ดร.ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้วางแนวทางเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยถือเป็นภาระเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จึงได้กำหนดมาตรการหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย 7 มาตรการ คือ
มาตรการที่ 1 มาตรการฟื้นฟูความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินไทย ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานที่สำคัญดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 ปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งและได้มาตรฐานโดยยึดหลักการดังนี้
1) กอบกู้ความมั่นใจในระบบสถาบันการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ
2) สนับสนุนให้เกิดการควบหรือรวมกิจการ ปิดหรือขายกิจการ
3) จำกัดต้นทุนหรือความสูญเสียที่จะต้องรับภาระจากการปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงินไว้ในวงจำกัด
4) ดูแลให้การบริหารและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ให้กลับคืนสู่การเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพโดยเร็ว
5) ควบคุมให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมในกลยุทธและนโยบายการดำเนินงาน
ประการที่ 2 ให้กองทุนรับประกันเงินฝากของประชาชนและหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้มอบหมายให้กองทุนฟื้นฟูเป็นผู้ดูแล
ประการที่ 3 เร่งจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ประการที่ 4 ยกระดับคณะกรรมการกำกับการควบหรือโอนกิจการของสถาบันการเงินให้มีอำนาจและความรับผิดชอบเต็มใน การกำกับดูแลการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินทั้งระบบของประเทศ
ประการที่ 5 เร่งผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการควบหรือโอนกิจการระหว่างสถาบันการเงินจนมีความแข็งแกร่งโดยเฉพาะบริษัทเงินทุนด้วยการ
1) มุ่งเน้นให้การควบหรือรวมมีผลให้มีทรัพย์สินมากพอที่จะปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือเป็นบริษัทเงินทุนชั้นนำ พร้อมทั้ง
2) ส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนในสัดส่วนมากกว่า ร้อยละ 25 และ
3) แต่งตั้งให้มีบริษัทเงินทุนที่เป็นแกนหลักเพื่อดำเนินภาระกิจนี้ให้ลุล่วง
ประการที่ 6 เร่งรัดให้มีการสำรองหนี้สูญตามมาตรฐานสากล โดยผ่อนคลายมาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเพิ่มการสำรองเผื่อหนี้ด้อยคุณภาพ
ประการที่ 7 ปรับปรุงระบบการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยเน้นความชัดเจน และความรวดเร็วของข้อมูลสถาบันการเงิน
มาตรการที่ 2 มาตรการการคลัง ซึ่งเน้นความสมดุล ความประหยัดและรักษาวินัยการคลัง ภาครัฐจะดำเนินการดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 ดำรงนโยบายงบประมาณสมดุลอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
ประการที่ 2 ปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี 2540 และ 2541 เพื่อให้มีการใช้จ่ายเงินงบปนระมาณเท่าที่จำเป็น โดยประหยัด และมีประสิทธิภาพ
ประการที่ 3 ทบทวนโครงการลงทุนของรัฐให้คงไว้เฉพาะโครงการที่มีความจำเป็นสูงสุด แล้วจัดอันดับก่อนหลังตามความสำคัญ
ประการที่ 4 รักษาระดับการจ้างงานและดำรงอัตราค่าจ้างเงินเดือนข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ประการที่ 5 เพิ่มพูนประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร ทั้งทางด้านการจัดเก็บและการบริหารการจัดเก็บ
ประการที่ 6 ปรับโครงสร้างภาษีอากร ทั้งในด้าน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
มาตรการที่ 3 มาตรการเพิ่มพูนประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ มาตรการนี้จะมีผลสำเร็จได้นั้นต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 เร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยแบ่งรัฐวิสาหกิจเป็น 3 กลุ่ม และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับแต่ละกลุ่ม คือ
กลุ่มแรก กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่เน้นการประกอบการเชิงพาณิชย์ โดยภาครัฐจะส่งเสริมให้มีการแข่งขันโดยเสรี
กลุ่มที่สอง กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ภาครัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง และภาคเอกชนสามารถบริหารได้ดีกว่าภาครัฐ จะลดบทบาทลงให้ภาคเอกชนเข้าดำเนินการ
กลุ่มที่สาม กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อสังคม ภาครัฐจะยังคงบทบาท แต่คงให้มีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเท่าที่จำเป็น
ประการที่ 2 เร่งพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร และการบริการระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน ตลอดตจนการปรับโครงสร้างราคาค่าสาธารณูปโภค โดยคำนึงถึงต้นทุนดำเนินการที่แท้จริงและความสามารถในการรับภาระของประชาชน
