประเทศมีมาก และมีการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างหนักจากจีน ซึ่งได้เปรียบไทยในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องการใช้สูงถึงปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศในแถบเอเซีย สหรัฐอเมริกานำเข้าดอกไม้ประดิษฐ์ทุกประเภทจากไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ทั้งหมดของไทย สำหรับตลาดส่งออกอื่นๆ ที่มีความสำคัญและผู้ผลิตส่วนใหญ่พยายามที่จะเข้าไปเปิดตลาดมากขึ้น ได้แก่ ยุโรป เอเซีย และตะวันออกกลาง
2.5 แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย ในระยะสั้นภาวะการส่งออกน่าจะกระเตื้องขึ้นบ้างจากการที่จีนผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ผู้ผลิตไทยจึงได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มุ่งขยายตลาดไปทางแถบยุโรปซึ่งมีแนวโน้มความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น สำหรับในระยะยาวจากปัญหาค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ จีน อย่างมาก เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตดอกไม้ประดิษฐ์ในประเทศไทยคงจะไม่เฟื่องฟูดังเช่นในอดีต ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันได้จะต้องเลิกกิจการไปยังคงเหลือแต่ผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขสำคัญเพื่อความอยู่รอดของกิจการคือ จะต้องย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดที่มีค่าแรงถูกลง หรือย้ายไปยังประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
2.6 สภาพปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมนี้ที่สำคัญในด้านการผลิตคือ คุณภาพวัตถุดิบในประเทศไม่สม่ำเสมอ ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง ปัญหาค่าจ้างแรงงานและค่าขนส่งที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ส่วนปัญหาด้านการตลาด คือ การแข่งขันด้านราคาที่ไทยเสียเปรียบจีนและการพึ่งพาตลาดหลักเพียงตลาดเดียวคือ สหรัฐอเมริกา ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น
2.7 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกดอกไม้ประดิษฐ์ในอนาคตที่สำคัญได้แก่ ด้านการผลิต จากปัญหาค่าแรงงานนั้นคงจะแก้ไขได้ยาก แต่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ซึ่งจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นเวลา 5 ปี และค่าจ้างแรงงานจะถูกกว่าเขตอื่น สำหรับเรื่องวัตถุดิบนั้นควรมีการส่งเสริมให้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีขึ้นเองภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งวัตถุดิบต่างประเทศ และหันมาใช้วัตถุดิบประเภทที่มีอยู่มากภายในประเทศมากขึ้น เช่น กระดาษสา นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพของวัตถุดิบให้มีคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่ง ด้านการตลาด ผู้ส่งออกควรขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มดีได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สวีเดน เพื่อเตรียมป้องกันผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของ สหรัฐฯ นอกจากนั้นก็ควรผลิตสินค้าและพัฒนารูปแบบให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน ด้านกฎระเบียบและนโยบายของรัฐ ควรปรับปรุงต้นทุนที่เกิดจากภาครัฐบาล อันได้แก่ การนำเข้าวัตถุดิบ โดยรัฐบาลควรเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงจัง เช่น ปรับอัตราโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้ต่ำลง และปรับปรุงระบบการคืนภาษีวัตถุดิบตามมาตรา 19 ให้สามารถคืนภาษีได้ในเวลารวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งควรเก็บค่าบริการในการเทียบเรือให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
3. ดอกไม้แห้ง
3.1 สถานภาพด้านการผลิต และแหล่งผลิต อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก (Labor-Intensive) ใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันมีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ไม่มากนัก มีทั้งผู้ผลิตรายเล็กที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบง่าย ๆ และผู้ผลิตขนาดกลางซึ่งใช้เทคโนโลยีซับซ้อนขึ้น เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะไม่ทำการผลิตเองทุกขั้นตอนแต่จะใช้ระบบการรับช่วงการผลิต โดยกระจายงานไปให้ชาวบ้านตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับจ้างทำในขั้นตอนง่าย ๆ เช่น ย้อมสีดอกไม้, ประดิษฐ์ดอกไม้แห้งขึ้นใหม่จากส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้แห้ง เป็นต้น แหล่งผลิตจึงตั้งอยู่กระจัด กระจายทั่วไปตามแหล่งวัตถุดิบคือในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง (ตอนบน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.2 การตลาด ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มนิยมดอกไม้แห้งกันมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ทดแทนดอกไม้สดที่มีอายุการใช้งานสั้น หรือทดแทนดอกไม้ประดิษฐ์ที่ดูไม่มีชีวิตชีวาและมีราคาแพง ประกอบกับการรณรงค์ให้อนุรักษ์ธรรมชาติโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแนวโน้มว่าดอกไม้แห้งจะได้รับความ นิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ดอกไม้แห้งที่จำหน่ายในตลาดนอกจากจะมีลักษณะเป็นกิ่ง ก้านที่สามารถนำมาเข้าช่อจัดใส่แจกันแล้ว ยังมีการนำดอกไม้แห้งไปประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตะกร้าดอกไม้แห้ง, กรอบรูป, กิ๊บติดผม, ช่อกลมแขวนโชว์ เป็นต้น โดยวางจำหน่ายทั่วไปทั้งตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกอื่น ๆ
