แท็ก
กรมประมง
1. สถานการณ์การผลิต
ความคืบหน้าโครงการชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้ง
นายธำรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเพราะเลี้ยงกุ้งทะเลว่า ขณะนี้ โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะโครงการจัดระบบระบายน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล อ.ระโนต จ.สงขลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดใช้เป็นทางการ
ส่วนโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำเค็มปากพนัง เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไปแล้วร้อยละ 70
การเลี้ยงกุ้งจะประสบผลสำเร็จได้นั้น คุณภาพน้ำเป็นปัจจัยสำคัญมากทั้งนี้ โครงการชลประทานน้ำเค็มนอกจากจะได้น้ำที่มีคุณภาพในการเลี้ยงกุ้ง และสามารถป้องกันการระบาดของเชื้อโรคได้แล้วยังเป็นการป้องกันเกษตรกรไม่ให้ทำลายป่าชายเลนด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8-20 ส.ค. 40) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ที่จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,786.00 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,615.56 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,170.44 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 20.52 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 22.04 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 145.57 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 461.45 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.24 ตัน
2.สถานการณ์การตลาด
อาหารทะเลกระป๋องคาดปี 40 จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ รายงานการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปในช่วง 6 เดือน แรกของปี 2540 โดยคาดว่าจะส่งออกได้คิดเป็นมูลค่า 18,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12 สินค้าที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องอื่นๆ และผลิตภัณฑ์ทูน่า ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร
การส่งออกตลาดปี 2540 คาดว่าจะส่งออกได้คิดเป็น มูลค่า 42,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งส่งออกเป็นมูลค่า 40,460 ล้านบาท ร้อยละ 6.15
ปัญหาในการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะปลาทูน่า เนื่องจากปริมาณปลาที่จับได้ในทะเลลดลงทั่วโลก ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น สำหรับปัญหาการขาดแคลนกุ้งทะเล ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกุ้งกระป๋องเริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากมีการนำเข้ากุ้งทะเลจากอินเดียเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาความเข้มงวดในด้านมาตรการทางด้านคุณภาพและสุขอนามัยอยู่ในเกณฑ์เดียวกับปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ผลิตของไทยเริ่มมีการปรับตัวได้พอสมควร แต่ปัญหาสำคัญคือ สภาพคล่องทางการเงิน ทำให้การผลิตและการส่งออกไม่คล่องตัวเท่าที่ควร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจาก 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.75 บาท ลดลงจาก 35.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 ลดลง จาก 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ลดลงจาก 65.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 285.00 บาท สูงขึ้นจาก 254.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 31.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.00 บาท สูงขึ้นจาก 240.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.65 บาท สูงขึ้นจาก 19.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.83 บาท สูงขึ้นจาก 32.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจาก 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่นราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 25-31 ส.ค. 2540--
ความคืบหน้าโครงการชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้ง
นายธำรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเพราะเลี้ยงกุ้งทะเลว่า ขณะนี้ โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะโครงการจัดระบบระบายน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล อ.ระโนต จ.สงขลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดใช้เป็นทางการ
ส่วนโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำเค็มปากพนัง เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไปแล้วร้อยละ 70
การเลี้ยงกุ้งจะประสบผลสำเร็จได้นั้น คุณภาพน้ำเป็นปัจจัยสำคัญมากทั้งนี้ โครงการชลประทานน้ำเค็มนอกจากจะได้น้ำที่มีคุณภาพในการเลี้ยงกุ้ง และสามารถป้องกันการระบาดของเชื้อโรคได้แล้วยังเป็นการป้องกันเกษตรกรไม่ให้ทำลายป่าชายเลนด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8-20 ส.ค. 40) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ที่จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,786.00 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,615.56 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,170.44 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 20.52 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 22.04 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 145.57 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 461.45 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.24 ตัน
2.สถานการณ์การตลาด
อาหารทะเลกระป๋องคาดปี 40 จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ รายงานการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปในช่วง 6 เดือน แรกของปี 2540 โดยคาดว่าจะส่งออกได้คิดเป็นมูลค่า 18,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12 สินค้าที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องอื่นๆ และผลิตภัณฑ์ทูน่า ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร
การส่งออกตลาดปี 2540 คาดว่าจะส่งออกได้คิดเป็น มูลค่า 42,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งส่งออกเป็นมูลค่า 40,460 ล้านบาท ร้อยละ 6.15
ปัญหาในการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะปลาทูน่า เนื่องจากปริมาณปลาที่จับได้ในทะเลลดลงทั่วโลก ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น สำหรับปัญหาการขาดแคลนกุ้งทะเล ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกุ้งกระป๋องเริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากมีการนำเข้ากุ้งทะเลจากอินเดียเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาความเข้มงวดในด้านมาตรการทางด้านคุณภาพและสุขอนามัยอยู่ในเกณฑ์เดียวกับปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ผลิตของไทยเริ่มมีการปรับตัวได้พอสมควร แต่ปัญหาสำคัญคือ สภาพคล่องทางการเงิน ทำให้การผลิตและการส่งออกไม่คล่องตัวเท่าที่ควร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจาก 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.75 บาท ลดลงจาก 35.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 ลดลง จาก 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ลดลงจาก 65.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 285.00 บาท สูงขึ้นจาก 254.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 31.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.00 บาท สูงขึ้นจาก 240.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.65 บาท สูงขึ้นจาก 19.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.83 บาท สูงขึ้นจาก 32.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจาก 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่นราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 25-31 ส.ค. 2540--