ประการที่ 3 ให้ทุกรัฐวิสาหกิจเสนอแผนปฏิบัติการแปรรูปและการเพิ่มพูนประสิทธิภาพภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน
มาตรการที่ 4 มาตรการอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างเสถียรภาพการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศคงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 เฝ้าระวังติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังมีความผันผวนในช่วงการปรับตัวอย่างใกล้ชิด
ประการที่ 2 ไม่ปล่อยให้มีความผันผวนมากนัก และเน้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
ประการที่ 3 เร่งพัฒนาเครื่องมือคุ้มครองความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อันเป็นกลไกสำคัญสำหรับการปรับตัวของภาคเอกชนภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน
มาตรการที่ 5 มาตรการอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่อง เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับสูง และเกิดปัญหาทางด้านสภาพคล่องพร้อม จึงมีแนวทางดำเนินการดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเป้าหมายดอกเบี้ยที่ชัดเจน รวมทั้งดูแลสภาพคล่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในช่วงหลังการปรับตัว
ประการที่ 2 ปรับสภาพคล่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนที่สภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อย และจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในระบบการเงินไทย
มาตรการที่ 6 มาตรการปรับปรุงปัจจัยเชิงโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการส่งออก การส่งออกมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงต้องปรับปรุงปัจจัยเชิงโครงสร้างดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 วางระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อาทิ คืนภาษีก่อนตรวจ ตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประการที่ 2 คืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ สำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกให้เร็วขึ้น อาทิการปรับปรุงให้มีการคืน โดยใช้ระบบบัญชีแทนระบบปัจจุบัน
ประการที่ 3 เร่งรัดการปรับปรุงพิธีการทางศุลกากร ให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ประการที่ 4 ออกมาตรการด้านภาษีอากร เพื่อส่งเสริมกิจการพาณิชย์นาวี อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทเดินเรือของไทยซึ่งมีรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศ รวมทั้งการยกเว้นภาษีเงินปันผลที่ได้รับ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเป็นบางส่วน
ประการที่ 5 ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์นาวี ด้วยการสนับสนุนของธนาคารแห่งประเทศไทย
ประการที่ 6 พัฒนาตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และตลาดอนุพันธ์ทางการเงิน เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนต่างๆ
ประการที่ 7 วางระบบเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินของผู้ส่งออก โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการซื้อขายล่วงหน้า Forward หรือ Swap โดยการหาทางลดอุปสรรค ทั้งในด้านกฎหมาย บัญชีและภาษีอากร
มาตรการที่ 7 มาตรการยกระดับความสามารถเชิงแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานของมาตรการสุดท้ายนี้ประกอบด้วย
ประการที่ 1 ยกระดับสำนักงานเศรษฐกิจและการคลังในต่างประเทศ ให้มีสมรรถนะในการสนองความต้องการของภาครัฐและการบริการภาคเอกชนในเชิงแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังของต่างประเทศ
ประการที่ 2 ใช้มาตรการจูงใจด้านการเงินการคลัง เร่งรัดให้มีการปรับเปลี่ยน และยกระดับเทคโนโลยีของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้ทันสมัย อีกทั้งจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นรายอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและแรงงานฝีมือ ซึ่งเป็นพื้นฐานอันสำคัญที่จะมีผลต่อความสามารถเชิงแข่งขันของประเทศในระยะยาว
ประการที่ 3 ปรับปรุงมาตรการด้านการเงินการคลัง โดยเฉพาะโครงสร้างการจัดเก็บภาษีอากร ตลอดจนแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสามารถเชิงแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละประเภทอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
ประการที่ 4 เปิดเสรีในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญรวมทั้งการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
