แท็ก
ญี่ปุ่น
อาหารเพื่อสุขภาพ (Health Oriented Food) แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1) Health Food เป็นอาหารที่เสริมสร้างสารที่จำเป็นหรือเหมาะสมต่อสุขภาพ ในบางประเทศสินค้ากลุ่มนี้อาจมี ลักษณะคล้ายยา แต่สินค้าที่จำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นจะต้องมีลักษณะที่แตกต่างจากยาอย่างเห็นได้ชัด2) Special Nutritive Food เป็นอาหารกลุ่มที่บริโภคเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับสุขภาพและ/ หรือ เหมาะ สมกับบุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น เด็กอ่อน ผู้มีครรภ์ มารดาที่เพิ่งฟื้นไข้ คนป่วย อาหารกลุ่มนี้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
Enriched Food อาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุ หรือวิตามิน
Food of Special Dietary Use สำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค
Food For Specified Health Use อาหารบำรุง/ ส่งเสริมสุขภาพ
ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่แคลอรี่ต่ำ นมที่มีฟอสฟอรัสต่ำสำหรับผู้ป่วยโรคไต
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน3) Physiologically Functional Food เป็นอาหารที่ช่วยเสริมหน้าที่ทางกายภาพของร่างกาย เช่น เครื่องดื่มและอาหารที่ประกอบด้วยเส้นใยเพื่อสุขภาพ (dietary fibre) เครื่องดื่มและอาหารที่มีสาร B carotene เครื่องดื่มภายหลังการออกกำลังกาย ของหวานหรืออาหารที่ประกอบด้วยสารให้ความหวานแบบใหม่ นมถั่วเหลือง เป็นต้น
Japan Health Food & Nutrition Food Association ได้กำหนด Norm และมาตรฐานอาหารเพื่อสุขภาพตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการญี่ปุ่น โดยสินค้าเหล่านั้นจะต้องผ่านการทดสอบ (test) การตรวจสอบส่วนประกอบ (inspection) ความปลอดภัย และการติดฉลากอย่างเข้มงวดจากคณะกรรมการ (Board) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทั้งนี้รายการสินค้าที่ Japan Health Food & Ntritive Food Association ได้กำหนด Norm และมาตรฐานเอาไว้
แนวโน้มการผลิตในประเทศญี่ปุ่น
โรงงานในประเทศญี่ปุ่นที่ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพตั้งแต่ขั้นตอนวัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมี ประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะนำเข้าวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศ และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามอาหารเพื่อสุขภาพมีความแตกต่างจากอาหารทั่วไปจากวัตถุดิบที่ใช้ การวิเคราะห์สารทางโภชนาการ การตรวจสอบความปลอดภัย แต่วิธีการผลิตจะเป็นวิธีเดียวกันกับอาหารทั่วไป
การนำเข้า
Health Food เช่น วิตามิน กระเทียมสกัด แคลเซียมเม็ด เส้นใยกากอาหาร ญี่ปุ่นมีการนำเข้าจากบริษัทญี่ปุ่นในสหรัฐ โดยสินค้าเครื่องหมายการค้า Nature Mate ที่จำหน่ายในร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านจำหน่ายเครื่องสำอางทั่วประเทศญี่ปุ่น สินค้าเหล่านี้มีราคาจำหน่ายไม่แพง โดยในปี 1994 มียอดจำหน่ายประมาณ 5 พันล้านเยน
ส่วนอาหารประเภท Special Nutritive Food และ Food for Specified health Use และ Physiologically Functional Food ก็มีการนำเข้าโดยส่วนใหญ่จากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยบริษัทผู้นำเข้าของญี่ปุ่นเป็นผู้ยื่นเอกสารเพื่อขออนุมัติ (Approval) นำเข้าจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการญี่ปุ่น
แนวโน้มการบริโภค
เต้าเจี้ยวหมัก (Miso) โยเกิร์ต ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น royal jelly บ๊วย สาหร่าย กระเทียมแคลเซียม วิตามิน ชาเพื่อสุขภาพ เส้นใยอาหารเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 40-50 ปี ที่เริ่มห่วงใยสุขภาพตนเอง และครอบครัวคนรุ่นใหม่ในวัยต้น 30 ปี ได้ให้ความสนใจอาหารกลุ่มนี้มากขึ้นและบริโภคทั้งครอบครัว
