1. บทนำ
ผักและผลไม้ของไทยเป็นพืชเกษตรกรรมที่มีการพัฒนาทั้งด้านการผลิตโดยเฉพาะการเพาะปลูกที่สามารถผลิตได้
ทุกฤดูกาลสลับกันในแต่ละชนิดทำให้ไทยสามารถส่งออกผักและผลไม้ได้ตลอดทั้งปี จนเป็นที่รู้จักดีของผู้ซื้อในต่างประเทศ
และสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี
2. การผลิต
2.1 ผักสด
การผลิตผักสดของไทยในปี 2539 (ข้อมูลล่าสุด) มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 4.8 ล้านตัน โดยมีพืชผักสด
ที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดอ่อน พริก กระเทียม หอมหัวใหญ่ ข้าวโพดฝักอ่อน มะเขือเทศ ผักบุ้ง
และกระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
ผักสดประเภทต่าง ๆ สามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีและปลูกได้หลายจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 3.2 ล้านไร่ และมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีจังหวัดสำคัญที่เพาะปลูก ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร กรุงเทพฯแถบปริมณฑล เพชรบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง เป็นต้น
พื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งสิ้นจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากการเพาะปลูกขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ จึงมีบางพื้นที่มีพื้นที่เพาะปลูก
ลดลงในขณะที่บางพื้นที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ดังนั้น ในปี 2541 จึงคาดคะเนได้ว่า พื้นที่เพาะปลูกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านไร่
โดยมีผลผลิตของผักสดเพิ่มขึ้นประมาณ 5.7 ล้านตัน เนื่องจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิโนที่เกิดขึ้น จึงทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ไม่มากนัก
ตารางที่ 1 การเพาะปลูกผักสดที่สำคัญของไทย ปี 2539
____________________________________________
ประเภท พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตรวม (ตัน)
_____________________________________________
1. ผักบุ้ง 659,812 626,973
2. ข้าวโพดหวาน 480,751 362,464
3. พริก 471,330 361,461
4. มะเขือเทศ 51,059 203,263
5. ข้าวโพดผักอ่อน 133,274 140,773
6. กระเทียม 166,541 132,062
7. หอมหัวใหญ่ 23,289 88,214
8. กระเจี๊ยบเขียว 10,240 16,183
9. อื่น ๆ 1,696,296 1,931,274
__________________________________________
รวม 3,220,829 4,798,978
__________________________________________
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
2.2 ผลไม้สด
การผลิตผลไม้สดของไทยในปี 2538 มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 6.9 ล้านตัน โดยมีผลไม้ที่เป็นหลัก
ในการเพาะปลูก คือ มะม่วง ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย กล้วยน้ำว้า สัมเขียวหวาน ขนุน เป็นต้น
ผลผลิตดังกล่าวได้จากพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งสิ้น 7.4 ล้านไร่
ผลไม้สดแต่ละประเภทจะเพาะปลูกในพื้นที่ที่แตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิอากาศ
ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ คือ
(1) ทุเรียน สามารถปลูกได้มากในจังหวัดจันทบุร่ ชุมพร ระยอง นครศรีธรรมราช และตราด
ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนเมษายน - มิถุนายน (ทุเรียนในภาคตะวันออก) และช่วงเดือน
มิถุนายน - สิงหาคม (ทุเรียนในภาคใต้)
(2) มังคุด สามารถปลูกได้มากในจังหวัดชุมพร จันทบุรี นครศรีธรรมราช ระนอง และตราด
ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน (ผลผลิตของภาคตะวันออก) และช่วงเดือน
กรกฎาคม - กันยายน (ผลผลิตของภาคใต้)
(3) เงาะ จังหวัดที่ปลูกมาก คือ จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตราด และ นครศรีธรรมราช
ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน (ผลผลิตของภาคตะวันออก) และช่วงเดือน
กรกฎาคม - กันยายน (ผลผลิตของภาคใต้)
(4) ลำไย จังหวัดที่ปลูกมาก คือ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย และพะเยา ผลผลิตออกสู่ตลาด
ประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม
(5) ลิ้นจี่ จังหวัดที่ปลูกมากคือ สมุทรสงคราม เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา มีผลผลิต
ออกสู่ตลาดประมาณเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน
(6) มะม่วง จังหวัดที่มีการปลูกมากคือ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ตาก เพชรบุรี
ชลบุรี ชัยภูมิ และเลย โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม ซึ่งเป็นผลผลิตของภาคตะวันตกก่อน
รองลงมาคือผลผลิตจากภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะออกช้าที่สุด
ในปี 2541 คาดว่าผลผลิตของไม้ผลที่สำคัญจะลดลง เนื่องจาก ในปี 2540 ได้เกิดปรากฏการณ์
เอลนีโนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา ทำให้เกิดความแปรปรวนทางสภาพภูมิประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูก
เกิดความแห้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และความหนาวเย็นมีไม่เพียงพอเป็นผลให้การติดดอกออกผลของไม้ผลลดลง
และคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2541
ตารางที่ 2 การผลิตผลไม้สำคัญของไทย ปี 2541
___________________________________________
ประเภท พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) ผลผลิต (ตัน)
__________________________________________
1. ทุเรียน 828,000 444,866.98