3.3 ตลาดส่งออก เริ่มมีการส่งออกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีปริมาณและมูลค่าน้อยอยู่ สินค้าที่ส่งออกก็ยังไม่หลากหลาย มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากผู้ผลิตรายเล็กมี ปริมาณการผลิตน้อยจึงผลิตเพื่อขายในประเทศเท่านั้น ดอกไม้แห้งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ที่ ประดิษฐ์จากดอกไม้แห้งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสะดวกในการบรรจุเพื่อส่งออกและสินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำหน่ายได้ราคามากกว่าการส่งออกเป็นดอกไม้แห้งแบบก้านยาว ส่วนการส่งออกดอกไม้แห้งแบบมีก้านสำหรับจัดเข้าช่อมีปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากสินค้าจะชำรุดเสียหายได้ง่ายในขั้นตอนการขนส่งจึงต้องมีการบรรจุหีบห่ออย่างดีทำให้มีต้นทุนสูง ประกอบกับประเภทของดอกไม้แห้งที่นำมาจัดเป็นช่อได้มีไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีดอกไม้หลายชนิดและมีความคงทนแข็งแรงกว่า ตลาดส่งออกดอกไม้แห้งที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น ประเทศคู่แข่งในการส่งออกดอกไม้แห้งที่สำคัญคือ จีน และไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกเป็นดอก และเป็นแบบก้านยาวแทบจะไม่ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากดอกไม้แห้งเท่าใดนัก
3.4 แนวโน้มภาวะตลาดของดอกไม้แห้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มค่อนข้างแจ่มใสสามารถเพิ่มมูลค่าและขยายตลาดต่อไปได้อีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมหันมาสนใจการตกแต่งสถานที่ต่างๆ ด้วยดอกไม้แห้งและผลิตภัณฑ์จากดอกไม้แห้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งของขวัญของชำร่วยที่ทำจากดอกไม้แห้งก็ได้รับความนิยมอย่างมาก กอปรกับการรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลดีต่อตลาดดอกไม้แห้งที่จะสามารถเติบโตได้มากในอนาคต
3.5 ปัญหาและอุปสรรค อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งมีปัญหาและอุปสรรคสำคัญคือ ปัญหาทางด้านการผลิต ที่สำคัญคือ ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่หาได้จากธรรมชาติทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการผลิต ปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่ มีความชื้น เชื้อรา แมลง และในเรื่องความไม่คงทน แตกหักได้ง่ายของดอกไม้แห้งซึ่งแตกต่างจากดอกไม้ของต่างประเทศ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์ที่ดอกไม้มีความแข็งแรงคงทน และมีสีสันสดใส นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงานสูง ส่วนปัญหาทางด้านการตลาดที่สำคัญคือ ตลาดยังแคบอยู่ เนื่องจากชนิดของดอกไม้แห้งมีอยู่ไม่มากนักทำให้ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ผลิตบางรายขาดความรู้และข้อมูลในด้านการตลาดทำให้ไม่สามารถขยายตลาดได้ และปัญหาด้านการขนส่งที่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ป้องกันการเสียหายของสินค้า ทำให้ค่าบรรจุภัณฑ์และค่าขนส่งสูงขึ้น
3.6 แนวทางแก้ไขปัญหา ดังกล่าวข้างต้นคือ ผู้ผลิตควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่ สามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ มีการศึกษาพัฒนาดอกไม้พันธุ์ใหม่ ๆ ให้สามารถผลิตเป็นดอกไม้แห้ง เพื่อให้มีดอกไม้แห้งหลากหลายชนิดได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วนหน่วยงานของรัฐก็ควรให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลการตลาด มีการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และข่าวสารให้แก่ผู้ผลิตและผู้ส่ง ออก รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักทั่วไปในต่างประเทศ
4. ดอกไม้แห้งอบหอม
4.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ดอกไม้แห้งอบหอมที่ผลิตได้ภายในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ดอกไม้แห้งอบหอมบรรจุภาชนะและประเภทวัตถุดิบสำหรับการส่งออก ดอกไม้แห้งอบหอมมี กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากนักและใช้เงินลงทุนต่ำ หากแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่ง ปรับปรุงกลิ่น และสีของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงมีผู้ผลิตรายย่อยกระจายอยู่ทั่วไปในภาคกลางและภาคเหนือ ผู้ผลิตรายใหญ่ส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่จะมีโรงงานอยู่ในแหล่งวัตถุดิบเพื่อรวบรวมวัตถุดิบจากชาวบ้าน หรือสวนดอกไม้แล้วผ่านกระบวนการทำให้แห้งก่อนส่งมากรุงเทพฯ
