I. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 25,332
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 18 (1995)
- เมืองหลวง COLOMBO
- เมืองธุรกิจ COLOMBO, GALLE, JAFFNA, รัตนปุระ,
เดฮีเวลา
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) - อุตสาหกรรม 29.1
- เกษตรและประมง 23.5
- บริการและอื่น ๆ 53.4
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.7 % (1995)
- อัตราเงินเฟ้อ 8.5 % (1995)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 635.0 (1995)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = S $ 52.21 RUPEE (1995)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ อัญมณี
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก โกโก้ ชา ผลิตภัณฑ์มะพร้าว เครื่องเทศ
ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณี สิ่งทอ เสื้อผ้า
- นำเข้า ข้าวสาลี เครื่องบินและอุปกรณ์ เครื่อง
จักรกลและอุปกรณ์ น้ำตาล ข้าว
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก สหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี เบลเยี่ยม
ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น
- นำเข้า ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง ฝรั่งเศส อังกฤษ
สิงคโปร์ สหรัฐ
- ภาษา สิงหล ทมิฬ อังกฤษ
- ศาสนา พุทธ ฮินดู อิสลาม คริสเตียน
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 1 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี CHADRIKA KUMARATUNGA
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. ไทยกับศรีลังกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับอัครราชทูตเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1955
และยกระดับขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1961
2. ไทยกับศรีลังกาได้ลงนามความตกลงทางการบิน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1950 ปัจจุบันการบินไทย
ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยว สำหรับสายการบินศรีลังกาบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยว
3. ไทยให้ทุนฝึกอบรมและดูงานแก่ศรีลังกามาโดยตลอดภายใต้โครงการ TAP : Thai Aid Programme
และโครงการ Third Country Training Programme
4. ความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม 1988 (อยู่ในระหว่างการ
แลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร)
5. ความตกลงว่าด้วยการค้าพลอยดิบ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 1987 (ต่อมาศรีลังกาได้บอกยกเลิก
ความตกลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 1990)
6. ความตกลงบริการเดินอากาศ เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 1950
7. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ได้มีการลงนามเมื่อวันพุธที่ 3 มกราคม 2539
8. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ได้มีการลงนามเมื่อวันพุธที่ 3 มกราคม 2539
ภาคเอกชน
1. ด้านประมง ในปี 1981 ภาคเอกชนไทยได้ทำความตกลงในความร่วมมือทางด้านประมงกับศรีลังกา
แต่ประสบความล้มเหลว มีปัญหาในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับอาณาเขตการจับปลา และถูกกดราคาปลา
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปศรีลังกาเป็นมูลค่า 3,024.5 ล้านบาท และ
5,406.9 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.2 และ 0.3 ของมูลค่าการส่งออก
ทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำตาลทราย ผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน ปลาแห้ง
อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ตู้เย็น
และชิ้นส่วน
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากศรีลังกาเป็นมูลค่า 636.1 ล้านบาท และ
576.5 ล้านบาท ตามลำดับ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ
ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่อง
จักรสำหรับการวัดและตรวจสอบต่าง ๆ พร้อมอุปกรณ์ ผ้าผืน กาแฟ ชา เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์โลหะ
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 2,388.3 ล้านบาท และ
4,830.4 ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. ศรีลังกาเป็นตลาดขนาดเล็ก มีอำนาจการซื้อต่ำ
2. โครงสร้างสินค้าส่งออกของศรีลังกาคล้ายคลึงกับไทย ทำให้ไทยไม่สามารถส่งสินค้าออกไปยัง
ศรีลังกาได้ และผู้ส่งออกไทยไม่สนใจตลาดนี้เท่าที่ควร
3. ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ การนำเข้าสินค้าบางชนิดจึงใช้ระบบการค้าต่างตอบแทนใน
การนำเข้าสินค้าบางชนิด เช่น ซื้อข้าวจากปากีสถานโดยแลกเปลี่ยนกับชา เป็นต้น
4. ขาดแคลนข้อมูลและข่าวสารทางการค้าระหว่างไทยกับศรีลังกา
5. สินค้าที่ซื้อขายระหว่างกันมีเพียงไม่กี่ชนิด และมูลค่ายังไม่มาก
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า อัญมณี รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า
2. การนำเข้า อัญมณี เครื่องจักรและส่วนประกอบที่ใช้ไฟฟ้า แร่ดิบ