2. มะม่วง 2,000,000 408,740.0
3. เงาะ 478,000 316,551.52
4. มังคุด 280,000 48,343.87
5. สัมโอ 179,197 39,566.4
6. ลำไย 440,000 22,747.9
7. ลิ้นจี่ 110,000 30,34.0
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
3. การส่งออก
3.1 ผักสดแช่เย็นแช่แข็ง
การส่งออกผักสดแช่เย็นแช่แข็งได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2540 การส่งออกมี
มูลค่า 2,378.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 2,243.2 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
ทั้งนี้เพราะผลผลิตของประเทศต่าง ๆ ลดลง จากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโนจึงนำเข้าจากไทยมากขึ้น
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 (มค.-มีค.) การส่งออกมีมูลค่า 964.6 ล้านบาท
เทียบกับมูลค่า 598.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 เนื่องจากตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอาเซียน
ผลิตได้ลดลงจากผลของปรากฎการณ์เอลนิโนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2540 จึงนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น
3.1.1 ประเภทของผักสดแช่เย็นแช่แข็ง
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยที่ผลิตเพื่อการส่งออกนั้นมีประเภทต่าง ๆ ไม่มากนัก
เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีจำกัด และตลาดต่างประเทศเองก็สามารถผลิตได้คุณภาพมาตรฐานดีกว่าไทย
โดยมีประเภทต่าง ๆ ของผักแช่เย็น ในปี 2540 คือ หอมหัวใหญ่ หอมหัวเล็ก กระเทียม (ร้อยละ 3.9)
หน่อไม้ฝรั่ง (ร้อยละ 6.9) พริก (ร้อยละ 3.3) และข้าวโพดฝักอ่อน (ร้อยละ 2.0) เนื่องจากผักประเภทดังกล่าว
สามารถผลิตได้คุณภาพมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด
ส่วนผักสดแช่แข็งที่สามารถส่งออกได้ในปี 2540 คือ พืชตระกูลถั่ว (ร้อยละ 34.0)
เช่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา รองลงมาคือ กระเจี๊ยบ (ร้อยละ 0.8) และข้าวโพดหวาน (ร้อยละ 1.2)
3.1.2 ตลาดส่งออกสำคัญ
(1) ญี่ปุ่น เป็นตลาดสำคัญมากของไทย ในปี 2540 มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 62.8
ของการส่งออกผักสดแช่เย็นแช่แข็ง หรือมีมูลค่า 1,494.8 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 มีมูลค่า 1,494.8 ล้านบาท
ซึ่งไม่มีการขยายตัวเลย เนื่องจากญี่ปุ่นประสบกับปัญหาค่าเงินเยนที่แข็งตัวทำให้การนำเข้าจากไทยไม่เพิ่มขึ้น
ในปี 2541 ช่วง 3 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 626.3 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 387.6 ล้านบาท
ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมากขึ้นเมื่อเทียบกับการนำเข้า
จากประเทศคู่แข่งซึ่งมีผลผลิตลดลง
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง หอมหัว-ใหญ่ หอมหัวเล็ก
กระเทียม พืชจำพวกถั่ว และกระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
(2) ตลาดอาเซียน ที่สำคัญได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง บรูไน และไต้หวัน
ในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออก 314.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 305 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 126.7 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 99.2 ล้านบาท ในช่วงเดียวกัน
ของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 ทั้งนี้เพราะผลผลิตของประเทศในอาเซียนลดลงจากผลกระทบ
ของปรากฏการณ์เอลนิโน
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกไปตลาดเอเซีย ที่สำคัญได้แก่ พริก ข้าวโพดหวาน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
(3) ตลาดสหภาพยุโรป ที่สำคัญได้แก สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เยอรมนี
ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และเบลเยียม เป็นต้น ในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 330.5 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า
250 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า
125.2 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 62.0 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.9 ทั้งนี้เพราะ
ผักสดของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดนี้มากโดยเฉพาะสหราชอาณาจักรเป็นตลาดสำคัญรองจากญี่ปุ่นที่นำเข้าผักสด
ของไทยมาก เนื่องจากผักที่ส่งออกมีคุณภาพดี
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ไทยส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป ส่วนมากเป็นผักสดแช่แข็ง เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน
พริก พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
(4) ตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 79.2 ล้านบาท
เทียบกับมูลค่า 53.5 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า
24.6 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 18.5 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดหวาน พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
3.2 ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง
การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2540 มีมูลค่า 5,288.1 ล้านบาท
เทียบกับมูลค่า 4,009.1 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 ทั้งนี้เพราะผลไม้ของไทยที่ส่งออกได้มีหลายประเภท
และเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 (มค.-มีค.) การส่งออกมีมูลค่า 573.2 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า
245.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 133.4 ทั้งนี้เพราะตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการ
ผลไม้ของไทยมาก และผลผลิตของประเทศคู่แข่งขันของไทยลดลง จึงทำให้มีการนำเข้าจากไทยมากขึ้น
3.2.1 ประเภทของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง
ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็งที่ไทยส่งออกได้จะมีหลายประเภทที่สำคัญได้แก่ ลำไย
(ร้อยละ 40.0) ทุเรียน (ร้อยละ 26.5) ลิ้นจี่ (ร้อยละ 6.2) มะม่วง (ร้อยละ 2.8) และมังคุด (ร้อยละ 1.2)
เป็นต้น โดยการส่งออกผลไม้ดังกล่าวจะเป็นการแช่เย็น เนื่องจากตลาดหลักของไทยจะอยู่ในแถบเอเซีย ส่วนผลไม้แช่แข็ง
มีประเภทที่สำคัญคือ ทุเรียน (ร้อยละ 6.3) ซึ่งประเทศไทยนับได้ว่าเป็นผู้ส่งออกทุเรียนอันดับหนึ่งของโลก สับปะรด
(ร้อยละ 1.7) และสตรอเบอร์รี่ (ร้อยละ 1.4) เป็นต้น
3.2.2 ตลาดส่งออกสำคัญ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดเอเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ
ตลาดอื่น ๆ โดยสรุปได้ดังนี้
(1) ตลาดเอเซีย ประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน
และสิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกประจำและใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกผลไม้สดของประเทศไทย ที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยเฉพาะในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,094 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 3,044.4 ล้านบาท ในปี 2539
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 447.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 169.7
ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
ผลไม้สดที่ส่งออกไปยังตลาดเอเซียได้มูลค่าสูง ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด ส้มโอ ลำไย มะม่วง
และมะพร้าวอ่อน เป็นต้น
(2) ตลาดอเมริกา ประกอบด้วยตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็นตลาดส่งออก
ผลไม้สดที่ต้องผ่านขบวนการแช่แข็งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น 395.6
ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 339.1 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541
ส่งออกได้มูลค่า 26.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 7.2 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
ผลไม้สดที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ ได้มูลค่าสูง ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด ส้มโอ กล้วย มะม่วง ลิ้นจี่
เงาะ ส้ม สับปะรด สตรอเบอร์รี่ และลองกอง
(3) ตลาดญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกผลไม้สดและแช่แข็งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่มีข้อจำกัด
ในการนำเข้าที่เข้มงวดมาก ในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่า 181.8 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 158.7 ล้านบาท ในปี 2539
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 29.3 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 41.5
ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดญี่ปุ่น ซบเซาและค่าเงินเยนแข็งตัวเพิ่มสูงขึ้น
ทำให้การส่งออกผลไม้สดและแช่แข็งของไทยไปยังตลาดแห่งนี้ต้องชะลอตัวลง
ผลไม้สดที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ได้ เพียงบางชนิดเท่านั้น ได้แก่ มะพร้าว องุ่น กล้วย ทุเรียน
และสับปะรด ส่วนผลไม้สดแช่แข็งที่ส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น ได้มูลค่าสูง ได้แก่ สตรอเบอร์รี่ สับปะรด มังคุด ทุเรียน และลำไย
(4) ตลาดสหภาพยุโรป ประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์
เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ เป็นตลาดส่งออกผลไม้สดของประเทศไทยที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง แต่เนื่องจากระยะทางไกล
ต้องเสียค่าขนส่งสูง สินค้าเน่าเสียง่าย ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขันในแถบอเมริกาใต้ มูลค่าส่งออกจึงไม่สูงมากนัก
ในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่า 126.0 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 112.0 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 24.8 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 11.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกัน
ของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
ผลไม้ที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ได้มูลค่าสูง ได้แก่ ลิ้นจี่ มังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง และลำไย เป็นต้น
(5) ตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย จีน และบรูไน
เป็นตลาดที่ประเทศไทย ส่งออกประจำทุกปี แต่มีมูลค่าไม่มากนัก เนื่องจากบางตลาดโดยเฉพาะออสเตรเลียมีข้อจำกัด
ในการนำเข้าผลไม้สดที่เข้มงวด ต้องผ่านขบวนการแช่แข็งก่อน ส่วนอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน เป็นประเทศคู่แข่งขัน
ผลิตและส่งออกผลไม้ชนิดเดียวกัน กับประเทศไทยบางปีผลผลิตพภายในประเทศไม่เพียงพอจึงนำเข้าจากประเทศไทย
4. แนวโน้มการส่งออก
