หลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ในปี 2544 รัฐบาลจีนได้ดำเนินการขจัดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อสร้างความโปร่งใสและขจัด ข้อจำกัดที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในจีน โดยเฉพาะการเร่งขจัดอุปสรรคในการกระจายสินค้าซึ่งเดิมต้องกระทำผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้า (Trading Firm) ของจีนเท่านั้น ซึ่งส่วนมากมีกระบวนการขนส่งและกระจายสินค้าที่ค่อนข้างล่าช้า อีกทั้งมีต้นทุนค่อนข้างสูง ขณะที่จีนไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไป ตั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้าในจีน
เพื่อขจัดอุปสรรคดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบสำคัญเกี่ยวกับการค้าและ การกระจายสินค้ารวม 2 ครั้งในระยะที่ผ่านมา กล่าวคือ ครั้งแรก สภาผู้แทนประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The National People's Congress) อนุมัติกฎหมายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Law) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2547 หลังจากนั้น กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทการค้าของต่างชาติ (The Measures for the Administration of Foreign-invested Commercial Enterprises) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวมีสาระสำคัญที่เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ รวมถึง นักลงทุนไทยในการจัดตั้งธุรกิจกระจายสินค้าในจีน ดังนี้
อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจกระจายสินค้าได้ 100% ทั้งธุรกิจค้าส่งและธุรกิจ ค้าปลีก รวมทั้งธุรกิจบริการหลังการขาย เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดส่งสินค้า และบริการซ่อมบำรุง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2547 ยกเว้นธุรกิจบางประเภท ได้แก่ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกเคมีภัณฑ์เพื่อ การเกษตร น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ ยารักษาโรค ยาปราบศัตรูพืช เนื้อเยื่อพืช (สำหรับการเพาะปลูก) ปุ๋ย ข้าวและเมล็ดพืช น้ำตาล และฝ้าย ที่นักลงทุนต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2549 ขณะที่ธุรกิจบางประเภท รัฐบาลจีนยังไม่อนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของ เช่น ธุรกิจค้าส่งเกลือ ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งยาสูบ
ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับยอดจำหน่ายขั้นต่ำต่อปีของบริษัทต่างชาติ เดิมรัฐบาลจีนกำหนดเงื่อนไขว่าบริษัทนำเข้า-ส่งออก (เฉพาะธุรกิจค้าส่ง) ของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในจีนจะต้องมี ยอดจำหน่ายขั้นต่ำเฉลี่ยสูงถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 ปี ก่อนเข้ามาลงทุนในจีน การยกเลิกข้อจำกัด ดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจกระจายสินค้าในจีน
ลดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทต่างชาติ จากเดิมที่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทค้าส่งไว้80 ล้านหยวน (ราว 400 ล้านบาท) ลดลงเหลือไม่ต่ำกว่า 5 แสนหยวน (ราว 2.5 ล้านบาท) และบริษัทค้าปลีกจากเดิมที่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 60 ล้านหยวน (ราว 300 ล้านบาท) เหลือเพียง 3 แสนหยวน (ราว 1.5 ล้านบาท)
ยกเลิกข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้งของธุรกิจ จากเดิมที่กำหนดให้การก่อตั้งสาขาของบริษัทที่ประกอบธุรกิจการค้าทำได้เฉพาะบริเวณพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น อาทิ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมตามชายฝั่ง และเขตส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทต่างชาติสามารถตั้งกิจการได้ในทุกพื้นที่ แต่ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาของรัฐบาล ท้องถิ่นซึ่งเป็นที่ตั้งของธุรกิจ
กระบวนการอนุมัติการลงทุนมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจีนกระจายอำนาจ การอนุมัติก่อตั้งกิจการให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองก่อนส่งให้รัฐบาลกลางอนุมัติ และได้รวมขั้นตอน การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เข้าด้วยกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ระเบียบใหม่เกี่ยวกับการค้าและการกระจายสินค้าของจีน ทำให้นักลงทุนต่างชาติ ได้ประโยชน์หลายด้าน อาทิ
* โอกาสเข้าสู่ตลาดจีนมีมากขึ้น เนื่องจากระเบียบใหม่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ในธุรกิจเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ทำให้ตลาดมีการแข่งขันสูงขึ้น รวมทั้งการทำธุรกรรมต่าง ๆ มีความโปร่งใสขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้การประกอบธุรกิจมีความสะดวกรวดเร็ว เพราะนักธุรกิจสามารถติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน คนกลางซึ่งเป็นบริษัทของจีนอีกต่อไป
* เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่
* ต้นทุนการบริหารจัดการลดลง ทั้งในด้านการบริหารสินค้าคงคลังและการบริหารกระแสเงินสด การเปลี่ยนแปลงระเบียบดังกล่าว นับเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยที่เคยประสบปัญหาในการกระจายสินค้าในตลาดจีน เพราะช่วยให้สามารถเข้าไปขยายตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายของตนเองหรือบริษัทต่างชาติที่มีความคล่องตัวและมีต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำกว่าช่องทางการจำหน่ายเดิม อันจะส่งผลให้การค้าระหว่างไทยและจีน ขยายตัวตามเป้าหมายการเจาะตลาดใหม่ รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายการเปิดเสรีภายใต้กรอบอาเซียน-จีน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2548--
