* สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของสหรัฐอเมริกา ต่อจากฉบับที่ 9/2540
3.2.9 มาตรการด้านสุขอนามัย
สหรัฐฯ มีระเบียบว่าด้วยการกักกันโรค ความปลอดภัย สุขภาพและอาหาร ซึ่งควบคุมโดยหน่วยราชการ
ที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานอาหารและยา (Food and Drug Administration - FDA) และกระทรวงเกษตร
(United State Department of Agriculture - USDA) สินค้าสำคัญ ได้แก่
1. ผักและผลไม้ ผักและผลไม้บางชนิด เช่น มะเขือเทศสด มะม่วง มะนาว ส้ม องุ่น พริกสด ฯลฯ
ต้องมีคุณลักษณะทางด้านเกรด ขนาด คุณภาพ และความสุก ตรงกับระเบียบของกระทรวงเกษตร จะมีการตรวจสอบ
โดยเจ้าหน้าที่จาก Food Safety and Quality Service ของกระทรวงเกษตรและออกใบรับรอง
นอกจากนั้นสินค้าดังกล่าวอาจต้องผ่านการตรวจโรคพืชตามกฎหมายว่าด้วยโรคพืช
(Plant Quarantine Act) และการควบคุมของสำนักงานอาหารและยา ตามกฎหมาย Food,
Drug and Cosmetic Act อีกด้วย
2. แมลงมีชีวิต อนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะแมลงที่ไม่ทำอันตรายต่อต้นไม้และพืชผัก การนำเข้าจะต้อง
ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตร และจะต้องไม่เป็นแมลงที่ต้องห้ามโดย U.S. Fish and Wildlife Service
สำหรับแมลง มีชีวิตที่ทำอันตรายต่อต้นไม้และพืชผักนั้น ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด
3. ปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง มีระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าปศุสัตว์ชนิดที่มีปีก เพื่อป้องกันโรคปากและ
เท้าเปื่อยการนำเข้าจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
4. เนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (เนื้อและผลิตภัณฑ์จาก วัว
แกะ หมู แพะ และม้า) เพื่อการค้าจะต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงเกษตร การนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
จะต้องได้รับการตรวจสอบจาก Animal and Plant Health Inspection Service และ Food Safety
and Inspection Service ของกระทรวงเกษตร ก่อนที่ศุลกากรจะตรวจปล่อย ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อื่น ๆ รวมทั้ง
สัตว์ป่าที่ได้จากการล่า จะต้องเป็นไปตามระเบียบในกฎหมาย Food Drug and Cosmetic Act ซึ่งควบคุม
โดยสำนักงานอาหารและยา
5. พืชและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก การนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชจะต้องเป็นไปตามระเบียบของ
กระทรวงเกษตร และพืชบางชนิดอาจจะเป็นของต้องห้าม หรือมีระเบียบเข้มงวด พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชที่เป็นผัก
และผลไม้ ต้นไม้ กล้าไม้ พืชชนิดหัว รากของพืช เมล็ดพืช ใยฝ้าย ไม้กวาด ดอกข้าวโพด ดอกไม้ อ้อย
ธัญพืชบางชนิด ไม้ elm จะต้องได้รับใบอนุญาตการนำเข้าจากกระทรวงเกษตรและจะต้องเป็นไปตามระเบียบ
ของสำนักงานอาหารและยาด้วย
6. สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก ไข่รวมทั้งที่ฟักเป็นตัวและผลิตภัณฑ์ไข่
จะต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงเกษตร จะต้องได้รับอนุญาต ประกอบกับต้องมีเครื่องหมายและฉลากเฉพาะ
ในบางกรณี อาจต้องการใบรับรองจากต่างประเทศ นอกจากนั้นจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่ควบคุมโดยสำนักงาน
อาหารและยาด้วย
7. เมล็ดพันธุ์ การนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชผักจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่ออกโดยอาศัยบทบัญญัติในรัฐบัญญัติ
Federal Seed Act of 1939 และระเบียบของ The Agricultural Marketing Service ของ
กระทรวงเกษตร
ผลกระทบต่อไทย
การใช้มาตรการว่าด้วยการกักกันโรค ความปลอดภัยและสุขภาพ มีผลกระทบต่อสินค้าไทยที่สำคัญ
คือ ผักและผลไม้สดไม่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ โดยสหรัฐฯ อ้างว่าไทยไม่สามารถจำกัดไข่แมลงวัน
(Fruit Fly) ได้
3.2.10 การแสดงเครื่องหมาย, การปิดฉลากและหีบห่อ
เครื่องหมายแสดงแหล่งกำเนิดกฎหมายศุลกากรของสหรัฐฯ กำหนดให้สินค้านำเข้าที่ผลิตในต่างประเทศ
จะต้องมีเครื่องหมายให้อ่านออกชัดเจน เป็นข้อความภาษาอังกฤษ ถึงแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นอย่างถาวร เพื่อให้
ผู้บริโภคคนสุดท้ายได้เห็นว่า สินค้านั้นผลิตที่ใด แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสินค้าบางอย่าง เช่น การนำเข้าเพื่อ
ใช้ส่วนตัวผู้นำเข้าเป็นต้น
การแสดงเครื่องหมายสำหรับสินค้าบางชนิด จะมีระเบียบพิเศษของหน่วยงานอื่น ๆ กำหนดอีกด้วย
ผู้ส่งออกควรจะติดต่อในรายละเอียดกับผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการผลิต
ส่งออกสินค้า
ตัวอย่างสินค้าที่จะต้องมีการแสดงเครื่องหมายเป็นพิเศษ นอกไปจาก กฎระเบียบทั่วไปของศุลกากร
เช่น เหล็กหล่อและเหล็กกล้า กรอบรูป ถังบรรจุแก๊สหุงต้ม ซึ่งจะต้องทำเครื่องหมายแสดงการผลิตว่า ผลิตใน
ประเทศใดโดยวิธีพิเศษ เช่น การหล่อให้มีตัวอักษรนูนขึ้นมา เป็นต้น
การปิดฉลากสินค้าประเภทอาหารจะต้องปิดฉลากระบุข้อความด้านคุณค่าของส่วนประกอบอาหารซึ่ง
จะมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และระบุปริมาณการบริโภคมาตรฐานด้วย นอกจากนั้นยังมีคำจำกัดความต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การระบุสารบางชนิดในอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจถูกต้อง
การหีบห่อสินค้าไม่มีระเบียบกำหนด แต่ผู้ส่งออกควรจะหีบห่อสินค้าเพื่อให้ขนส่งได้เรียบร้อย ไม่เสียหาย
ในระหว่างการขนส่ง และควรดำเนินการหีบห่อเพื่อให้ศุลกากรสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบน้ำหนักของสินค้า จำนวนสินค้า
ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อให้ผ่านวิธีการตรวจสอบของศุลกากรได้เร็วขึ้น
ผลกระทบต่อไทย
ผู้ส่งออกไทยจะต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบและควรจะติดต่อในรายละเอียดกับผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ถึง
ข้อกำหนดต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการผลิตส่งออกสินค้า เพื่อให้ผ่านวิธีการตรวจสอบของศุลกากรสหรัฐฯ และ
หลีกเลี่ยงการถูกปฎิเสธการนำเข้า
3.2.11 มาตรการสิ่งแวดล้อม (Environment)
สหรัฐฯ ได้พยายามที่จะนำเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาผูกพันกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน
มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ ที่มีผลกระทบต่อการค้าที่สำคัญ ได้แก่
1. Section 8 of the fishermen s Protection Act of 1967, as Amended
( Pelly Amendment ”) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังดำเนินการ
ออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าประมง ที่มีวิธีการจับปลาที่ก่อให้เกิดอันตราย และไม่ได้มาตรฐานการอนุรักษ์สัตว์ทะเล
ตามโครงการระหว่างประเทศ
ผลกระทบต่อไทย
ปัจจุบันได้มีการใช้อำนาจตามกฎหมายนี้ โดยการห้ามรับซื้อปลาแซลมอนจากไต้หวัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยอ้างการจับปลาแซลมอนของเรือประมงไต้หวันว่าขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการ ประมงในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ
(International Pacific Fisheries Countries - INPFC) ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบเพื่อ
อุตสาหกรรมปลาแซลมอนของไทย
2. Marine Mammal Protection Act of 1972, as Amended : MMPA และ
International Dolphin Conservation Act of 1992 สหรัฐฯ ได้ออกกฎหมาย MMPA มีวัตถุประสงค์
เพื่อที่จะห้ามนำเข้าปลาที่เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หรือการจับปลาชนิดอื่นที่มีผลข้างเคียงต่อปลา
ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ และกฎหมาย International Dolphin Conservation Act of
1992 เพื่อรองรับกฎหมาย MMPA ในการกำหนดวิธีการจับปลาทูน่าโดยตรง
ผลกระทบต่อไทย
ปัจจุบันได้มีการใช้อำนาจกฎหมายดังกล่าว ห้ามนำเข้าปลาทูน่าจากต่างประเทศที่จับปลาด้วยอวนล้อม
(Purse Seine Net) ซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาโลมาในเขตร้อนบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกต่อมาศาล
Federal District Court ที่ San Francisco ได้มีคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์
ปลาทูน่าจากประเทศที่สาม รวมทั้งประเทศไทย หากประเทศเหล่านั้นมิได้มีการระงับการนำเข้าปลาทูน่าจาก
ประเทศที่มีการจับปลาด้วยวิธีที่ไม่ได้มาตรฐานของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งมีผลให้ประเทศไทยต้องออกประกาศห้ามนำเข้า
ปลาทูน่าจากประเทศที่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลากระป๋องของไทยด้วย
3. การห้ามนำเข้ากุ้งทะเลตามกฎหมายอนุรักษ์เต่าทะเลของสหรัฐฯ กฎหมาย
PL 101-162 Section 609 สหรัฐฯ ห้ามนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์จากประเทศที่จับกุ้งด้วยวิธีการประมงที่ไม่ได้ใช้