ในปี 2541 ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกผักแช่เย็นแช่แข็งให้ส่งออกได้ปริมาณ 95 พันตันมีมูลค่า
89 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3,451.5 ล้านบาท (1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 38.781 ในเดือน
พฤษภาคม 2541) และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งมีเป้าหมายในการส่งออกปริมาณ 260 พันตัน มีมูลค่า
205 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,950.1 ล้านบาท
คาดว่าการส่งออกจะมีมูลค่าต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากผลผลิตของผักและผลไม้จะลดลง
โดยเฉพาะลำไยซึ่งสามารถส่งออกได้มูลค่าสูงสุด ต้องประสบกับปัญหาน้ำค้างแข็งที่ตกลงมาอย่างหนัก
ทำให้การติดดอกมีไม่มากนัก นอกจากนี้การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโนจะส่งผลต่อเนื่องไปอีกทำให้ผลผลิตต่ำกว่า
ที่คาดการณ์ไว้
5. การแข่งขัน
การแข่งขันการส่งออกสินค้าในตลาดโลก ยังคงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งออก
ผักและผลไม้สดของไทย ปัจจุบันต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน
ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำทางด้านการผลิตและส่งออกสินค้าดังกล่าว ที่สำคัญของโลกซึ่งมีราคาถูกกว่า
ส่วนอินโดนีเซียและเวียดนามคุณภาพสินค้ายังด้อยกว่าของไทย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
ที่ส่งออกผลไม้สดบางชนิดคล้ายกับของไทยได้ในราคาต่ำกว่า และมีคุณภาพตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค
ในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
- สับปะรดแช่แข็ง ประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์
- มังคุด เงาะ มะเฟือง มะละกอ และลองกอง ประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย
- หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฟักอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม ประเทศคู่แข่งขันสำคัญ
ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
6. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ
1. การผลิตคุณภาพของผลผลิตได้มาตรฐานยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดสารเคมีตกค้างในผัก
และขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรม
2. เกษตรกรยังขาดความรู้และเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตและขาดความรู้ในการป้องกัน
โรคระบาดและการระบาดของศัตรูพืช
3. การขนส่งทางอากาศ มีค่าระวางสูงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ส่งออก
4. ในช่วงเดือนมกราคา-มีนาคม เป็นช่วงที่มีผลผลิตของไม้ผลต่าง ๆ เนื่องจากยังไม่ถึงฤดูกาลของผลไม้
ซึ่งจะเริ่มในเดือนเมษายน เป็นต้นไป
5. สินค้ามีคุณภาพต่ำ หรือไม่แก่จัด ทำให้ผู้นำเข้าไม่ต้องการที่จะสั่งซื้ออีก
6. มีสารเคมีตกค้างเกินกว่าที่กำหนด
7. สินค้ามีมาตรฐานไม่สม่ำเสมอ
7. แนวทางแก้ไขของรัฐบาล
1. หาทางลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะคู่แข่งขันจากเวียดนามและฟิลิปปินส์สามารถผลิตได้คุณภาพดี
และราคาต่ำกว่าไทย
2. เผยแพร่ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตการป้องกันโรคระบาดของพืชและการระบาดของศัตรูพืช
ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งการไม่ใช้สารเคมีในการเพิ่มผลผลิตเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผัก
3. ปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิต ส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์ของผลไม้ที่มีการรับรองสายพันธุ์
และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
4. ให้ความรู้แก่เกษตรกร เกี่ยวกับการปฏิบัติก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การไม่ใช้สารเคมีทั้งใน
การปราบศัตรูพืช การเพิ่มผลผลิตและการถนอมผลไม้เพื่อยืดอายุ
5. ค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมการแปรรูปผลไม้สด ให้มีรูปแบบผลไม้สดพร้อมรับประทานเพื่อให้เกิด
ความสะดวกแก่ผู้บริโภคในต่างประเทศ
6. ส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนผู้เพาะปลูกพืชผักสำคัญ เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม
รวมทั้งการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกทุเรียน และลำไยที่ประสงค์จะส่งออก เพื่อให้การส่งออกคล่องตัวมากขึ้น
8. กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การส่งเสริม
และพัฒนาการส่งออกปี 2541 สำหรับสินค้าผักและผลไม้ โดยมีตลาดเป้าหมายในทุกตลาด ดังนี้
1. กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกปี 2541
1.1 พัฒนาบรรจุภัณฑ์และ Brand Name ของตนเองสำหรับผลไม้สดและผลไม้แปรรูป
พร้อมรับประทานทุกชนิด
1.2 พัฒนารูปแบบสินค้าผลไม้พร้อมรับประทาน พัฒนาเทคนิคการปอก ตัดแต่ง
และถนอมรักษาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถจัดแสดงบนชั้นขายสินค้าได้นานขึ้น
1.3 จัดทำเอกสารเผยแพร่หรือวิดิทัศน์ แนะนำวิธีรับประทาน คุณค่าและการเก็บรักษาอาหาร
และผลไม้ไทย โดยขอให้เน้นที่ทุเรียน และมังคุดก่อน
1.4 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย
2. กิจกรรมเพื่อรองรับกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2541
2.1 โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาผักผลไม้ไทยในภาคใต้เพื่อการส่งออก
2.2 โครงการ Joint Promotion ร่วมกับ Pacific Product (มะม่วง ผลไม้
และอาหารอื่น ๆ) ในประเทศนิวซีแลนด์
--กรมส่งเสริมการส่งออก กันยายน 2541--
