ความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนตุลาคม 2540 โดยสรุปดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนตุลาคม 2540
- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2540 เท่ากับ 145.5 (2533 = 100)
2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนตุลาคม 2540
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2540 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2539 สูงขึ้นร้อยละ 7.2
2.3 เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2540 กับช่วงเดียวกันของปี 2539 สูงขึ้นร้อยละ 5.3
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2540 สูงขึ้นจากเดือนกันยายน 2540 ร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.4 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 0.1
3.1 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู และไก่สด จากการที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา และเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคมีไม่มากขณะที่ปริมาณหมู และไก่ ยังทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากการที่ปริมาณผลผลิตฤดูกาลใหม่ออกสู่ตลาดมากและรสชาดยังไม่สู้ดี สำหรับผลไม้อื่น ๆ ที่ราคาลดลง ได้แก่ สับปะรด และแตงโม
- ไข่ ได้แก่ ไข่ไก่ และไข่เป็ด จากการที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง
3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- ค่ากระแสไฟฟ้า
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ น้ำอัดลม โซดา น้ำดื่มบริสุทธิ์ น้ำแข็งเปล่า และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
- การขนส่งสาธารณะ และการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก ค่าโดยสารเรือ ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าบริการใช้โทรศัพท์
- การอ่าน และการศึกษา ได้แก่ สมุดเขียนหนังสือ ปากกาลูกลื่น ดินสอดำ หนังสือแบบเรียน หนังสือพิมพ์ และวารสารรายปักษ์
3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ได้แก่ ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ และข้าสารเหนียว ตามปริมาณความต้องการที่มีมาก ในขณะที่ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมีน้อย สำหรับขนมปังปอนด์ ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น
- ผัก ได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักชี ต้นหอม มะนาว และถั่วลันเตา จากการที่มีฝนตกชุกโดยเฉพาะในแหล่งผลิตรอบปริมณฑล ทำให้ผลผลิตผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณสินค้าเข้าสู่ตลาดมีน้อย ประกอบกับความต้องการที่มีมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยวหมู กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวผัด จากการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นในบางตลาดตามภาวะค่าครองชีพ และต้นทุนดำเนินการที่เพิ่มขึ้น
- ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมผง นมสด UHT และนมข้นหวาน จากการที่ผู้แทนจำหน่ายได้ปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- แก๊สหุงต้ม จากมาตรการของรัฐบาลอนุมัติให้ปรับราคาจำหน่ายปลีกเพิ่มขึ้น 2.65 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2540
- ค่าน้ำประปา จากการที่การประปานครหลวงให้ผู้ใช้น้ำประปาเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ สังกะสี และปูนซิเมนต์ จากการที่ผู้แทนจำหน่ายปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท
- ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ได้แก่ บุหรี่ จากการที่มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต จากร้อยละ 68 เป็นร้อยละ 70 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2540 นอกจากนี้สุรา และเบียร์มีการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นด้วย
- บริการต่าง ๆ ค่าจ้างตัดเสื้อ ค่าถอนฟัน ค่าตัดผมชายและค่าสระเซทผมสตรี ตามภาวะค่าครองชีพ และต้นทุนดำเนินการที่เพิ่มขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนตุลาคม 2540 โดยสรุปดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนตุลาคม 2540
- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2540 เท่ากับ 145.5 (2533 = 100)
2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนตุลาคม 2540
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2540 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2539 สูงขึ้นร้อยละ 7.2
2.3 เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2540 กับช่วงเดียวกันของปี 2539 สูงขึ้นร้อยละ 5.3
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2540 สูงขึ้นจากเดือนกันยายน 2540 ร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.4 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 0.1
3.1 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู และไก่สด จากการที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา และเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคมีไม่มากขณะที่ปริมาณหมู และไก่ ยังทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากการที่ปริมาณผลผลิตฤดูกาลใหม่ออกสู่ตลาดมากและรสชาดยังไม่สู้ดี สำหรับผลไม้อื่น ๆ ที่ราคาลดลง ได้แก่ สับปะรด และแตงโม
- ไข่ ได้แก่ ไข่ไก่ และไข่เป็ด จากการที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง
3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- ค่ากระแสไฟฟ้า
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ น้ำอัดลม โซดา น้ำดื่มบริสุทธิ์ น้ำแข็งเปล่า และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
- การขนส่งสาธารณะ และการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก ค่าโดยสารเรือ ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าบริการใช้โทรศัพท์
- การอ่าน และการศึกษา ได้แก่ สมุดเขียนหนังสือ ปากกาลูกลื่น ดินสอดำ หนังสือแบบเรียน หนังสือพิมพ์ และวารสารรายปักษ์
3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ได้แก่ ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ และข้าสารเหนียว ตามปริมาณความต้องการที่มีมาก ในขณะที่ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมีน้อย สำหรับขนมปังปอนด์ ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น
- ผัก ได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักชี ต้นหอม มะนาว และถั่วลันเตา จากการที่มีฝนตกชุกโดยเฉพาะในแหล่งผลิตรอบปริมณฑล ทำให้ผลผลิตผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณสินค้าเข้าสู่ตลาดมีน้อย ประกอบกับความต้องการที่มีมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยวหมู กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวผัด จากการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นในบางตลาดตามภาวะค่าครองชีพ และต้นทุนดำเนินการที่เพิ่มขึ้น
- ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมผง นมสด UHT และนมข้นหวาน จากการที่ผู้แทนจำหน่ายได้ปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- แก๊สหุงต้ม จากมาตรการของรัฐบาลอนุมัติให้ปรับราคาจำหน่ายปลีกเพิ่มขึ้น 2.65 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2540
- ค่าน้ำประปา จากการที่การประปานครหลวงให้ผู้ใช้น้ำประปาเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ สังกะสี และปูนซิเมนต์ จากการที่ผู้แทนจำหน่ายปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท
- ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ได้แก่ บุหรี่ จากการที่มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต จากร้อยละ 68 เป็นร้อยละ 70 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2540 นอกจากนี้สุรา และเบียร์มีการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นด้วย
- บริการต่าง ๆ ค่าจ้างตัดเสื้อ ค่าถอนฟัน ค่าตัดผมชายและค่าสระเซทผมสตรี ตามภาวะค่าครองชีพ และต้นทุนดำเนินการที่เพิ่มขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--