คำนำ
ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านพลังงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539 | ตุลาคม 2540 เป็นเอกสารที่ได้รวบรวมผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างรัฐบาลที่มี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงรัฐบาลที่มี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ผลงานที่ได้รวบรวมขึ้นนี้ เป็นผลจากการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้นำมาสู่การกำหนดแนวทางและมาตรการทางด้านพลังงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป โดยแนวทางและมาตรการเหล่านี้ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีแล้วตามลำดับ
ในการนี้ กองนโยบายและแผนพลังงาน ใคร่ขอขอบคุณ กองการปิโตรเลียม กองการไฟฟ้า กองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ที่ให้ความร่วมมือทางด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยดี และกองนโยบายและแผนพลังงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย
เรื่องที่ 1การจัดหาก๊าซธรรมชาติ
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2535 มอบหมายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินการเร่งรัดการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติภายในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ ปตท. จัดทำแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาว นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยแผนการจัดหาก๊าซฯ ดังกล่าวควรมีการปรับปรุง ทุกระยะตามความเหมาะสม นอกจากนี้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ ปตท. ดำเนินการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมให้แก่ กฟผ. เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเตา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2540 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ให้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุน (สหภาพพม่า) แหล่งน้ำพอง (เพิ่มเติม) และแหล่งเบญจมาศ (ทานตะวันส่วนเพิ่ม) ของ ปตท. โดยมีรายละเอียดการดำเนินการรับซื้อก๊าซธรรมชาติในแต่ละแหล่ง ดังนี้
แหล่งเยตากุน (สหภาพพม่า) ตั้งอยู่ในแปลงสัมปทาน Block M-12, M-13 และ M-14 ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแปลงสัมปทาน M-5 และ M-6 ซึ่งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เป็นผู้ลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่งก๊าซฯ ร่วมกับบริษัทผู้รับสัมปทานอื่นๆ โดยมีปริมาณสำรองก๊าซฯ ในระดับ 1.14 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งสามารถเริ่มผลิตได้ในปี 2542 และคงอัตราการผลิตที่ระดับ 210 ล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นระยะเวลา 10 ปี โดย ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งเยตากุน กับสหภาพพม่า แล้วเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 ในปริมาณซื้อขายวันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต มีกำหนดส่งในต้นปี 2543 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี
แหล่งน้ำพอง (เพิ่มเติม) ตั้งอยู่ในแปลงสัมปทาน E-5 อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีบริษัท เอสโซ่ เอ็กโพลเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น โคราช อิงค์ และบริษัท ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทานในสัดส่วนร้อยละ 80 และ 20 ตามลำดับ โดย ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2533 เป็นต้นมา มีปริมาณซื้อขาย 65 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และต่อมาได้เพิ่มเป็น 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดย ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 กำหนดเริ่มส่งก๊าซฯ ในเดือนกรกฎาคม 2540
แหล่งเบญจมาศ (ทานตะวันส่วนเพิ่ม) ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฯ จากแหล่งทานตะวันในเดือนพฤศจิกายน 2538 กับกลุ่มผู้รับสัมปทานซึ่งประกอบด้วย บริษัท Thaipo Ltd., Thai Romo Ltd. และ Sophonpanich Co., Ltd. โดยเริ่มส่งก๊าซฯ ในเดือนมกราคม 2540 ในปริมาณวันละ 75 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อมาผู้รับสัมปทานแหล่งเบญจมาศ (ทานตะวันส่วนเพิ่ม) ในแหล่ง B8/32 ในบริเวณอ่าวไทย ประกอบด้วย บริษัท Maersk Oil (Thailand) Ltd., Thaipo Limited, Thai Romo Limited และ Palang Sophon Limited ได้เสนอเพิ่มปริมาณการจำหน่ายก๊าซฯ โดยจะเริ่มส่งก๊าซฯ ส่วนเพิ่มในปี 2542 เป็น 170 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเพิ่มเป็น 180 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2543
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการ
ปตท. ได้นำเสนอแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ พร้อมกับแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ฉบับที่ 2) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 และ 4 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับ
แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ได้มีการปรับแผนเพื่อให้สอดคล้องตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ที่มีความต้องการไฟฟ้าต่ำมาก โดยคาดว่าจะมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปี พ.ศ. 2541 จำนวน 1,678 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และเพิ่มเป็น 3,188 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2549 ส่วนแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการ นอกเหนือจากแหล่งก๊าซฯ ที่จัดทำสัญญาแล้ว ปตท. อยู่ระหว่างเจรจาซื้อก๊าซจากแหล่ง JDA หรือพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างประเทศไทย กับมาเลเซียในปริมาณ 550 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยจะเริ่มทยอยส่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และเจรจาซื้อก๊าซฯ จากแหล่งบงกช เพิ่มอีก 184 ล้าน-ลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี พ.ศ. 2545
สำหรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ จากประเทศอินโดนีเซีย และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากโอมาน จะต้องชะลอออกไปจากปี พ.ศ. 2546 เป็นปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง
เรื่องที่ 2 แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
1. ความเป็นมา
เนื่องจากการคาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 3,658 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี พ.ศ. 2548 ในขณะที่ระบบท่อก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถรับปริมาณก๊าซฯ ที่จะเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Pipeline Master Plan) ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2540-2548 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งประกอบด้วย โครงการ 12 โครงการ วงเงินลงทุน 78,052 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐต่อ 25 บาท) หรือ 112,394 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐต่อ 36 บาท) การดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้ระบบท่อส่งก๊าซฯ มีขีดความสามารถในการจัดส่งก๊าซฯ เพิ่มเติมจากระบบท่อเดิม ซึ่งมีขีดความสามารถ 1,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทำให้สามารถจัดส่งก๊าซได้ในช่วงระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ถึง 2548
