วันนี้ (18 ธ.ค.48) เวลา 14.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแถลงว่าจากกรณีที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)รายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาส ที่ 3 ของปีนี้พบความสงสัยคลางแคลงใจในข้อมูลที่นำเสนอเกี่ยวกับคนจนโดยเฉพาะที่ สศช. บอกว่าจากการศึกษาเรื่อง “คนจนเมือง” พบว่าคนจนเมืองลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหา ทำให้ปัญหา มีไม่พอกินทุเลาลง แต่เปลี่ยนเป็นปัญหา มีไม่พอใช้มากกว่า โดยเกิดจากความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น เราต้องยอมรับว่าปัญหาไม่พอกิน และมีไม่พอใช้เกิดจาก ประเทศชาติบ้านเมือง ในยุคทักษิณ กินไม่รู้จักพอ โดยที่รัฐบาลไม่ใส่ใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ปล่อยให้มีการโกงกินกันแทบทุกระดับ
ความเลื่อมล้ำในสังคม ระหว่าง “คนมี” กับ “คนไม่มี” ที่มีเพิ่มมากขึ้นเพราะมีกลุ่มคนหนึ่งสามารถทุจริตคอรัปชั่น เอาผลประโยชน์ที่ควรเป็นของคนส่วนใหญ่ ไปเป็นผลประโยชน์ของตัวเอง ครอบครัว และบริวารแวดล้อมเพียงไม่กี่ตระกูลในสังคมไทย
เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาคนจน ที่มีไม่พอกิน หรือมีไม่พอใช้ รัฐบาลต้องจัดการกับพวกกินไม่รู้จักพออย่างเด็ดขาด เอาจริงเอาจัง แต่ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะกล้าพอหรือไม่ เพราะพวกกินไม่รู้จักพอส่วน ส่วนหนึ่งก็ปะปนอยู่กับพวกมีอำนาจในบ้านเมืองของเราขณะนี้ หรืออยู่ในรัฐบาลนี้ไม่น้อย และสาเหตุสำคัญที่ผู้คนมีไม่พอกิน หรือมีไม่พอใช้ มีสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายประชานิยมที่ทำให้คนลุ่มหลง ฟุ้งเฟ้อกับการใช้จ่ายเงินเกินตัว จนก่อให้เกิดภาวะหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ตามลำดับ นับตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศการที่สศช.บอกว่าคนจนทั้งในเมืองและชนบทลดลงนั้น พรรคประชาธิปัตย์ มีคำถามไปยังรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องดังนี้
1.ข้อมูลคนว่างงานสับสน
ตัวเลขคนว่างงาน ที่สศช.บอกว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนคนว่างงานต่ำที่สุด แต่ทำไมคนจนมากที่สุด ตามที่รองเลขาธิการสภาพัฒนฯ ให้สัมภาษณ์ เพราะเมื่อว่างงานน้อยที่สุดก็หมายถึงคนมีงานทำมาก จะเป็นงานส่วนตัว ทำของตัวเอง หรือรับจ้างก็แล้วแต่ ต้องมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ความยากจน
2. เคลือบแคลงใจมาตรฐานคนจน
อยากถามว่าเกณฑ์คนจนมีกี่มาตรฐาน......อยู่ตรงไหน สศช.มีความพอใจแล้วหรือที่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 200 บ้านต่อเดือน รู้สึกว่าตนเองไม่อยากจน หรือนี่คือมาตรฐานชีวิตที่รัฐบาลพึงพอใจ
3. สงสัยคนจนลดลง
