สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนอีกเล็กน้อย ภาวะการค้าค่อนข้างแจ่มใส เพราะความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่สัปดาห์นี้ไปจนถึงสิ้นปี ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก
จากการที่ฮ่องกงได้ตรวจพบสารเบต้าอะโกรนิสต์ ในเนื้อสุกรที่นำเข้าจากไทยเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกเนื้อสุกรของไทยหยุดชะงักลง ดังนั้นเมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะได้เดินทางไปเจรจา และผลการเจรจา ทางฮ่องกงได้ยอมรับแล้ว สรุปได้ว่า ทางกรมฯ จะดำเนินการแก้ไข โดยร่างระเบียบ มาตรฐานและคุณภาพการส่งออกใหม่ โดยฟาร์มที่จะส่งออกจะต้องจดทะเบียนและได้รับการตรวจสอบสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรว่า ไม่มีการใช้สารเบต้าอะโกรนิสต์ รวมทั้งกรมฯ จะสุ่มตรวจปัสสาวะสุกรในฟาร์มและตรวจอีกครั้งเมื่อเข้าโรงฆ่า ซึ่งสุกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจึงจะสามารถส่งออกได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 41.89 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.03 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.74 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.14 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สภาพตลาดในประเทศเริ่มคล่องตัวขึ้น เพราะความต้องการบริโภคค่อนข้างดีในช่วงที่จะเข้าสู่เทศกาลขึ้นปีใหม่ในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ผลผลิตไก่เนื้อส่วนเกินอันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นลง ในขณะที่ตลาดต่างประเทศยังมีปริมาณการสั่งซื้อน้อย เพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศในช่วงเทศกาลไม่มากและราคาไก่เนื้อจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.22 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.96 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.69 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหว การบริโภคยังคงเป็นปกติ ราคาที่เกษตรกรขายได้โดยเฉลี่ย ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนและเป็นราคาที่สูงพอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมามาก แต่เนื่องจากในปีนี้ความต้องการบริโภคค่อนข้างดี ทำให้ราคาไข่ไก่ในช่วงนี้ยังสูงอยู่ได้ คาดว่าราคาจะอยู่ในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปี
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 184 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 195 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 178 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 184 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 184 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 193.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 232 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 235 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 233 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 186 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 290 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 27.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 17.31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำวันที่ 4-10 ม.ค. 2541--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนอีกเล็กน้อย ภาวะการค้าค่อนข้างแจ่มใส เพราะความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่สัปดาห์นี้ไปจนถึงสิ้นปี ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก
จากการที่ฮ่องกงได้ตรวจพบสารเบต้าอะโกรนิสต์ ในเนื้อสุกรที่นำเข้าจากไทยเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกเนื้อสุกรของไทยหยุดชะงักลง ดังนั้นเมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะได้เดินทางไปเจรจา และผลการเจรจา ทางฮ่องกงได้ยอมรับแล้ว สรุปได้ว่า ทางกรมฯ จะดำเนินการแก้ไข โดยร่างระเบียบ มาตรฐานและคุณภาพการส่งออกใหม่ โดยฟาร์มที่จะส่งออกจะต้องจดทะเบียนและได้รับการตรวจสอบสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรว่า ไม่มีการใช้สารเบต้าอะโกรนิสต์ รวมทั้งกรมฯ จะสุ่มตรวจปัสสาวะสุกรในฟาร์มและตรวจอีกครั้งเมื่อเข้าโรงฆ่า ซึ่งสุกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจึงจะสามารถส่งออกได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 41.89 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.03 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.74 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.14 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สภาพตลาดในประเทศเริ่มคล่องตัวขึ้น เพราะความต้องการบริโภคค่อนข้างดีในช่วงที่จะเข้าสู่เทศกาลขึ้นปีใหม่ในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ผลผลิตไก่เนื้อส่วนเกินอันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นลง ในขณะที่ตลาดต่างประเทศยังมีปริมาณการสั่งซื้อน้อย เพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศในช่วงเทศกาลไม่มากและราคาไก่เนื้อจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.22 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.96 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.69 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหว การบริโภคยังคงเป็นปกติ ราคาที่เกษตรกรขายได้โดยเฉลี่ย ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนและเป็นราคาที่สูงพอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมามาก แต่เนื่องจากในปีนี้ความต้องการบริโภคค่อนข้างดี ทำให้ราคาไข่ไก่ในช่วงนี้ยังสูงอยู่ได้ คาดว่าราคาจะอยู่ในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปี
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 184 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 195 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 178 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 184 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 184 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 193.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 232 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 235 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 233 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 186 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 290 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 27.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 17.31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำวันที่ 4-10 ม.ค. 2541--