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ชะลอตัวลง มีผลทำให้ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น เพื่อให้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. มีความสอดคล้องกับความต้องการใช้ก๊าซฯ และสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พ.ศ. 2540-2554 กรณีต่ำมาก (Very Low Case) ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในการปรับกรอบการลงทุน ของทั้งภาครัฐและเอกชนลง จึงควรให้มีการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ปตท. ได้ทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าว และได้จัดทำแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 2 ขึ้น และให้ สพช. พิจารณานำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พิจารณาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 2 ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 ตามที่ ปตท. เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุน ทางด้านการก่อสร้างระบบท่อและอุปกรณ์ต่างๆ โดยมีโครงการที่จะดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 จำนวน 12 โครงการ วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 78,078 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 36 บาท) ซึ่งสามารถลดการลงทุนได้เป็นจำนวนเงิน 34,316 ล้านบาท และให้ใช้แผนดังกล่าวเป็นกรอบ ของการพิจารณาในรายละเอียด ของโครงการในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 โดยไม่ต้องเสนอขอดำเนินการในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษและให้ ปตท. นำเสนอโครงการตามขั้นตอน ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 โดยมีรายชื่อโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ ดังนี้
(อัตราแลกเปลี่ยน US$ 1 = 36 บาท)
โครงการหลัก กำหนดแล้วเสร็จ เงินลงทุน
(ล้านบาท)
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งไพลิน ระยะที่ 1 2541 2,231
ระยะที่ 2 2542
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่ง JDA ไปเอราวัณ ปลายปี 2543 20,040
โครงการ Midline Compressor พร้อม Platform และท่อต่อ ปลายปี 2543 8,222
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ระยองไปบางปะกง ปลายปี 2543 9,331
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย กลางปี 2542 8,457
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย ไปโรงจักรพระนครใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2543 2,832
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งเบญจมาศเชื่อมท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งทานตะวัน กลางปี 2542 487
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากท่อคู่ขนานไปโรงไฟฟ้าทับสะแก ปลายปี 2549 9,172
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่ง JDA ไปสงขลา ปลายปี 2543 5,729
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากสงขลาไปยะลา (ชายแดน ไทย-มาเลเซีย) ปลายปี 2543 2,830
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากโรงแยกก๊าซขนอมไปสุราษฎร์ธานี ปลายปี 2545 2,508
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีไปโรงไฟฟ้ากระบี่ ปลายปี 2547 6,239
รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น 78,078
โครงการตามแผนแม่บทฯ ดังกล่าว จะช่วยให้ประเทศสามารถขยายกำลังการส่งก๊าซธรรมชาติ และเครือข่ายการบริการ เพื่อรองรับการจัดหาและการตลาด ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาวได้อย่างเพียงพอ และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ
เรื่องที่ 3 การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 อนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากบริษัท Oman LNG L.L.C. (OLNG) ในปริมาณ 1.7-2.2 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 25 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป ทั้งนี้เนื่องจาก LNG เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด มีราคาที่สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นได้ในการผลิตไฟฟ้า และเป็นการเพิ่มความมั่นคง ให้กับระบบก๊าซธรรมชาติของประเทศโดยรวม นอกจากนั้นโครงการ LNG จะเป็นเครื่องมือช่วยในการต่อรองราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในที่สุด
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ปตท. ได้มีการลงนามใน Heads of Agreement กับบริษัท OLNG แล้ว เพื่อนำเข้า LNG ในปริมาณ 1.7-2.2 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 25 ปี นับตั้งแต่ ปี 2546 เป็นต้นไป และต่อมา สพช. ได้ติดตามให้มีการเจรจาจัดทำสัญญาซื้อขาย LNG ระหว่าง ปตท. กับบริษัท OLNG แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2539 โดยจะมีปริมาณรับซื้อ 1 ล้านตัน ในปี 2546 และเพิ่มเป็น 1.8 และ 2 ล้านตันต่อปี ในปี 2547 และ 2548 ตามลำดับ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปี 2540 ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติชะลอลงด้วย จึงได้เลื่อนระยะเวลานำเข้า LNG เป็นตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป
ผลจากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ประเทศมีการกระจายแหล่งและชนิดของพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ ในการพัฒนาพลังงานขึ้นมาใช้ประโยชน์
เรื่องที่ 4 การรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า1. ความเป็นมา
จากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงได้มีนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพพม่า ได้มีการเจรจาเพื่อที่จะพัฒนาความร่วมมือ ในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และต่อมารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมวิเทศสหการ และกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนสหภาพพม่าในระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2540 เพื่อหารือด้านพลังงานและการผันน้ำ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (U Khin Maung Thein) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งสหภาพพม่า ผลการหารือได้นำมาสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง การรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. และกระทรวงพลังงานแห่งสหภาพพม่า ได้มีการเจรจาและพิจารณาในรายละเอียด ร่างบันทึกความเข้าใจในการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า และได้ตกลงให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2540 โดยมีสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจสรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยจะให้ความร่วมมือกับสหภาพพม่า โดยสนับสนุนให้ กฟผ. หรือหน่วยงานอื่นที่ได้ รับมอบหมายรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการในสหภาพพม่าให้ได้ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2553 รัฐบาลแห่งสหภาพพม่าจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ลงทุนในแต่ละโครงการ โดยจะมีการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับแต่ละโครงการที่มีความเป็นไปได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันในการวางแผนและก่อสร้างระบบสายส่งระหว่างทั้ง 2 ประเทศ รัฐบาลแห่งสหภาพพม่า จะยินยอมให้ผู้ลงทุนไทย มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ จะมีการเจรจาเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจอีกฉบับ ในเรื่องการผันน้ำให้แก่ประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว สพช. จึงได้เสนอให้ฝ่ายไทยและฝ่ายสหภาพพม่า พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เพื่อให้อำนาจแก่คณะกรรมการชุดนี้ในการเจรจา และตกลงรายละเอียดของโครงการ พร้อมกันนี้ได้มีกำหนดการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแห่งสหภาพพม่า (U Khein Maung Thein) และคณะมาเยือนไทยในเดือนพฤศจิกายน 2540 เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งกำหนดขั้นตอนการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้า จากสหภาพพม่าให้คืบหน้าต่อไป
ผลของการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความร่วมมือในการพัฒนาด้านพลังงาน และการขยายความร่วมมือในการรับซื้อไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ และมีระบบการผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงต่อไปในระยะยาว
เรื่องที่ 5 การเจรจารับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว1. ความเป็นมา
รัฐบาลไทย และรัฐบาล สปป.ลาว ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมมือกันพัฒนาไฟฟ้าให้ได้ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2543 เพื่อจำหน่ายให้กับประเทศไทย และต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่เพื่อใช้แทนฉบับเก่า โดยมีการขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว จาก 1,500 เมกะวัตต์ เป็น 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 โดยรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว (คปฟ.-ล.) เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานและประสานความร่วมมือกับ สปป.ลาว เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