สศช.แถลงว่าคนจนลดลง ปี 2547 โดยนำไปเปรียบเทียบกับ ปี 2543 ทำไมต้องนำไปเปรียบเทียบระหว่างปี 2547 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ กับ ปี 2543 ที่ นายชวน เป็นนายกฯ เป็นการเปรียบเทียบเพื่อเป้าประสงค์ทางการเมืองหวังผลให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ทำให้คนจนลดลงเช่นนั้นหรือ แต่ควรพูดความจริงให้หมดว่า ช่วง 2543 ที่คนจนอาจจะยังไม่ลดลงนั้น ก็เป็นผลพวงมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุคฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ที่เกิดจากการกระทำของ พล.อ.ชวลิต เป็นนายกฯ และท่านทักษิณ เป็นรองนายกฯ ใช่หรือไม่
อย่างไรก็ดี คนจนตัวจริง (เครือข่ายสลัม) ก็ได้ออกมาคัดค้านไม่ยอมรับรายงานของ สศช.ที่บอกว่าคนจนลดลง จึงมำให้เกิดข้อสงสัยว่าตัวเลคนจนลดลง หรือคนจนมีไม่พอกินหมดไปแล้ว เหลือแต่คนจนมีไม่พอใช้ เป็นความจริง หรือเป็นความเท็จกันแน่ หรือเป็นใบสั่งจากฝ่ายการเมืองให้ออกรายงานสภาวะทางสังคมช่วงนี้ เพื่อกอบกู้สภาวะขาลงของรัฐบาลใช่หรือไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงระยะเวลานี้ มีการแถลงรายงานข้อมูลตัวเลขต่างๆ รวมทั้งเร่งสร้างกิจกรรม สร้างภาพให้เกิดภาพทางบวกถี่มากขึ้น อย่างผิดปกติ เป็นเพราะประชาชนขาดความเชื่อถือต่อรัฐบาลมากขึ้น มีข่าวเกี่ยวข้องกับการทุจริต คอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลมากขึ้นจนต้องเร่งเอาตัวเลข ข้อมูล กิจกรรมต่างๆออมาสร้างภาพกลบสภาวะขาลง พรรคประชาธิปัตย์ขอเรียกร้องให้รัฐบาลอย่าใช้อิทธิพล บารมี ทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง หรือสั่งหการให้ตัวเลขข้อมูลต่างบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เพราะถ้ารัฐบาลเข้าไปแทรกแซงการทำงานอย่างอิสระ ของหน่วยงานที่ควรเป็นหลักของบ้านเมืองก็จะทำให้การคาดการหรือหารส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจ และสังคมผิดพลาด ทำให้การแก้ปัญหาไม่สามารถทำได้และจะทำให้ปัญหาหมักหมมมากขึ้นเรื่อยจนยากจะแก้ไข
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ธ.ค. 2548--จบ--
ความเลื่อมล้ำในสังคม ระหว่าง “คนมี” กับ “คนไม่มี” ที่มีเพิ่มมากขึ้นเพราะมีกลุ่มคนหนึ่งสามารถทุจริตคอรัปชั่น เอาผลประโยชน์ที่ควรเป็นของคนส่วนใหญ่ ไปเป็นผลประโยชน์ของตัวเอง ครอบครัว และบริวารแวดล้อมเพียงไม่กี่ตระกูลในสังคมไทย
เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาคนจน ที่มีไม่พอกิน หรือมีไม่พอใช้ รัฐบาลต้องจัดการกับพวกกินไม่รู้จักพออย่างเด็ดขาด เอาจริงเอาจัง แต่ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะกล้าพอหรือไม่ เพราะพวกกินไม่รู้จักพอส่วน ส่วนหนึ่งก็ปะปนอยู่กับพวกมีอำนาจในบ้านเมืองของเราขณะนี้ หรืออยู่ในรัฐบาลนี้ไม่น้อย และสาเหตุสำคัญที่ผู้คนมีไม่พอกิน หรือมีไม่พอใช้ มีสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายประชานิยมที่ทำให้คนลุ่มหลง ฟุ้งเฟ้อกับการใช้จ่ายเงินเกินตัว จนก่อให้เกิดภาวะหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ตามลำดับ นับตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศการที่สศช.บอกว่าคนจนทั้งในเมืองและชนบทลดลงนั้น พรรคประชาธิปัตย์ มีคำถามไปยังรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องดังนี้