เครื่องมือ Turtle Excluder Device (TED) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการคุ้มครองเต่าทะเล ยกเว้นประเทศ
ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกฎหมาย หรือโครงการคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่ากับของสหรัฐฯ ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 1 พฤษภาคม 1996
ผลกระทบต่อไทย
มาตรการดังกล่าว มีผลกระทบโดยตรงในการห้ามนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศไทย ซึ่งไทยออกประกาศ
กำหนดให้เรือประมงกุ้งของไทยใช้เครื่องมือแยกเต่าทะเลในการประมงกุ้ง และสหรัฐฯ ได้ลงนามในหนังสือรับรอง
ว่าประเทศไทยมีโครงการ หรือกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลให้ไทยได้รับอนุญาตให้ส่งกุ้ง
ทุกชนิด รวมทั้งกุ้งทะเลเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ตามปกติในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1996
นอกจากนี้ กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติของสหรัฐฯ เช่น สถาบัน Earth Island และ Greenpeace
ได้พยายามออกข่าวโจมตีการเพาะเลี้ยงกุ้ง หรือการทำฟาร์มกุ้ง โดยอ้างว่าเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และ
ป่าชายเลน (Mangrove) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ดังกล่าวด้วย
3.2.12 มาตรการคุ้มครองแรงงาน (Labor Issues)
สหรัฐฯ ได้พยายามนำเรื่องมาตรการคุ้มครองแรงงาน มาผูกพันกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน
สหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการคุ้มครองแรงงานเด็ก กดดันโดยฝ่ายเดียวผ่านทางเครื่องมือของสหรัฐฯ ในการให้สิทธิพิเศษ
ทางการค้า หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ แก่ ประเทศเหล่านั้น เช่น การนำเข้าปัญหาใช้แรงงานเด็กมาเป็นประเด็น
พิจารณาถอนการให้สิทธิ GSP แก่ประเทศปากีสถาน เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย
International Child Labor Elimination Act ” โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งให้ประเทศผู้ผลิตสินค้าที่เป็นแหล่ง
นำเข้าของสหรัฐฯ ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยสาระในกฎหมายนี้ เสนอให้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ จัดทำรายชื่อ
ประเทศที่ไม่มีกฎหมายแรงงานเด็กหรือมีกฎหมาย แต่ไม่มีการบังคับใช้ขึ้นมาเป็นรายปี พร้อมทั้งระบุถึงอุตสาหกรรม
ที่มีการใช้แรงงานเด็กในประเทศนั้น ๆ และจะห้ามการนำเข้าสินค้าจากอุตสาหกรรมเหล่านั้น ยกเว้นแต่อุตสาหกรรม
นั้นจะสามารถแสดงได้ว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งอุตสาหกรรมที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญ ได้แก่ สินค้าหมวดสิ่งทอ
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ของเด็กเล่น และเครื่องกีฬา
ผลกระทบต่อไทย
เนื่องจากการใช้สิทธิแรงงานแบบผิด ๆ มักปรากฎในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา สหรัฐฯ จึงอาจ
ที่จะดำเนินการกดดันโดยฝ่ายเดียว ผ่านเครื่องมือของสหรัฐฯ เองในการให้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือความ
ช่วยเหลืออื่น ๆ แก่ประเทศเหล่านั้น เช่น กรณีของประเทศไทย เรื่องที่ AFL-CIO
(American Federation of Labor and Congress of Industrial Organization) กล่าวหา
ว่าไทยละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งรวมอยู่ในการพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร GSP ในครั้งนี้ด้วย
3.3 นโยบาย และมาตรการการค้าบริการ
3.3.1 นโยบายการเปิดตลาดสินค้าบริการ
สหรัฐฯ ได้พยายามผลักดันให้ต่างประเทศเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ภายใต้ความตกลง
General Agreement on Trade in Services (GATS) ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่พอใจต่อผลของการเจรจาจาก
การเปิดเสรีของอุตสาหกรรมการเงิน (Financial Services) การโทรคมนาคมพื้นฐาน
(Basic Telecommunication) พาณิชย์นาวี (Maritime) และการบริการด้านโสตทรรศนะ (Audiovisual)
นโยบายของสหรัฐฯ ในปัจจุบันจึงพยายามดำเนินการเจรจาสองฝ่ายกับประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การเปิดการค้า
เสรีด้านการค้าบริการมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบต่อไทย
การที่สหรัฐฯ พยายามผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดเสรีกับการค้าบริการมากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศไทย
ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยจะต้องถูกผลักดันให้เปิดตลาด
ด้วยเช่นกัน และจะได้รับผลกระทบจากสินค้าของสหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาแข่งขันในประเทศไทยด้วย
สำหรับการที่สหรัฐฯ พยายามผลักดันให้ไทยเปิดเสรีการค้าบริการนั้นประเทศไทยควรดำเนินการ
เตรียมแนวทางปฎิบัติและลู่ทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากการเปิดเสรีการค้าบริการเพื่อเตรียมพร้อมในการ
ดำเนินการดังกล่าว ตามแรงผลักดันของสหรัฐฯ
3.3.2 มาตรการและข้อจำกัดด้านการค้าบริการ
การดำเนินการธุรกิจการค้าบริการบางสาขาในสหรัฐฯ มีกฎระเบียบข้อจำกัด และสิ่งกีดขวาง
การดำเนินการของชาวต่างชาติที่สำคัญ ดังนี้
1. การเงิน (Financial Services) ตามกฎหมายการจัดตั้งธนาคาร บริษัทต่างชาติจะถือหุ้นได้
100% แต่ในทางปฎิบัติก็มีกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนรายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องมากมาย
และการดำเนินการหรือเปิดสาขาธนาคารในแต่ละรัฐก็จะมีกฎข้อบังคับทั้งใน ระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
แตกต่างกันไปแต่ละรัฐ
นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจธนาคารในสหรัฐฯ ยังมีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับ
การประกันภัยได้ตามกฎหมาย Bank Holding Company Act
การขอใบอนุญาตดำเนินการธุรกิจการประกันภัยในรัฐต่าง ๆ จะแตกต่างกันไปตามกฎหมายของแต่ละรัฐ
และบางกรณีบริษัทต่างชาติจะไม่ได้รับการปฎิบัติเยี่ยงชาติ เช่น บางรัฐจะออกใบอนุญาตที่มีเวลาจำกัด และบางรัฐ
จะไม่ออกใบอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เป็นต้น
2. การบริการสาขาวิชาชีพ (Professional Services) การประกอบธุรกิจวิชาชีพ ต้องจดทะเบียน
ขออนุญาตจากรัฐแต่ละรัฐ ซึ่งกฎระเบียบ เงื่อนไขและคุณสมบัติ (Conditions and Qualifications)
จะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ และไม่มีกำหนดไว้ชัดเจนหรือไม่มีความโปร่งใส (Transparency)
3. การบริการสื่อสารมวลชน (Telecommunication) การลงทุนของบริษัทต่างชาติในธุรกิจการสื่อสาร
วิทยุ (Radio Communications) จะถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 20 ตามกฎหมาย Communications Act of
1934 มาตรา 301
4. การบิน (Air Transport Services) การลงทุนของบริษัทต่างชาติในธุรกิจการบินจะถือหุ้นได้
ไม่เกินร้อยละ 49 ตามกฎหมาย Federal Aviation Act of 1958 นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังให้การ
สนับสนุนธุรกิจการบินพาณิชย์ตามโครงการวิจัยหรือโครงการ พัฒนาอุตสาหกรรมการบิน โดยเงินงบประมาณของ
Department of Defense และ NASA เป็นต้น
ผลกระทบต่อไทย
โดยทั่วไป ข้อจำกัดเกี่ยวกับการค้าบริการของสหรัฐฯ ไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ
ในปัจจุบัน เนื่องจากข้อจำกัดข้างต้นมีต่ออุตสาหกรรมที่ไทยยังไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน
4. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
4.1 กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯ มีมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
โดยอาศัยกฎหมายที่สำคัญ ดังนี้
1. ลิขสิทธิ์ U.S. Copyright Act 1976 (United States Code, Title 17)
2. สิทธิบัตร U.S. Patent Act 1952 (United States Code, Title 35)
3. เครื่องหมายการค้า U.S. Trademark Act 1946 (United States Code,
Title 15, Chapter 22 and 63)
4.2 การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯ กำลังดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติ
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า
(TRIPs Agreement) ในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ลิขสิทธิ์และสิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่อง ประเด็นสำคัญที่จะแก้ไขมีดังนี้
- การให้ความคุ้มครองสิทธิในการเช่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(Rental Right in Computer Program)
- การให้ความคุ้มครองแก่การบันทึก โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสิ่งบันทึกเสียง (Sound Recording)
และแถบบันทึกเสียงและภาพการแสดงสด (Music Video of A Live Performance)