4.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่สามารถผลิตดอกไม้แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้งไปพร้อมกันเพื่อขยายตลาดให้กว้างมากที่สุด แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลาระหว่างการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมและผลิตภัณฑ์ดอกไม้แห้งเนื่องจากเป็นงานประเภทฝีมือที่ใช้แรงงานคนทำเหมือนกัน ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันหอมระเหย สารตรึงกลิ่น และวัตถุดิบ ปริมาณการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมใน ประเทศมีมูลค่ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี
4.3 ตลาดในประเทศ ปัจจุบันลูกค้ายังอยู่ในวงแคบเนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาแพง ลูกค้าคนไทยส่วนใหญ่นิยมซื้อในลักษณะเป็นของชำร่วย ของขวัญ หรือของที่ระลึกมอบให้แก่กันมากกว่าที่จะตั้งใจซื้อเพื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างลูกค้าในต่างประเทศบางประเทศที่นิยมซื้อมาเป็นอุปกรณ์ตกแต่งห้องสำหรับบ้านพักและสำนักงาน หรือช่วยเพิ่มความหอมและสดชื่นให้แก่ห้อง สำหรับการส่งออกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมของไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากมูลค่า 26.7 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เพิ่มเป็นมูลค่า 71.5 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 27.9 ต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมทั้งหมดในปี 2535 รองลงมาคือ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8, 8.1 และ 7.1 ของมูลค่าการส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมในปีดังกล่าวตามลำดับ แต่ทั้งนี้การส่งออกดอกไม้แห้งอบหอมส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปของวัตถุดิบคือ ดอกไม้แห้งล้วน ๆ ยังไม่ผสมเข้าด้วยกัน และไม่ปรุงแต่งกลิ่น โดยมีประเทศอินเดีย และจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
4.4 แนวโน้มในอนาคต จากการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคซึ่งหันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมในประเทศมีลู่ทางแจ่มใสและมีแนวโน้มที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น จากส่วนต่างของกำไร (Profit Margin) ที่สูงและลู่ทางการตลาดที่ดีต่อไปในอนาคตจึงคาดว่าจะดึงดูดผู้ผลิตรายใหม่ให้เข้ามาในธุรกิจดอกไม้แห้งอบหอมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างของกำไรในอนาคตลดลงมาและเกิดการแข่งขันกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมดอกไม้ประดิษฐ์
4.5 ปัญหา อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งอบหอมมีปัญหาสำคัญคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ต้นทุน วัตถุดิบ และค่าขนส่งที่สูง กล่าวคือ ปัญหาทางด้านเทคนิคการผลิต ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ เช่น มีสิ่งปนเปื้อน กลิ่น สีและบรรจุภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการ เป็นต้น ส่วนทางด้านต้นทุนการผลิตนั้นผู้ผลิตต้องสั่งซื้อน้ำมันหอมสำหรับปรุงแต่งกลิ่นหอมและสารเคมีจากต่างประเทศด้วยราคาสูง และการที่จะต้องส่งสินค้าสู่ปลายทางโดยรวดเร็วทำให้เสียค่าขนส่งแพง จึงส่งผลให้ดอกไม้แห้งอบหอมของไทยเมื่อถึงตลาดเป้าหมายแล้วมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์เกรดเดียวกันกับที่ผลิตในตลาดยุโรป
4.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยผู้ผลิตควรเร่งพัฒนาทั้งคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งออกสินค้าในรูปแบบสินค้าสำเร็จรูปโดยการบรรจุภาชนะต่างๆให้ดูน่ารัก ทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม มีสีสันและกลิ่นหอมให้เหมาะสมกับรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าแทนที่จะขายในลักษณะวัตถุดิบเช่นที่ผ่านมา ส่วนรัฐบาลควรจะลดภาษีนำเข้าสารเคมี และน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ผู้ผลิตไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมถึงทำการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาดให้แก่ผู้ผลิตได้รับทราบในด้านการแข่งขัน และลักษณะความต้องการสินค้าของผู้บริโภคชาวต่างประเทศ เพื่อที่ผู้ผลิตไทยจะได้ปรับตัวทันในการผลิตดอกไม้แห้งอบหอมส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลก
5. ตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สานด้วยหวาย ไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ
5.1 แหล่งผลิต อุตสาหกรรมผลิตตะกร้าและกระเช้ามีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีการผลิตอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ วัสดุธรรมชาติหลักที่ใช้ทำตะกร้าและกระเช้า ได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย เถาวัลย์ ผักตบชวา และต้นกก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ไผ่ แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหวาย แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเถาวัลย์หรือเถาองุ่น แหล่งผลิตหลักอยู่ที่ จังหวัดราชบุรี และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา แหล่งผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดชัยนาท
5.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทและจะทำการผลิตในยามว่างจากงานหลักภาคการเกษตร โดยลักษณะการผลิตต้องพึ่งพาแรงงานเป็นหลัก ทำให้กำลังการผลิตในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน จะขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อและเวลาว่างจากงานหลักภาคเกษตรของแรงงาน สำหรับการจักสานตะกร้าและกระเช้าที่มีรูปแบบทั่ว ๆ ไปไม่ซับซ้อนมากนัก แรงงาน 1 คน สามารถผลิตได้ประมาณ 5-10 ชิ้นต่อวัน
5.3 ตลาดภายในประเทศ ปัจจุบันตลาดมีความนิยมตะกร้ากระเช้าที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตได้มีการพัฒนารูปแบบ และสีสันของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับเป็นงานฝีมือที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงเป็นที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของฝากและเพื่อตกแต่งสถานที่ให้เกิดความสวยงาม สินค้าประเภทนี้มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่วนตลาดต่างประเทศมักเป็นที่นิยมในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และสเปน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีค่าจ้างแรงงานสูงจึงไม่นิยมที่จะผลิตใช้เองภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าประเภทนี้ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปี คือจากมูลค่า 91.0 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เหลือเพียง 70.2 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 ทั้งนี้เนื่องจากประสบการแข่งขันสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และอินโดนีเซีย ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูก และมีวัตถุดิบภายในประเทศอยู่มากทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยจึงสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า แม้สินค้าไทยจะมี คุณภาพและรูปแบบที่ดีกว่าก็ตาม แต่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาเรื่องราคาเป็นสำคัญ
5.4 แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้คาดว่าตลาดภายในประเทศจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคภายในประเทศได้หันมาให้ความสนใจในสินค้าประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ส่วนในด้านการส่งออกนั้นประเทศที่มีแนวโน้มจะเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต คือ ญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร และ สเปน ส่วนสหรัฐอเมริกาจะเป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนลดลง เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ผู้ส่งออกจากประเทศต่าง ๆ จึงมุ่งส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดต่ำลง
5.5 ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมตะกร้าและกระเช้าที่ใส่ไม้ประดับที่สำคัญในด้านการผลิตคือ ขาดแคลนวัตถุดิบได้แก่ วัสดุธรรมชาติจำพวกไม้ไผ่และหวายหายาก ทำให้ต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญเนื่องจากแรงงานที่ทำการผลิต ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่ว่างจากภาคการเกษตรไม่ได้ยึดถืออาชีพนี้เป็นหลัก ความชำนาญในการผลิตจึงมีไม่มาก ส่วนปัญหาทางด้านการตลาดคือ การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ และผู้ประกอบการยังขาดข้อมูลด้านการตลาดต่างประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดส่งออก
5.6 แนวทางการแก้ไขปัญหา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ก่อนที่จะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศโดยประเทศคู่แข่งของไทยที่ได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต โดยผู้ผลิตควรมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ คุณภาพ ตลอดจนประเภทของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบจำพวกหวาย และไม้ไผ่ ซึ่งหายากและมีต้นทุนสูง รวมทั้งการหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการนำเข้าสูง เช่น ตลาดยุโรปซึ่งไทยยังมีการส่งออกน้อยอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายตลาดส่งออกให้กว้างขึ้น ส่วนรัฐบาลควรให้การฝึกอบรมความรู้ในด้านการผลิตแก่ประชาชนผู้สนใจให้มากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มอุปทานแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ และสนับสนุนในด้านข้อมูลข่าวสาร และข้อแนะนำที่จำเป็นของตลาดนั้น ๆ แก่ผู้ส่งออก
6. แจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิก
6.1 ประเภทสินค้าและแหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้สามารถแบ่งได้ตามชนิดของเนื้อวัสดุได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. เทอร์ราคอตตา (Terra Cotta) เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบ 2. เอิร์ธเทนแวร์ (Earthenware) มีเนื้อดินแน่นและดูดซึมน้ำได้สูง 3. สโตนแวร์ (Stoneware) เนื้อผลิตภัณฑ์จะแข็งแกร่ง ดูดซึมน้ำได้น้อย 4. พอร์ซเลน (Pocelain) เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดี เนื้อแกร่ง โปร่งแสง เคาะมีเสียงกังวาน ไม่ดูดซึมน้ำ แหล่งที่ตั้งของโรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ตามแหล่งของวัตถุดิบ และแหล่งที่มีแรงงานฝีมือ วิจิตรศิลป์ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และนครราชสีมา ผู้ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางจะผลิต สินค้าคุณภาพสูงจำพวกสโตนแวร์ และพอร์ซเลน ส่วนจังหวัดนครราชสีมาผลิตพวกเทอร์ราคอตตาและเอิร์ธเทนแวร์ ซึ่งเนื้อผลิตภัณฑ์หยาบและมีราคาถูก เช่นที่รู้จักกันดีในนามของผลิตภัณฑ์ด่านเกวียน สำหรับภาคกลางก็มีผู้ผลิตอยู่บ้างไม่มากนัก กระจายตัวอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี
6.2 สถานภาพด้านการผลิต ผู้ผลิตแจกันและกระถางใส่ดอกไม้ประดับทำด้วยเซรามิกในประเทศมี ประมาณ 88 ราย ผลิตสินค้าได้ปีละประมาณ 13 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ผู้ผลิตรายใหญ่มีการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 70-80 โดยผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงจะเน้นการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับต้นทุนการผลิต จากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งที่ผลิตสินค้าหลายแบบทั้งแบบเบญจรงค์ ลายคราม ลายสวยงาม และแบบสากล ต้นทุนร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นค่าจ้างแรงงาน
6.3 ตลาดในประเทศ ตลาดหลักมี 4 ตลาด คือ ตลาดห้างสรรพสินค้า ตลาดสวนจตุจักร ตลาดนักท่องเที่ยว และตลาดท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน และอิตาลี ในปี 2535 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทนี้เป็นมูลค่า 10.8 ล้านบาท สำหรับตลาดโลกของสินค้าเซรามิก ประเภทของประดับเครื่องตกแต่งมีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์ของประดับและเครื่องตกแต่งเซรามิกไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากมูลค่า 81.7 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2531 เป็นมูลค่า 413.1 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2535 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50.0 ต่อปี โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
6.4 แนวโน้ม อุตสาหกรรมผลิตแจกันและกระถางเซรามิกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไป และมุ่งตลาดส่งออกเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเนื่องจากตลาดมีขนาดใหญ่และประชาชนมีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ จากการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยความช่วยเหลือด้านเครื่องจักรอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญจาก JICA (Japan International Co-Operation Agency) ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาค เหนือขึ้นเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ผลิตโดยตรงจะช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
6.5 ปัญหาและอุปสรรค ปัจจุบันผู้ผลิตอุตสาหกรรมนี้ประสบปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือ คุณภาพวัตถุดิบไม่สม่ำเสมอ ค่าจ้างแรงงานสูง และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตล้าสมัย ส่วนปัญหาด้านการส่งออกได้แก่ การตัดราคากันเองระหว่างผู้ผลิตคนไทยด้วยกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกยังมีน้อยและขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่แนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศ
6.6 แนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้น คือ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ เช่น ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ ควรจะเร่งทำการประชาสัมพันธ์และออกไปเผยแพร่ให้ความรู้และคำแนะนำด้านการผลิตแก่ผู้ผลิต รัฐบาลควรมีนโยบายให้สถาบันการเงินในประเทศให้บริการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขน้อย เพื่อให้ผู้ผลิตกู้มาลงทุนในด้านเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมทั้งลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะสีและน้ำยาเคลือบซึ่งยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกควรทำการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ของไทยในแต่ละแหล่งผลิตที่สำคัญ และเป็นตัวกลางในการประสานงานติดต่อให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้พบปะกับผู้ผลิตได้สะดวกยิ่งขึ้น--จบ--
-- กรมส่งเสริมการส่งออก กุมภาพันธ์ 2541 --