-พห-
เพื่อขจัดอุปสรรคดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบสำคัญเกี่ยวกับการค้าและ การกระจายสินค้ารวม 2 ครั้งในระยะที่ผ่านมา กล่าวคือ ครั้งแรก สภาผู้แทนประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The National People's Congress) อนุมัติกฎหมายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Law) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2547 หลังจากนั้น กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทการค้าของต่างชาติ (The Measures for the Administration of Foreign-invested Commercial Enterprises) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวมีสาระสำคัญที่เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ รวมถึง นักลงทุนไทยในการจัดตั้งธุรกิจกระจายสินค้าในจีน ดังนี้
อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจกระจายสินค้าได้ 100% ทั้งธุรกิจค้าส่งและธุรกิจ ค้าปลีก รวมทั้งธุรกิจบริการหลังการขาย เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดส่งสินค้า และบริการซ่อมบำรุง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2547 ยกเว้นธุรกิจบางประเภท ได้แก่ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกเคมีภัณฑ์เพื่อ การเกษตร น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ ยารักษาโรค ยาปราบศัตรูพืช เนื้อเยื่อพืช (สำหรับการเพาะปลูก) ปุ๋ย ข้าวและเมล็ดพืช น้ำตาล และฝ้าย ที่นักลงทุนต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2549 ขณะที่ธุรกิจบางประเภท รัฐบาลจีนยังไม่อนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของ เช่น ธุรกิจค้าส่งเกลือ ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งยาสูบ
ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับยอดจำหน่ายขั้นต่ำต่อปีของบริษัทต่างชาติ เดิมรัฐบาลจีนกำหนดเงื่อนไขว่าบริษัทนำเข้า-ส่งออก (เฉพาะธุรกิจค้าส่ง) ของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในจีนจะต้องมี ยอดจำหน่ายขั้นต่ำเฉลี่ยสูงถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 ปี ก่อนเข้ามาลงทุนในจีน การยกเลิกข้อจำกัด ดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจกระจายสินค้าในจีน
ลดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทต่างชาติ จากเดิมที่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทค้าส่งไว้80 ล้านหยวน (ราว 400 ล้านบาท) ลดลงเหลือไม่ต่ำกว่า 5 แสนหยวน (ราว 2.5 ล้านบาท) และบริษัทค้าปลีกจากเดิมที่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 60 ล้านหยวน (ราว 300 ล้านบาท) เหลือเพียง 3 แสนหยวน (ราว 1.5 ล้านบาท)
ยกเลิกข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้งของธุรกิจ จากเดิมที่กำหนดให้การก่อตั้งสาขาของบริษัทที่ประกอบธุรกิจการค้าทำได้เฉพาะบริเวณพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น อาทิ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมตามชายฝั่ง และเขตส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทต่างชาติสามารถตั้งกิจการได้ในทุกพื้นที่ แต่ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาของรัฐบาล ท้องถิ่นซึ่งเป็นที่ตั้งของธุรกิจ
กระบวนการอนุมัติการลงทุนมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจีนกระจายอำนาจ การอนุมัติก่อตั้งกิจการให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองก่อนส่งให้รัฐบาลกลางอนุมัติ และได้รวมขั้นตอน การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เข้าด้วยกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ระเบียบใหม่เกี่ยวกับการค้าและการกระจายสินค้าของจีน ทำให้นักลงทุนต่างชาติ ได้ประโยชน์หลายด้าน อาทิ
* โอกาสเข้าสู่ตลาดจีนมีมากขึ้น เนื่องจากระเบียบใหม่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ในธุรกิจเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ทำให้ตลาดมีการแข่งขันสูงขึ้น รวมทั้งการทำธุรกรรมต่าง ๆ มีความโปร่งใสขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้การประกอบธุรกิจมีความสะดวกรวดเร็ว เพราะนักธุรกิจสามารถติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน คนกลางซึ่งเป็นบริษัทของจีนอีกต่อไป
* เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่
* ต้นทุนการบริหารจัดการลดลง ทั้งในด้านการบริหารสินค้าคงคลังและการบริหารกระแสเงินสด การเปลี่ยนแปลงระเบียบดังกล่าว นับเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยที่เคยประสบปัญหาในการกระจายสินค้าในตลาดจีน เพราะช่วยให้สามารถเข้าไปขยายตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายของตนเองหรือบริษัทต่างชาติที่มีความคล่องตัวและมีต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำกว่าช่องทางการจำหน่ายเดิม อันจะส่งผลให้การค้าระหว่างไทยและจีน ขยายตัวตามเป้าหมายการเจาะตลาดใหม่ รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายการเปิดเสรีภายใต้กรอบอาเซียน-จีน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2548--
-พห-