- การใช้ความคุ้มครองในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งสิ่งบันทึกเสียงและแถบบันทึกเสียงและ
ภาพการแสดงสด
- ขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้ครอบคลุมถึงงานที่มีอยู่แล้ว (Work Already in Existence)
2. สิทธิบัตร ประเด็นสำคัญที่จะแก้ไขมีดังนี้
- การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นในประเทศสมาชิก WTO นับแต่วันที่ทำการประดิษฐ์
(Time Date of Invention)
- แก้ไขนิยามของการละเมิดภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรเกี่ยวกับการเสนอขายและการนำเข้าซึ่งสินค้า
ที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองเพื่อให้มีการปฎิบัติเท่าเทียมกันสำหรับสินค้าที่นำเข้าและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
- ขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร
- ปรับปรุงระบบคำขอสิทธิบัตรเฉพาะกาล และสิทธิการนับวันยื่นคำขอย้อนหลังซ้ำ สำหรับคำขอสิทธิบัตร
ที่ได้ยื่นครั้งแรกในสหรัฐฯ และขยายระยะเวลาการคุ้มครองที่สูญเสียไป ให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรเนื่อง
จากเหตุ เพราะวิธีการพิจารณานับวันยื่นย้อนหลังการปกปิดเป็นความลับ และการอุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการอุทธรณ์สิทธิบัตร หรือ คณะกรรมการพิจารณาวันยื่นคำขอย้อนหลัง หรือ ศาล
3. เครื่องหมายการค้าและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประเด็นสำคัญที่จะแก้ไขคือ เรื่องเกี่ยวกับการละทิ้ง
เครื่องหมายการค้า การแสดงชื่อทางภูมิศาสตร์โดยเป็นเท็จ และการใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์กับสินค้าประเภทเหล้าไวน์
และสุรา
4.3 ข้อจำกัดเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ
ที่ยังเป็นอุปสรรค หรือไ่ม่เป็นธรรมต่อประเทศคู่ค้าของสหรัฐน ที่สำคัญ ได้แก่ การห้ามนำเข้าสินค้าที่ ละเมิดสิทธิบัตร
ของสหรัฐฯ โดยหน่วยงาน International Trade Commission จะเป็นผู้ดำเนินการข้างต้น ซึ่งจะไม่ครอบคลุม
ถึงสินค้าละเมิดสิทธิบัตรที่ผลิตภายในประเทศ จึงเป็นการขัดต่อหลักการปฎิบัติเยี่ยงชนชาติ (National Treatment)
4.4 การผลักดันการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ สหรัฐฯ พยายามดำเนินการเพื่อบีบบังคับ
ประเทศต่าง ๆ ให้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยใช้กฎหมายการค้า Omnibus Trade and
Competitiveness Act of 1988 ตามมาตรา 301 (Special) ที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ
ให้ดำเนินการตอบโต้ทางการค้าแก่ประเทศที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ อย่างพอเพียง
โดยใช้มาตรการข่มขู่ว่า จะใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า หากไม่ดำเนินการตามที่ทางสหรัฐฯ ประสงค์
ผลกระทบต่อไทย
ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในบัญชี Watch List โดยสหรัฐฯ อ้างว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทาง
ปัญญาของไทย ถึงแม้จะได้รับการปรับปรุงขึ้นบ้างก็ตาม แต่ยังเห็นว่าประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย
สิทธิบัตร และควรปรับปรุงการดำเนินการปราบปราม และลงโทษผู้ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. มาตรการด้านการลงทุน
โดยทั่วไปสหรัฐฯ เปิดเสรีต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทั้งนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสัดส่วนของ
การถือหุ้น ในสาขาที่สำคัญ เช่น สาขาการบิน โทรคมนาคม
นอกจากนี้ ยังมีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ โดยมีข้อจำกัดและต้องได้รับการพิจารณา
จากคณะกรรมาธิการลงทุนของต่างประเทศในสหรัฐฯ (Committee on Foreign Investment
in the United States) ว่าจะมีผลกระทบในด้านความมั่นคงของประเทศหรือไม่ เช่น การเงิน การบิน
การเดินเรือ และการบริการสื่อสารมวลชน เป็นต้น
นอกจากนั้น สหรัฐฯ ไม่มีข้อจำกัดทางด้านการลงทุนอย่างอื่น ที่มีผลกระทบต่อการค้า เช่น เรื่องของ
การใช้วัตถุดิบ หรือข้อจำกัดในการใช้สัดส่วนภายในประเทศ เป็นต้น
ผลกระทบต่อไทย
โดยทั่วไปไม่ปรากฎว่ามาตรการด้านการลงทุนของสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ
ระบบภาษีนำเข้า
1. สมาชิกสหภาพศุลกากร
สหรัฐฯ เป็นสมาชิก Customs Valuation Code ภายใต้ WTO และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการจัดเก็บภาษีขาเข้าทุกสินค้า ทุกประเภท ที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ คือ กรมศุลกากร
2. ระบบการจำแนกพิกัด
การจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรจะจำแนกประเภทสินค้า รายการสินค้า มูลค่าสินค้าและอัตราภาษี
ภายใต้ระบบ Harmonized System (H.S) โดยอัตราการเรียกเก็บภาษีขาเข้านั้น อาจขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดสินค้า
และตามประเภทของสินค้า
3. อัตราภาษีศุลกากรทั่วไป
อัตราภาษีนำเข้าทั่วไป (Most - Favored - Nation : MFN) เป็นภาษีนำเข้า ที่เรียกเก็บ
จากสินค้านำเข้าจากทุกประเทศโดยทั่วไป ซึ่งอัตราภาษีปัจจุบันอยู่ระหว่าง ร้อยละ 3-8 สินค้าบางชนิดภาษีสูงถึง
ร้อยละ 30-40 เช่น สิ่งทอ รองเท้า เป็นต้น
4. อัตราภาษีศุลกากรภายใต้ความสัมพันธ์การค้าพิเศษ อัตราภาษีนำเข้าภายใต้สิทธิประโยชน์พิเศษ
(Special) เป็นภาษีนำเข้าเรียกเก็บจากสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษ หรือภายใต้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน
ซึ่งโดยทั่วไปจะต่ำกว่าอัตรา MFN ที่สำคัญ ได้แก่
- การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (The Generalized System of Preferences : GSP)
อัตราภาษีเป็น 0 ขณะนี้มีประเทศกำลังพัฒนา ที่ได้รับสิทธิ GSP ประมาณ 140 ประเทศซึ่งรวมประเทศไทยด้วย
ครอบคลุมสินค้า 4,400 รายการ
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ - แคนาดา (The United Statres-
Canada Free Trade Agreement : FTA)
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (The North American Free Trade-Agreement :
NAFTA) ระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก (ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อรวมชิลีเข้าไปด้วย)
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในกลุ่มแคริบเบียน
(The Caribbean Basin Economic Recovery Expansion Act of 1990 : CBERA) ซึ่งประกอบไปด้วย
24 ประเทศ
- ข้อตกลง The Andean Trade Preferences Act (ATPA) ระหว่างสหรัฐฯ
กับประเทศในกลุ่ม Andean จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และเวเนซูเอลา
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับอิสราเอล (The United States Israel-
Trade Agreement)
- อัตราภาษีนำเข้าที่สูงกว่าปกติ เป็นอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ได้รับ
MFN ได้แก่ Afghanistan, Azerbaizan, Cuba, Kampuchea, Loas, Montenegro,
North Korea, Serbia, Tajikistkan, Uzbekistan and Vietnam
5. หลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินอากร การประเมินอากรประกอบด้วย การจำแนกพิกัดศุลกากร และการ
ประเมินค่าของสินค้า ดังนี้
การจำแนกพิกัดศุลกากร กรมศุลกากรจะพิจารณาว่า สินค้านั้นอยู่ภายใต้พิกัดอะไรตามระบบ
Harmonized System ถ้าหากว่ามีปัญหาในการตีความครอบคลุมได้มากกว่า 1 พิกัดก็จะกำหนดตามที่ได้บันทึกไว้
หรือที่กำหนดใน General Rule of Interpretation for the Tariff Schedule หรือยึดถือตามแบบปฎิบัติ
ที่มีมาก่อน หรือคดีกรณีที่เกิดจากการตัดสินของศาลการค้าระหว่างประเทศ หรือ
U.S. Court of Appeals for the Federal Circuit
การประเมินค่าของสินค้า (Valuation) ส่วนมากอัตราภาษีของสหรัฐฯ จะกำหนดไว้เป็นร้อยละ
ของมูลค่า (Ad Valorem) หรือตามสภาพ (Specific) ซึ่งหากเป็น Ad Valorem จะมีการประเมินค่าสินค้า
ตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ซึ่งหากมีปัญหาเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถที่จะใช้ข้อมูลต่าง ๆ มาพิจารณาประเมินค่า
ของสินค้าได้ตามหลักเกณฑ์การประเมินสินค้า ภายใต้ Customs Valuation Code ของ WTO
อัตราภาษีสินค้านำเข้าสำคัญจากไทย
HS DESCRIPTION TARIFF
847193 Computer Storage Units 0% - 3%
030613 Frozen Shrimp & Prawn FREE
854211 Integrated Circuits Digital Monolithic FREE
847192 Computer In/Output Units 0% - 3.0%
852110 Recording Apparatus Magnetic Tape 0% - 3.1%
711319 Jewelry with Precious Metal 0% - 7.0%
847199 Computer Other 0% - 3.0%
847330 Parts : ADP Machines 0% - 3.7%
852810 Color Television 0% - 5.0%
160520 Shrimps Prawns 0% - 9.0%
400121 Natural Rubber Smoked Sheets FREE
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน
U.S. EXPORTS BY COUNTRY
VALUE (MILLIONS US$) GROWTH (%) SHARE (%)
RANK NAME JAN. - DEC. JAN. - DEC. JAN. - DEC.