ผักและผลไม้ของไทยเป็นพืชเกษตรกรรมที่มีการพัฒนาทั้งด้านการผลิตโดยเฉพาะการเพาะปลูกที่สามารถผลิตได้
ทุกฤดูกาลสลับกันในแต่ละชนิดทำให้ไทยสามารถส่งออกผักและผลไม้ได้ตลอดทั้งปี จนเป็นที่รู้จักดีของผู้ซื้อในต่างประเทศ
และสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี
2. การผลิต
2.1 ผักสด
การผลิตผักสดของไทยในปี 2539 (ข้อมูลล่าสุด) มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 4.8 ล้านตัน โดยมีพืชผักสด
ที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดอ่อน พริก กระเทียม หอมหัวใหญ่ ข้าวโพดฝักอ่อน มะเขือเทศ ผักบุ้ง
และกระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
ผักสดประเภทต่าง ๆ สามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีและปลูกได้หลายจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 3.2 ล้านไร่ และมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีจังหวัดสำคัญที่เพาะปลูก ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร กรุงเทพฯแถบปริมณฑล เพชรบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง เป็นต้น
พื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งสิ้นจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากการเพาะปลูกขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ จึงมีบางพื้นที่มีพื้นที่เพาะปลูก
ลดลงในขณะที่บางพื้นที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ดังนั้น ในปี 2541 จึงคาดคะเนได้ว่า พื้นที่เพาะปลูกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านไร่
โดยมีผลผลิตของผักสดเพิ่มขึ้นประมาณ 5.7 ล้านตัน เนื่องจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิโนที่เกิดขึ้น จึงทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ไม่มากนัก
ตารางที่ 1 การเพาะปลูกผักสดที่สำคัญของไทย ปี 2539
____________________________________________
ประเภท พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตรวม (ตัน)
_____________________________________________
1. ผักบุ้ง 659,812 626,973
2. ข้าวโพดหวาน 480,751 362,464
3. พริก 471,330 361,461
4. มะเขือเทศ 51,059 203,263
5. ข้าวโพดผักอ่อน 133,274 140,773
6. กระเทียม 166,541 132,062
7. หอมหัวใหญ่ 23,289 88,214
8. กระเจี๊ยบเขียว 10,240 16,183
9. อื่น ๆ 1,696,296 1,931,274
__________________________________________
รวม 3,220,829 4,798,978
__________________________________________
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
2.2 ผลไม้สด
การผลิตผลไม้สดของไทยในปี 2538 มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 6.9 ล้านตัน โดยมีผลไม้ที่เป็นหลัก
ในการเพาะปลูก คือ มะม่วง ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย กล้วยน้ำว้า สัมเขียวหวาน ขนุน เป็นต้น
ผลผลิตดังกล่าวได้จากพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งสิ้น 7.4 ล้านไร่
ผลไม้สดแต่ละประเภทจะเพาะปลูกในพื้นที่ที่แตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิอากาศ
ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ คือ
(1) ทุเรียน สามารถปลูกได้มากในจังหวัดจันทบุร่ ชุมพร ระยอง นครศรีธรรมราช และตราด
ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนเมษายน - มิถุนายน (ทุเรียนในภาคตะวันออก) และช่วงเดือน
มิถุนายน - สิงหาคม (ทุเรียนในภาคใต้)
(2) มังคุด สามารถปลูกได้มากในจังหวัดชุมพร จันทบุรี นครศรีธรรมราช ระนอง และตราด
ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน (ผลผลิตของภาคตะวันออก) และช่วงเดือน
กรกฎาคม - กันยายน (ผลผลิตของภาคใต้)
(3) เงาะ จังหวัดที่ปลูกมาก คือ จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตราด และ นครศรีธรรมราช
ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน (ผลผลิตของภาคตะวันออก) และช่วงเดือน
กรกฎาคม - กันยายน (ผลผลิตของภาคใต้)
(4) ลำไย จังหวัดที่ปลูกมาก คือ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย และพะเยา ผลผลิตออกสู่ตลาด
ประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม
(5) ลิ้นจี่ จังหวัดที่ปลูกมากคือ สมุทรสงคราม เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา มีผลผลิต
ออกสู่ตลาดประมาณเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน
(6) มะม่วง จังหวัดที่มีการปลูกมากคือ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ตาก เพชรบุรี
ชลบุรี ชัยภูมิ และเลย โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม ซึ่งเป็นผลผลิตของภาคตะวันตกก่อน
รองลงมาคือผลผลิตจากภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะออกช้าที่สุด
ในปี 2541 คาดว่าผลผลิตของไม้ผลที่สำคัญจะลดลง เนื่องจาก ในปี 2540 ได้เกิดปรากฏการณ์
เอลนีโนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา ทำให้เกิดความแปรปรวนทางสภาพภูมิประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูก
เกิดความแห้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และความหนาวเย็นมีไม่เพียงพอเป็นผลให้การติดดอกออกผลของไม้ผลลดลง
และคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2541
ตารางที่ 2 การผลิตผลไม้สำคัญของไทย ปี 2541
___________________________________________
ประเภท พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) ผลผลิต (ตัน)
__________________________________________
1. ทุเรียน 828,000 444,866.98
