นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 9 (9th ASEAN Finance Ministers Meeting: AFMM) ระหว่างวันที่ 5-6 เมษายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีนาย Chansy Phosikham รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สปป.ลาว เป็นประธาน ซึ่งผลสรุปของการประชุมสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
รองเลขาธิการอาเซียนได้รายงานภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมาว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2547 ของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 6 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546 ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนโดยภาคเอกชนและ ภาคการส่งออกที่ขยายตัวสูง
นอกจากนี้ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้ให้ความเห็นว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจอาเซียนจะมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงในปี 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า และอาจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แต่อย่างไรก็ดีประเทศสมาชิกอาเซียน โดยรวมจะยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังประเทศไทย ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยมีความมั่นใจต่อนโยบายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ให้สำคัญต่อเป้าหมายทางการคลังที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคตและจะมุ่งเน้นการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2. แนวทางการรวมตัวทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน (Roadmap for Integration
of ASEAN in Finance: RIA-fin)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเห็นพ้องที่จะดำเนินการตามแผน Vientiane Action Program ที่ผู้นำอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่มีระยะเวลา 6 ปี ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในแผนการดังกล่าวได้มีการกำหนดระยะเวลาสำหรับความร่วมมือทางการเงินเหมือนกับแนวทางการรวมตัวทางการเงินของอาเซียน ดังนี้
2.1 ในด้านการพัฒนาตลาดทุน รวมถึงการเชื่อมโยงตลาดทุนในภูมิภาคเข้าด้วยกันโดยจะพัฒนา ASEAN Securities Market Place ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) การพัฒนา ASEAN Asset Class เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการลงทุนในภูมิภาคแก่นักลงทุนต่างประเทศ การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกในด้านโครงสร้างพื้นฐานของตลาด มาตรฐานแนวทางปฏิบัติซึ่งรวมถึงการจัดการความเสี่ยงการเสริมสภาพคล่อง รวมทั้งจะร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในภูมิภาคภายใต้ ASEAN Capital Market Forum
2.2 ในด้านการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้ตกลงที่จะจัดทำ web site เพื่อแสดงข้อมูลที่ทันสมัยของสถานการณ์เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศสมาชิก โดยเชื่อมโยงกับธนาคารกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลด้านการลงทุนเพื่อเผยแพร่แก่นักลงทุน
2.3 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอาเซียนได้ร่วมลงนามในพิธีสาร Protocol to Implement the Third Package of Commitments on Financial Services under the ASEN Framework Agreement on Services เพื่อให้ข้อเสนอผูกพันการเปิดเสรีด้านการเงินของสมาชิกอาเซียนมีผลบังคับใช้ภายหลังสามารถสรุปผลการเจรจาเปิดเสรีในรอบที่ 3 ซึ่งสมาชิกหลายประเทศได้เปิดเสรีทางการเงินระหว่างกันในสาขาต่างๆ หลายสาขา
3. แผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาศุลกากรอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงความยินดีกับอธิบดีศุลกากรอาเซียน ที่ได้ริเริ่มแผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาศุลกากรอาเซียน (Strategic Plan of Customs Development 2005-2010) ซึ่งจะใช้ในระหว่างปี 2005-2010 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนของภูมิภาค
4. มาตรการช่วยเหลือกันเองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (Regional Self-Help and Support Mechanism) โดยที่ประชุมมีมติให้ขยาย ASEAN Swap Arrangement ซึ่งใช้มาเมื่อปี 1977 โดยขยายวงเงินเพิ่มจาก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือด้านการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
5. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรดังกล่าวว่าได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาค อาทิ การออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิต เป็นจำนวน 1.6 ล้านล้านริงกิต โดยธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศมาเลเซียจำนวน 400 ล้านริงกิต และในสิงคโปร์อีกเป็นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ รวมทั้งพันธบัตรเอเชียสกุลเงินบาท ของประเทศไทยที่ปัจจุบันครอบคลุมถึงพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่มิได้จดทะเบียนในตลาด และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ในวันที่ 5 เมษายน 2548 ซึ่งจัดก่อนการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 9 โดยได้มีการหารือใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. การหารือถึงผลการศึกษาของธนาคารโลกเรื่องการลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม โดยชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดช่องว่างได้คือการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลดภาษีศุลกากรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งจะช่วยให้มีการส่งออกไปในประเทศในภูมิภาคมากขึ้น นอกจากนี้การลงทุนจากต่างประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกัมพูชา ลาว และพม่าซึ่งจะพึ่งพาการลงทุนจากประเทศสมาชิกด้วยกันเป็นลำดับแรก ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและลาวในการลงทุนในโครงการน้ำเทิน ช่วยกระจายความเสี่ยง และทำให้โครงการเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนอื่น รวมทั้งธนาคารโลกที่ช่วยค้ำประกันการลงทุนในโครงการดังกล่าว
ประเทศในภูมิภาคอาเซียนยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลัง และต้องการการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งการลงทุนจากภาครัฐไม่มีกำลังเพียงพอ จึงต้องพึ่งพาการลงทุนจากภาคเอกชน รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
2. การเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ในกลางเดือนกันยายน 2549 (ค.ศ. 2006) ณ ประเทศสิงคโปร์ซึ่งในช่วงการจัดการประชุมประเทศสิงคโปร์จะจัดให้มีการประชุมสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่ม G7 และการประชุมที่สำคัญอื่นๆ ควบคู่กับการสัมมนาทางวิชาการการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของอาเซียน รวมทั้งการจัด ASEAN Showcase เพื่อดึงดูดนักลงทุนมาสู่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมและ ผู้สังเกตการณ์ประมาณ 16,000 คน นอกจากนี้ การประชุมประจำปีดังกล่าวนอกจากจะเป็นโอกาสในการดึงดูดนักลงทุนแล้วยังเป็นการจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งก่อนและหลังการประชุม
3. การเตรียมการจัด Roadshow ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2548 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนแก่นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ในการนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังไทยได้กล่าวรายงานถึงความคืบหน้าในการเตรียมการดังกล่าวในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานหลักในปีนี้ โดยได้มีการหารือถึงการเตรียมการจัด Roadshow ให้เป็นที่น่าสนใจแก่นักลงทุนในภูมิภาคยุโรปเพื่อนำเสนอศักยภาพและโอกาสในการลงทุนในภาคการผลิตที่มีความหลากหลายในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีตลาดรองรับทั้งในอาเซียนเอง และเพื่อการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น รวมทั้งโอกาสการลงทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคอาเซียน และในปีนี้คาดว่าจะมีการจัดทำข้อมูลบริษัทที่น่าลงทุนของสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปแจกแกนักลงทุนพร้อมกับการเปิดตัวการจัดทำ ASEAN Index ด้วย ซึ่งคาดว่าการจัด Roadshow ครั้งที่ 2 นี้ จะช่วยส่งเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนให้ดีขึ้นรวมทั้งจะสามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งที่ 10 ในปี 2549 จะจัดขึ้น ณ ประเทศกัมพูชา
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 24/2548 7 เมษายน 2548--
1. ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
รองเลขาธิการอาเซียนได้รายงานภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมาว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2547 ของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 6 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546 ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนโดยภาคเอกชนและ ภาคการส่งออกที่ขยายตัวสูง
นอกจากนี้ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้ให้ความเห็นว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจอาเซียนจะมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงในปี 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า และอาจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แต่อย่างไรก็ดีประเทศสมาชิกอาเซียน โดยรวมจะยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังประเทศไทย ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยมีความมั่นใจต่อนโยบายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ให้สำคัญต่อเป้าหมายทางการคลังที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคตและจะมุ่งเน้นการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2. แนวทางการรวมตัวทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน (Roadmap for Integration
of ASEAN in Finance: RIA-fin)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเห็นพ้องที่จะดำเนินการตามแผน Vientiane Action Program ที่ผู้นำอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่มีระยะเวลา 6 ปี ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในแผนการดังกล่าวได้มีการกำหนดระยะเวลาสำหรับความร่วมมือทางการเงินเหมือนกับแนวทางการรวมตัวทางการเงินของอาเซียน ดังนี้
2.1 ในด้านการพัฒนาตลาดทุน รวมถึงการเชื่อมโยงตลาดทุนในภูมิภาคเข้าด้วยกันโดยจะพัฒนา ASEAN Securities Market Place ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) การพัฒนา ASEAN Asset Class เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการลงทุนในภูมิภาคแก่นักลงทุนต่างประเทศ การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกในด้านโครงสร้างพื้นฐานของตลาด มาตรฐานแนวทางปฏิบัติซึ่งรวมถึงการจัดการความเสี่ยงการเสริมสภาพคล่อง รวมทั้งจะร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในภูมิภาคภายใต้ ASEAN Capital Market Forum
2.2 ในด้านการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้ตกลงที่จะจัดทำ web site เพื่อแสดงข้อมูลที่ทันสมัยของสถานการณ์เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศสมาชิก โดยเชื่อมโยงกับธนาคารกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลด้านการลงทุนเพื่อเผยแพร่แก่นักลงทุน