1993 1994 1995 1996 1996 93/94 94/95 95/96 1993 1994 1995 1996 1996
WORLD 465,090.97 512,626.48 584,742.01 583,030.52 622,827.06 10.22 14.07 6.83 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00
1 CANADA 100,433.70 114,438.52 127,226.08 126,024.13 132,583.90 13.93 11.17 5.21 21.60 22.32 21.76 21.62 21.29
2 JAPAN 47,891.49 53,487.71 64,342.61 64,297.85 67,535.53 11.69 20.29 5.04 10.30 10.43 11.00 11.03 10.84
3 MEXICO 41,581.08 50,843.48 46,292.07 46,311.45 56,760.82 22.28 -8.95 22.56 8.94 9.92 7.92 7.94 9.11
4 UNITED KINGDOM 26,438.25 26,899.52 28,856.52 28,826.89 30,916.00 1.74 7.28 7.25 5.68 5.25 4.93 4.94 4.96
5 SOUTH KOREA 14,782.01 18,025.35 25,379.87 25,413.20 26,583.12 21.94 40.80 4.60 3.18 3.52 4.34 4.36 4.27
6 GERMANY 18,932.20 19,229.01 22,394.25 22,376.43 23,473.94 1.57 16.46 4.90 4.07 3.75 3.83 3.84 3.77
7 TAIWAN 16,167.83 17,108.82 19,289.58 19,294.98 18,412.76 5.82 12.75 -4.57 3.48 3.34 3.30 3.31 2.96
8 SINGAPORE 11,677.99 13,019.90 15,333.20 15,318.18 16,685.49 11.49 17.77 8.93 2.51 2.54 2.62 2.63 2.68
9 NETHERLANDS 12,838.51 13,581.55 16,557.75 16,558.53 16,614.50 5.79 21.91 0.34 2.76 2.65 2.83 2.84 2.67
10 FRANCE 13,266.76 13,618.74 14,245.19 14,240.53 14,427.81 2.65 4.60 1.32 2.66 2.85 2.44 2.44 2.32
11 HONG KONG 9873.80 11,440.98 14,231.39 14,220.43 13,955.80 15.87 24.39 -1.86 2.12 2.23 2.43 2.44 2.24
12 BRAZIL 6,057.98 8,101.55 11,439.45 11,443.60 12,699.22 33.73 41.20 10.97 1.30 1.58 1.96 1.96 2.04
13 BELGIUM 8,878.44 10,939.33 12,465.51 12,459.15 12,519.85 23.21 13.95 0.49 1.91 2.13 2.13 2.14 2.01
14 AUSTRALIA 8,276.50 9,780.51 10,789.06 10,788.52 11,991.69 18.17 10.31 11.15 1.78 1.91 1.85 1.85 1.93
15 CHINA 8,762.83 9,281.76 11,753.60 11,748.45 11,977.92 5.92 26.63 1.95 1.88 1.81 2.01 2.02 1.92
16 ITALY 6,463.75 7,182.73 8,861.59 8,862.27 8,784.87 11.12 23.37 -0.87 1.39 1.40 1.52 1.52 1.41
17 MALAYSIA 6,064.39 6,969.05 8,816.13 8,818.40 8,521.25 14.92 26.50 -3.37 1.30 1.36 1.51 1.51 1.37
18 SWITZERLAND 6,806.47 5,624.02 6,227.46 6,240.79 8,370.49 -17.37 10.73 34.13 1.46 1.10 1.06 1.07 1.34
19 SAUDI ARABIA 6,661.21 6,013.37 6,154.90 6,084.97 7,295.27 -9.73 2.35 19.89 1.43 1.17 1.05 1.04 1.17
20 THAILAND 3,766.15 4,865.05 6,664.97 6,401.91 7,211.42 29.18 37.00 12.64 0.81 0.95 1.14 1.10 1.16
U.S. IMPORTS BY COUNTRY
VALUE (MILLIONS US$) GROWTH (%) SHARE (%)
RANK NAME JAN. - DEC. JAN. - DEC. JAN. - DEC.
1993 1994 1995 1996 1996 93/94 94/95 95/96 1993 1994 1995 1996 1996
WORLD 580,659.36 663,255.71 743,445.00 743,505.25 791,314.70 14.22 12.09 6.43 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00
1 CANADA 111,216.35 128,405.88 145,348.75 145,118.71 156,505.82 15.46 13.19 7.85 19.15 19.36 19.55 19.52 19.78
2 JAPAN 107,246.39 119,155.67 123,479.15 123,577.42 115,218.11 11.1 3.63 -6.76 18.47 17.97 16.61 16.62 14.56
3 MEXICO 39,917.43 49,493.76 61,684.58 61,705.00 72,963.19 23.99 24.63 18.25 6.87 7.46 8.30 8.30 9.22
4 CHINA 31,539.93 38,786.70 45,543.20 45,555.43 51,495.28 22.98 17.42 13.04 5.43 5.85 6.13 6.13 6.51
5 GERMANY 28,562.10 31,744.30 36,844.03 36,846.67 38,942.76 11.14 16.07 5.69 4.92 4.79 4.96 4.96 4.92
6 GERMANY 25,101.19 26,705.81 28,971.78 28,975.18 29,910.80 6.39 8.48 3.23 4.32 4.03 3.90 3.90 3.78
7 TAIWAN 21,730.13 25,057.45 26,897.76 26,891.18 28,892.39 15.31 7.34 7.44 3.74 3.78 3.62 3.62 3.65
8 SOUTH KOREA 17,118.02 19,629.26 24,183.94 24,183.68 22,667.05 14.67 23.20 -6.27 2.95 2.96 3.25 3.25 2.86
9 SINGAPORE 12,798.24 15,357.72 18,560.54 18,563.82 20,340.36 20.00 20.85 9.57 2.20 2.32 2.50 2.50 2.57
10 FRANCE 15,279.28 16,698.97 17,209.44 17,177.10 18,629.87 9.29 3.06 8.46 2.63 2.52 2.31 2.31 2.35
11 ITALY 13,215.63 14,802.18 13,648.30 16,497.63 18,222.30 12.01 10.45 10.45 2.28 2.23 2.20 2.22 2.30
12 MALAYSIA 10,563.00 13,981.67 17,452.77 17,484.01 17,824.66 32.36 24.83 1.96 1.82 2.11 2.35 2.35 2.25
13 VENEZUELA 8,139.84 8,371.27 9,720.78 9,710.80 12,902.61 2.84 16.12 32.87 1.40 1.26 1.31 1.31 1.63
14 THAILAND 6,541.52 10,305.80 11,348.08 11,350.67 11,336.00 20.66 10.11 -0.13 1.47 1.55 1.53 1.53 1.43
15 HONG KONG 9,551.42 9,695.59 10,291.21 10,293.94 9,867.47 1.48 6.14 -4.14 1.65 1.46 1.38 1.38 1.25
16 SAUDI ARABIA 7,707.84 7,687.98 8,829.91 8,232.51 8,781.15 -0.26 14.85 6.66 1.33 1.16 1.19 1.11 1.11
17 BRAZIL 7,478.75 5,682.56 8,237.04 8,815.47 8,761.63 16.1 -5.13 -0.61 1.29 1.31 1.11 1.19 1.11
18 INDONESIA 5,435.43 6,546.94 7,435.34 7,437.03 8,213.42 20.45 13.57 10.44 0.94 0.99 1.00 1.00 1.04
19 PHILIPPINES 4,893.61 5,719.97 7,006.51 7,006.50 8,162.29 16.87 22.51 16.50 0.84 0.86 0.94 0.94 1.03
20 SWITZERLAND 6,972.87 5,373.09 7,693.83 7,696.65 7,792.60 6.70 19.15 2.59 1.03 0.96 1.02 1.02 0.98
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10 / 31 พฤษภาคม 2540--
3.2.9 มาตรการด้านสุขอนามัย
สหรัฐฯ มีระเบียบว่าด้วยการกักกันโรค ความปลอดภัย สุขภาพและอาหาร ซึ่งควบคุมโดยหน่วยราชการ
ที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานอาหารและยา (Food and Drug Administration - FDA) และกระทรวงเกษตร
(United State Department of Agriculture - USDA) สินค้าสำคัญ ได้แก่
1. ผักและผลไม้ ผักและผลไม้บางชนิด เช่น มะเขือเทศสด มะม่วง มะนาว ส้ม องุ่น พริกสด ฯลฯ
ต้องมีคุณลักษณะทางด้านเกรด ขนาด คุณภาพ และความสุก ตรงกับระเบียบของกระทรวงเกษตร จะมีการตรวจสอบ
โดยเจ้าหน้าที่จาก Food Safety and Quality Service ของกระทรวงเกษตรและออกใบรับรอง
นอกจากนั้นสินค้าดังกล่าวอาจต้องผ่านการตรวจโรคพืชตามกฎหมายว่าด้วยโรคพืช
(Plant Quarantine Act) และการควบคุมของสำนักงานอาหารและยา ตามกฎหมาย Food,
Drug and Cosmetic Act อีกด้วย
2. แมลงมีชีวิต อนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะแมลงที่ไม่ทำอันตรายต่อต้นไม้และพืชผัก การนำเข้าจะต้อง
ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตร และจะต้องไม่เป็นแมลงที่ต้องห้ามโดย U.S. Fish and Wildlife Service
สำหรับแมลง มีชีวิตที่ทำอันตรายต่อต้นไม้และพืชผักนั้น ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด
3. ปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง มีระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าปศุสัตว์ชนิดที่มีปีก เพื่อป้องกันโรคปากและ
เท้าเปื่อยการนำเข้าจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
4. เนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (เนื้อและผลิตภัณฑ์จาก วัว
แกะ หมู แพะ และม้า) เพื่อการค้าจะต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงเกษตร การนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
จะต้องได้รับการตรวจสอบจาก Animal and Plant Health Inspection Service และ Food Safety
and Inspection Service ของกระทรวงเกษตร ก่อนที่ศุลกากรจะตรวจปล่อย ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อื่น ๆ รวมทั้ง
สัตว์ป่าที่ได้จากการล่า จะต้องเป็นไปตามระเบียบในกฎหมาย Food Drug and Cosmetic Act ซึ่งควบคุม
โดยสำนักงานอาหารและยา
5. พืชและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก การนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชจะต้องเป็นไปตามระเบียบของ