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. Nutrition Improvement Act สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารทางโภชนาการหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้แคลอรี่ต่ำ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีเกลือโซเดียมต่ำ จะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้
2. Food Sanitation Act กฎหมายนี้ห้ามการจำหน่ายอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่อาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย มีการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสารอาหาร
3. Drugs, Cosmetics and Medical Instruments Act กฎหมายนี้ครอบคลุมถึงยาที่ใช้เป็นวัสดุในการวิเคราะห์การบำรุงรักษา การป้องกันโรค รวมทั้งประสิทธิภาพและผลที่ได้รับจากการบริโภค
4. Act Against Unjustifiable Premiums and Misleading Representation กฎหมายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมาธิการ Fair Trade Commission ซึ่งดูแลการโฆษณาหรืออวดอ้างสรรพคุณที่เกินความเป็นจริงที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
5. Law Concerning Door-to-Door Sales เป็นกฎหมายภายใต้กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม หากสินค้าสุขภาพนั้นจำหน่ายผ่านช่องทางการค้าดังกล่าว
วิธีการนำเข้า
เมื่อมีการนำเข้าอาหารสุขภาพ ผู้นำเข้าต้องแจ้งต่อ Quarantine office ณ ท่าเรือหรือ สนามบินที่นำเข้าสินค้า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้านสุขอนามัย (food hygiene inspection officer) จะทำการสำรวจและตรวจสอบ และทำการอนุมัติหากสินค้าดังกล่าวเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนด
แนวโน้มอาหารเพื่อสุขภาพ
1. ประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น ทำให้สินค้าที่ใช้ป้องกันโรคและบำรุงสุขภาพมีความสำคัญมากขึ้น
2. การระแวดระวังและดูแลสุขภาพตามแนวโน้มของประเทศตะวันตก ทำให้มีการเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีมากขึ้น
3. การเพิ่มจำนวนคนทำงานห่างจากบ้านพัก และแม่บ้านทำงานนอกบ้านมากขึ้น ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบจากความไม่สมดุลทางโภชนาการ
4. ความเปลี่ยนแปลงของการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ช่องทางการกระจายสินค้า และการให้บริการแก่ผู้บริโภคด้านข่าวสารข้อมูล ทำให้สินค้าเหล่านี้เป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าในปี 2000 สินค้าเพื่อสุขภาพจะมีมูลค่ากว่า 70 พันล้านเยน
โอกาสของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่น
1. ผู้ผลิตต้องตรวจสอบความพิเศษ หรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ว่ามีจุดเด่นด้านใด ทั้งนี้ คุณภาพและความได้เปรียบของราคาจะทำให้มีโอกาสในการเข้าสู่ตลาด แต่ทั้งนี้สินค้าต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน ที่กำหนดโดยมีคุณภาพดีและเหมาะสมกับสุขภาพ
2. มีความเข้าใจลักษณะของตลาดญี่ปุ่น แต่ละเขตหรือพื้นที่อาจมีรสนิยมหรือความต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน แต่ความสด สะอาด คุณภาพและการบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องที่ต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง
3. ศึกษาวิธีการทางธุรกิจ โดยร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นในการพัฒนาการผลิต การตลาด รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี
4. ศึกษาวิธีการตลาดที่เหมาะสม เช่นการจำหน่ายในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต การจำหน่ายแบบ door-to-door การจำหน่ายในร้านเฉพาะอย่าง หรือการจำหน่ายในเครื่อง Vending machine สินค้าที่อาจพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ น้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์กระเทียม ผลิตภัณฑ์จากขิง (เช่นน้ำขิงผง) น้ำผลไม้เช่น น้ำฝรั่ง น้ำกระเจี๊ยบ น้ำว่านหางจระเข้ ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ ซุปไก่สกัด และอื่นๆ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กรกฎาคม 2541--