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 25,332
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 18 (1995)
- เมืองหลวง COLOMBO
- เมืองธุรกิจ COLOMBO, GALLE, JAFFNA, รัตนปุระ,
เดฮีเวลา
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) - อุตสาหกรรม 29.1
- เกษตรและประมง 23.5
- บริการและอื่น ๆ 53.4
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.7 % (1995)
- อัตราเงินเฟ้อ 8.5 % (1995)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 635.0 (1995)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = S $ 52.21 RUPEE (1995)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ อัญมณี
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก โกโก้ ชา ผลิตภัณฑ์มะพร้าว เครื่องเทศ
ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณี สิ่งทอ เสื้อผ้า
- นำเข้า ข้าวสาลี เครื่องบินและอุปกรณ์ เครื่อง
จักรกลและอุปกรณ์ น้ำตาล ข้าว
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก สหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี เบลเยี่ยม
ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น
- นำเข้า ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง ฝรั่งเศส อังกฤษ
สิงคโปร์ สหรัฐ
- ภาษา สิงหล ทมิฬ อังกฤษ
- ศาสนา พุทธ ฮินดู อิสลาม คริสเตียน
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 1 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี CHADRIKA KUMARATUNGA
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. ไทยกับศรีลังกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับอัครราชทูตเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1955
และยกระดับขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1961
2. ไทยกับศรีลังกาได้ลงนามความตกลงทางการบิน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1950 ปัจจุบันการบินไทย
ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยว สำหรับสายการบินศรีลังกาบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยว
3. ไทยให้ทุนฝึกอบรมและดูงานแก่ศรีลังกามาโดยตลอดภายใต้โครงการ TAP : Thai Aid Programme
และโครงการ Third Country Training Programme
4. ความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม 1988 (อยู่ในระหว่างการ
แลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร)
5. ความตกลงว่าด้วยการค้าพลอยดิบ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 1987 (ต่อมาศรีลังกาได้บอกยกเลิก
ความตกลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 1990)
6. ความตกลงบริการเดินอากาศ เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 1950
7. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ได้มีการลงนามเมื่อวันพุธที่ 3 มกราคม 2539
8. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ได้มีการลงนามเมื่อวันพุธที่ 3 มกราคม 2539
ภาคเอกชน
1. ด้านประมง ในปี 1981 ภาคเอกชนไทยได้ทำความตกลงในความร่วมมือทางด้านประมงกับศรีลังกา
แต่ประสบความล้มเหลว มีปัญหาในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับอาณาเขตการจับปลา และถูกกดราคาปลา
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปศรีลังกาเป็นมูลค่า 3,024.5 ล้านบาท และ
5,406.9 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.2 และ 0.3 ของมูลค่าการส่งออก
ทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำตาลทราย ผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน ปลาแห้ง
อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ตู้เย็น
และชิ้นส่วน
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากศรีลังกาเป็นมูลค่า 636.1 ล้านบาท และ
576.5 ล้านบาท ตามลำดับ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ
ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่อง
จักรสำหรับการวัดและตรวจสอบต่าง ๆ พร้อมอุปกรณ์ ผ้าผืน กาแฟ ชา เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์โลหะ
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 2,388.3 ล้านบาท และ
4,830.4 ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. ศรีลังกาเป็นตลาดขนาดเล็ก มีอำนาจการซื้อต่ำ
2. โครงสร้างสินค้าส่งออกของศรีลังกาคล้ายคลึงกับไทย ทำให้ไทยไม่สามารถส่งสินค้าออกไปยัง
ศรีลังกาได้ และผู้ส่งออกไทยไม่สนใจตลาดนี้เท่าที่ควร
3. ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ การนำเข้าสินค้าบางชนิดจึงใช้ระบบการค้าต่างตอบแทนใน
การนำเข้าสินค้าบางชนิด เช่น ซื้อข้าวจากปากีสถานโดยแลกเปลี่ยนกับชา เป็นต้น
4. ขาดแคลนข้อมูลและข่าวสารทางการค้าระหว่างไทยกับศรีลังกา
5. สินค้าที่ซื้อขายระหว่างกันมีเพียงไม่กี่ชนิด และมูลค่ายังไม่มาก
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า อัญมณี รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า
2. การนำเข้า อัญมณี เครื่องจักรและส่วนประกอบที่ใช้ไฟฟ้า แร่ดิบ
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--