1.ข้อมูลคนว่างงานสับสน
ตัวเลขคนว่างงาน ที่สศช.บอกว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนคนว่างงานต่ำที่สุด แต่ทำไมคนจนมากที่สุด ตามที่รองเลขาธิการสภาพัฒนฯ ให้สัมภาษณ์ เพราะเมื่อว่างงานน้อยที่สุดก็หมายถึงคนมีงานทำมาก จะเป็นงานส่วนตัว ทำของตัวเอง หรือรับจ้างก็แล้วแต่ ต้องมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ความยากจน
2. เคลือบแคลงใจมาตรฐานคนจน
อยากถามว่าเกณฑ์คนจนมีกี่มาตรฐาน......อยู่ตรงไหน สศช.มีความพอใจแล้วหรือที่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 200 บ้านต่อเดือน รู้สึกว่าตนเองไม่อยากจน หรือนี่คือมาตรฐานชีวิตที่รัฐบาลพึงพอใจ
3. สงสัยคนจนลดลง
สศช.แถลงว่าคนจนลดลง ปี 2547 โดยนำไปเปรียบเทียบกับ ปี 2543 ทำไมต้องนำไปเปรียบเทียบระหว่างปี 2547 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ กับ ปี 2543 ที่ นายชวน เป็นนายกฯ เป็นการเปรียบเทียบเพื่อเป้าประสงค์ทางการเมืองหวังผลให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ทำให้คนจนลดลงเช่นนั้นหรือ แต่ควรพูดความจริงให้หมดว่า ช่วง 2543 ที่คนจนอาจจะยังไม่ลดลงนั้น ก็เป็นผลพวงมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุคฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ที่เกิดจากการกระทำของ พล.อ.ชวลิต เป็นนายกฯ และท่านทักษิณ เป็นรองนายกฯ ใช่หรือไม่
อย่างไรก็ดี คนจนตัวจริง (เครือข่ายสลัม) ก็ได้ออกมาคัดค้านไม่ยอมรับรายงานของ สศช.ที่บอกว่าคนจนลดลง จึงมำให้เกิดข้อสงสัยว่าตัวเลคนจนลดลง หรือคนจนมีไม่พอกินหมดไปแล้ว เหลือแต่คนจนมีไม่พอใช้ เป็นความจริง หรือเป็นความเท็จกันแน่ หรือเป็นใบสั่งจากฝ่ายการเมืองให้ออกรายงานสภาวะทางสังคมช่วงนี้ เพื่อกอบกู้สภาวะขาลงของรัฐบาลใช่หรือไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงระยะเวลานี้ มีการแถลงรายงานข้อมูลตัวเลขต่างๆ รวมทั้งเร่งสร้างกิจกรรม สร้างภาพให้เกิดภาพทางบวกถี่มากขึ้น อย่างผิดปกติ เป็นเพราะประชาชนขาดความเชื่อถือต่อรัฐบาลมากขึ้น มีข่าวเกี่ยวข้องกับการทุจริต คอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลมากขึ้นจนต้องเร่งเอาตัวเลข ข้อมูล กิจกรรมต่างๆออมาสร้างภาพกลบสภาวะขาลง พรรคประชาธิปัตย์ขอเรียกร้องให้รัฐบาลอย่าใช้อิทธิพล บารมี ทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง หรือสั่งหการให้ตัวเลขข้อมูลต่างบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เพราะถ้ารัฐบาลเข้าไปแทรกแซงการทำงานอย่างอิสระ ของหน่วยงานที่ควรเป็นหลักของบ้านเมืองก็จะทำให้การคาดการหรือหารส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจ และสังคมผิดพลาด ทำให้การแก้ปัญหาไม่สามารถทำได้และจะทำให้ปัญหาหมักหมมมากขึ้นเรื่อยจนยากจะแก้ไข
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ธ.ค. 2548--จบ--