1) Health Food เป็นอาหารที่เสริมสร้างสารที่จำเป็นหรือเหมาะสมต่อสุขภาพ ในบางประเทศสินค้ากลุ่มนี้อาจมี ลักษณะคล้ายยา แต่สินค้าที่จำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นจะต้องมีลักษณะที่แตกต่างจากยาอย่างเห็นได้ชัด2) Special Nutritive Food เป็นอาหารกลุ่มที่บริโภคเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับสุขภาพและ/ หรือ เหมาะ สมกับบุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น เด็กอ่อน ผู้มีครรภ์ มารดาที่เพิ่งฟื้นไข้ คนป่วย อาหารกลุ่มนี้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
Enriched Food อาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุ หรือวิตามิน
Food of Special Dietary Use สำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค
Food For Specified Health Use อาหารบำรุง/ ส่งเสริมสุขภาพ
ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่แคลอรี่ต่ำ นมที่มีฟอสฟอรัสต่ำสำหรับผู้ป่วยโรคไต
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน3) Physiologically Functional Food เป็นอาหารที่ช่วยเสริมหน้าที่ทางกายภาพของร่างกาย เช่น เครื่องดื่มและอาหารที่ประกอบด้วยเส้นใยเพื่อสุขภาพ (dietary fibre) เครื่องดื่มและอาหารที่มีสาร B carotene เครื่องดื่มภายหลังการออกกำลังกาย ของหวานหรืออาหารที่ประกอบด้วยสารให้ความหวานแบบใหม่ นมถั่วเหลือง เป็นต้น
Japan Health Food & Nutrition Food Association ได้กำหนด Norm และมาตรฐานอาหารเพื่อสุขภาพตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการญี่ปุ่น โดยสินค้าเหล่านั้นจะต้องผ่านการทดสอบ (test) การตรวจสอบส่วนประกอบ (inspection) ความปลอดภัย และการติดฉลากอย่างเข้มงวดจากคณะกรรมการ (Board) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทั้งนี้รายการสินค้าที่ Japan Health Food & Ntritive Food Association ได้กำหนด Norm และมาตรฐานเอาไว้
แนวโน้มการผลิตในประเทศญี่ปุ่น
โรงงานในประเทศญี่ปุ่นที่ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพตั้งแต่ขั้นตอนวัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมี ประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะนำเข้าวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศ และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามอาหารเพื่อสุขภาพมีความแตกต่างจากอาหารทั่วไปจากวัตถุดิบที่ใช้ การวิเคราะห์สารทางโภชนาการ การตรวจสอบความปลอดภัย แต่วิธีการผลิตจะเป็นวิธีเดียวกันกับอาหารทั่วไป
การนำเข้า
Health Food เช่น วิตามิน กระเทียมสกัด แคลเซียมเม็ด เส้นใยกากอาหาร ญี่ปุ่นมีการนำเข้าจากบริษัทญี่ปุ่นในสหรัฐ โดยสินค้าเครื่องหมายการค้า Nature Mate ที่จำหน่ายในร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านจำหน่ายเครื่องสำอางทั่วประเทศญี่ปุ่น สินค้าเหล่านี้มีราคาจำหน่ายไม่แพง โดยในปี 1994 มียอดจำหน่ายประมาณ 5 พันล้านเยน
ส่วนอาหารประเภท Special Nutritive Food และ Food for Specified health Use และ Physiologically Functional Food ก็มีการนำเข้าโดยส่วนใหญ่จากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยบริษัทผู้นำเข้าของญี่ปุ่นเป็นผู้ยื่นเอกสารเพื่อขออนุมัติ (Approval) นำเข้าจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการญี่ปุ่น
แนวโน้มการบริโภค
เต้าเจี้ยวหมัก (Miso) โยเกิร์ต ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น royal jelly บ๊วย สาหร่าย กระเทียมแคลเซียม วิตามิน ชาเพื่อสุขภาพ เส้นใยอาหารเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 40-50 ปี ที่เริ่มห่วงใยสุขภาพตนเอง และครอบครัวคนรุ่นใหม่ในวัยต้น 30 ปี ได้ให้ความสนใจอาหารกลุ่มนี้มากขึ้นและบริโภคทั้งครอบครัว