กระทรวงเกษตร และพืชบางชนิดอาจจะเป็นของต้องห้าม หรือมีระเบียบเข้มงวด พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชที่เป็นผัก
และผลไม้ ต้นไม้ กล้าไม้ พืชชนิดหัว รากของพืช เมล็ดพืช ใยฝ้าย ไม้กวาด ดอกข้าวโพด ดอกไม้ อ้อย
ธัญพืชบางชนิด ไม้ elm จะต้องได้รับใบอนุญาตการนำเข้าจากกระทรวงเกษตรและจะต้องเป็นไปตามระเบียบ
ของสำนักงานอาหารและยาด้วย
6. สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก ไข่รวมทั้งที่ฟักเป็นตัวและผลิตภัณฑ์ไข่
จะต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงเกษตร จะต้องได้รับอนุญาต ประกอบกับต้องมีเครื่องหมายและฉลากเฉพาะ
ในบางกรณี อาจต้องการใบรับรองจากต่างประเทศ นอกจากนั้นจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่ควบคุมโดยสำนักงาน
อาหารและยาด้วย
7. เมล็ดพันธุ์ การนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชผักจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่ออกโดยอาศัยบทบัญญัติในรัฐบัญญัติ
Federal Seed Act of 1939 และระเบียบของ The Agricultural Marketing Service ของ
กระทรวงเกษตร
ผลกระทบต่อไทย
การใช้มาตรการว่าด้วยการกักกันโรค ความปลอดภัยและสุขภาพ มีผลกระทบต่อสินค้าไทยที่สำคัญ
คือ ผักและผลไม้สดไม่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ โดยสหรัฐฯ อ้างว่าไทยไม่สามารถจำกัดไข่แมลงวัน
(Fruit Fly) ได้
3.2.10 การแสดงเครื่องหมาย, การปิดฉลากและหีบห่อ
เครื่องหมายแสดงแหล่งกำเนิดกฎหมายศุลกากรของสหรัฐฯ กำหนดให้สินค้านำเข้าที่ผลิตในต่างประเทศ
จะต้องมีเครื่องหมายให้อ่านออกชัดเจน เป็นข้อความภาษาอังกฤษ ถึงแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นอย่างถาวร เพื่อให้
ผู้บริโภคคนสุดท้ายได้เห็นว่า สินค้านั้นผลิตที่ใด แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสินค้าบางอย่าง เช่น การนำเข้าเพื่อ
ใช้ส่วนตัวผู้นำเข้าเป็นต้น
การแสดงเครื่องหมายสำหรับสินค้าบางชนิด จะมีระเบียบพิเศษของหน่วยงานอื่น ๆ กำหนดอีกด้วย
ผู้ส่งออกควรจะติดต่อในรายละเอียดกับผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการผลิต
ส่งออกสินค้า
ตัวอย่างสินค้าที่จะต้องมีการแสดงเครื่องหมายเป็นพิเศษ นอกไปจาก กฎระเบียบทั่วไปของศุลกากร
เช่น เหล็กหล่อและเหล็กกล้า กรอบรูป ถังบรรจุแก๊สหุงต้ม ซึ่งจะต้องทำเครื่องหมายแสดงการผลิตว่า ผลิตใน
ประเทศใดโดยวิธีพิเศษ เช่น การหล่อให้มีตัวอักษรนูนขึ้นมา เป็นต้น
การปิดฉลากสินค้าประเภทอาหารจะต้องปิดฉลากระบุข้อความด้านคุณค่าของส่วนประกอบอาหารซึ่ง
จะมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และระบุปริมาณการบริโภคมาตรฐานด้วย นอกจากนั้นยังมีคำจำกัดความต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การระบุสารบางชนิดในอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจถูกต้อง
การหีบห่อสินค้าไม่มีระเบียบกำหนด แต่ผู้ส่งออกควรจะหีบห่อสินค้าเพื่อให้ขนส่งได้เรียบร้อย ไม่เสียหาย
ในระหว่างการขนส่ง และควรดำเนินการหีบห่อเพื่อให้ศุลกากรสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบน้ำหนักของสินค้า จำนวนสินค้า
ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อให้ผ่านวิธีการตรวจสอบของศุลกากรได้เร็วขึ้น
ผลกระทบต่อไทย
ผู้ส่งออกไทยจะต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบและควรจะติดต่อในรายละเอียดกับผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ถึง
ข้อกำหนดต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการผลิตส่งออกสินค้า เพื่อให้ผ่านวิธีการตรวจสอบของศุลกากรสหรัฐฯ และ
หลีกเลี่ยงการถูกปฎิเสธการนำเข้า
3.2.11 มาตรการสิ่งแวดล้อม (Environment)
สหรัฐฯ ได้พยายามที่จะนำเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาผูกพันกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน
มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ ที่มีผลกระทบต่อการค้าที่สำคัญ ได้แก่
1. Section 8 of the fishermen s Protection Act of 1967, as Amended
( Pelly Amendment ”) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังดำเนินการ
ออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าประมง ที่มีวิธีการจับปลาที่ก่อให้เกิดอันตราย และไม่ได้มาตรฐานการอนุรักษ์สัตว์ทะเล
ตามโครงการระหว่างประเทศ
ผลกระทบต่อไทย
ปัจจุบันได้มีการใช้อำนาจตามกฎหมายนี้ โดยการห้ามรับซื้อปลาแซลมอนจากไต้หวัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยอ้างการจับปลาแซลมอนของเรือประมงไต้หวันว่าขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการ ประมงในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ
(International Pacific Fisheries Countries - INPFC) ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบเพื่อ
อุตสาหกรรมปลาแซลมอนของไทย
2. Marine Mammal Protection Act of 1972, as Amended : MMPA และ
International Dolphin Conservation Act of 1992 สหรัฐฯ ได้ออกกฎหมาย MMPA มีวัตถุประสงค์
เพื่อที่จะห้ามนำเข้าปลาที่เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หรือการจับปลาชนิดอื่นที่มีผลข้างเคียงต่อปลา
ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ และกฎหมาย International Dolphin Conservation Act of
1992 เพื่อรองรับกฎหมาย MMPA ในการกำหนดวิธีการจับปลาทูน่าโดยตรง
ผลกระทบต่อไทย
ปัจจุบันได้มีการใช้อำนาจกฎหมายดังกล่าว ห้ามนำเข้าปลาทูน่าจากต่างประเทศที่จับปลาด้วยอวนล้อม
(Purse Seine Net) ซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาโลมาในเขตร้อนบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกต่อมาศาล
Federal District Court ที่ San Francisco ได้มีคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์
ปลาทูน่าจากประเทศที่สาม รวมทั้งประเทศไทย หากประเทศเหล่านั้นมิได้มีการระงับการนำเข้าปลาทูน่าจาก
ประเทศที่มีการจับปลาด้วยวิธีที่ไม่ได้มาตรฐานของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งมีผลให้ประเทศไทยต้องออกประกาศห้ามนำเข้า
ปลาทูน่าจากประเทศที่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลากระป๋องของไทยด้วย
3. การห้ามนำเข้ากุ้งทะเลตามกฎหมายอนุรักษ์เต่าทะเลของสหรัฐฯ กฎหมาย
PL 101-162 Section 609 สหรัฐฯ ห้ามนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์จากประเทศที่จับกุ้งด้วยวิธีการประมงที่ไม่ได้ใช้
เครื่องมือ Turtle Excluder Device (TED) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการคุ้มครองเต่าทะเล ยกเว้นประเทศ
ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกฎหมาย หรือโครงการคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่ากับของสหรัฐฯ ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 1 พฤษภาคม 1996
ผลกระทบต่อไทย
มาตรการดังกล่าว มีผลกระทบโดยตรงในการห้ามนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศไทย ซึ่งไทยออกประกาศ
กำหนดให้เรือประมงกุ้งของไทยใช้เครื่องมือแยกเต่าทะเลในการประมงกุ้ง และสหรัฐฯ ได้ลงนามในหนังสือรับรอง
ว่าประเทศไทยมีโครงการ หรือกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลให้ไทยได้รับอนุญาตให้ส่งกุ้ง
ทุกชนิด รวมทั้งกุ้งทะเลเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ตามปกติในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1996
นอกจากนี้ กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติของสหรัฐฯ เช่น สถาบัน Earth Island และ Greenpeace
ได้พยายามออกข่าวโจมตีการเพาะเลี้ยงกุ้ง หรือการทำฟาร์มกุ้ง โดยอ้างว่าเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และ
ป่าชายเลน (Mangrove) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ดังกล่าวด้วย
3.2.12 มาตรการคุ้มครองแรงงาน (Labor Issues)
สหรัฐฯ ได้พยายามนำเรื่องมาตรการคุ้มครองแรงงาน มาผูกพันกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน
สหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการคุ้มครองแรงงานเด็ก กดดันโดยฝ่ายเดียวผ่านทางเครื่องมือของสหรัฐฯ ในการให้สิทธิพิเศษ
