สหภาพยุโรป หรือ EU ได้เริ่มให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP (GeneralizedSystem of Preference) แก่สินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของไทยมาตั้งแต่ปี 2514 โดยกำหนดอายุไว้โครงการละ 10 ปี ปัจจุบันโครงการ GSP ของ EU นับเป็นโครงการที่ 3 โดย EU ได้เปลี่ยนแปลงระบบ GSP ใหม่ จากระบบเดิมที่กำหนดสิทธิพิเศษเป็นรายสินค้าลดหย่อนจากอัตราภาษีปกติ (Most-Favoured Nation Rate : MFN Rate) มาเป็นการให้ลดหย่อนภาษีนำเข้าจากอัตราปกติในอัตราที่แตกต่างกันตามความอ่อนไหวของสินค้า นอกจากนี้ทาง EU ยังได้กำหนดมาตรการจูงใจเป็นพิเศษในการให้ GSP เพิ่มเติมกับประเทศที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและสังคมอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งการให้สิทธิ GSP ภายใต้เกณฑ์ดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542
1. การให้ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสังคม
ประเทศที่จะยื่นขอใช้สิทธิ FSP โดยอาศัยมาตรฐานทางสังคม จะต้องรับรองอนุสัญญาภายใต้ ILO (International Labour Organization) 3 ฉบับ และสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในอนุสัญญาทั้ง 3 ฉบับนี้ได้ ได้แก่
- อนุสัญญาหมายเลข 87 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
- อนุสัญญาหมายเลข 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการรวมตัวของแรงงาน
- อนุสัญญาหมายเลข 138 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงาน
2. การให้ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม
ประเทศที่จะยื่นขอใช้สิทธิ GSP โดยอาศัยมาตรฐานสิ่งแวดล้อม จะต้องรับรองแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการคุ้มครองป่าไม้เขตร้อน ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้โดย ITTO (InternationalTropical Timber Orgaization) ซึ่งทาง EU จะจำกัดสิทธิการให้ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมแก่เฉพาะสินค้าที่ทำจากไม้เขตร้อนเท่านั้น
ขั้นตอนการขอรับสิทธิ GSP ภายใต้เงื่อนไขสังคมและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1. ยื่นข้อมูลรายละเอียดต่อคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่
- กฎหมายภายในประเทศของผู้ขอรับสิทธิ GSP ที่มีผลบังคับใช้
- เงื่อนไขในการมีผลบังคับใช้
- ผลการดำเนินงานหลังจากมีผลบังคับใช้
2. คำร้องขอใช้สิทธิ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของแต่ละประเทศจะถูกตีพิพ์ใน Official Journal เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มสหภาพยุโรปได้แสดงความคิดเห็น
3. คณะกรรมาธิการยุโรป จะเดินทางไปตรวจสอบข้อมูลในประเทศผู้ขอใช้สิทธิ GSP เช่น การตรวจสอบโรงงานของผู้ผลิตว่ามีการดำเนินการอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทาง EU กำหนดหรือไม่
4. GSP Committee จะพิจารณาคำร้องขอใช้สิทธิ GSP ถ้าคณะกรรมการ GSP ให้ความเห็นชอบ ประเทศผู้ร้องขอก็จะได้รับสิทธิ GSP ตามเวลาที่กำหนด แต่หากคณะกรรมการ GSP ไม่เห็นชอบก็จะส่งคำร้องดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาต่อไป
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ภายใต้เงื่อนไขทางสังคม สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม จะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มจากอัตราที่ได้รับลดหย่อนอยู่เดิม โดยสินค้าเกษตรกรรมจะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 10 20 และ 35ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมจะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 15 25 และ 35 โดยส่วนลดภาษีของสินค้าแต่ละรายการที่ได้รับเพิ่ม จะขึ้นอยู่กับลำดับประเภทความอ่อนไหวของสินค้า สำหรับสินค้าเกษตรกกรรมและอุตสาหรรมที่จัดอยู่ในประเภท Non-Sensitive (N.S.) ซึ่งได้รับลดหย่อนภาษีจากอัตราภาษีปกติเท่ากับร้อยละ 100 อยู่แล้ว (ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเลย) นั้น จะไม่ได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มเติมอีก