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. Nutrition Improvement Act สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารทางโภชนาการหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้แคลอรี่ต่ำ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีเกลือโซเดียมต่ำ จะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้
2. Food Sanitation Act กฎหมายนี้ห้ามการจำหน่ายอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่อาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย มีการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสารอาหาร
3. Drugs, Cosmetics and Medical Instruments Act กฎหมายนี้ครอบคลุมถึงยาที่ใช้เป็นวัสดุในการวิเคราะห์การบำรุงรักษา การป้องกันโรค รวมทั้งประสิทธิภาพและผลที่ได้รับจากการบริโภค
4. Act Against Unjustifiable Premiums and Misleading Representation กฎหมายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมาธิการ Fair Trade Commission ซึ่งดูแลการโฆษณาหรืออวดอ้างสรรพคุณที่เกินความเป็นจริงที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
5. Law Concerning Door-to-Door Sales เป็นกฎหมายภายใต้กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม หากสินค้าสุขภาพนั้นจำหน่ายผ่านช่องทางการค้าดังกล่าว
วิธีการนำเข้า
เมื่อมีการนำเข้าอาหารสุขภาพ ผู้นำเข้าต้องแจ้งต่อ Quarantine office ณ ท่าเรือหรือ สนามบินที่นำเข้าสินค้า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้านสุขอนามัย (food hygiene inspection officer) จะทำการสำรวจและตรวจสอบ และทำการอนุมัติหากสินค้าดังกล่าวเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนด
แนวโน้มอาหารเพื่อสุขภาพ
1. ประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น ทำให้สินค้าที่ใช้ป้องกันโรคและบำรุงสุขภาพมีความสำคัญมากขึ้น
2. การระแวดระวังและดูแลสุขภาพตามแนวโน้มของประเทศตะวันตก ทำให้มีการเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีมากขึ้น
3. การเพิ่มจำนวนคนทำงานห่างจากบ้านพัก และแม่บ้านทำงานนอกบ้านมากขึ้น ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบจากความไม่สมดุลทางโภชนาการ
4. ความเปลี่ยนแปลงของการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ช่องทางการกระจายสินค้า และการให้บริการแก่ผู้บริโภคด้านข่าวสารข้อมูล ทำให้สินค้าเหล่านี้เป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าในปี 2000 สินค้าเพื่อสุขภาพจะมีมูลค่ากว่า 70 พันล้านเยน
โอกาสของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่น
1. ผู้ผลิตต้องตรวจสอบความพิเศษ หรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ว่ามีจุดเด่นด้านใด ทั้งนี้ คุณภาพและความได้เปรียบของราคาจะทำให้มีโอกาสในการเข้าสู่ตลาด แต่ทั้งนี้สินค้าต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน ที่กำหนดโดยมีคุณภาพดีและเหมาะสมกับสุขภาพ
2. มีความเข้าใจลักษณะของตลาดญี่ปุ่น แต่ละเขตหรือพื้นที่อาจมีรสนิยมหรือความต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน แต่ความสด สะอาด คุณภาพและการบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องที่ต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง
3. ศึกษาวิธีการทางธุรกิจ โดยร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นในการพัฒนาการผลิต การตลาด รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี
4. ศึกษาวิธีการตลาดที่เหมาะสม เช่นการจำหน่ายในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต การจำหน่ายแบบ door-to-door การจำหน่ายในร้านเฉพาะอย่าง หรือการจำหน่ายในเครื่อง Vending machine สินค้าที่อาจพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ น้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์กระเทียม ผลิตภัณฑ์จากขิง (เช่นน้ำขิงผง) น้ำผลไม้เช่น น้ำฝรั่ง น้ำกระเจี๊ยบ น้ำว่านหางจระเข้ ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ ซุปไก่สกัด และอื่นๆ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กรกฎาคม 2541--