โครงการที่จะพิจารณารับซื้อไฟฟ้า ภายใต้บันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาล สปป.ลาว จำนวน 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 ประกอบด้วยโครงการที่ สปป. ลาว เสนอมา 6 โครงการ มีกำลังผลิต 2,479 เมกะวัตต์ โดยมีความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ สรุปได้ดังนี้
โครงการที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว 2 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน-หินบุน ขนาดกำลังผลิต 210 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนเมษายน 2541 และโครงการห้วยเฮาะขนาดกำลังผลิต 126 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2542 โครงการที่ได้ตกลงราคาซื้อขายไฟฟ้าและมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำสัญญาจำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการลิกไนต์หงสา ขนาดกำลังผลิต 608 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2545 โครงการที่ได้ตกลงอัตราค่าไฟฟ้าแล้ว และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ การรับซื้อไฟฟ้าแล้วจำนวน 2 โครงการ เพื่อให้ กฟผ. นำไปลงนามกับกลุ่มผู้ลงทุนต่อไป ได้แก่ โครงการน้ำงึม 2 ขนาดกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์ และโครงการน้ำงึม 3 ขนาดกำลังผลิต 460 เมกะวัตต์ คาดว่าทั้งสองโครงการนี้จะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในวันที่ 1 มีนาคม 2546 โดยโครงการน้ำงึม 3 ได้มีการลงชื่อย่อเพื่อการผูกพันเบื้องต้น (Initial) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 และโครงการน้ำงึม 2 ได้มีการลง Initial เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2540 โครงการที่ยังไม่ได้เจรจา ได้แก่ โครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย ขนาดกำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์ จะดำเนินการเจรจาหลังจากการเจรจาโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 แล้วเสร็จ โครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งเคยตกลงอัตราค่าไฟฟ้าไปแล้วนั้น รัฐบาล สปป. ลาว ได้ขอระงับการเจรจาไว้ก่อน เนื่องจากโครงการยังมีความไม่แน่นอนสูง สืบเนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การดำเนินโครงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ตามเขตบริเวณชายแดนของไทยกับ สปป. ลาว จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ผลจากการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ดังกล่าว จะทำให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ และมีระบบการผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมืออันดีระหว่างทั้ง 2 ประเทศในการพัฒนาพลังงาน ขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 6 การรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน1. ความเป็นมา
ความร่วมมือในด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2536 โดยได้มีการลงนามในผลการประชุมร่วม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้ายูนนาน (Yunnan Provincial Electric Power Bureau : YPEPB) ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมเอกชนในการลงทุนพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในมณฑลยูนนาน เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2539 เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานในส่วนของรัฐบาลกลาง และมณฑลยูนนานได้มาเยือนประเทศไทย พร้อมแสดงความประสงค์ที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำจิงหง เพื่อจำหน่ายกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งให้แก่ประเทศไทย ซึ่ง กฟผ. ได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือ ในการศึกษาความเหมาะสมในเรื่องของระบบสายส่งเชื่อมโยง ระหว่างจิงหงกับประเทศไทย และจะพิจารณารับซื้อกระแสไฟฟ้าจากจิงหง หากโครงการมีความเหมาะสมทางเทคนิค และเป็นไปตามแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.
ต่อมา ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่ม APEC ที่ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ได้มีการหารือเรื่องการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อขยายความร่วมมือด้านพลังงานต่อ H.E. Mr. Ye Qing, Executive Vice Chairman, State Planning Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้มีความคืบหน้าในการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้า จากโครงการพลังน้ำจิงหง ซึ่งได้รับการตอบรับในเบื้องต้นแล้ว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม และ 4 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยจะให้ความร่วมมือโดยสนับสนุนให้ กฟผ. หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายรับซื้อไฟฟ้า จากโครงการในสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ได้ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) แต่ละฝ่ายจะดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการผู้มีอำนาจในการเจรจา เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ของการรับซื้อไฟฟ้า ในบันทึกความเข้าใจฯ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเป็นผู้คัดเลือกผู้ลงทุนสำหรับแต่ละโครงการ โดยจะมีการเจรจาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับแต่ละโครงการที่มีความเป็นไปได้ กฟผ. จะต้องผนวกการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันในการวางแผน และก่อสร้างระบบสายส่งในระหว่างทั้งสองประเทศ และจะร่วมมือกันในการเจรจากับประเทศที่สาม เพื่อขออนุญาตให้การก่อสร้างระบบสายส่ง ซึ่งจำเป็นต้องพาดผ่านมายังประเทศไทยดำเนินการได้ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จะยินยอมให้ผู้ลงทุนไทย มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จะช่วยให้มีการกระจายแหล่งพลังงานมากขึ้น และยังเป็นการขยายโอกาสให้นักลงทุนไทย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้า ในสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย
เรื่องที่ 7 แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากภายนอกประเทศ1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2538 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2538-2554) และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำการศึกษาความเหมาะสมของสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดย กฟผ. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาชื่อ Electronic Data System Corporation ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมในการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการงดจ่ายไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน สัดส่วนการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกประเทศตามจำนวนประเทศเพื่อนบ้านที่รับซื้อ และเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ได้นำเสนอแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากผลการศึกษาดังกล่าว ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 เพื่อให้ กฟผ. ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. โดยมีแนวทางสรุปได้ดังนี้
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเดียว ไม่เกินร้อยละ 13 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจาก 2 ประเทศ ไม่เกินร้อยละ 25 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจาก 3 ประเทศ ไม่เกินร้อยละ 33 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจาก 4 ประเทศ ไม่เกินร้อยละ 38 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ทั้งนี้ในการรับซื้อไฟฟ้าจากหลายประเทศ จะต้องจำกัดให้การรับซื้อไฟฟ้า จากประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่เกินร้อยละ 13 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากภายนอกประเทศ ช่วยให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงพอ ต่อความต้องการ และมีระบบการผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงยิ่งขึ้น และยังช่วยให้มีการกระจายแหล่งพลังงานมากขึ้น โดยการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการพัฒนาและจัดหาพลังงาน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในการจัดหาพลังงานของประเทศ
เรื่องที่ 8 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(พ.ศ 2540-2554)
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฉบับ 97-01 (PDP 97-01) เพื่อให้ กฟผ. ใช้เป็นแผนลงทุนในการดำเนินงาน ของ กฟผ. ซึ่งแนวทางของแผนดังกล่าวได้จัดทำเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 แผนหลัก จัดทำภายใต้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีฐาน โดยมีข้อสมมติฐานว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และแนวทางที่ 2 กรณีศึกษา จัดทำภายใต้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำ โดยมีข้อสมมติฐานว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ 6.5 ต่อปี
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2540 การใช้ไฟฟ้าเป็นไปตามค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำ แต่หลังจากเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา การใช้ไฟฟ้าเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2540 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคชุดใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.9 ต่อปี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปรับแผนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ได้ปรับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดใหม่ คือชุดกรณีต่ำมาก เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าว ปรากฏว่าความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำมากในช่วงปี 2541-2554 จะต่ำกว่าชุดกรณีต่ำเฉลี่ยปีละ 1,546 เมกะวัตต์ ฉะนั้น หาก กฟผ. มิได้ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ชุดกรณีต่ำมากแล้ว จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของระบบมีมากเกินความจำเป็น โดยในบางปีจะสูงเกินกว่าร้อยละ 40 ดังนั้น สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฟผ. สศช. และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมพิจารณาปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับที่ 97-02 ให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์ความต้องการชุดกรณีต่ำมาก โดยแนวทางส่วนใหญ่จะเป็นการเลื่อนโครงการต่างๆ ของ กฟผ. ที่ยังมิได้ดำเนินการออกไป และปรับโครงการ SPP และ IPP เล็กน้อย ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญของการปรับแผนฯ ได้ดังนี้
เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี เครื่องที่ 3 และ 4 ออกไปจากแผนเดิม 3 ปี
เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 2 ออกไปจากแผนเดิม 2 ปี
สำหรับโครงการอื่นของ กฟผ. ให้เลื่อนตามการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำมาก
โครงการ SPP คาดว่าจะมีบางโครงการไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าตรงของ SPP จะลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จึงประเมินว่าการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP จะลดลงประมาณ 500 เมกะวัตต์ โครงการ IPP ที่ได้รับคัดเลือกแล้ว 7 ราย ให้เป็นไปตามแผนการรับซื้อเดิม แต่บางโครงการอาจเลื่อนไปจากเดิม 1-6 เดือน ส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP ในรอบใหม่จะเลื่อนออกไปจากเดิม 1 ปี (เป็นปี 2542)
โครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ให้เป็นไปตามแผนเดิม แต่เนื่องจากโครงการลิกไนต์หงสา และโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ยังมิได้ลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า จึงมีความไม่แน่นอน กฟผ. จึงได้จัดทำเป็นแผนกรณีศึกษาอีก 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 โครงการลิกไนต์หงสา เป็นไปตามข้อตกลง แต่โครงการน้ำงึม 2 และ น้ำงึม 3 ชะลอออกไปจากแผนเดิม 2 ปี
กรณีที่ 2 โครงการลิกไนต์หงสา และโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ชะลอออกไปจากแผนเดิม 2 ปี
ดังนั้น จึงเห็นควรให้ กฟผ. นำไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าชุดใหม่ ตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 9 การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า
1. ความเป็นมา
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด โดยใช้มาตรการทางด้านราคา เป็นมาตรการหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จัดทำรายละเอียดการปรับโครงสร้างราคาขายปลีกและขายส่ง นำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบแนวทางในการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกและขายส่ง โดยแนวทางดังกล่าวประกอบด้วย การแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากค่าไฟฟ้าอย่างชัดเจน การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) เป็นอัตราเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟในอัตรา TOD ในปัจจุบัน และการปรับปรุงสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าชดเชยรายได้ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อย่างชัดเจน โดยจะมีผลต่อค่าไฟฟ้าตั้งแต่การเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ประจำเดือนมกราคม 2540 เป็นต้นไป
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ผลการดำเนินการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าว ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ลดลงจากที่ประมาณการไว้ และส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของ กฟผ. โดยเฉพาะในปี 2539 อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน (Rate of Return-ROR) ของ กฟผ. ลดลงเหลือ 4.91% และจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่ถดถอยส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้รายได้ของการไฟฟ้าต่ำกว่าการประมาณการเดิมมาก คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ให้มีการปรับปรุงส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ของราคาขายส่งไฟฟ้าตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ใหม่
ต่อมา กฟผ. ได้ขอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าทบทวนส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ค่าไฟฟ้าขายส่งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอของ กฟผ. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2540 และวันที่ 1 กันยายน 2540 และได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปรับส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้า โดยให้พิจารณาจากฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และให้ใช้อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน (ROR) ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงปีงบประมาณ 2538-2539 ทั้งนี้จะไม่ปรับอัตราขายส่งแบบ TOU Rate ซึ่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้มีมติเห็นชอบการปรับส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2540 โดยให้เริ่มดำเนินการปรับราคาขายส่งไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป และให้ใช้ส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้าใหม่ไป จนกว่าจะมีการพิจารณาความต้องการรายได้ของการไฟฟ้าครั้งต่อไป ดังนี้
หน่วย : บาท/หน่วย
ม.ค.-มิ.ย.2540 ก.ค.2540-ปัจจุบัน
กฟผ. ขาย กฟน. 0.251 0.258
กฟผ. ขาย กฟภ. -0.146 -0.121
การปรับส่วนเพิ่มและส่วนลดราคาขายส่งไฟฟ้าดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ขายให้แก่ประชาชน แต่จะทำให้ กฟผ. มีรายได้สูงขึ้นตามที่ควรจะเป็น โดยรายได้ของ กฟน. และ กฟภ. จะลดลงจากการประมาณการการปรับปรุง โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าว จะช่วยให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น และช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราเลือก ที่เหมาะสมกับประเภทกิจการของตนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และทำให้มีการใช้ไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดยิ่งขึ้น
-ยังมีต่อ-
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/กองนโยบายและแผนพลังงาน--
ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านพลังงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539 | ตุลาคม 2540 เป็นเอกสารที่ได้รวบรวมผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างรัฐบาลที่มี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงรัฐบาลที่มี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ผลงานที่ได้รวบรวมขึ้นนี้ เป็นผลจากการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้นำมาสู่การกำหนดแนวทางและมาตรการทางด้านพลังงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป โดยแนวทางและมาตรการเหล่านี้ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีแล้วตามลำดับ
ในการนี้ กองนโยบายและแผนพลังงาน ใคร่ขอขอบคุณ กองการปิโตรเลียม กองการไฟฟ้า กองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ที่ให้ความร่วมมือทางด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยดี และกองนโยบายและแผนพลังงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย
เรื่องที่ 1การจัดหาก๊าซธรรมชาติ
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2535 มอบหมายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินการเร่งรัดการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติภายในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ ปตท. จัดทำแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาว นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยแผนการจัดหาก๊าซฯ ดังกล่าวควรมีการปรับปรุง ทุกระยะตามความเหมาะสม นอกจากนี้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ ปตท. ดำเนินการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมให้แก่ กฟผ. เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเตา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2540 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ให้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุน (สหภาพพม่า) แหล่งน้ำพอง (เพิ่มเติม) และแหล่งเบญจมาศ (ทานตะวันส่วนเพิ่ม) ของ ปตท. โดยมีรายละเอียดการดำเนินการรับซื้อก๊าซธรรมชาติในแต่ละแหล่ง ดังนี้
แหล่งเยตากุน (สหภาพพม่า) ตั้งอยู่ในแปลงสัมปทาน Block M-12, M-13 และ M-14 ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแปลงสัมปทาน M-5 และ M-6 ซึ่งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เป็นผู้ลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่งก๊าซฯ ร่วมกับบริษัทผู้รับสัมปทานอื่นๆ โดยมีปริมาณสำรองก๊าซฯ ในระดับ 1.14 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งสามารถเริ่มผลิตได้ในปี 2542 และคงอัตราการผลิตที่ระดับ 210 ล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นระยะเวลา 10 ปี โดย ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งเยตากุน กับสหภาพพม่า แล้วเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 ในปริมาณซื้อขายวันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต มีกำหนดส่งในต้นปี 2543 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี
แหล่งน้ำพอง (เพิ่มเติม) ตั้งอยู่ในแปลงสัมปทาน E-5 อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีบริษัท เอสโซ่ เอ็กโพลเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น โคราช อิงค์ และบริษัท ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทานในสัดส่วนร้อยละ 80 และ 20 ตามลำดับ โดย ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2533 เป็นต้นมา มีปริมาณซื้อขาย 65 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และต่อมาได้เพิ่มเป็น 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดย ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 กำหนดเริ่มส่งก๊าซฯ ในเดือนกรกฎาคม 2540
แหล่งเบญจมาศ (ทานตะวันส่วนเพิ่ม) ปตท. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฯ จากแหล่งทานตะวันในเดือนพฤศจิกายน 2538 กับกลุ่มผู้รับสัมปทานซึ่งประกอบด้วย บริษัท Thaipo Ltd., Thai Romo Ltd. และ Sophonpanich Co., Ltd. โดยเริ่มส่งก๊าซฯ ในเดือนมกราคม 2540 ในปริมาณวันละ 75 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อมาผู้รับสัมปทานแหล่งเบญจมาศ (ทานตะวันส่วนเพิ่ม) ในแหล่ง B8/32 ในบริเวณอ่าวไทย ประกอบด้วย บริษัท Maersk Oil (Thailand) Ltd., Thaipo Limited, Thai Romo Limited และ Palang Sophon Limited ได้เสนอเพิ่มปริมาณการจำหน่ายก๊าซฯ โดยจะเริ่มส่งก๊าซฯ ส่วนเพิ่มในปี 2542 เป็น 170 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเพิ่มเป็น 180 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2543
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการ
ปตท. ได้นำเสนอแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ พร้อมกับแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ฉบับที่ 2) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 และ 4 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับ
แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ได้มีการปรับแผนเพื่อให้สอดคล้องตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ที่มีความต้องการไฟฟ้าต่ำมาก โดยคาดว่าจะมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปี พ.ศ. 2541 จำนวน 1,678 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และเพิ่มเป็น 3,188 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2549 ส่วนแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการ นอกเหนือจากแหล่งก๊าซฯ ที่จัดทำสัญญาแล้ว ปตท. อยู่ระหว่างเจรจาซื้อก๊าซจากแหล่ง JDA หรือพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างประเทศไทย กับมาเลเซียในปริมาณ 550 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยจะเริ่มทยอยส่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และเจรจาซื้อก๊าซฯ จากแหล่งบงกช เพิ่มอีก 184 ล้าน-ลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี พ.ศ. 2545
สำหรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ จากประเทศอินโดนีเซีย และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากโอมาน จะต้องชะลอออกไปจากปี พ.ศ. 2546 เป็นปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง
เรื่องที่ 2 แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
1. ความเป็นมา
เนื่องจากการคาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 3,658 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี พ.ศ. 2548 ในขณะที่ระบบท่อก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถรับปริมาณก๊าซฯ ที่จะเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Pipeline Master Plan) ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2540-2548 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งประกอบด้วย โครงการ 12 โครงการ วงเงินลงทุน 78,052 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐต่อ 25 บาท) หรือ 112,394 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐต่อ 36 บาท) การดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้ระบบท่อส่งก๊าซฯ มีขีดความสามารถในการจัดส่งก๊าซฯ เพิ่มเติมจากระบบท่อเดิม ซึ่งมีขีดความสามารถ 1,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทำให้สามารถจัดส่งก๊าซได้ในช่วงระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ถึง 2548
