กรุงเทพ--29 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกาต่างประเทศ ซึ่งเป็นแขกรับเชิญของสภาหอการค้าอเมริกาประจำประเทศไทย ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง การกระชับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ซึ่งมีเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยเข้าร่วมด้วย ณ โรงแรม JW Marriott สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ดร. กันตธีร์ กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของทั้ง 2 ประเทศ โดยเป็นที่ประจักษ์ในระหว่างการพบปะของนายกรัฐมนตรีไทยกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ซึ่งใช้เวลานานเป็นพิเศษ อีกทั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ได้แสดงความเป็นกันเองกับนายกรัฐมนตรีของไทยอีกด้วย
2. ในระหว่างการพบปะนั้น ได้มีการหารือถึงแผนปฏิบัติการในรูปแบบที่ครบวงจร (Comprehensive Plan of Action) ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ไทยและสหรัฐฯ กำลังอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมแผนปฏิบัติการในรูปแบบที่ครบวงจร โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวจะครอบคลุมความร่วมมือที่สำคัญทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมถึง ความร่วมมือด้านสังคม การก่อการร้าย การศึกษา และการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก
3. เกี่ยวกับเรื่องการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ (FTA) ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการหารือระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศ โดยมีความเห็นตรงกันที่จะเร่งให้การเจรจา FTA เสร็จสิ้นภายในปี 2549 และผลจากการเปิดเสรีในครั้งนี้ จะต้องอำนวยประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่ายอย่างสูงสุด เป็นธรรม และจะต้องเป็นในลักษณะที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย(win-win situation) กล่าวคือ FTA น่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจสามารถขยายสินค้าบริการระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสหรัฐฯ ตกลงที่จะออกกฎหมายให้แรงงานจากประเทศไทยได้รับวีซ่าประเภท H-1B เช่นเดียวกับที่ สิงคโปร์ ชิลี ออสเตรเลียได้รับ ก็จะส่งผลให้บริษัทต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานของตนในบางตำแหน่งที่จำเป็นระหว่างไทย-สหรัฐฯ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นในเรื่องรถบรรทุกขนาด 1 ตัน น้ำตาล รองเท้า และปลาทูน่ากระป๋อง ยังคงเป็นสิ่งที่ไทยอยากจะเห็นความคืบหน้า ในส่วนของสินค้าด้านเวชภัณฑ์ยา รัฐบาลไทยยินดีที่จะร่วมลงทุนกับทางรัฐบาลและภาคเอกชนของสหรัฐฯ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนที่จะสามารถเข้าถึงและสามารถซื้อยาได้ในราคาถูกโดยเฉพาะยารักษาโรคเอดส์
4. ดร. กันตธีร์ ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทของไทยในเวทีโลกว่า ไทยยินดีที่จะช่วยเหลือทุกประเทศโดยการเป็นประเทศผู้ให้ ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ tsunami นั้น ไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ประสบภัยเช่นกัน หรือในเวที ACMECS ซึ่งไทยมีความต้องการที่จะช่วยเหลือให้ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ยังได้เสนอให้มีการหารือในเรื่องความร่วมมือด้านสาธารณสุขในเวทีนี้ด้วย โดยมุ่งไปในเรื่องการป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก
5. ภายหลังจากการปาฐกถา ดร. กันตธีร์ฯ ได้ตอบคำถามของผู้เข้าร่วมรับฟังเกี่ยวกับกรณีสถานกรณ์ในพม่าและกรณีการถือหุ้นของชาวต่างชาติในบริษัทด้านโทรคมนาคม ในประเด็นแรก ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ทั้งไทยและสหรัฐฯ มีความต้องการที่จะเห็นความเป็นประชาธิปไตยในพม่า การปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และความคืบหน้าเรื่องแผนการปรองดองในชาติ (national reconciliation) ดังนั้น ไทยจะใช้ช่องทางที่มีอยู่ในการติดต่อและประสานกับพม่าเพื่อรับและส่งข้อมูลข่าวสาร และว่าจากการหารือกับพล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธาน SPDC ทราบว่ารัฐบาลทหารพม่าจะเริ่มการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญในเดือนพ.ย. 48 ศกนี้ และเมื่อเสร็จสิ้นก็จะมีการทำประชามติและจัดให้มีการเลือกตั้งในพม่าต่อไป ส่วนประเด็นที่ 2 ดร. กันตธีร์ฯ แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา ก่อนเดินทางกลับ ดร. กันตธีร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวไทยโดยมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. การระงับแถลงการณ์ของ UNHCR ดร. กันตธีร์ฯ คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ UNHCR ประกาศระงับแถลงการณ์ เนื่องจากการสัมภาษณ์กลุ่มคนทั้ง 131 คนเป็นเพียงการสัมภาษณ์ฝ่ายเดียว ทั้งนี้การยืดระยะเวลาออกไป น่าจะเป็นการให้เวลา UNHCR รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อนำไปประกอบกับคำสัมภาษณ์ก่อนการแถลงการณ์จริง รวมทั้งจะเป็นการให้โอกาสไทยแก้ปัญหาอย่างเต็มที่เสียก่อน โดยทางการไทยจะได้ประสานงานกับทางการมาเลเซียอย่างใกล้ชิด
2. การตรวจสอบสัญชาติกลุ่มคนทั้ง 131 คนในมาเลเซียนั้น ดร. กันตธีร์ฯ แจ้งว่ายังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบ ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวไม่มีเอกสารประจำตัวจึงต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง
3. การใช้บัตร smart card และ e-passport ดร.กันตธีร์ฯ ชี้แจงว่า สามารถช่วยในเรื่องการตรวจสอบสัญชาติ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทยและมาเลเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกาต่างประเทศ ซึ่งเป็นแขกรับเชิญของสภาหอการค้าอเมริกาประจำประเทศไทย ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง การกระชับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ซึ่งมีเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยเข้าร่วมด้วย ณ โรงแรม JW Marriott สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ดร. กันตธีร์ กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของทั้ง 2 ประเทศ โดยเป็นที่ประจักษ์ในระหว่างการพบปะของนายกรัฐมนตรีไทยกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ซึ่งใช้เวลานานเป็นพิเศษ อีกทั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ได้แสดงความเป็นกันเองกับนายกรัฐมนตรีของไทยอีกด้วย
2. ในระหว่างการพบปะนั้น ได้มีการหารือถึงแผนปฏิบัติการในรูปแบบที่ครบวงจร (Comprehensive Plan of Action) ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ไทยและสหรัฐฯ กำลังอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมแผนปฏิบัติการในรูปแบบที่ครบวงจร โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวจะครอบคลุมความร่วมมือที่สำคัญทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมถึง ความร่วมมือด้านสังคม การก่อการร้าย การศึกษา และการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก
3. เกี่ยวกับเรื่องการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ (FTA) ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการหารือระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศ โดยมีความเห็นตรงกันที่จะเร่งให้การเจรจา FTA เสร็จสิ้นภายในปี 2549 และผลจากการเปิดเสรีในครั้งนี้ จะต้องอำนวยประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่ายอย่างสูงสุด เป็นธรรม และจะต้องเป็นในลักษณะที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย(win-win situation) กล่าวคือ FTA น่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจสามารถขยายสินค้าบริการระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสหรัฐฯ ตกลงที่จะออกกฎหมายให้แรงงานจากประเทศไทยได้รับวีซ่าประเภท H-1B เช่นเดียวกับที่ สิงคโปร์ ชิลี ออสเตรเลียได้รับ ก็จะส่งผลให้บริษัทต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานของตนในบางตำแหน่งที่จำเป็นระหว่างไทย-สหรัฐฯ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นในเรื่องรถบรรทุกขนาด 1 ตัน น้ำตาล รองเท้า และปลาทูน่ากระป๋อง ยังคงเป็นสิ่งที่ไทยอยากจะเห็นความคืบหน้า ในส่วนของสินค้าด้านเวชภัณฑ์ยา รัฐบาลไทยยินดีที่จะร่วมลงทุนกับทางรัฐบาลและภาคเอกชนของสหรัฐฯ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนที่จะสามารถเข้าถึงและสามารถซื้อยาได้ในราคาถูกโดยเฉพาะยารักษาโรคเอดส์
4. ดร. กันตธีร์ ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทของไทยในเวทีโลกว่า ไทยยินดีที่จะช่วยเหลือทุกประเทศโดยการเป็นประเทศผู้ให้ ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ tsunami นั้น ไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ประสบภัยเช่นกัน หรือในเวที ACMECS ซึ่งไทยมีความต้องการที่จะช่วยเหลือให้ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ยังได้เสนอให้มีการหารือในเรื่องความร่วมมือด้านสาธารณสุขในเวทีนี้ด้วย โดยมุ่งไปในเรื่องการป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก
5. ภายหลังจากการปาฐกถา ดร. กันตธีร์ฯ ได้ตอบคำถามของผู้เข้าร่วมรับฟังเกี่ยวกับกรณีสถานกรณ์ในพม่าและกรณีการถือหุ้นของชาวต่างชาติในบริษัทด้านโทรคมนาคม ในประเด็นแรก ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ทั้งไทยและสหรัฐฯ มีความต้องการที่จะเห็นความเป็นประชาธิปไตยในพม่า การปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และความคืบหน้าเรื่องแผนการปรองดองในชาติ (national reconciliation) ดังนั้น ไทยจะใช้ช่องทางที่มีอยู่ในการติดต่อและประสานกับพม่าเพื่อรับและส่งข้อมูลข่าวสาร และว่าจากการหารือกับพล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธาน SPDC ทราบว่ารัฐบาลทหารพม่าจะเริ่มการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญในเดือนพ.ย. 48 ศกนี้ และเมื่อเสร็จสิ้นก็จะมีการทำประชามติและจัดให้มีการเลือกตั้งในพม่าต่อไป ส่วนประเด็นที่ 2 ดร. กันตธีร์ฯ แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา ก่อนเดินทางกลับ ดร. กันตธีร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวไทยโดยมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. การระงับแถลงการณ์ของ UNHCR ดร. กันตธีร์ฯ คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ UNHCR ประกาศระงับแถลงการณ์ เนื่องจากการสัมภาษณ์กลุ่มคนทั้ง 131 คนเป็นเพียงการสัมภาษณ์ฝ่ายเดียว ทั้งนี้การยืดระยะเวลาออกไป น่าจะเป็นการให้เวลา UNHCR รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อนำไปประกอบกับคำสัมภาษณ์ก่อนการแถลงการณ์จริง รวมทั้งจะเป็นการให้โอกาสไทยแก้ปัญหาอย่างเต็มที่เสียก่อน โดยทางการไทยจะได้ประสานงานกับทางการมาเลเซียอย่างใกล้ชิด
2. การตรวจสอบสัญชาติกลุ่มคนทั้ง 131 คนในมาเลเซียนั้น ดร. กันตธีร์ฯ แจ้งว่ายังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบ ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวไม่มีเอกสารประจำตัวจึงต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง
3. การใช้บัตร smart card และ e-passport ดร.กันตธีร์ฯ ชี้แจงว่า สามารถช่วยในเรื่องการตรวจสอบสัญชาติ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทยและมาเลเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-