ทางการค้า หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ แก่ ประเทศเหล่านั้น เช่น การนำเข้าปัญหาใช้แรงงานเด็กมาเป็นประเด็น
พิจารณาถอนการให้สิทธิ GSP แก่ประเทศปากีสถาน เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย
International Child Labor Elimination Act ” โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งให้ประเทศผู้ผลิตสินค้าที่เป็นแหล่ง
นำเข้าของสหรัฐฯ ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยสาระในกฎหมายนี้ เสนอให้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ จัดทำรายชื่อ
ประเทศที่ไม่มีกฎหมายแรงงานเด็กหรือมีกฎหมาย แต่ไม่มีการบังคับใช้ขึ้นมาเป็นรายปี พร้อมทั้งระบุถึงอุตสาหกรรม
ที่มีการใช้แรงงานเด็กในประเทศนั้น ๆ และจะห้ามการนำเข้าสินค้าจากอุตสาหกรรมเหล่านั้น ยกเว้นแต่อุตสาหกรรม
นั้นจะสามารถแสดงได้ว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งอุตสาหกรรมที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญ ได้แก่ สินค้าหมวดสิ่งทอ
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ของเด็กเล่น และเครื่องกีฬา
ผลกระทบต่อไทย
เนื่องจากการใช้สิทธิแรงงานแบบผิด ๆ มักปรากฎในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา สหรัฐฯ จึงอาจ
ที่จะดำเนินการกดดันโดยฝ่ายเดียว ผ่านเครื่องมือของสหรัฐฯ เองในการให้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือความ
ช่วยเหลืออื่น ๆ แก่ประเทศเหล่านั้น เช่น กรณีของประเทศไทย เรื่องที่ AFL-CIO
(American Federation of Labor and Congress of Industrial Organization) กล่าวหา
ว่าไทยละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งรวมอยู่ในการพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร GSP ในครั้งนี้ด้วย
3.3 นโยบาย และมาตรการการค้าบริการ
3.3.1 นโยบายการเปิดตลาดสินค้าบริการ
สหรัฐฯ ได้พยายามผลักดันให้ต่างประเทศเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ภายใต้ความตกลง
General Agreement on Trade in Services (GATS) ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่พอใจต่อผลของการเจรจาจาก
การเปิดเสรีของอุตสาหกรรมการเงิน (Financial Services) การโทรคมนาคมพื้นฐาน
(Basic Telecommunication) พาณิชย์นาวี (Maritime) และการบริการด้านโสตทรรศนะ (Audiovisual)
นโยบายของสหรัฐฯ ในปัจจุบันจึงพยายามดำเนินการเจรจาสองฝ่ายกับประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การเปิดการค้า
เสรีด้านการค้าบริการมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบต่อไทย
การที่สหรัฐฯ พยายามผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดเสรีกับการค้าบริการมากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศไทย
ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยจะต้องถูกผลักดันให้เปิดตลาด
ด้วยเช่นกัน และจะได้รับผลกระทบจากสินค้าของสหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาแข่งขันในประเทศไทยด้วย
สำหรับการที่สหรัฐฯ พยายามผลักดันให้ไทยเปิดเสรีการค้าบริการนั้นประเทศไทยควรดำเนินการ
เตรียมแนวทางปฎิบัติและลู่ทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากการเปิดเสรีการค้าบริการเพื่อเตรียมพร้อมในการ
ดำเนินการดังกล่าว ตามแรงผลักดันของสหรัฐฯ
3.3.2 มาตรการและข้อจำกัดด้านการค้าบริการ
การดำเนินการธุรกิจการค้าบริการบางสาขาในสหรัฐฯ มีกฎระเบียบข้อจำกัด และสิ่งกีดขวาง
การดำเนินการของชาวต่างชาติที่สำคัญ ดังนี้
1. การเงิน (Financial Services) ตามกฎหมายการจัดตั้งธนาคาร บริษัทต่างชาติจะถือหุ้นได้
100% แต่ในทางปฎิบัติก็มีกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนรายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องมากมาย
และการดำเนินการหรือเปิดสาขาธนาคารในแต่ละรัฐก็จะมีกฎข้อบังคับทั้งใน ระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
แตกต่างกันไปแต่ละรัฐ
นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจธนาคารในสหรัฐฯ ยังมีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับ
การประกันภัยได้ตามกฎหมาย Bank Holding Company Act
การขอใบอนุญาตดำเนินการธุรกิจการประกันภัยในรัฐต่าง ๆ จะแตกต่างกันไปตามกฎหมายของแต่ละรัฐ
และบางกรณีบริษัทต่างชาติจะไม่ได้รับการปฎิบัติเยี่ยงชาติ เช่น บางรัฐจะออกใบอนุญาตที่มีเวลาจำกัด และบางรัฐ
จะไม่ออกใบอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เป็นต้น
2. การบริการสาขาวิชาชีพ (Professional Services) การประกอบธุรกิจวิชาชีพ ต้องจดทะเบียน
ขออนุญาตจากรัฐแต่ละรัฐ ซึ่งกฎระเบียบ เงื่อนไขและคุณสมบัติ (Conditions and Qualifications)
จะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ และไม่มีกำหนดไว้ชัดเจนหรือไม่มีความโปร่งใส (Transparency)
3. การบริการสื่อสารมวลชน (Telecommunication) การลงทุนของบริษัทต่างชาติในธุรกิจการสื่อสาร
วิทยุ (Radio Communications) จะถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 20 ตามกฎหมาย Communications Act of
1934 มาตรา 301
4. การบิน (Air Transport Services) การลงทุนของบริษัทต่างชาติในธุรกิจการบินจะถือหุ้นได้
ไม่เกินร้อยละ 49 ตามกฎหมาย Federal Aviation Act of 1958 นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังให้การ
สนับสนุนธุรกิจการบินพาณิชย์ตามโครงการวิจัยหรือโครงการ พัฒนาอุตสาหกรรมการบิน โดยเงินงบประมาณของ
Department of Defense และ NASA เป็นต้น
ผลกระทบต่อไทย
โดยทั่วไป ข้อจำกัดเกี่ยวกับการค้าบริการของสหรัฐฯ ไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ
ในปัจจุบัน เนื่องจากข้อจำกัดข้างต้นมีต่ออุตสาหกรรมที่ไทยยังไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน
4. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
4.1 กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯ มีมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
โดยอาศัยกฎหมายที่สำคัญ ดังนี้
1. ลิขสิทธิ์ U.S. Copyright Act 1976 (United States Code, Title 17)
2. สิทธิบัตร U.S. Patent Act 1952 (United States Code, Title 35)
3. เครื่องหมายการค้า U.S. Trademark Act 1946 (United States Code,
Title 15, Chapter 22 and 63)
4.2 การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯ กำลังดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติ
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า
(TRIPs Agreement) ในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ลิขสิทธิ์และสิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่อง ประเด็นสำคัญที่จะแก้ไขมีดังนี้
- การให้ความคุ้มครองสิทธิในการเช่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(Rental Right in Computer Program)
- การให้ความคุ้มครองแก่การบันทึก โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสิ่งบันทึกเสียง (Sound Recording)
และแถบบันทึกเสียงและภาพการแสดงสด (Music Video of A Live Performance)
- การใช้ความคุ้มครองในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งสิ่งบันทึกเสียงและแถบบันทึกเสียงและ
ภาพการแสดงสด
- ขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้ครอบคลุมถึงงานที่มีอยู่แล้ว (Work Already in Existence)
2. สิทธิบัตร ประเด็นสำคัญที่จะแก้ไขมีดังนี้
- การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นในประเทศสมาชิก WTO นับแต่วันที่ทำการประดิษฐ์
(Time Date of Invention)
- แก้ไขนิยามของการละเมิดภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรเกี่ยวกับการเสนอขายและการนำเข้าซึ่งสินค้า
ที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองเพื่อให้มีการปฎิบัติเท่าเทียมกันสำหรับสินค้าที่นำเข้าและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
- ขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร
- ปรับปรุงระบบคำขอสิทธิบัตรเฉพาะกาล และสิทธิการนับวันยื่นคำขอย้อนหลังซ้ำ สำหรับคำขอสิทธิบัตร
ที่ได้ยื่นครั้งแรกในสหรัฐฯ และขยายระยะเวลาการคุ้มครองที่สูญเสียไป ให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรเนื่อง
จากเหตุ เพราะวิธีการพิจารณานับวันยื่นย้อนหลังการปกปิดเป็นความลับ และการอุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการอุทธรณ์สิทธิบัตร หรือ คณะกรรมการพิจารณาวันยื่นคำขอย้อนหลัง หรือ ศาล
3. เครื่องหมายการค้าและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประเด็นสำคัญที่จะแก้ไขคือ เรื่องเกี่ยวกับการละทิ้ง
เครื่องหมายการค้า การแสดงชื่อทางภูมิศาสตร์โดยเป็นเท็จ และการใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์กับสินค้าประเภทเหล้าไวน์
และสุรา
4.3 ข้อจำกัดเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ
ที่ยังเป็นอุปสรรค หรือไ่ม่เป็นธรรมต่อประเทศคู่ค้าของสหรัฐน ที่สำคัญ ได้แก่ การห้ามนำเข้าสินค้าที่ ละเมิดสิทธิบัตร
ของสหรัฐฯ โดยหน่วยงาน International Trade Commission จะเป็นผู้ดำเนินการข้างต้น ซึ่งจะไม่ครอบคลุม
ถึงสินค้าละเมิดสิทธิบัตรที่ผลิตภายในประเทศ จึงเป็นการขัดต่อหลักการปฎิบัติเยี่ยงชนชาติ (National Treatment)
4.4 การผลักดันการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ สหรัฐฯ พยายามดำเนินการเพื่อบีบบังคับ
ประเทศต่าง ๆ ให้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยใช้กฎหมายการค้า Omnibus Trade and
Competitiveness Act of 1988 ตามมาตรา 301 (Special) ที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ
ให้ดำเนินการตอบโต้ทางการค้าแก่ประเทศที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ อย่างพอเพียง
โดยใช้มาตรการข่มขู่ว่า จะใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า หากไม่ดำเนินการตามที่ทางสหรัฐฯ ประสงค์
ผลกระทบต่อไทย
ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในบัญชี Watch List โดยสหรัฐฯ อ้างว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทาง
ปัญญาของไทย ถึงแม้จะได้รับการปรับปรุงขึ้นบ้างก็ตาม แต่ยังเห็นว่าประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย
สิทธิบัตร และควรปรับปรุงการดำเนินการปราบปราม และลงโทษผู้ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. มาตรการด้านการลงทุน
โดยทั่วไปสหรัฐฯ เปิดเสรีต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทั้งนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสัดส่วนของ
การถือหุ้น ในสาขาที่สำคัญ เช่น สาขาการบิน โทรคมนาคม
นอกจากนี้ ยังมีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ โดยมีข้อจำกัดและต้องได้รับการพิจารณา
จากคณะกรรมาธิการลงทุนของต่างประเทศในสหรัฐฯ (Committee on Foreign Investment
in the United States) ว่าจะมีผลกระทบในด้านความมั่นคงของประเทศหรือไม่ เช่น การเงิน การบิน
การเดินเรือ และการบริการสื่อสารมวลชน เป็นต้น
นอกจากนั้น สหรัฐฯ ไม่มีข้อจำกัดทางด้านการลงทุนอย่างอื่น ที่มีผลกระทบต่อการค้า เช่น เรื่องของ
การใช้วัตถุดิบ หรือข้อจำกัดในการใช้สัดส่วนภายในประเทศ เป็นต้น
ผลกระทบต่อไทย
โดยทั่วไปไม่ปรากฎว่ามาตรการด้านการลงทุนของสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ
ระบบภาษีนำเข้า
1. สมาชิกสหภาพศุลกากร
สหรัฐฯ เป็นสมาชิก Customs Valuation Code ภายใต้ WTO และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการจัดเก็บภาษีขาเข้าทุกสินค้า ทุกประเภท ที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ คือ กรมศุลกากร
2. ระบบการจำแนกพิกัด
การจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรจะจำแนกประเภทสินค้า รายการสินค้า มูลค่าสินค้าและอัตราภาษี
ภายใต้ระบบ Harmonized System (H.S) โดยอัตราการเรียกเก็บภาษีขาเข้านั้น อาจขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดสินค้า
และตามประเภทของสินค้า
3. อัตราภาษีศุลกากรทั่วไป
อัตราภาษีนำเข้าทั่วไป (Most - Favored - Nation : MFN) เป็นภาษีนำเข้า ที่เรียกเก็บ
จากสินค้านำเข้าจากทุกประเทศโดยทั่วไป ซึ่งอัตราภาษีปัจจุบันอยู่ระหว่าง ร้อยละ 3-8 สินค้าบางชนิดภาษีสูงถึง
ร้อยละ 30-40 เช่น สิ่งทอ รองเท้า เป็นต้น
4. อัตราภาษีศุลกากรภายใต้ความสัมพันธ์การค้าพิเศษ อัตราภาษีนำเข้าภายใต้สิทธิประโยชน์พิเศษ
(Special) เป็นภาษีนำเข้าเรียกเก็บจากสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษ หรือภายใต้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน
ซึ่งโดยทั่วไปจะต่ำกว่าอัตรา MFN ที่สำคัญ ได้แก่
- การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (The Generalized System of Preferences : GSP)
อัตราภาษีเป็น 0 ขณะนี้มีประเทศกำลังพัฒนา ที่ได้รับสิทธิ GSP ประมาณ 140 ประเทศซึ่งรวมประเทศไทยด้วย
ครอบคลุมสินค้า 4,400 รายการ
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ - แคนาดา (The United Statres-
Canada Free Trade Agreement : FTA)
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (The North American Free Trade-Agreement :
NAFTA) ระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก (ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อรวมชิลีเข้าไปด้วย)
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในกลุ่มแคริบเบียน
(The Caribbean Basin Economic Recovery Expansion Act of 1990 : CBERA) ซึ่งประกอบไปด้วย
24 ประเทศ
- ข้อตกลง The Andean Trade Preferences Act (ATPA) ระหว่างสหรัฐฯ
กับประเทศในกลุ่ม Andean จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และเวเนซูเอลา
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับอิสราเอล (The United States Israel-
Trade Agreement)
- อัตราภาษีนำเข้าที่สูงกว่าปกติ เป็นอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ได้รับ
MFN ได้แก่ Afghanistan, Azerbaizan, Cuba, Kampuchea, Loas, Montenegro,
North Korea, Serbia, Tajikistkan, Uzbekistan and Vietnam
5. หลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินอากร การประเมินอากรประกอบด้วย การจำแนกพิกัดศุลกากร และการ
ประเมินค่าของสินค้า ดังนี้
การจำแนกพิกัดศุลกากร กรมศุลกากรจะพิจารณาว่า สินค้านั้นอยู่ภายใต้พิกัดอะไรตามระบบ
Harmonized System ถ้าหากว่ามีปัญหาในการตีความครอบคลุมได้มากกว่า 1 พิกัดก็จะกำหนดตามที่ได้บันทึกไว้
หรือที่กำหนดใน General Rule of Interpretation for the Tariff Schedule หรือยึดถือตามแบบปฎิบัติ
ที่มีมาก่อน หรือคดีกรณีที่เกิดจากการตัดสินของศาลการค้าระหว่างประเทศ หรือ
U.S. Court of Appeals for the Federal Circuit
การประเมินค่าของสินค้า (Valuation) ส่วนมากอัตราภาษีของสหรัฐฯ จะกำหนดไว้เป็นร้อยละ
ของมูลค่า (Ad Valorem) หรือตามสภาพ (Specific) ซึ่งหากเป็น Ad Valorem จะมีการประเมินค่าสินค้า
ตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ซึ่งหากมีปัญหาเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถที่จะใช้ข้อมูลต่าง ๆ มาพิจารณาประเมินค่า
ของสินค้าได้ตามหลักเกณฑ์การประเมินสินค้า ภายใต้ Customs Valuation Code ของ WTO
อัตราภาษีสินค้านำเข้าสำคัญจากไทย
HS DESCRIPTION TARIFF
847193 Computer Storage Units 0% - 3%
030613 Frozen Shrimp & Prawn FREE
854211 Integrated Circuits Digital Monolithic FREE
847192 Computer In/Output Units 0% - 3.0%
852110 Recording Apparatus Magnetic Tape 0% - 3.1%
711319 Jewelry with Precious Metal 0% - 7.0%
847199 Computer Other 0% - 3.0%
847330 Parts : ADP Machines 0% - 3.7%
852810 Color Television 0% - 5.0%
160520 Shrimps Prawns 0% - 9.0%
400121 Natural Rubber Smoked Sheets FREE
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน
U.S. EXPORTS BY COUNTRY
VALUE (MILLIONS US$) GROWTH (%) SHARE (%)
RANK NAME JAN. - DEC. JAN. - DEC. JAN. - DEC.
