ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,009 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 97.1 หรือ 610,492
บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการใช้ ร้อยละ 40 น้ำมันเตา ร้อยละ 21 น้ำมันเบนซิน
ร้อยละ 20 น้ำมันอากาศยานและก๊าซแอลพีจี มีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 9
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่ง
การตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33.9 จากปริมาณการจำหน่าย 1,021 ล้านลิตร (รวมปริมาณ
ที่จำหน่ายให้ กฟผ. 343 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 11.4 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ)
เชลล์เป็นอันดับที่ 2 ร้อยละ 14.6 จากปริมาณการจำหน่าย 439 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เอสโซ่
ร้อยละ 13.4 มีปริมาณการจำหน่าย 403 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 9.9 ปริมาณ 297 ล้าน
ลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 6.6 ปริมาณ 197 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณ
การจำหน่าย รวมกัน 651 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.7
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 1.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 1.3 โดยน้ำมันเตา
น้ำมันเบนซิน ก๊าซแอลพีจี ลดลงร้อยละ 11.3 0.9 และ 0.4 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันก๊าด เจ.พี.1 และ
ดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.3 6.9 และ ร้อยละ 3.0 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2540 วันละ 11.1 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 10.3
โดยน้ำมันเตาลดลงมากที่สุด ร้อยละ 16.8 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 12.7 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ
3.9 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 2.5 และเจ.พี.1 ร้อยละ 2.1
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมัน
ดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 749 ล้านลิตร หรือ วันละ 24.2 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 646 ล้านลิตร หรือ วันละ 20.9 ล้านลิตร โดยเป็น
การส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อน
และเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.6 และลดลง ร้อยละ 6.4 ตามลำดับ
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 27 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี
ญี่ปุ่น และ จีน
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 76 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
1. การผลิต
ปริมาณ 3,428 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.6 ล้านลิตร หรือ 695,521 บาเรล/วัน
โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 40 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 22 น้ำมันเตา ร้อยละ 20
ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9 และน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 การผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
และเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.3 และ 7.6
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,229 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.2 ล้านลิตร หรือ
655,246 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.7 ลดลง
จากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา วันละ 9.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.5 โดยในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมัน
ดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,613 ล้านลิตร เฉลี่ย 733,133 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 96 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,103 เมตริกตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 191 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 6.6 แต่ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2540 วันละ
529 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 14.6 โดยเป็นผลมาจากโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 3 และ ที่ 4 ของ ปตท.
ลดกำลังการผลิตลง
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต
ปริมาณ 11 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 355 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.3
2. การนำเข้า
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 3,735
ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120.5 ล้านลิตร หรือ 757,921 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 12,671
ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 37 ล้านลิตร มูลค่า 271 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,671 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118.4 ล้านลิตร หรือ
744,911 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 12,409 ล้านลิตร โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 3,097 12.74 84.4
ตะวันออกไกล 538 13.55 14.6
อื่น ๆ 36 12.56 1.0
รวม 3,671 12.85 100.0
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 16.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ
12.4 มูลค่าลดลง 3,763 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23.3
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 10.5 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 9.8
มูลค่าเพิ่มขึ้น 1,240 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.1
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 64 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 2.1 ล้านลิตร หรือ
13,010 บาเรล/วันมูลค่า 262 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 97 น้ำมัน
เบนซิน ร้อยละ 3 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์
- ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 11.0 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 84.2
มูลค่าลดลง 1,515 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 85.3
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 2.8 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 57.6 มูลค่า
ลดลง 299 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.3
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - สิงหาคม 2541
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 25,004 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.9
ล้านลิตร หรือ 647,227 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 13.4 ล้านลิตร หรือ
ร้อยละ 11.5
1.2 การส่งออก ปริมาณ 3,893 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 16.0 ล้านลิตร หรือ 100,769
บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 42 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 36 และ ก๊าซ
แอลพีจี ร้อยละ 16 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 3.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 25.6
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 28,685 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118.0
ล้านลิตร หรือ 742,508 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 11.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 8.9 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอย
ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 27,663 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.8 ล้านลิตร หรือ 716,044 บา
เรล/วัน ลดลงวันละ 4.6 หรือร้อยละ 3.8
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,022 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 4.2
ล้านลิตร หรือ 26,464 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบ
กับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงวันละ 7.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 62.6
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 27,463 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.0 ล้านลิตร หรือ
710,875 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 100,790 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ
82.3 ตะวันออกไกล ร้อยละ 16.1 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ปริมาณลดลงวันละ 5.5 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.6 มูลค่าการนำเข้าลดลง 1,113
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1.1