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ชะลอตัวลง มีผลทำให้ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น เพื่อให้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. มีความสอดคล้องกับความต้องการใช้ก๊าซฯ และสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พ.ศ. 2540-2554 กรณีต่ำมาก (Very Low Case) ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในการปรับกรอบการลงทุน ของทั้งภาครัฐและเอกชนลง จึงควรให้มีการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ปตท. ได้ทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าว และได้จัดทำแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 2 ขึ้น และให้ สพช. พิจารณานำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พิจารณาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 2 ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 ตามที่ ปตท. เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุน ทางด้านการก่อสร้างระบบท่อและอุปกรณ์ต่างๆ โดยมีโครงการที่จะดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 จำนวน 12 โครงการ วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 78,078 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 36 บาท) ซึ่งสามารถลดการลงทุนได้เป็นจำนวนเงิน 34,316 ล้านบาท และให้ใช้แผนดังกล่าวเป็นกรอบ ของการพิจารณาในรายละเอียด ของโครงการในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 โดยไม่ต้องเสนอขอดำเนินการในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษและให้ ปตท. นำเสนอโครงการตามขั้นตอน ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 โดยมีรายชื่อโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ ดังนี้
(อัตราแลกเปลี่ยน US$ 1 = 36 บาท)
โครงการหลัก กำหนดแล้วเสร็จ เงินลงทุน
(ล้านบาท)
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งไพลิน ระยะที่ 1 2541 2,231
ระยะที่ 2 2542
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่ง JDA ไปเอราวัณ ปลายปี 2543 20,040
โครงการ Midline Compressor พร้อม Platform และท่อต่อ ปลายปี 2543 8,222
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ระยองไปบางปะกง ปลายปี 2543 9,331
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย กลางปี 2542 8,457
โครงการท่อส่งก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย ไปโรงจักรพระนครใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2543 2,832
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งเบญจมาศเชื่อมท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งทานตะวัน กลางปี 2542 487
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากท่อคู่ขนานไปโรงไฟฟ้าทับสะแก ปลายปี 2549 9,172
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่ง JDA ไปสงขลา ปลายปี 2543 5,729
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากสงขลาไปยะลา (ชายแดน ไทย-มาเลเซีย) ปลายปี 2543 2,830
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากโรงแยกก๊าซขนอมไปสุราษฎร์ธานี ปลายปี 2545 2,508
โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีไปโรงไฟฟ้ากระบี่ ปลายปี 2547 6,239
รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น 78,078
โครงการตามแผนแม่บทฯ ดังกล่าว จะช่วยให้ประเทศสามารถขยายกำลังการส่งก๊าซธรรมชาติ และเครือข่ายการบริการ เพื่อรองรับการจัดหาและการตลาด ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาวได้อย่างเพียงพอ และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ
เรื่องที่ 3 การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 อนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากบริษัท Oman LNG L.L.C. (OLNG) ในปริมาณ 1.7-2.2 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 25 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป ทั้งนี้เนื่องจาก LNG เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด มีราคาที่สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นได้ในการผลิตไฟฟ้า และเป็นการเพิ่มความมั่นคง ให้กับระบบก๊าซธรรมชาติของประเทศโดยรวม นอกจากนั้นโครงการ LNG จะเป็นเครื่องมือช่วยในการต่อรองราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในที่สุด
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ปตท. ได้มีการลงนามใน Heads of Agreement กับบริษัท OLNG แล้ว เพื่อนำเข้า LNG ในปริมาณ 1.7-2.2 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 25 ปี นับตั้งแต่ ปี 2546 เป็นต้นไป และต่อมา สพช. ได้ติดตามให้มีการเจรจาจัดทำสัญญาซื้อขาย LNG ระหว่าง ปตท. กับบริษัท OLNG แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2539 โดยจะมีปริมาณรับซื้อ 1 ล้านตัน ในปี 2546 และเพิ่มเป็น 1.8 และ 2 ล้านตันต่อปี ในปี 2547 และ 2548 ตามลำดับ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปี 2540 ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติชะลอลงด้วย จึงได้เลื่อนระยะเวลานำเข้า LNG เป็นตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป
ผลจากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ประเทศมีการกระจายแหล่งและชนิดของพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ ในการพัฒนาพลังงานขึ้นมาใช้ประโยชน์
เรื่องที่ 4 การรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า1. ความเป็นมา
จากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงได้มีนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพพม่า ได้มีการเจรจาเพื่อที่จะพัฒนาความร่วมมือ ในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และต่อมารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมวิเทศสหการ และกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนสหภาพพม่าในระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2540 เพื่อหารือด้านพลังงานและการผันน้ำ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (U Khin Maung Thein) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งสหภาพพม่า ผลการหารือได้นำมาสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง การรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. และกระทรวงพลังงานแห่งสหภาพพม่า ได้มีการเจรจาและพิจารณาในรายละเอียด ร่างบันทึกความเข้าใจในการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า และได้ตกลงให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2540 โดยมีสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจสรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยจะให้ความร่วมมือกับสหภาพพม่า โดยสนับสนุนให้ กฟผ. หรือหน่วยงานอื่นที่ได้ รับมอบหมายรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการในสหภาพพม่าให้ได้ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2553 รัฐบาลแห่งสหภาพพม่าจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ลงทุนในแต่ละโครงการ โดยจะมีการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับแต่ละโครงการที่มีความเป็นไปได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันในการวางแผนและก่อสร้างระบบสายส่งระหว่างทั้ง 2 ประเทศ รัฐบาลแห่งสหภาพพม่า จะยินยอมให้ผู้ลงทุนไทย มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ จะมีการเจรจาเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจอีกฉบับ ในเรื่องการผันน้ำให้แก่ประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว สพช. จึงได้เสนอให้ฝ่ายไทยและฝ่ายสหภาพพม่า พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เพื่อให้อำนาจแก่คณะกรรมการชุดนี้ในการเจรจา และตกลงรายละเอียดของโครงการ พร้อมกันนี้ได้มีกำหนดการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแห่งสหภาพพม่า (U Khein Maung Thein) และคณะมาเยือนไทยในเดือนพฤศจิกายน 2540 เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งกำหนดขั้นตอนการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้า จากสหภาพพม่าให้คืบหน้าต่อไป
ผลของการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความร่วมมือในการพัฒนาด้านพลังงาน และการขยายความร่วมมือในการรับซื้อไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ และมีระบบการผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงต่อไปในระยะยาว
เรื่องที่ 5 การเจรจารับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว1. ความเป็นมา
รัฐบาลไทย และรัฐบาล สปป.ลาว ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมมือกันพัฒนาไฟฟ้าให้ได้ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2543 เพื่อจำหน่ายให้กับประเทศไทย และต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่เพื่อใช้แทนฉบับเก่า โดยมีการขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว จาก 1,500 เมกะวัตต์ เป็น 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 โดยรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว (คปฟ.-ล.) เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานและประสานความร่วมมือกับ สปป.ลาว เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