มาตราการฟื้นฟูความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย
โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.ทนง พิทยะ
--กระทรวงการคลัง / 5 สิงหาคม 2540--
มาตรการที่ 1 มาตรการฟื้นฟูความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินไทย ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานที่สำคัญดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 ปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งและได้มาตรฐานโดยยึดหลักการดังนี้
1) กอบกู้ความมั่นใจในระบบสถาบันการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ
2) สนับสนุนให้เกิดการควบหรือรวมกิจการ ปิดหรือขายกิจการ
3) จำกัดต้นทุนหรือความสูญเสียที่จะต้องรับภาระจากการปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงินไว้ในวงจำกัด
4) ดูแลให้การบริหารและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ให้กลับคืนสู่การเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพโดยเร็ว
5) ควบคุมให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมในกลยุทธและนโยบายการดำเนินงาน
ประการที่ 2 ให้กองทุนรับประกันเงินฝากของประชาชนและหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้มอบหมายให้กองทุนฟื้นฟูเป็นผู้ดูแล
ประการที่ 3 เร่งจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ประการที่ 4 ยกระดับคณะกรรมการกำกับการควบหรือโอนกิจการของสถาบันการเงินให้มีอำนาจและความรับผิดชอบเต็มใน การกำกับดูแลการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินทั้งระบบของประเทศ
ประการที่ 5 เร่งผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการควบหรือโอนกิจการระหว่างสถาบันการเงินจนมีความแข็งแกร่งโดยเฉพาะบริษัทเงินทุนด้วยการ
1) มุ่งเน้นให้การควบหรือรวมมีผลให้มีทรัพย์สินมากพอที่จะปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือเป็นบริษัทเงินทุนชั้นนำ พร้อมทั้ง
2) ส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนในสัดส่วนมากกว่า ร้อยละ 25 และ
3) แต่งตั้งให้มีบริษัทเงินทุนที่เป็นแกนหลักเพื่อดำเนินภาระกิจนี้ให้ลุล่วง
ประการที่ 6 เร่งรัดให้มีการสำรองหนี้สูญตามมาตรฐานสากล โดยผ่อนคลายมาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเพิ่มการสำรองเผื่อหนี้ด้อยคุณภาพ
ประการที่ 7 ปรับปรุงระบบการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยเน้นความชัดเจน และความรวดเร็วของข้อมูลสถาบันการเงิน
มาตรการที่ 2 มาตรการการคลัง ซึ่งเน้นความสมดุล ความประหยัดและรักษาวินัยการคลัง ภาครัฐจะดำเนินการดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 ดำรงนโยบายงบประมาณสมดุลอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
ประการที่ 2 ปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี 2540 และ 2541 เพื่อให้มีการใช้จ่ายเงินงบปนระมาณเท่าที่จำเป็น โดยประหยัด และมีประสิทธิภาพ
ประการที่ 3 ทบทวนโครงการลงทุนของรัฐให้คงไว้เฉพาะโครงการที่มีความจำเป็นสูงสุด แล้วจัดอันดับก่อนหลังตามความสำคัญ
ประการที่ 4 รักษาระดับการจ้างงานและดำรงอัตราค่าจ้างเงินเดือนข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ประการที่ 5 เพิ่มพูนประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร ทั้งทางด้านการจัดเก็บและการบริหารการจัดเก็บ
ประการที่ 6 ปรับโครงสร้างภาษีอากร ทั้งในด้าน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
มาตรการที่ 3 มาตรการเพิ่มพูนประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ มาตรการนี้จะมีผลสำเร็จได้นั้นต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 เร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยแบ่งรัฐวิสาหกิจเป็น 3 กลุ่ม และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับแต่ละกลุ่ม คือ
กลุ่มแรก กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่เน้นการประกอบการเชิงพาณิชย์ โดยภาครัฐจะส่งเสริมให้มีการแข่งขันโดยเสรี
กลุ่มที่สอง กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ภาครัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง และภาคเอกชนสามารถบริหารได้ดีกว่าภาครัฐ จะลดบทบาทลงให้ภาคเอกชนเข้าดำเนินการ
กลุ่มที่สาม กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อสังคม ภาครัฐจะยังคงบทบาท แต่คงให้มีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเท่าที่จำเป็น
ประการที่ 2 เร่งพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร และการบริการระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน ตลอดตจนการปรับโครงสร้างราคาค่าสาธารณูปโภค โดยคำนึงถึงต้นทุนดำเนินการที่แท้จริงและความสามารถในการรับภาระของประชาชน