2. มะม่วง 2,000,000 408,740.0
3. เงาะ 478,000 316,551.52
4. มังคุด 280,000 48,343.87
5. สัมโอ 179,197 39,566.4
6. ลำไย 440,000 22,747.9
7. ลิ้นจี่ 110,000 30,34.0
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
3. การส่งออก
3.1 ผักสดแช่เย็นแช่แข็ง
การส่งออกผักสดแช่เย็นแช่แข็งได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2540 การส่งออกมี
มูลค่า 2,378.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 2,243.2 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
ทั้งนี้เพราะผลผลิตของประเทศต่าง ๆ ลดลง จากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโนจึงนำเข้าจากไทยมากขึ้น
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 (มค.-มีค.) การส่งออกมีมูลค่า 964.6 ล้านบาท
เทียบกับมูลค่า 598.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 เนื่องจากตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอาเซียน
ผลิตได้ลดลงจากผลของปรากฎการณ์เอลนิโนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2540 จึงนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น
3.1.1 ประเภทของผักสดแช่เย็นแช่แข็ง
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยที่ผลิตเพื่อการส่งออกนั้นมีประเภทต่าง ๆ ไม่มากนัก
เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีจำกัด และตลาดต่างประเทศเองก็สามารถผลิตได้คุณภาพมาตรฐานดีกว่าไทย
โดยมีประเภทต่าง ๆ ของผักแช่เย็น ในปี 2540 คือ หอมหัวใหญ่ หอมหัวเล็ก กระเทียม (ร้อยละ 3.9)
หน่อไม้ฝรั่ง (ร้อยละ 6.9) พริก (ร้อยละ 3.3) และข้าวโพดฝักอ่อน (ร้อยละ 2.0) เนื่องจากผักประเภทดังกล่าว
สามารถผลิตได้คุณภาพมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด
ส่วนผักสดแช่แข็งที่สามารถส่งออกได้ในปี 2540 คือ พืชตระกูลถั่ว (ร้อยละ 34.0)
เช่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา รองลงมาคือ กระเจี๊ยบ (ร้อยละ 0.8) และข้าวโพดหวาน (ร้อยละ 1.2)
3.1.2 ตลาดส่งออกสำคัญ
(1) ญี่ปุ่น เป็นตลาดสำคัญมากของไทย ในปี 2540 มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 62.8
ของการส่งออกผักสดแช่เย็นแช่แข็ง หรือมีมูลค่า 1,494.8 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 มีมูลค่า 1,494.8 ล้านบาท
ซึ่งไม่มีการขยายตัวเลย เนื่องจากญี่ปุ่นประสบกับปัญหาค่าเงินเยนที่แข็งตัวทำให้การนำเข้าจากไทยไม่เพิ่มขึ้น
ในปี 2541 ช่วง 3 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 626.3 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 387.6 ล้านบาท
ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมากขึ้นเมื่อเทียบกับการนำเข้า
จากประเทศคู่แข่งซึ่งมีผลผลิตลดลง
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง หอมหัว-ใหญ่ หอมหัวเล็ก
กระเทียม พืชจำพวกถั่ว และกระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
(2) ตลาดอาเซียน ที่สำคัญได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง บรูไน และไต้หวัน
ในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออก 314.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 305 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 126.7 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 99.2 ล้านบาท ในช่วงเดียวกัน
ของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 ทั้งนี้เพราะผลผลิตของประเทศในอาเซียนลดลงจากผลกระทบ
ของปรากฏการณ์เอลนิโน
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกไปตลาดเอเซีย ที่สำคัญได้แก่ พริก ข้าวโพดหวาน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
(3) ตลาดสหภาพยุโรป ที่สำคัญได้แก สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เยอรมนี
ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และเบลเยียม เป็นต้น ในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 330.5 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า
250 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า
125.2 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 62.0 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.9 ทั้งนี้เพราะ
ผักสดของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดนี้มากโดยเฉพาะสหราชอาณาจักรเป็นตลาดสำคัญรองจากญี่ปุ่นที่นำเข้าผักสด
ของไทยมาก เนื่องจากผักที่ส่งออกมีคุณภาพดี
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ไทยส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป ส่วนมากเป็นผักสดแช่แข็ง เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน
พริก พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
(4) ตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 79.2 ล้านบาท
เทียบกับมูลค่า 53.5 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า
24.6 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 18.5 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดหวาน พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
3.2 ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง
การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2540 มีมูลค่า 5,288.1 ล้านบาท
เทียบกับมูลค่า 4,009.1 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 ทั้งนี้เพราะผลไม้ของไทยที่ส่งออกได้มีหลายประเภท
และเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 (มค.-มีค.) การส่งออกมีมูลค่า 573.2 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า
245.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 133.4 ทั้งนี้เพราะตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการ
ผลไม้ของไทยมาก และผลผลิตของประเทศคู่แข่งขันของไทยลดลง จึงทำให้มีการนำเข้าจากไทยมากขึ้น
3.2.1 ประเภทของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง
ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็งที่ไทยส่งออกได้จะมีหลายประเภทที่สำคัญได้แก่ ลำไย
(ร้อยละ 40.0) ทุเรียน (ร้อยละ 26.5) ลิ้นจี่ (ร้อยละ 6.2) มะม่วง (ร้อยละ 2.8) และมังคุด (ร้อยละ 1.2)
เป็นต้น โดยการส่งออกผลไม้ดังกล่าวจะเป็นการแช่เย็น เนื่องจากตลาดหลักของไทยจะอยู่ในแถบเอเซีย ส่วนผลไม้แช่แข็ง
มีประเภทที่สำคัญคือ ทุเรียน (ร้อยละ 6.3) ซึ่งประเทศไทยนับได้ว่าเป็นผู้ส่งออกทุเรียนอันดับหนึ่งของโลก สับปะรด
(ร้อยละ 1.7) และสตรอเบอร์รี่ (ร้อยละ 1.4) เป็นต้น
3.2.2 ตลาดส่งออกสำคัญ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดเอเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ
ตลาดอื่น ๆ โดยสรุปได้ดังนี้
(1) ตลาดเอเซีย ประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน
และสิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกประจำและใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกผลไม้สดของประเทศไทย ที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยเฉพาะในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,094 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 3,044.4 ล้านบาท ในปี 2539
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 447.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 169.7
ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
ผลไม้สดที่ส่งออกไปยังตลาดเอเซียได้มูลค่าสูง ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด ส้มโอ ลำไย มะม่วง
และมะพร้าวอ่อน เป็นต้น
(2) ตลาดอเมริกา ประกอบด้วยตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็นตลาดส่งออก
ผลไม้สดที่ต้องผ่านขบวนการแช่แข็งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่ารวมทั้งสิ้น 395.6
ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 339.1 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541
ส่งออกได้มูลค่า 26.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 7.2 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
ผลไม้สดที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ ได้มูลค่าสูง ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด ส้มโอ กล้วย มะม่วง ลิ้นจี่
เงาะ ส้ม สับปะรด สตรอเบอร์รี่ และลองกอง
(3) ตลาดญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกผลไม้สดและแช่แข็งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่มีข้อจำกัด
ในการนำเข้าที่เข้มงวดมาก ในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่า 181.8 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 158.7 ล้านบาท ในปี 2539
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 29.3 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 41.5
ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดญี่ปุ่น ซบเซาและค่าเงินเยนแข็งตัวเพิ่มสูงขึ้น
ทำให้การส่งออกผลไม้สดและแช่แข็งของไทยไปยังตลาดแห่งนี้ต้องชะลอตัวลง
ผลไม้สดที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ได้ เพียงบางชนิดเท่านั้น ได้แก่ มะพร้าว องุ่น กล้วย ทุเรียน
และสับปะรด ส่วนผลไม้สดแช่แข็งที่ส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น ได้มูลค่าสูง ได้แก่ สตรอเบอร์รี่ สับปะรด มังคุด ทุเรียน และลำไย
(4) ตลาดสหภาพยุโรป ประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์
เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ เป็นตลาดส่งออกผลไม้สดของประเทศไทยที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง แต่เนื่องจากระยะทางไกล
ต้องเสียค่าขนส่งสูง สินค้าเน่าเสียง่าย ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขันในแถบอเมริกาใต้ มูลค่าส่งออกจึงไม่สูงมากนัก
ในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่า 126.0 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 112.0 ล้านบาท ในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 24.8 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 11.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกัน
ของปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
ผลไม้ที่ส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ได้มูลค่าสูง ได้แก่ ลิ้นจี่ มังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง และลำไย เป็นต้น
(5) ตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย จีน และบรูไน
เป็นตลาดที่ประเทศไทย ส่งออกประจำทุกปี แต่มีมูลค่าไม่มากนัก เนื่องจากบางตลาดโดยเฉพาะออสเตรเลียมีข้อจำกัด
ในการนำเข้าผลไม้สดที่เข้มงวด ต้องผ่านขบวนการแช่แข็งก่อน ส่วนอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน เป็นประเทศคู่แข่งขัน
ผลิตและส่งออกผลไม้ชนิดเดียวกัน กับประเทศไทยบางปีผลผลิตพภายในประเทศไม่เพียงพอจึงนำเข้าจากประเทศไทย
4. แนวโน้มการส่งออก