2.3 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอาเซียนได้ร่วมลงนามในพิธีสาร Protocol to Implement the Third Package of Commitments on Financial Services under the ASEN Framework Agreement on Services เพื่อให้ข้อเสนอผูกพันการเปิดเสรีด้านการเงินของสมาชิกอาเซียนมีผลบังคับใช้ภายหลังสามารถสรุปผลการเจรจาเปิดเสรีในรอบที่ 3 ซึ่งสมาชิกหลายประเทศได้เปิดเสรีทางการเงินระหว่างกันในสาขาต่างๆ หลายสาขา
3. แผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาศุลกากรอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงความยินดีกับอธิบดีศุลกากรอาเซียน ที่ได้ริเริ่มแผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาศุลกากรอาเซียน (Strategic Plan of Customs Development 2005-2010) ซึ่งจะใช้ในระหว่างปี 2005-2010 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนของภูมิภาค
4. มาตรการช่วยเหลือกันเองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (Regional Self-Help and Support Mechanism) โดยที่ประชุมมีมติให้ขยาย ASEAN Swap Arrangement ซึ่งใช้มาเมื่อปี 1977 โดยขยายวงเงินเพิ่มจาก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือด้านการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
5. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรดังกล่าวว่าได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาค อาทิ การออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิต เป็นจำนวน 1.6 ล้านล้านริงกิต โดยธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศมาเลเซียจำนวน 400 ล้านริงกิต และในสิงคโปร์อีกเป็นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ รวมทั้งพันธบัตรเอเชียสกุลเงินบาท ของประเทศไทยที่ปัจจุบันครอบคลุมถึงพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่มิได้จดทะเบียนในตลาด และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ในวันที่ 5 เมษายน 2548 ซึ่งจัดก่อนการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 9 โดยได้มีการหารือใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. การหารือถึงผลการศึกษาของธนาคารโลกเรื่องการลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม โดยชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดช่องว่างได้คือการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลดภาษีศุลกากรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งจะช่วยให้มีการส่งออกไปในประเทศในภูมิภาคมากขึ้น นอกจากนี้การลงทุนจากต่างประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกัมพูชา ลาว และพม่าซึ่งจะพึ่งพาการลงทุนจากประเทศสมาชิกด้วยกันเป็นลำดับแรก ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและลาวในการลงทุนในโครงการน้ำเทิน ช่วยกระจายความเสี่ยง และทำให้โครงการเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนอื่น รวมทั้งธนาคารโลกที่ช่วยค้ำประกันการลงทุนในโครงการดังกล่าว
ประเทศในภูมิภาคอาเซียนยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลัง และต้องการการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งการลงทุนจากภาครัฐไม่มีกำลังเพียงพอ จึงต้องพึ่งพาการลงทุนจากภาคเอกชน รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
2. การเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ในกลางเดือนกันยายน 2549 (ค.ศ. 2006) ณ ประเทศสิงคโปร์ซึ่งในช่วงการจัดการประชุมประเทศสิงคโปร์จะจัดให้มีการประชุมสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่ม G7 และการประชุมที่สำคัญอื่นๆ ควบคู่กับการสัมมนาทางวิชาการการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของอาเซียน รวมทั้งการจัด ASEAN Showcase เพื่อดึงดูดนักลงทุนมาสู่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมและ ผู้สังเกตการณ์ประมาณ 16,000 คน นอกจากนี้ การประชุมประจำปีดังกล่าวนอกจากจะเป็นโอกาสในการดึงดูดนักลงทุนแล้วยังเป็นการจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งก่อนและหลังการประชุม
3. การเตรียมการจัด Roadshow ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2548 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนแก่นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ในการนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังไทยได้กล่าวรายงานถึงความคืบหน้าในการเตรียมการดังกล่าวในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานหลักในปีนี้ โดยได้มีการหารือถึงการเตรียมการจัด Roadshow ให้เป็นที่น่าสนใจแก่นักลงทุนในภูมิภาคยุโรปเพื่อนำเสนอศักยภาพและโอกาสในการลงทุนในภาคการผลิตที่มีความหลากหลายในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีตลาดรองรับทั้งในอาเซียนเอง และเพื่อการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น รวมทั้งโอกาสการลงทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคอาเซียน และในปีนี้คาดว่าจะมีการจัดทำข้อมูลบริษัทที่น่าลงทุนของสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปแจกแกนักลงทุนพร้อมกับการเปิดตัวการจัดทำ ASEAN Index ด้วย ซึ่งคาดว่าการจัด Roadshow ครั้งที่ 2 นี้ จะช่วยส่งเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนให้ดีขึ้นรวมทั้งจะสามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งที่ 10 ในปี 2549 จะจัดขึ้น ณ ประเทศกัมพูชา
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 24/2548 7 เมษายน 2548--