2. ภายใต้เงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อม สินค้าที่จะได้รับประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขนี้ จะต้องเป็นสินค้าที่ทำจากไม้เขตร้อน (Tropical Timber Processing) เท่านั้น โดยจะได้รับส่วนลดเช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้เงื่อนไขสังคม คือ จะได้ส่วนลดเพิ่มจากอัตราที่ได้รับลดหย่อนอยู่เดิม โดยจะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 15 25 และ 35 ทั้งนี้ส่วนลดภาษีที่ได้รับเพิ่มจะขึ้นอยู่กับลำดับความอ่อนไหวของสินค้า
อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำจากไม้เขตร้อน หากเป็นสินค้าที่มาจากประเทศที่ถูกตัด GSP ไปแล้วด้วยเงื่อนไขบางประเภท จะได้รับส่วนลดเพิ่มอีกร้อยละ 25 ของอัตราภาษีปกติ แต่ในกรณีถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งประเทศ (Country Graduation) หรือ ถูกตัดสิทธิ GSP เนื่องจากประเทศนั้นมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 25 จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมภายใต้เงื่อนไขนี้
ทั้งนี้ ประเทศที่ขอใช้สิทธิประโยชน์ทั้งสองเงื่อนไข สามารถนำสิทธิมารวมกันได้ แต่ส่วนลดภาษีที่ได้รับเพิ่มใหม่จะต้องไม่เกินร้อยละ 40
แม้ว่าสิทธิประโยชน์ GSP ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยให้ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีนำเข้า หากสามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของ EU ได้ แต่ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในปัจจุบัน คือ การปรับปรุงกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับมนตรฐานที่ EU กำหนด ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายเพียง 2 ฉบับที่สอดคล้องกับอนุสัญญาหมายเลข 87 และ 98 ได้แก่ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 และการปรับปรุงฎหมายแรงงานของไทยคงจะต้องใช้เวลาพอสมควร สำหรับการรักษาป่าไม้ของไทยนั้นได้ดำเนินการตามกำพหมายระหว่างประเทศ คือ ITTO อยู่แล้ว
ขณะนี้ประเทศไทยมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับโครงการ GSP ดังกล่าว และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ทาง EU จะมาดำเนินการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้า ในขณะที่อีกหลายประเทศในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ต่างไม่ต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากโครงการ GSP ดังกล่าวเช่นกันเนื่องจากมีความเห็นว่า EU ไม่ควรที่จะนำเกณฑ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานมาเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 5 ฉบับ 1 ประจำเดือนมกราคม--
1. การให้ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสังคม
ประเทศที่จะยื่นขอใช้สิทธิ FSP โดยอาศัยมาตรฐานทางสังคม จะต้องรับรองอนุสัญญาภายใต้ ILO (International Labour Organization) 3 ฉบับ และสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในอนุสัญญาทั้ง 3 ฉบับนี้ได้ ได้แก่
- อนุสัญญาหมายเลข 87 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
- อนุสัญญาหมายเลข 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการรวมตัวของแรงงาน
- อนุสัญญาหมายเลข 138 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงาน
2. การให้ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม
ประเทศที่จะยื่นขอใช้สิทธิ GSP โดยอาศัยมาตรฐานสิ่งแวดล้อม จะต้องรับรองแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการคุ้มครองป่าไม้เขตร้อน ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้โดย ITTO (InternationalTropical Timber Orgaization) ซึ่งทาง EU จะจำกัดสิทธิการให้ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมแก่เฉพาะสินค้าที่ทำจากไม้เขตร้อนเท่านั้น
ขั้นตอนการขอรับสิทธิ GSP ภายใต้เงื่อนไขสังคมและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1. ยื่นข้อมูลรายละเอียดต่อคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่
- กฎหมายภายในประเทศของผู้ขอรับสิทธิ GSP ที่มีผลบังคับใช้
- เงื่อนไขในการมีผลบังคับใช้
- ผลการดำเนินงานหลังจากมีผลบังคับใช้
2. คำร้องขอใช้สิทธิ GSP ภายใต้เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของแต่ละประเทศจะถูกตีพิพ์ใน Official Journal เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มสหภาพยุโรปได้แสดงความคิดเห็น