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,009 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 97.1 หรือ 610,492
บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการใช้ ร้อยละ 40 น้ำมันเตา ร้อยละ 21 น้ำมันเบนซิน
ร้อยละ 20 น้ำมันอากาศยานและก๊าซแอลพีจี มีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 9
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่ง
การตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33.9 จากปริมาณการจำหน่าย 1,021 ล้านลิตร (รวมปริมาณ
ที่จำหน่ายให้ กฟผ. 343 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 11.4 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ)
เชลล์เป็นอันดับที่ 2 ร้อยละ 14.6 จากปริมาณการจำหน่าย 439 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เอสโซ่
ร้อยละ 13.4 มีปริมาณการจำหน่าย 403 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 9.9 ปริมาณ 297 ล้าน
ลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 6.6 ปริมาณ 197 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณ
การจำหน่าย รวมกัน 651 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.7
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 1.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 1.3 โดยน้ำมันเตา
น้ำมันเบนซิน ก๊าซแอลพีจี ลดลงร้อยละ 11.3 0.9 และ 0.4 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันก๊าด เจ.พี.1 และ
ดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.3 6.9 และ ร้อยละ 3.0 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2540 วันละ 11.1 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 10.3
โดยน้ำมันเตาลดลงมากที่สุด ร้อยละ 16.8 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 12.7 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ
3.9 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 2.5 และเจ.พี.1 ร้อยละ 2.1
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมัน
ดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 749 ล้านลิตร หรือ วันละ 24.2 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 646 ล้านลิตร หรือ วันละ 20.9 ล้านลิตร โดยเป็น
การส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อน
และเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.6 และลดลง ร้อยละ 6.4 ตามลำดับ
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 27 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี
ญี่ปุ่น และ จีน
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 76 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
1. การผลิต
ปริมาณ 3,428 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.6 ล้านลิตร หรือ 695,521 บาเรล/วัน
โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 40 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 22 น้ำมันเตา ร้อยละ 20
ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9 และน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 การผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
และเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.3 และ 7.6
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,229 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.2 ล้านลิตร หรือ
655,246 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.7 ลดลง
จากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา วันละ 9.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.5 โดยในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมัน
ดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,613 ล้านลิตร เฉลี่ย 733,133 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 96 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,103 เมตริกตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 191 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 6.6 แต่ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2540 วันละ
529 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 14.6 โดยเป็นผลมาจากโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 3 และ ที่ 4 ของ ปตท.
ลดกำลังการผลิตลง
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต
ปริมาณ 11 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 355 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.3
2. การนำเข้า
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 3,735
ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120.5 ล้านลิตร หรือ 757,921 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 12,671
ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 37 ล้านลิตร มูลค่า 271 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,671 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118.4 ล้านลิตร หรือ
744,911 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 12,409 ล้านลิตร โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 3,097 12.74 84.4
ตะวันออกไกล 538 13.55 14.6
อื่น ๆ 36 12.56 1.0
รวม 3,671 12.85 100.0
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 16.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ
12.4 มูลค่าลดลง 3,763 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23.3
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 10.5 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 9.8
มูลค่าเพิ่มขึ้น 1,240 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.1
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 64 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 2.1 ล้านลิตร หรือ
13,010 บาเรล/วันมูลค่า 262 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 97 น้ำมัน
เบนซิน ร้อยละ 3 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์
- ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 11.0 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 84.2
มูลค่าลดลง 1,515 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 85.3
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 2.8 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 57.6 มูลค่า
ลดลง 299 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.3
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - สิงหาคม 2541
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 25,004 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.9
ล้านลิตร หรือ 647,227 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 13.4 ล้านลิตร หรือ
ร้อยละ 11.5
1.2 การส่งออก ปริมาณ 3,893 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 16.0 ล้านลิตร หรือ 100,769
บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 42 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 36 และ ก๊าซ
แอลพีจี ร้อยละ 16 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 3.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 25.6
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 28,685 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118.0
ล้านลิตร หรือ 742,508 บาเรล/วัน ลดลงวันละ 11.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 8.9 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอย
ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 27,663 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.8 ล้านลิตร หรือ 716,044 บา
เรล/วัน ลดลงวันละ 4.6 หรือร้อยละ 3.8
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,022 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 4.2
ล้านลิตร หรือ 26,464 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบ
กับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงวันละ 7.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 62.6
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 27,463 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.0 ล้านลิตร หรือ
710,875 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 100,790 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ
82.3 ตะวันออกไกล ร้อยละ 16.1 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ปริมาณลดลงวันละ 5.5 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.6 มูลค่าการนำเข้าลดลง 1,113
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1.1
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--