1993 1994 1995 1996 1996 93/94 94/95 95/96 1993 1994 1995 1996 1996
WORLD 465,090.97 512,626.48 584,742.01 583,030.52 622,827.06 10.22 14.07 6.83 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00
1 CANADA 100,433.70 114,438.52 127,226.08 126,024.13 132,583.90 13.93 11.17 5.21 21.60 22.32 21.76 21.62 21.29
2 JAPAN 47,891.49 53,487.71 64,342.61 64,297.85 67,535.53 11.69 20.29 5.04 10.30 10.43 11.00 11.03 10.84
3 MEXICO 41,581.08 50,843.48 46,292.07 46,311.45 56,760.82 22.28 -8.95 22.56 8.94 9.92 7.92 7.94 9.11
4 UNITED KINGDOM 26,438.25 26,899.52 28,856.52 28,826.89 30,916.00 1.74 7.28 7.25 5.68 5.25 4.93 4.94 4.96
5 SOUTH KOREA 14,782.01 18,025.35 25,379.87 25,413.20 26,583.12 21.94 40.80 4.60 3.18 3.52 4.34 4.36 4.27
6 GERMANY 18,932.20 19,229.01 22,394.25 22,376.43 23,473.94 1.57 16.46 4.90 4.07 3.75 3.83 3.84 3.77
7 TAIWAN 16,167.83 17,108.82 19,289.58 19,294.98 18,412.76 5.82 12.75 -4.57 3.48 3.34 3.30 3.31 2.96
8 SINGAPORE 11,677.99 13,019.90 15,333.20 15,318.18 16,685.49 11.49 17.77 8.93 2.51 2.54 2.62 2.63 2.68
9 NETHERLANDS 12,838.51 13,581.55 16,557.75 16,558.53 16,614.50 5.79 21.91 0.34 2.76 2.65 2.83 2.84 2.67
10 FRANCE 13,266.76 13,618.74 14,245.19 14,240.53 14,427.81 2.65 4.60 1.32 2.66 2.85 2.44 2.44 2.32
11 HONG KONG 9873.80 11,440.98 14,231.39 14,220.43 13,955.80 15.87 24.39 -1.86 2.12 2.23 2.43 2.44 2.24
12 BRAZIL 6,057.98 8,101.55 11,439.45 11,443.60 12,699.22 33.73 41.20 10.97 1.30 1.58 1.96 1.96 2.04
13 BELGIUM 8,878.44 10,939.33 12,465.51 12,459.15 12,519.85 23.21 13.95 0.49 1.91 2.13 2.13 2.14 2.01
14 AUSTRALIA 8,276.50 9,780.51 10,789.06 10,788.52 11,991.69 18.17 10.31 11.15 1.78 1.91 1.85 1.85 1.93
15 CHINA 8,762.83 9,281.76 11,753.60 11,748.45 11,977.92 5.92 26.63 1.95 1.88 1.81 2.01 2.02 1.92
16 ITALY 6,463.75 7,182.73 8,861.59 8,862.27 8,784.87 11.12 23.37 -0.87 1.39 1.40 1.52 1.52 1.41
17 MALAYSIA 6,064.39 6,969.05 8,816.13 8,818.40 8,521.25 14.92 26.50 -3.37 1.30 1.36 1.51 1.51 1.37
18 SWITZERLAND 6,806.47 5,624.02 6,227.46 6,240.79 8,370.49 -17.37 10.73 34.13 1.46 1.10 1.06 1.07 1.34
19 SAUDI ARABIA 6,661.21 6,013.37 6,154.90 6,084.97 7,295.27 -9.73 2.35 19.89 1.43 1.17 1.05 1.04 1.17
20 THAILAND 3,766.15 4,865.05 6,664.97 6,401.91 7,211.42 29.18 37.00 12.64 0.81 0.95 1.14 1.10 1.16
U.S. IMPORTS BY COUNTRY
VALUE (MILLIONS US$) GROWTH (%) SHARE (%)
RANK NAME JAN. - DEC. JAN. - DEC. JAN. - DEC.
1993 1994 1995 1996 1996 93/94 94/95 95/96 1993 1994 1995 1996 1996
WORLD 580,659.36 663,255.71 743,445.00 743,505.25 791,314.70 14.22 12.09 6.43 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00
1 CANADA 111,216.35 128,405.88 145,348.75 145,118.71 156,505.82 15.46 13.19 7.85 19.15 19.36 19.55 19.52 19.78
2 JAPAN 107,246.39 119,155.67 123,479.15 123,577.42 115,218.11 11.1 3.63 -6.76 18.47 17.97 16.61 16.62 14.56
3 MEXICO 39,917.43 49,493.76 61,684.58 61,705.00 72,963.19 23.99 24.63 18.25 6.87 7.46 8.30 8.30 9.22
4 CHINA 31,539.93 38,786.70 45,543.20 45,555.43 51,495.28 22.98 17.42 13.04 5.43 5.85 6.13 6.13 6.51
5 GERMANY 28,562.10 31,744.30 36,844.03 36,846.67 38,942.76 11.14 16.07 5.69 4.92 4.79 4.96 4.96 4.92
6 GERMANY 25,101.19 26,705.81 28,971.78 28,975.18 29,910.80 6.39 8.48 3.23 4.32 4.03 3.90 3.90 3.78
7 TAIWAN 21,730.13 25,057.45 26,897.76 26,891.18 28,892.39 15.31 7.34 7.44 3.74 3.78 3.62 3.62 3.65
8 SOUTH KOREA 17,118.02 19,629.26 24,183.94 24,183.68 22,667.05 14.67 23.20 -6.27 2.95 2.96 3.25 3.25 2.86
9 SINGAPORE 12,798.24 15,357.72 18,560.54 18,563.82 20,340.36 20.00 20.85 9.57 2.20 2.32 2.50 2.50 2.57
10 FRANCE 15,279.28 16,698.97 17,209.44 17,177.10 18,629.87 9.29 3.06 8.46 2.63 2.52 2.31 2.31 2.35
11 ITALY 13,215.63 14,802.18 13,648.30 16,497.63 18,222.30 12.01 10.45 10.45 2.28 2.23 2.20 2.22 2.30
12 MALAYSIA 10,563.00 13,981.67 17,452.77 17,484.01 17,824.66 32.36 24.83 1.96 1.82 2.11 2.35 2.35 2.25
13 VENEZUELA 8,139.84 8,371.27 9,720.78 9,710.80 12,902.61 2.84 16.12 32.87 1.40 1.26 1.31 1.31 1.63
14 THAILAND 6,541.52 10,305.80 11,348.08 11,350.67 11,336.00 20.66 10.11 -0.13 1.47 1.55 1.53 1.53 1.43
15 HONG KONG 9,551.42 9,695.59 10,291.21 10,293.94 9,867.47 1.48 6.14 -4.14 1.65 1.46 1.38 1.38 1.25
16 SAUDI ARABIA 7,707.84 7,687.98 8,829.91 8,232.51 8,781.15 -0.26 14.85 6.66 1.33 1.16 1.19 1.11 1.11
17 BRAZIL 7,478.75 5,682.56 8,237.04 8,815.47 8,761.63 16.1 -5.13 -0.61 1.29 1.31 1.11 1.19 1.11
18 INDONESIA 5,435.43 6,546.94 7,435.34 7,437.03 8,213.42 20.45 13.57 10.44 0.94 0.99 1.00 1.00 1.04
19 PHILIPPINES 4,893.61 5,719.97 7,006.51 7,006.50 8,162.29 16.87 22.51 16.50 0.84 0.86 0.94 0.94 1.03
20 SWITZERLAND 6,972.87 5,373.09 7,693.83 7,696.65 7,792.60 6.70 19.15 2.59 1.03 0.96 1.02 1.02 0.98
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10 / 31 พฤษภาคม 2540--