3. คณะกรรมาธิการยุโรป จะเดินทางไปตรวจสอบข้อมูลในประเทศผู้ขอใช้สิทธิ GSP เช่น การตรวจสอบโรงงานของผู้ผลิตว่ามีการดำเนินการอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทาง EU กำหนดหรือไม่
4. GSP Committee จะพิจารณาคำร้องขอใช้สิทธิ GSP ถ้าคณะกรรมการ GSP ให้ความเห็นชอบ ประเทศผู้ร้องขอก็จะได้รับสิทธิ GSP ตามเวลาที่กำหนด แต่หากคณะกรรมการ GSP ไม่เห็นชอบก็จะส่งคำร้องดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาต่อไป
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ภายใต้เงื่อนไขทางสังคม สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม จะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มจากอัตราที่ได้รับลดหย่อนอยู่เดิม โดยสินค้าเกษตรกรรมจะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 10 20 และ 35ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมจะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 15 25 และ 35 โดยส่วนลดภาษีของสินค้าแต่ละรายการที่ได้รับเพิ่ม จะขึ้นอยู่กับลำดับประเภทความอ่อนไหวของสินค้า สำหรับสินค้าเกษตรกกรรมและอุตสาหรรมที่จัดอยู่ในประเภท Non-Sensitive (N.S.) ซึ่งได้รับลดหย่อนภาษีจากอัตราภาษีปกติเท่ากับร้อยละ 100 อยู่แล้ว (ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเลย) นั้น จะไม่ได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มเติมอีก
2. ภายใต้เงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อม สินค้าที่จะได้รับประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขนี้ จะต้องเป็นสินค้าที่ทำจากไม้เขตร้อน (Tropical Timber Processing) เท่านั้น โดยจะได้รับส่วนลดเช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้เงื่อนไขสังคม คือ จะได้ส่วนลดเพิ่มจากอัตราที่ได้รับลดหย่อนอยู่เดิม โดยจะได้รับส่วนลดภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 15 25 และ 35 ทั้งนี้ส่วนลดภาษีที่ได้รับเพิ่มจะขึ้นอยู่กับลำดับความอ่อนไหวของสินค้า
อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำจากไม้เขตร้อน หากเป็นสินค้าที่มาจากประเทศที่ถูกตัด GSP ไปแล้วด้วยเงื่อนไขบางประเภท จะได้รับส่วนลดเพิ่มอีกร้อยละ 25 ของอัตราภาษีปกติ แต่ในกรณีถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งประเทศ (Country Graduation) หรือ ถูกตัดสิทธิ GSP เนื่องจากประเทศนั้นมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 25 จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมภายใต้เงื่อนไขนี้
ทั้งนี้ ประเทศที่ขอใช้สิทธิประโยชน์ทั้งสองเงื่อนไข สามารถนำสิทธิมารวมกันได้ แต่ส่วนลดภาษีที่ได้รับเพิ่มใหม่จะต้องไม่เกินร้อยละ 40
แม้ว่าสิทธิประโยชน์ GSP ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยให้ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีนำเข้า หากสามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของ EU ได้ แต่ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในปัจจุบัน คือ การปรับปรุงกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับมนตรฐานที่ EU กำหนด ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายเพียง 2 ฉบับที่สอดคล้องกับอนุสัญญาหมายเลข 87 และ 98 ได้แก่ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 และการปรับปรุงฎหมายแรงงานของไทยคงจะต้องใช้เวลาพอสมควร สำหรับการรักษาป่าไม้ของไทยนั้นได้ดำเนินการตามกำพหมายระหว่างประเทศ คือ ITTO อยู่แล้ว
ขณะนี้ประเทศไทยมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับโครงการ GSP ดังกล่าว และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ทาง EU จะมาดำเนินการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้า ในขณะที่อีกหลายประเทศในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ต่างไม่ต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากโครงการ GSP ดังกล่าวเช่นกันเนื่องจากมีความเห็นว่า EU ไม่ควรที่จะนำเกณฑ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานมาเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 5 ฉบับ 1 ประจำเดือนมกราคม--