ในปี 2541 ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกผักแช่เย็นแช่แข็งให้ส่งออกได้ปริมาณ 95 พันตันมีมูลค่า
89 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3,451.5 ล้านบาท (1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 38.781 ในเดือน
พฤษภาคม 2541) และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งมีเป้าหมายในการส่งออกปริมาณ 260 พันตัน มีมูลค่า
205 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,950.1 ล้านบาท
คาดว่าการส่งออกจะมีมูลค่าต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากผลผลิตของผักและผลไม้จะลดลง
โดยเฉพาะลำไยซึ่งสามารถส่งออกได้มูลค่าสูงสุด ต้องประสบกับปัญหาน้ำค้างแข็งที่ตกลงมาอย่างหนัก
ทำให้การติดดอกมีไม่มากนัก นอกจากนี้การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโนจะส่งผลต่อเนื่องไปอีกทำให้ผลผลิตต่ำกว่า
ที่คาดการณ์ไว้
5. การแข่งขัน
การแข่งขันการส่งออกสินค้าในตลาดโลก ยังคงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งออก
ผักและผลไม้สดของไทย ปัจจุบันต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน
ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำทางด้านการผลิตและส่งออกสินค้าดังกล่าว ที่สำคัญของโลกซึ่งมีราคาถูกกว่า
ส่วนอินโดนีเซียและเวียดนามคุณภาพสินค้ายังด้อยกว่าของไทย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
ที่ส่งออกผลไม้สดบางชนิดคล้ายกับของไทยได้ในราคาต่ำกว่า และมีคุณภาพตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค
ในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
- สับปะรดแช่แข็ง ประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์
- มังคุด เงาะ มะเฟือง มะละกอ และลองกอง ประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย
- หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฟักอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม ประเทศคู่แข่งขันสำคัญ
ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
6. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ
1. การผลิตคุณภาพของผลผลิตได้มาตรฐานยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดสารเคมีตกค้างในผัก
และขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรม
2. เกษตรกรยังขาดความรู้และเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตและขาดความรู้ในการป้องกัน
โรคระบาดและการระบาดของศัตรูพืช
3. การขนส่งทางอากาศ มีค่าระวางสูงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ส่งออก
4. ในช่วงเดือนมกราคา-มีนาคม เป็นช่วงที่มีผลผลิตของไม้ผลต่าง ๆ เนื่องจากยังไม่ถึงฤดูกาลของผลไม้
ซึ่งจะเริ่มในเดือนเมษายน เป็นต้นไป
5. สินค้ามีคุณภาพต่ำ หรือไม่แก่จัด ทำให้ผู้นำเข้าไม่ต้องการที่จะสั่งซื้ออีก
6. มีสารเคมีตกค้างเกินกว่าที่กำหนด
7. สินค้ามีมาตรฐานไม่สม่ำเสมอ
7. แนวทางแก้ไขของรัฐบาล
1. หาทางลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะคู่แข่งขันจากเวียดนามและฟิลิปปินส์สามารถผลิตได้คุณภาพดี
และราคาต่ำกว่าไทย
2. เผยแพร่ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตการป้องกันโรคระบาดของพืชและการระบาดของศัตรูพืช
ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งการไม่ใช้สารเคมีในการเพิ่มผลผลิตเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผัก
3. ปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิต ส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์ของผลไม้ที่มีการรับรองสายพันธุ์
และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
4. ให้ความรู้แก่เกษตรกร เกี่ยวกับการปฏิบัติก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การไม่ใช้สารเคมีทั้งใน
การปราบศัตรูพืช การเพิ่มผลผลิตและการถนอมผลไม้เพื่อยืดอายุ
5. ค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมการแปรรูปผลไม้สด ให้มีรูปแบบผลไม้สดพร้อมรับประทานเพื่อให้เกิด
ความสะดวกแก่ผู้บริโภคในต่างประเทศ
6. ส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนผู้เพาะปลูกพืชผักสำคัญ เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม
รวมทั้งการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกทุเรียน และลำไยที่ประสงค์จะส่งออก เพื่อให้การส่งออกคล่องตัวมากขึ้น
8. กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การส่งเสริม
และพัฒนาการส่งออกปี 2541 สำหรับสินค้าผักและผลไม้ โดยมีตลาดเป้าหมายในทุกตลาด ดังนี้
1. กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกปี 2541
1.1 พัฒนาบรรจุภัณฑ์และ Brand Name ของตนเองสำหรับผลไม้สดและผลไม้แปรรูป
พร้อมรับประทานทุกชนิด
1.2 พัฒนารูปแบบสินค้าผลไม้พร้อมรับประทาน พัฒนาเทคนิคการปอก ตัดแต่ง
และถนอมรักษาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถจัดแสดงบนชั้นขายสินค้าได้นานขึ้น
1.3 จัดทำเอกสารเผยแพร่หรือวิดิทัศน์ แนะนำวิธีรับประทาน คุณค่าและการเก็บรักษาอาหาร
และผลไม้ไทย โดยขอให้เน้นที่ทุเรียน และมังคุดก่อน
1.4 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย
2. กิจกรรมเพื่อรองรับกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2541
2.1 โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาผักผลไม้ไทยในภาคใต้เพื่อการส่งออก
2.2 โครงการ Joint Promotion ร่วมกับ Pacific Product (มะม่วง ผลไม้
และอาหารอื่น ๆ) ในประเทศนิวซีแลนด์
--กรมส่งเสริมการส่งออก กันยายน 2541--