ประการที่ 3 ให้ทุกรัฐวิสาหกิจเสนอแผนปฏิบัติการแปรรูปและการเพิ่มพูนประสิทธิภาพภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน
มาตรการที่ 4 มาตรการอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างเสถียรภาพการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศคงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 เฝ้าระวังติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังมีความผันผวนในช่วงการปรับตัวอย่างใกล้ชิด
ประการที่ 2 ไม่ปล่อยให้มีความผันผวนมากนัก และเน้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
ประการที่ 3 เร่งพัฒนาเครื่องมือคุ้มครองความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อันเป็นกลไกสำคัญสำหรับการปรับตัวของภาคเอกชนภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน
มาตรการที่ 5 มาตรการอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่อง เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับสูง และเกิดปัญหาทางด้านสภาพคล่องพร้อม จึงมีแนวทางดำเนินการดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเป้าหมายดอกเบี้ยที่ชัดเจน รวมทั้งดูแลสภาพคล่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในช่วงหลังการปรับตัว
ประการที่ 2 ปรับสภาพคล่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนที่สภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อย และจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในระบบการเงินไทย
มาตรการที่ 6 มาตรการปรับปรุงปัจจัยเชิงโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการส่งออก การส่งออกมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงต้องปรับปรุงปัจจัยเชิงโครงสร้างดังต่อไปนี้
ประการที่ 1 วางระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อาทิ คืนภาษีก่อนตรวจ ตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประการที่ 2 คืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ สำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกให้เร็วขึ้น อาทิการปรับปรุงให้มีการคืน โดยใช้ระบบบัญชีแทนระบบปัจจุบัน
ประการที่ 3 เร่งรัดการปรับปรุงพิธีการทางศุลกากร ให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ประการที่ 4 ออกมาตรการด้านภาษีอากร เพื่อส่งเสริมกิจการพาณิชย์นาวี อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทเดินเรือของไทยซึ่งมีรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศ รวมทั้งการยกเว้นภาษีเงินปันผลที่ได้รับ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเป็นบางส่วน
ประการที่ 5 ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์นาวี ด้วยการสนับสนุนของธนาคารแห่งประเทศไทย
ประการที่ 6 พัฒนาตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และตลาดอนุพันธ์ทางการเงิน เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนต่างๆ
ประการที่ 7 วางระบบเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินของผู้ส่งออก โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการซื้อขายล่วงหน้า Forward หรือ Swap โดยการหาทางลดอุปสรรค ทั้งในด้านกฎหมาย บัญชีและภาษีอากร
มาตรการที่ 7 มาตรการยกระดับความสามารถเชิงแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานของมาตรการสุดท้ายนี้ประกอบด้วย
ประการที่ 1 ยกระดับสำนักงานเศรษฐกิจและการคลังในต่างประเทศ ให้มีสมรรถนะในการสนองความต้องการของภาครัฐและการบริการภาคเอกชนในเชิงแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังของต่างประเทศ
ประการที่ 2 ใช้มาตรการจูงใจด้านการเงินการคลัง เร่งรัดให้มีการปรับเปลี่ยน และยกระดับเทคโนโลยีของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้ทันสมัย อีกทั้งจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นรายอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและแรงงานฝีมือ ซึ่งเป็นพื้นฐานอันสำคัญที่จะมีผลต่อความสามารถเชิงแข่งขันของประเทศในระยะยาว
ประการที่ 3 ปรับปรุงมาตรการด้านการเงินการคลัง โดยเฉพาะโครงสร้างการจัดเก็บภาษีอากร ตลอดจนแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสามารถเชิงแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละประเภทอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
ประการที่ 4 เปิดเสรีในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญรวมทั้งการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
มาตราการฟื้นฟูความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย
โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.ทนง พิทยะ
--กระทรวงการคลัง / 5 สิงหาคม 2540--