โครงการที่จะพิจารณารับซื้อไฟฟ้า ภายใต้บันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาล สปป.ลาว จำนวน 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 ประกอบด้วยโครงการที่ สปป. ลาว เสนอมา 6 โครงการ มีกำลังผลิต 2,479 เมกะวัตต์ โดยมีความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ สรุปได้ดังนี้
โครงการที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว 2 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน-หินบุน ขนาดกำลังผลิต 210 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนเมษายน 2541 และโครงการห้วยเฮาะขนาดกำลังผลิต 126 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2542 โครงการที่ได้ตกลงราคาซื้อขายไฟฟ้าและมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำสัญญาจำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการลิกไนต์หงสา ขนาดกำลังผลิต 608 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2545 โครงการที่ได้ตกลงอัตราค่าไฟฟ้าแล้ว และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ การรับซื้อไฟฟ้าแล้วจำนวน 2 โครงการ เพื่อให้ กฟผ. นำไปลงนามกับกลุ่มผู้ลงทุนต่อไป ได้แก่ โครงการน้ำงึม 2 ขนาดกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์ และโครงการน้ำงึม 3 ขนาดกำลังผลิต 460 เมกะวัตต์ คาดว่าทั้งสองโครงการนี้จะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในวันที่ 1 มีนาคม 2546 โดยโครงการน้ำงึม 3 ได้มีการลงชื่อย่อเพื่อการผูกพันเบื้องต้น (Initial) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 และโครงการน้ำงึม 2 ได้มีการลง Initial เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2540 โครงการที่ยังไม่ได้เจรจา ได้แก่ โครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย ขนาดกำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์ จะดำเนินการเจรจาหลังจากการเจรจาโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 แล้วเสร็จ โครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งเคยตกลงอัตราค่าไฟฟ้าไปแล้วนั้น รัฐบาล สปป. ลาว ได้ขอระงับการเจรจาไว้ก่อน เนื่องจากโครงการยังมีความไม่แน่นอนสูง สืบเนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การดำเนินโครงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ตามเขตบริเวณชายแดนของไทยกับ สปป. ลาว จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ผลจากการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ดังกล่าว จะทำให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ และมีระบบการผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมืออันดีระหว่างทั้ง 2 ประเทศในการพัฒนาพลังงาน ขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 6 การรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน1. ความเป็นมา
ความร่วมมือในด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2536 โดยได้มีการลงนามในผลการประชุมร่วม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้ายูนนาน (Yunnan Provincial Electric Power Bureau : YPEPB) ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมเอกชนในการลงทุนพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในมณฑลยูนนาน เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2539 เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานในส่วนของรัฐบาลกลาง และมณฑลยูนนานได้มาเยือนประเทศไทย พร้อมแสดงความประสงค์ที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำจิงหง เพื่อจำหน่ายกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งให้แก่ประเทศไทย ซึ่ง กฟผ. ได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือ ในการศึกษาความเหมาะสมในเรื่องของระบบสายส่งเชื่อมโยง ระหว่างจิงหงกับประเทศไทย และจะพิจารณารับซื้อกระแสไฟฟ้าจากจิงหง หากโครงการมีความเหมาะสมทางเทคนิค และเป็นไปตามแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.
ต่อมา ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่ม APEC ที่ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ได้มีการหารือเรื่องการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อขยายความร่วมมือด้านพลังงานต่อ H.E. Mr. Ye Qing, Executive Vice Chairman, State Planning Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้มีความคืบหน้าในการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้า จากโครงการพลังน้ำจิงหง ซึ่งได้รับการตอบรับในเบื้องต้นแล้ว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม และ 4 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยจะให้ความร่วมมือโดยสนับสนุนให้ กฟผ. หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายรับซื้อไฟฟ้า จากโครงการในสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ได้ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) แต่ละฝ่ายจะดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการผู้มีอำนาจในการเจรจา เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ของการรับซื้อไฟฟ้า ในบันทึกความเข้าใจฯ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเป็นผู้คัดเลือกผู้ลงทุนสำหรับแต่ละโครงการ โดยจะมีการเจรจาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับแต่ละโครงการที่มีความเป็นไปได้ กฟผ. จะต้องผนวกการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันในการวางแผน และก่อสร้างระบบสายส่งในระหว่างทั้งสองประเทศ และจะร่วมมือกันในการเจรจากับประเทศที่สาม เพื่อขออนุญาตให้การก่อสร้างระบบสายส่ง ซึ่งจำเป็นต้องพาดผ่านมายังประเทศไทยดำเนินการได้ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จะยินยอมให้ผู้ลงทุนไทย มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จะช่วยให้มีการกระจายแหล่งพลังงานมากขึ้น และยังเป็นการขยายโอกาสให้นักลงทุนไทย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้า ในสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย
เรื่องที่ 7 แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากภายนอกประเทศ1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2538 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2538-2554) และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำการศึกษาความเหมาะสมของสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดย กฟผ. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาชื่อ Electronic Data System Corporation ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมในการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการงดจ่ายไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน สัดส่วนการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกประเทศตามจำนวนประเทศเพื่อนบ้านที่รับซื้อ และเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ได้นำเสนอแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากผลการศึกษาดังกล่าว ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 เพื่อให้ กฟผ. ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. โดยมีแนวทางสรุปได้ดังนี้
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเดียว ไม่เกินร้อยละ 13 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจาก 2 ประเทศ ไม่เกินร้อยละ 25 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจาก 3 ประเทศ ไม่เกินร้อยละ 33 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
- จำกัดการรับซื้อไฟฟ้าจาก 4 ประเทศ ไม่เกินร้อยละ 38 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ทั้งนี้ในการรับซื้อไฟฟ้าจากหลายประเทศ จะต้องจำกัดให้การรับซื้อไฟฟ้า จากประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่เกินร้อยละ 13 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากภายนอกประเทศ ช่วยให้ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงพอ ต่อความต้องการ และมีระบบการผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงยิ่งขึ้น และยังช่วยให้มีการกระจายแหล่งพลังงานมากขึ้น โดยการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการพัฒนาและจัดหาพลังงาน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในการจัดหาพลังงานของประเทศ
เรื่องที่ 8 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(พ.ศ 2540-2554)
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฉบับ 97-01 (PDP 97-01) เพื่อให้ กฟผ. ใช้เป็นแผนลงทุนในการดำเนินงาน ของ กฟผ. ซึ่งแนวทางของแผนดังกล่าวได้จัดทำเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 แผนหลัก จัดทำภายใต้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีฐาน โดยมีข้อสมมติฐานว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และแนวทางที่ 2 กรณีศึกษา จัดทำภายใต้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำ โดยมีข้อสมมติฐานว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ 6.5 ต่อปี
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2540 การใช้ไฟฟ้าเป็นไปตามค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำ แต่หลังจากเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา การใช้ไฟฟ้าเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2540 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคชุดใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนฯ 8 จะขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.9 ต่อปี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปรับแผนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ได้ปรับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดใหม่ คือชุดกรณีต่ำมาก เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าว ปรากฏว่าความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำมากในช่วงปี 2541-2554 จะต่ำกว่าชุดกรณีต่ำเฉลี่ยปีละ 1,546 เมกะวัตต์ ฉะนั้น หาก กฟผ. มิได้ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ชุดกรณีต่ำมากแล้ว จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของระบบมีมากเกินความจำเป็น โดยในบางปีจะสูงเกินกว่าร้อยละ 40 ดังนั้น สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฟผ. สศช. และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมพิจารณาปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับที่ 97-02 ให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์ความต้องการชุดกรณีต่ำมาก โดยแนวทางส่วนใหญ่จะเป็นการเลื่อนโครงการต่างๆ ของ กฟผ. ที่ยังมิได้ดำเนินการออกไป และปรับโครงการ SPP และ IPP เล็กน้อย ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญของการปรับแผนฯ ได้ดังนี้
เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี เครื่องที่ 3 และ 4 ออกไปจากแผนเดิม 3 ปี
เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 2 ออกไปจากแผนเดิม 2 ปี
สำหรับโครงการอื่นของ กฟผ. ให้เลื่อนตามการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าชุดกรณีต่ำมาก
โครงการ SPP คาดว่าจะมีบางโครงการไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าตรงของ SPP จะลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จึงประเมินว่าการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP จะลดลงประมาณ 500 เมกะวัตต์ โครงการ IPP ที่ได้รับคัดเลือกแล้ว 7 ราย ให้เป็นไปตามแผนการรับซื้อเดิม แต่บางโครงการอาจเลื่อนไปจากเดิม 1-6 เดือน ส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP ในรอบใหม่จะเลื่อนออกไปจากเดิม 1 ปี (เป็นปี 2542)
โครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ให้เป็นไปตามแผนเดิม แต่เนื่องจากโครงการลิกไนต์หงสา และโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ยังมิได้ลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า จึงมีความไม่แน่นอน กฟผ. จึงได้จัดทำเป็นแผนกรณีศึกษาอีก 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 โครงการลิกไนต์หงสา เป็นไปตามข้อตกลง แต่โครงการน้ำงึม 2 และ น้ำงึม 3 ชะลอออกไปจากแผนเดิม 2 ปี
กรณีที่ 2 โครงการลิกไนต์หงสา และโครงการน้ำงึม 2 และน้ำงึม 3 ชะลอออกไปจากแผนเดิม 2 ปี
ดังนั้น จึงเห็นควรให้ กฟผ. นำไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าชุดใหม่ ตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 9 การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า
1. ความเป็นมา
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด โดยใช้มาตรการทางด้านราคา เป็นมาตรการหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จัดทำรายละเอียดการปรับโครงสร้างราคาขายปลีกและขายส่ง นำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบแนวทางในการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกและขายส่ง โดยแนวทางดังกล่าวประกอบด้วย การแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากค่าไฟฟ้าอย่างชัดเจน การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) เป็นอัตราเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟในอัตรา TOD ในปัจจุบัน และการปรับปรุงสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าชดเชยรายได้ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อย่างชัดเจน โดยจะมีผลต่อค่าไฟฟ้าตั้งแต่การเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ประจำเดือนมกราคม 2540 เป็นต้นไป
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ผลการดำเนินการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าว ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ลดลงจากที่ประมาณการไว้ และส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของ กฟผ. โดยเฉพาะในปี 2539 อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน (Rate of Return-ROR) ของ กฟผ. ลดลงเหลือ 4.91% และจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่ถดถอยส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้รายได้ของการไฟฟ้าต่ำกว่าการประมาณการเดิมมาก คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ให้มีการปรับปรุงส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ของราคาขายส่งไฟฟ้าตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ใหม่
ต่อมา กฟผ. ได้ขอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าทบทวนส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ค่าไฟฟ้าขายส่งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอของ กฟผ. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2540 และวันที่ 1 กันยายน 2540 และได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปรับส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้า โดยให้พิจารณาจากฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และให้ใช้อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน (ROR) ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงปีงบประมาณ 2538-2539 ทั้งนี้จะไม่ปรับอัตราขายส่งแบบ TOU Rate ซึ่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้มีมติเห็นชอบการปรับส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2540 โดยให้เริ่มดำเนินการปรับราคาขายส่งไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป และให้ใช้ส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้าใหม่ไป จนกว่าจะมีการพิจารณาความต้องการรายได้ของการไฟฟ้าครั้งต่อไป ดังนี้
หน่วย : บาท/หน่วย
ม.ค.-มิ.ย.2540 ก.ค.2540-ปัจจุบัน
กฟผ. ขาย กฟน. 0.251 0.258
กฟผ. ขาย กฟภ. -0.146 -0.121
การปรับส่วนเพิ่มและส่วนลดราคาขายส่งไฟฟ้าดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ขายให้แก่ประชาชน แต่จะทำให้ กฟผ. มีรายได้สูงขึ้นตามที่ควรจะเป็น โดยรายได้ของ กฟน. และ กฟภ. จะลดลงจากการประมาณการการปรับปรุง โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าว จะช่วยให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น และช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราเลือก ที่เหมาะสมกับประเภทกิจการของตนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และทำให้มีการใช้ไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดยิ่งขึ้น
-ยังมีต่อ-
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/กองนโยบายและแผนพลังงาน--